Return to Video

การเคลื่อนที่มองไม่เห็นของวัตถุนิ่ง - แรน ทิโวนี (Ran Tivony)

  • 0:07 - 0:12
    วัตถุที่ไม่เคลื่อนที่มากมายรอบตัวคุณ
    อาจเหมือนกับอยู่กับที่นิ่ง ๆ
  • 0:12 - 0:16
    แต่มองให้ลึกลงไปในโครงสร้างอะตอมของพวกมัน
  • 0:16 - 0:18
    และคุณจะเห็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  • 0:18 - 0:19
    การยืด
  • 0:19 - 0:20
    การอัด
  • 0:20 - 0:21
    การดีดตัว
  • 0:21 - 0:22
    การกระโดด
  • 0:22 - 0:25
    การพัดพาอะตอมไปทุกหนทุกแห่ง
  • 0:25 - 0:28
    และแม้ว่าการเคลื่อนที่นั้นอาจดูโกลาหล
    แต่มันไม่ได้มั่ว
  • 0:28 - 0:30
    อะตอมที่เชื่อมอยู่ด้วยกัน
  • 0:30 - 0:32
    และเป็นโครงสร้างของเกือบทุกสสาร
  • 0:32 - 0:35
    เคลื่อนที่ตามหลักการ
  • 0:35 - 0:40
    ยกตัวอย่างเช่น อะตอมจับอยู่ด้วยกัน
    ด้วยพันธะโคเวเลนท์เป็นโมเลกุล
  • 0:40 - 0:42
    มีสามแบบพื้นฐาน
    ที่โมเลกุลสามารถเคลื่อนที่ได้
  • 0:42 - 0:43
    การหมุน
  • 0:43 - 0:44
    การเปลี่ยนถ่าย
  • 0:44 - 0:46
    และการสั่น
  • 0:46 - 0:49
    แบบการหมุนและการเปลี่ยนถ่าย
    เคลื่อนโมเลกุลในพื้นที่
  • 0:49 - 0:52
    ในขณะที่อะตอมของมัน
    ยังคงอยู่ห่างกันเท่าเดิม
  • 0:52 - 0:56
    ในขณะที่ การสั่นเปลี่ยนระยะห่างเหล่านั้น
  • 0:56 - 0:58
    และเปลี่ยนรูปร่างของโมเลกุลด้วย
  • 0:58 - 1:03
    สำหรับโมเลกุลใด ๆ คุณสามารถ
    นับวิธีการเคลื่อนที่ของมันได้
  • 1:03 - 1:05
    ซึ่งมันสอดคล้องกับระดับองศาอิสระ
    (degrees of freedom)
  • 1:05 - 1:07
    ซึ่งในทางวิศวกรรมแล้ว
  • 1:07 - 1:10
    มันหมายถึงจำนวนของตัวแปร
    ที่เราต้องการนำมาพิจารณา
  • 1:10 - 1:13
    เพื่อที่จะเข้าใจระบบทั้งหมด
  • 1:13 - 1:18
    พื้นที่สามมติติถูกกำหนดโดยแกน x, y และ z
  • 1:18 - 1:23
    การเปลี่ยนถ่ายทำให้โมเลกุลเคลื่อนที่
    ในทิศทางใด ๆ ก็ได้
  • 1:23 - 1:25
    นั่นคือสามระดับองศาอิสระ
  • 1:25 - 1:29
    มันยังสามารถหมุนไปรอบ ๆ แกนใด ๆ ก็ได้
  • 1:29 - 1:30
    ทำให้มีอีกสามระดับองศาอิสระ
  • 1:30 - 1:33
    แม้ว่าโมเลกุลที่เป็นเส้น
    อย่างคาร์บอนไดออกไซด์
  • 1:33 - 1:37
    ในกรณีนั้น การหมุนแบบหนึ่ง
    จะหมุนโมเลกุลไปรอบ ๆ แกนของมันเอง
  • 1:37 - 1:42
    ซึ่งไม่ถูกนับ
    เพราะว่ามันไม่ได้เปลี่ยนตำแหน่งของอะตอม
  • 1:42 - 1:45
