Return to Video

พลังแห่งข้อจำกัดทางความคิดสร้างสรรค์ - แบรนดอน รอดริกูซ

  • 0:08 - 0:11
    ลองจินตนาการดูว่ามีคนขอให้คุณ
    ประดิษฐ์อะไรใหม่ ๆ
  • 0:11 - 0:13
    อะไรก็ได้ที่คุณต้องการ
  • 0:13 - 0:15
    ซึ่งเกิดจากการเลือกของคุณเอง
  • 0:15 - 0:17
    ให้มีรูปร่างหรือขนาดใดก็ได้
  • 0:17 - 0:21
    เสรีภาพในการสร้างสรรค์เช่นนี้
    ฟังดูอิสระดีใช่ไหม
  • 0:21 - 0:23
    หรืออาจไม่
  • 0:23 - 0:27
    หากคุณเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่
    คุณอาจชะงักไปเลยหากเจองานแบบนี้
  • 0:27 - 0:30
    ยิ่งไม่มีการชี้นำที่ลึกไปกว่านี้ด้วยแล้ว
    คุณจะเริ่มจากตรงไหน?
  • 0:30 - 0:35
    กลายเป็นว่าอิสระที่ไร้ขอบเขต
    ไม่ได้เป็นประโยชน์เสมอไป
  • 0:35 - 0:39
    ในความเป็นจริงแล้ว
    ทุกโครงการต่างมีปัจจัยจำกัดมากมาย
  • 0:39 - 0:40
    เช่น ต้นทุน
  • 0:40 - 0:42
    วัสดุใดบ้างที่คุณนำมาใช้ได้
  • 0:42 - 0:45
    และกฎทางฟิสิกส์ที่ไม่อาจแหกได้
  • 0:45 - 0:48
    ปัจจัยเหล่านี้เรียกว่า
    ข้อจำกัดทางความคิดสร้างสรรค์
  • 0:48 - 0:50
    และพวกมันคือข้อเรียกร้องและข้อจำกัด
  • 0:50 - 0:54
    ที่เราต้องระบุให้ได้
    เพื่อที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย
  • 0:54 - 0:57
    ข้อจำกัดทางความคิดสร้างสรรค์
    ถูกนำมาใช้ในวิชาชีพหลายแขนง
  • 0:57 - 0:59
    ทั้งสถาปนิก ศิลปิน
  • 0:59 - 1:00
    นักเขียน
  • 1:00 - 1:01
    วิศวกร
  • 1:01 - 1:03
    และนักวิทยาศาสตร์
  • 1:03 - 1:06
    ในหลายสาขาวิชา ข้อจำกัดทำหน้าที่
  • 1:06 - 1:09
    เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการค้นพบ
    และสร้างสรรค์นวัตกรรม
  • 1:09 - 1:12
    โดยเฉพาะในระหว่างกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • 1:12 - 1:16
    ข้อจำกัดเป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบการทดลอง
  • 1:16 - 1:20
    เช่น นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาไวรัสพันธุ์ใหม่
    ควรคำนึงว่า
  • 1:20 - 1:23
    "เราจะใช้เครื่องมือ
    และเทคนิคที่มีอยู่อย่างไร
  • 1:23 - 1:29
    เพื่อออกแบบการทดลองที่จะบอกเราได้ว่า
    ไวรัสแพร่เชื้อเข้าไปในเซลล์ร่างกาย
  • 1:29 - 1:32
    และมีข้อจำกัดความรู้ใดบ้าง
  • 1:32 - 1:36
    ที่ทำให้เราไม่เข้าใจวิถีทาง
    ของไวรัสใหม่นี้"
  • 1:36 - 1:40
    ในทางวิศวกรรมด้วยข้อจำกัด
    เราจึงต้องนำการค้นพบทางวิทยาศาสตร์
  • 1:40 - 1:43
    มาประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์
    หาสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์
  • 1:43 - 1:47
    ยกตัวอย่างเช่น
    ยานอวกาศไวกิง 1 และ 2
  • 1:47 - 1:51
    ที่ต้องอาศัยตัวขับเคลื่อนเพื่อลงจอด
    บนพื้นผิวดาวอังคารได้อย่างปลอดภัย
  • 1:51 - 1:53
    แล้วปัญหาล่ะ?
  • 1:53 - 1:56
    ตัวขับเคลื่อนนั้น
    ทิ้งสารเคมีแปลกปลอมลงบนพื้นผิวดาว
  • 1:56 - 1:59
    ซึ่งจะปนเปื้อนลงในตัวอย่างดิน
    ที่เก็บมาศึกษา
  • 1:59 - 2:02
    นี่แหละจึงเกิดข้อจำกัดใหม่ขึ้น
  • 2:02 - 2:04
    แล้วเราจะเอายานสำรวจลงจอด
    บนดาวอังคารได้อย่างไร
  • 2:04 - 2:07
    โดยไม่ให้สารเคมีจากโลกลงไปปนเปื้อน
  • 2:07 - 2:11
    ต่อมาในภารกิจพาทไฟน์เดอร์
    จึงใช้ระบบถุงลมนิรภัย
  • 2:11 - 2:14
    เพื่อให้ยานกระเด้งและกลิ้งจนหยุด
  • 2:14 - 2:18
    โดยไม่ต้องเผาผลาญเชื้อเพลิง
    ที่ทำให้เกิดการปนเปื้อน
  • 2:18 - 2:23
    หลายปีต่อมา เราต้องการที่จะส่ง
    โรฟเวอร์ที่ใหญ่กว่าเดิมอย่างคิวริออซิตี
  • 2:23 - 2:26
    อย่างไรก็ตาม
    มันใหญ่เกินกว่าที่จะใช้ระบบถุงลมนิรภัย
