Return to Video

พืชสามารถพูดกันเองได้หรือเปล่า - ริชาร์ด คาร์บัน (Richard Karban)

  • 0:09 - 0:11
    พืชสามารถพูดกันเองได้หรือเปล่า
  • 0:11 - 0:12
    มันไม่น่าจะเป็นแบบนั้น
  • 0:12 - 0:16
    พวกมันไม่มีการรับสัมผัสหรือ
    ระบบประสาทที่ซับซ้อน อย่างที่สัตว์มี
  • 0:16 - 0:18
    และพวกมันดูก็ดูนิ่ง ๆ
  • 0:18 - 0:19
    ตากแดดตากลม
  • 0:19 - 0:23
    และตอบสนองอย่างอัตโนมัติต่อสิ่งเร้า
    อย่างแสงหรือน้ำ
  • 0:23 - 0:27
    แต่มันอาจฟังดูแปลก
    ที่พืชสามารถสื่อสารกันได้
  • 0:27 - 0:31
    เช่นเดียวกับสัตว์ พืชสามารถผลิตสัญญาณเคมี
  • 0:31 - 0:33
    เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม
  • 0:33 - 0:35
    และพวกมันสามารถแบ่งปันสัญญาณนั้น
    ให้กันและกันได้
  • 0:35 - 0:38
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกมันถูกโจมตี
  • 0:38 - 0:40
    สัญญาณเหล่านี้ถูกผ่านสองทาง
  • 0:40 - 0:41
    ทางอากาศ
  • 0:41 - 0:42
    และทางดิน
  • 0:42 - 0:44
    เมื่อใบไม้ได้รับความเสียหาย
  • 0:44 - 0:47
    ไม่ว่าจะเป็นฝีมือของแมลงผู้หิวโหย
    หรือเครื่องตัดหญ้าบุก
  • 0:47 - 0:50
    พวกมันปล่อยกลุ่มสารเคมีระเหยออกมา
  • 0:50 - 0:54
    พวกมันคือกลิ่นเหม็นเขียว
    ของหญ้าที่เพิ่งถูกตัดใหม่ ๆ
  • 0:54 - 0:57
    พืชบางอย่าง ดังเช่น เสจบุช
    และลิมา บีน
  • 0:57 - 1:00
    สามารถรับสารที่มาทางอากาศ
  • 1:00 - 1:04
    และปรับเคมีภายในพวกมันให้สอดคล้องกัน
  • 1:04 - 1:08
    ในการทดลองหนึ่ง ใบของเสจบุช
    ถูกทำลายโดยแมลงที่วางแผนการไว้ก่อน
  • 1:08 - 1:11
    หรือนักวิทยาศาสตร์มือกรรไกร
  • 1:11 - 1:12
    ตลอดช่วงฤดูร้อนนั้น
  • 1:12 - 1:14
    กิ่งอื่น ๆ บนต้นเสจบุชเดียวกัน
  • 1:14 - 1:18
    ถูกกินน้อยกว่าโดยแมลงที่เดินผ่านไปผ่านมา
  • 1:18 - 1:20
    และกิ่งที่อยู่บนพุ่มข้าง ๆ ด้วย
  • 1:20 - 1:25
    เป็นการบ่งบอกว่า พวกมันได้พ่นสารของมัน
    เพื่อต่อต้านแมลง
  • 1:25 - 1:29
    แม้แต่อากาศที่ไหลอยู่ทางด้านบน
    จากต้นที่ถูกเล็มไปยังอีกต้นหนึ่ง
  • 1:29 - 1:32
    ทำให้ต้นที่สองต้านทางแมลงได้มากขึ้น
  • 1:32 - 1:37
    สัญญาณที่ส่งผ่านมาทางอากาศเหล่านี้
    เพิ่มความน่าจะเป็นในการอยู่รอดของต้นกล้า
  • 1:37 - 1:42
    และทำให้พืชที่โตเต็มที่
    สร้างกิ่งและดอกไม้ใหม่เพิ่มขึ้น
  • 1:42 - 1:45
    แต่ทำไมพืชถึงเตือนเพื่อนบ้านของมัน
    ถึงอันตรายที่เกิดขึ้น
  • 1:45 - 1:47
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    ถ้าหากพวกมันแก่งแย่งปัจจัยกัน
  • 1:47 - 1:52
    เอาล่ะ มันอาจเป็นผลจากความบังเอิญ
    ของกลไกลการป้องกันตัวเอง
  • 1:52 - 1:56
    พืชไม่สามารถส่งข้อความผ่านร่างกายของมัน
    ได้ง่ายอย่างที่เราทำ
  • 1:56 - 1:59
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีน้ำอยู่น้อย
  • 1:59 - 2:02
    ฉะนั้น พืชอาจพึ่งพาสารเคมี
    ที่ถูกส่งผ่านทางอากาศ
  • 2:02 - 2:06
    เพื่อรับข้อความ
    จากส่วนหนึ่งของพืชไปยังอีกสิ่งหนึ่ง
  • 2:06 - 2:09
    พืชที่อยู่ใกล้ ๆ สามารถแอบดักสัญญาณนั้นได้
  • 2:09 - 2:13
    เช่นเดียวกันกับการแอบได้ยินเพื่อนบ้านจาม
    และคุณก็เริ่มตุนยารักษาหวัด
  • 2:13 - 2:17
    และต้นไม้ต่างชนิดกันก็แปลงคำเตือน
    โดยใช้ภาษาทางเคมีที่แตกต่างกัน
  • 2:17 - 2:19
    ต้นเสจบุชแต่ละต้นในทุ่งเดียวกัน
  • 2:19 - 2:22
    ปลดปล่อยชุดคำเตือนสารเคมี
    ที่ต่างกันไปเล็กน้อย
  • 2:22 - 2:28
    ส่วนประกอบของสารเคมีผสม
    ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการสื่อสาร
  • 2:28 - 2:31
    ยิ่งพืชสองต้นมีรายการสารเคมี