    การสั่นทำให้เรื่องยากขึ้นมาอีกหน่อย
  • 1:45 - 1:47
    ลองมาดูโมเลกุลง่าย ๆ อย่างไฮโดรเจน
  • 1:47 - 1:52
    ความยาวของพันธะที่จับสองโมเลกุลไว้ด้วยกัน
    มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  • 1:52 - 1:54
    ราวกับว่าอะตอมถูกเชื่อมต่อกันด้วยขดลวด
  • 1:54 - 1:59
    การเปลี่ยนแปลงระยะห่างนั้นน้อยมาก
    น้อยกว่าหนึ่งในพันล้านเมตรเสียอีก
  • 1:59 - 2:04
    ยิ่งมีอะตอมและพันธะมากเท่าไร
    การสั่นก็ยิ่งมีได้หลากหลาย
  • 2:04 - 2:07
    ยกตัวอย่างเช่น โมเลกุลน้ำที่มีสามอะตอม
  • 2:07 - 2:10
    มีออกซิเจนหนึ่งอะตอม
    และสองไฮโดรเจนอะตอม
  • 2:10 - 2:12
    นั่นทำให้มีการสั่นได้สามแบบ
  • 2:12 - 2:14
    คือการยืดแบบสมมาตร
  • 2:14 - 2:15
    การยืดแบบไม่สมมาตร
  • 2:15 - 2:17
    และการงอ
  • 2:17 - 2:21
    โมเลกุลที่ซับซ้อนกว่านั้น
    ก็จะยิ่งมีการสั่นที่แปลกไปกว่านั้น
  • 2:21 - 2:22
    เช่นการเขย่า
  • 2:22 - 2:24
    การแกว่ง
  • 2:24 - 2:25
    การหมุนปั่น
  • 2:25 - 2:30
    ถ้าคุณรู้ว่าโมเลกุลมีอะตอมจำนวนเท่าไร
    คุณจะสามารถนับวิธีการหมุนได้
  • 2:30 - 2:32
    เริ่มจากจำนวนระดับองศาอิสระทั้งหมด
  • 2:32 - 2:35
    ซึ่งคือสามคูณด้วยจำนวนอะตอมในโมเลกุล
  • 2:35 - 2:39
    นั่นเป็นเพราะว่าแต่ละอะตอมสามารถเคลื่อน
    ไปได้ในสามทิศทาง
  • 2:39 - 2:41
    สามของจากทั้งหมดนั้น
    สอดคล้องกับการเปลี่ยนถ่าย
  • 2:41 - 2:45
    ที่อะตอมทั้งหมดเคลื่อนไปในทางเดียวกัน
  • 2:45 - 2:49
    และสามหรือสองสำหรับโมเลกุลเส้น
    สอดคล้องกับการหมุน
  • 2:49 - 2:54
    ทั้งหมด 3N-6
    หรือ 3N-5 สำหรับโมเลกุลเส้น
  • 2:54 - 2:56
    และการสั่น
  • 2:56 - 2:58
    แล้วอะไรที่ทำให้เกิดการเคลื่อนทั้งหมดนี้
  • 2:58 - 3:02
    โมเลกุลเคลื่อนก็เพราะว่า
    พวกมันดูดซับพลังงานจากสิ่งแวดล้อม
  • 3:02 - 3:06
    ในรูปแบบของความร้อนเป็นส่วนใหญ่
  • 3:06 - 3:08
    เมื่อพลังงานนี้ถูกส่งต่อไปยังโมเลกุล
  • 3:08 - 3:09
    พวกมันสั่น
  • 3:09 - 3:10
    หมุน
  • 3:10 - 3:13
    และเปลี่ยนถ่ายเร็วขึ้น
  • 3:13 - 3:17
    การเคลื่อนที่เร็วเพิ่มพลังงานกล
    ของโมเลกุลและอะตอม
  • 3:17 - 3:21
    เราเรียกกำหนดให้มันเป็นการเพิ่มอุณหภูมิ
    และพลังงานความร้อน
  • 3:21 - 3:25
    นี่คือปรากฏการณ์ที่ไมโครเวฟของคุณ
    ใช้เพื่ออุ่นอาหาร
  • 3:25 - 3:29
