Return to Video

ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ... และพลาสมา - ไมเคิล มูริลโล (Michael Murillo)

  • 0:08 - 0:12
    คุณเคยเห็นแสงแวบที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตย์หรือไม่
  • 0:12 - 0:15
    แสงนั้นคืออะไร
  • 0:15 - 0:16
    แล้วฟ้าผ่า
  • 0:16 - 0:17
    แสงเหนือ
  • 0:17 - 0:19
    หรือหางของดาวหางล่ะ
  • 0:19 - 0:21
    แสงเหล่านั้น
    รวมถึงแสงอีกหลายประเภท
  • 0:21 - 0:27
    อันที่จริงแล้ว 99.9% ของเอกภาพ
    ล้วนสร้างขึ้นจากพลาสมา
  • 0:27 - 0:29
    พลาสมาคือสถานะของสสาร
  • 0:29 - 0:33
    ซึ่งแตกต่างจากสถานะที่เราคุ้นเคยกัน
  • 0:33 - 0:34
    ลองนึกถึงน้ำแข็ง
  • 0:34 - 0:38
    น้ำแข็ง เป็นของแข็ง
    พอละลายกลายเป็นน้ำ ซึ่งเป็นของเหลว
  • 0:38 - 0:43
    ซึ่งเมื่อได้รับความร้อน
    จะระเหยกลายเป็นไอน้ำ ซึ่งเป็นแก๊ส
  • 0:43 - 0:46
    การให้ความร้อนแก่ไอน้ำให้สูง
    ถึงอุณหภูมิหนึ่ง
  • 0:46 - 0:50
    จะทำให้โมเลกุลของน้ำแตกตัว
  • 0:50 - 0:54
    เป็นอะตอมไฮโดรเจนและออกซิเจน
    ที่เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ
  • 0:54 - 0:57
    และหากได้รับความร้อนเพิ่มอีกเล็กน้อย
    กระบวนการไอออไนเซชันก็จะเกิดขึ้น
  • 0:57 - 1:01
    และอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ
    ก็จะหลุดออกจากอะตอม
  • 1:01 - 1:04
    ส่วนที่เหลืออยู่คือไอออนซึ่งมีประจุบวก
  • 1:04 - 1:10
    ส่วนผสมของประจุลบและบวก
    ซึ่งเคลื่อนที่ได้อิสระนี้เรียกว่าพลาสมา
  • 1:10 - 1:15
    และเมื่ออุณหภูมิสูงถึงจุดจุดหนึ่ง
    แก๊สทุกประเภทสามารถกลายเป็นพลาสมาได้
  • 1:15 - 1:19
    อนุภาคที่มีประจุซึ่งเคลื่อนที่ได้อิสระเหล่านี้
    มีพฤติกรรมแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
  • 1:19 - 1:22
    จากอนุภาคในสสารในสถานะอื่นๆ
  • 1:22 - 1:25
    เมื่อลูกบิดประตู ซึ่งเป็นของแข็ง
    สะสมประจุไฟฟ้าสถิตย์
  • 1:25 - 1:28
    มันไม่ได้มีลักษณะหรือมีพฤติกรรมแตกต่าง
  • 1:28 - 1:32
    ยกเว้นแต่เข็มทิศ
    หรือวัสดุอื่นๆ ที่เป็นแม่เหล็ก
  • 1:32 - 1:37
    เราแทบไม่เห็นสสารมีปฏิกิริยา
    กับสนามแม่เหล็ก
  • 1:37 - 1:40
    แต่ถ้าเอาพลาสมาไปไว้ในสนามไฟฟ้า
    หรือสนามแม่เหล็ก
  • 1:40 - 1:42
    คุณจะเห็นปรากฏการณ์ที่แตกต่าง
  • 1:42 - 1:44
    เพราะว่าพลาสมานั้นมีประจุ
  • 1:44 - 1:46
    สนามไฟฟ้าจึงเร่งความเร็วพวกมันได้
  • 1:46 - 1:51
    ส่วนสนามแม่เหล็กก็บังคับทิศทาง
    ให้พวกมันวิ่งเป็นวงกลม
  • 1:51 - 1:53
    และเมื่ออนุภาคในพลาสมาชนกัน
  • 1:53 - 1:56
    หรือถูกเร่งโดยไฟฟ้าหรือแม่เหล็ก
  • 1:56 - 1:58
    แสงก็จะเปล่งออกมา
  • 1:58 - 2:00
    ซึ่งนั่นคือสิ่งที่เราเห็น
    เมื่อเรามองพลาสมา
  • 2:00 - 2:03
    ตัวอย่างเช่นแสงเหนือ
  • 2:03 - 2:07