  • 2:26 - 2:29
    ดังนั้นจึงเกิดอีกข้อจำกัดใหม่ขึ้นมา
  • 2:29 - 2:33
    เราจะเอาโรฟเวอร์ขนาดใหญ่ลงจอดได้อย่างไร
    โดยที่ไม่ให้เชื้อเพลิงของยานอวกาศ
  • 2:33 - 2:35
    เปื้อนดินดาวอังคาร
  • 2:35 - 2:38
    วิศวกรที่มีความคิดหลุดโลก
  • 2:38 - 2:41
    จึงออกแบบเครนลอยฟ้า
  • 2:41 - 2:44
    หน้าตาเหมือนแขนกลติดกรงเล็บตามร้านของเล่น
  • 2:44 - 2:48
    มันจะหย่อนโรฟเวอร์
    จากที่สูงเหนือพื้นผิวดาว
  • 2:48 - 2:53
    ในแต่ละนวัตกรรม
    วิศวกรแสดงให้เห็นถึงนิสัยอันจำเป็น
  • 2:53 - 2:55
    ในการคิดแบบวิทยาศาสตร์
  • 2:55 - 2:59
    นั่นคือการแก้ปัญหานั้นต้องคำนึงถึง
    ข้อจำกัดทางเทคโนโลยีที่มีอยู่ด้วย
  • 2:59 - 3:01
    จึงจะก้าวไปข้างหน้าได้
  • 3:01 - 3:04
    บางครั้งความก้าวหน้านี้เป็นการไตร่ตรองซ้ำ
  • 3:04 - 3:08
    อย่างเช่น "เราจะออกแบบร่มชูชีพอย่างไร
    ให้ดีขึ้นพอที่จะให้โรฟเวอร์ลงจอดได้"
  • 3:08 - 3:11
    และบางครั้งก็เป็นการสร้างสิ่งใหม่
  • 3:11 - 3:12
    อย่างเช่น เราจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร
  • 3:12 - 3:16
    ถ้าร่มชูชีพที่ดีที่สุดใช้ไม่ได้ผล
  • 3:16 - 3:20
    ในทั้งสองกรณีนี้ ข้อจำกัดนำทางการตัดสินใจ
  • 3:20 - 3:23
    เพื่อให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ได้แน่นอน
  • 3:23 - 3:26
    นี่เป็นปัญหาภารกิจดาวอังคารอีกข้อ
    ที่รอการแก้
  • 3:26 - 3:30
    อย่างถ้าเราอยากส่งนักบินอวกาศ
    ซึ่งพวกเขาก็ต้องการน้ำเช่นกัน
  • 3:30 - 3:34
    เขาต้องอาศัยระบบกรองน้ำ
    เพื่อคงความสะอาดของน้ำไว้
  • 3:34 - 3:38
    และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100%
  • 3:38 - 3:40
    นั่นเป็นข้อจำกัดที่ยากมาก
  • 3:40 - 3:43
    และเราอาจไม่มีเทคโนโลยีที่สูงพอ
    ที่จะแก้ปัญหาในขณะนี้
  • 3:43 - 3:46
    แต่ในระหว่างการพยายามแก้ปัญหา
    เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้
  • 3:46 - 3:51
    เราอาจจะค้นพบนวัตกรรม
    ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นได้
  • 3:51 - 3:54
    การสร้างนวัตกรรมสำหรับระบบกรองน้ำ
  • 3:54 - 3:58
    อาจเป็นการค้นพบทางแก้ปัญหา
    ให้กับเกษตรกรในพื้นที่แห้งแล้งกันดาร
  • 3:58 - 4:04
    หรือค้นพบวิธีทำความสะอาดน้ำทิ้ง
    ที่ก่อให้เกิดมลพิษในเมืองใหญ่ ๆ ได้
  • 4:04 - 4:06
    จริง ๆ แล้วความก้าวหน้า
    ทางวิทยาศาสตร์หลาย ๆ อย่าง
  • 4:06 - 4:09
    เกิดจากความล้มเหลวโดยบังเอิญในสาขาหนึ่ง
  • 4:09 - 4:12
    ที่ตอบโจทย์ข้อจำกัดในอีกสาขาหนึ่ง
  • 4:12 - 4:16
    เมื่อนักวิทยาศาสตร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง
    บังเอิญทำให้
  • 4:16 - 4:18
    จานเพาะเชื้อเกิดการปนเปื้อนในห้องทดลอง
  • 4:18 - 4:23
    มันกลับนำไปสู่การค้นพบยาปฏิชีวนะชนิดแรก
    คือ เพนิซิลลิน
  • 4:23 - 4:25
    เหมือนกับการค้นพบสีสังเคราะห์
  • 4:25 - 4:26
    พลาสติก
  • 4:26 - 4:27
    และดินปืน
  • 4:27 - 4:29
    ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดจากความผิดพลาด
  • 4:29 - 4:33
    แต่กลายเป็นการตอบโจทย์ข้อจำกัดของปัญหาอื่น
  • 4:33 - 4:37
    การเข้าใจข้อจำกัดนำไปสู่
    ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
  • 4:37 - 4:42
    และสิ่งที่เป็นจริงในทางวิทยาศาสตร์
    ก็เป็นจริงในสาขาอื่น ๆ อีกหลายสาขาด้วย
  • 4:42 - 4:48
    ข้อจำกัดไม่ใช่การปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์
    แต่มันเป็นรากฐานของความคิดสร้างสรรค์ต่างหาก
Title:
พลังแห่งข้อจำกัดทางความคิดสร้างสรรค์ - แบรนดอน รอดริกูซ
Speaker:
แบรนดอน รอดริกูซ
Description:

รับชมบทเรียนฉบับเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-power-of-creative-constraints-brandon-rodriguez

ลองจินตนาการว่ามีคนขอให้คุณประดิษฐ์อะไรใหม่ ๆ อะไรก็ได้ที่คุณต้องการซึ่งเกิดจากการเลือกของคุณเอง ให้มีรูปร่างหรือขนาดใดก็ได้ เสรีภาพในการสร้างสรรค์เช่นนี้ฟังดูอิสระดีใช่ไหม หรือ...อาจไม่ใช่? หากคุณเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ คุณอาจชะงักไปเลยหากเจองานแบบนี้ ทำไมน่ะหรือ? แบรนดอน รอดริกูซ จะมาอธิบายให้เราได้รู้ว่าข้อจำกัดทางความคิดสร้างสรรค์ช่วยผลักดันให้เกิดการค้นพบและสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างไร

บทเรียนโดย แบรนดอน รอดริกูซ แอนนิเมชันโดย CUB Animation

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:10
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for The power of creative constraints
Supanat Termchaianan accepted Thai subtitles for The power of creative constraints
Supanat Termchaianan edited Thai subtitles for The power of creative constraints
siriporn chatratana edited Thai subtitles for The power of creative constraints
siriporn chatratana edited Thai subtitles for The power of creative constraints
siriporn chatratana edited Thai subtitles for The power of creative constraints
Sirapol Kwangtongpanich edited Thai subtitles for The power of creative constraints
Sirapol Kwangtongpanich edited Thai subtitles for The power of creative constraints
Show all

Thai subtitles

Revisions