    เตาไมโครเวปปล่อยรังสีไมโครเวป
    ซึ่งถูกดูดซับไปโดยโมเลกุล
  • 3:29 - 3:32
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำ
  • 3:32 - 3:34
    พวกมันเคลื่อนไปรอบ ๆ เร็วขึ้นเรื่อย ๆ
  • 3:34 - 3:38
    ชนปะทะกันและกันและเพิ่มอุณหภูมิของอาหาร
    และพลังงานความร้อน
  • 3:38 - 3:41
    ปรากฏการณ์เรือนกระจกเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง
  • 3:41 - 3:43
    รังสีจากดวงอาทิตย์บางส่วน
    ที่เข้าสู่พื้นผิวโลก
  • 3:43 - 3:46
    ถูกสะท้อนกลับออกไปในชั้นบรรยากาศ
  • 3:46 - 3:51
    ก๊าซเรือนกระจก อย่างเช่นไอน้ำและ
    คาร์บอนไดออกไซด์ดูดซับการรังสีนี้
  • 3:51 - 3:52
    และมีความเร็วมากขึ้น
  • 3:52 - 3:58
    โมเลกุลที่ร้อนขึ้นและเคลื่อนที่เร็วขึ้น
    เปล่งรังสีอินฟาเรดออกมาทุกทิศทาง
  • 3:58 - 4:00
    รวมถึงกลับมายังโลก และทำให้โลกร้อนขึ้นด้วย
  • 4:00 - 4:03
    การเคลื่อนโมเลกุลพวกนี้เคยหยุดบ้างไหม
  • 4:03 - 4:06
    คุณอาจคิดว่านั่นอาจเกิดขึ้นที่ศูนย์องศาสมบูรณ์
  • 4:06 - 4:08
    ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เย็นที่สุด
  • 4:08 - 4:11
    ไม่มีใครสามารถทำความเย็นได้ขนาดนั้น
  • 4:11 - 4:12
    แต่ถึงแม้ว่าเราทำได้
  • 4:12 - 4:16
    โมเลกุลก็ยังคงเคลื่อน
    เนื่องจากหลักกลศาสตร์ควอนตัม
  • 4:16 - 4:19
    ที่เรียกว่า พลังงานที่จุดศูนย์
  • 4:19 - 4:23
    อีกนัยหนึ่งก็คือ ทุกอย่างเคลื่อนที่
    ตั้งแต่จักรวาลเคลื่อนที่
  • 4:23 - 4:26
    และจะยังเป็นอย่างนั้นต่อไปอีกนาน
    หลังเราจากไปแล้ว
Title:
การเคลื่อนที่มองไม่เห็นของวัตถุนิ่ง - แรน ทิโวนี (Ran Tivony)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-invisible-motion-of-still-objects-ran-tivony

วัตถุที่ไม่เคลื่อนที่มากมายรอบตัวคุณอาจเหมือนกับอยู่กับที่นิ่ง ๆ แต่มองให้ลึกลงไปในโครงสร้างอะตอมของพวกมัน และคุณจะเห็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา -- ที่มีทั้งการยืด การอัด การดีดตัว การกระโดด การพัดพา อะตอมไปทุกหนทุกแห่ง แรน ทิโวนี อธิบายว่าการเคลื่อนที่ของโมเลกุลเกิดขึ้นทำไมและอย่างไร และสำรวจว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากมันหยุดนิ่ง

บทเรียนโดย Ran Tivony, แอนิเมชันโดย Zedem Media

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:44

Thai subtitles

Revisions