    คล้ายกันมากเท่าไร
  • 2:31 - 2:34
    พวกมันก็ยิ่งสื่อสารกันได้คล่องแคล่วมากขึ้น
  • 2:34 - 2:38
    พืชจะไวที่สุดต่อสัญญาณที่ปลดปล่อยออกมา
    โดยใบของมันเอง
  • 2:38 - 2:41
    แต่เพราะว่าสารเคมีเหล่านี้น่าจะถูกส่งต่อกันมา
  • 2:41 - 2:43
    เช่นเดียวกับหมู่เลือดของมนุษย์
  • 2:43 - 2:45
    ต้นเสจบุชสื่อสารกับญาติพี่น้อง
    อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
  • 2:45 - 2:48
    เมื่อเปรียบเทียบ
    กับการสื่อสารกับต้นแปลกหน้า
  • 2:48 - 2:51
    แต่บางครั้ง แม้แต่สายพันธุ์อื่น ๆ
    ก็อาจได้รับประโยชน์
  • 2:51 - 2:56
    ต้นมะเชือเทศและยาสูบ
    ทั้งคู่สามารถถอดรหัสคำเตือนของต้นเสจบุชได้
  • 2:56 - 3:00
    พืชไม่จำเป็นต้องพึ่งพา
    สัญญาณทางอากาศอย่างเดียว
  • 3:00 - 3:04
    สัญญาณสามารถเดินทาง
    มาทางใต้ดินได้เช่นกัน
  • 3:04 - 3:07
    พืชส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์
    แบบภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันกับรา
  • 3:07 - 3:11
    ซึ่งอยู่กันเป็นกลุ่มในรากของพืช
    และช่วยในการดูดซึมน้ำและอาหาร
  • 3:11 - 3:15
    เส้นใยราเหล่านี้ยืดยาวออกไปเป็นเครือข่าย
  • 3:15 - 3:17
    ที่สามารถเชื่อมต่อพืชที่อยู่แยกกันได้
  • 3:17 - 3:22
    เป็นการสร้างทางยกระดับใต้ดิน
    สำหรับข้อความเชิงเคมี
  • 3:22 - 3:24
    เมื่อต้นมะเขือเทศตอบสนองต่อความเสียหาย
  • 3:24 - 3:27
    โดยเปิดการทำงานของยีนและเอนไซม์
    ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค
  • 3:27 - 3:30
    สัญญาณโมเลกุล
    ที่ถูกผลิตโดยระบบภูมิคุ้มกันของมัน
  • 3:30 - 3:32
    สามารถเดินทางไปยังพืชที่แข็งแรง
  • 3:32 - 3:35
    และกระตุ้นให้มันเปิดการทำงาน
    ระบบภูมิคุ้นกันของมันเช่นกัน
  • 3:35 - 3:40
    การเตือนขั้นสูงเหล่านี้
    เพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของพืช
  • 3:40 - 3:43
    ต้นถั่วยังสามารถแอบดู
    สุขภาพของกันและกันได้
  • 3:43 - 3:45
    ผ่านทางสายใยเชื้อราเหล่านี้
  • 3:45 - 3:47
    การบุกรุกของแมลงดูดน้ำเลี้ยง
    ในพืชต้นหนึ่ง
  • 3:47 - 3:53
    กระตุ้นเพื่อนบ้านของมันเร่งการสร้าง
    องค์ประกอบที่จะไล่แมลงนั้นได้
  • 3:53 - 3:56
    และล่อให้ตัวต่อที่กินแมลงดูดน้ำเลี้ยงให้เข้ามา
  • 3:56 - 4:00
    ถ้าคุณคิดว่าการสื่อสาร
    เป็นการแลกเปลี่ยนข้อความแล้วล่ะก็
  • 4:00 - 4:02
    พืชคงจะเป็นนักสื่อสารที่ไม่หยุดนิ่ง
  • 4:02 - 4:05
    พวกมันส่ง รับ
    และตอบสนองต่อสัญญาณ
  • 4:05 - 4:07
    โดยไม่ส่งเสียง
  • 4:07 - 4:11
    และโดยไม่ต้องมีสมอง จมูก พจนานุกรม
    หรือแม้แต่อินเตอร์เนท
  • 4:11 - 4:14
    และถ้าหากเราเรียนรู้ที่จะพูดกับพวกมัน
    ในแบบแผนกติกาของพวกมัน
  • 4:14 - 4:20
    เราอาจได้เครื่องมือใหม่ทรงพลัง ที่จะ
    ช่วยปกป้องพืชไร่และสายพันธุ์พืชที่มีค่า
  • 4:20 - 4:22
    มันจะทำให้คุณนึกฉงนสงสัยว่า
    เรายังพลาดอะไรไปอีกบ้าง
Title:
พืชสามารถพูดกันเองได้หรือเปล่า - ริชาร์ด คาร์บัน (Richard Karban)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/can-plants-talk-to-each-other-richard-karban

พืชสามารถพูดกันเองได้หรือเปล่า มันไม่น่าจะเป็นแบบนั้น พวกมันไม่มีการรับสัมผัสหรือระบบประสาทที่ซับซ้อน อย่างที่สัตว์มี และพวกมันดูก็ดูนิ่ง ๆ แต่มันอาจฟังดูแปลกที่พืชสามารถสื่อสารกันได้ -- โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกมันถูกโจมตี ริชาร์ด คาร์บัน อธิบายว่าทำไม

บทเรียนโดย Richard Karban, แอนิเมชันโดย Yukai Du

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:39

Thai subtitles

Revisions