    พลาสมาไม่เพียงแค่เป็น
    ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่สวยงามเท่านั้น
  • 2:07 - 2:13
    ลองนึกถึงลูกบาศก์ขนาดเล็กซึ่งเกิดจากแก๊สทั่วไป
    โดยมีแรงดันไฟฟ้าแรงสูงคร่อมอยู่
  • 2:13 - 2:15
    สนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
  • 2:15 - 2:20
    ผลักอิเล็กตรอนออกจากอะตอม
    และเร่งพวกมันจนมีความเร็วสูงพอ
  • 2:20 - 2:23
    ทำให้อะตอมอื่นๆ แตกตัวเป็นไอออนได้
  • 2:23 - 2:27
    การเติมสารเจือปน
    เข้าไปในลูกบาศก์ของแก๊สนี้
  • 2:27 - 2:31
    ส่งผลให้มันมีการดูดซับ และปลดปล่อยพลังงาน
    ในจำนวนที่แน่นอน
  • 2:31 - 2:35
    ในรูปแบบของการแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต
  • 2:35 - 2:37
    หากเราฉาบลูกบาศก์เหล่านี้
  • 2:37 - 2:40
    ไว้ด้วยสารเรืองแสงสีต่างๆ
  • 2:40 - 2:45
    ที่เปล่งแสงเมื่อแสงอัลตราไวโอเลต
    ที่ปริมาณพอเหมาะตกกระทบมัน
  • 2:45 - 2:49
    ทีนี้ก็ลองสร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    ขึ้นจากลูกบาศก์เล็กๆ เหล่านี้
  • 2:49 - 2:53
    โดยลูกบาศก์แต่ละก้อนถูกควบคุม
    โดยวงจรอิเล็กทรอนิคส์อันซับซ้อน
  • 2:53 - 2:56
    ซึ่งคุณอาจมองมันอยู่ตอนนี้ก็ได้
  • 2:56 - 2:59
    สิ่งนี้เรียกว่า ทีวีพลาสมา
  • 2:59 - 3:02
    พลาสมายังถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
  • 3:02 - 3:06
    นักเคมีด้านพลาสมาได้สร้างพลาสมา
    ที่มีคุณสมบัติเฉพาะขึ้นมา
  • 3:06 - 3:09
    ซึ่งสามารถทำลาย
    หรือแปรสภาพสารเคมีที่ต้องการ
  • 3:09 - 3:15
    และฆ่าเชื้อโรคในอาหาร
    หรือตามพื้นของโรงพยาบาล
  • 3:15 - 3:17
    พลาสมามีอยู่ทุกที่รอบๆ ตัวเรา
  • 3:17 - 3:20
    ทั้งในรูปแบบที่น่าตื่นตา
    และแบบที่ใช้ประโยชน์ได้
  • 3:20 - 3:23
    และในอนาคต พลาสมาอาจถูกนำไปใช้
  • 3:23 - 3:26
    เพื่อกำจัดขยะในบ่อขยะอย่างถาวร
  • 3:26 - 3:29
    กำจัดสารพิษจากอากาศ และแหล่งน้ำของเรา
    อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 3:29 - 3:33
    และอาจให้แหล่งพลังงานหมุนเวียนสะอาด
  • 3:33 - 3:35
    ที่ไม่มีวันหมด
Title:
ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ... และพลาสมา - ไมเคิล มูริลโล (Michael Murillo)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/solid-liquid-gas-and-plasma-michael-murillo

คุณเคยเห็นลำแสงที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตย์ไหม แสงแวบนั้นคืออะไร แล้วฟ้าผ่า หรือหางของดาวหางล่ะ แสงเหล่านั้นและแสงอื่นๆ อีกมากมาย -- อันที่จริงแล้ว 99.9% ของเอกภพนั้นสร้างขึ้นจากพลาสมา ไมเคิล มูริลโล จะอธิบายให้ฟังอย่างละเอียดเกี่ยวกับพลาสมา

บทเรียนโดย: Michael Murillo แอนิเมชันโดย Tomás Pichardo Espaillat

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:52

Thai subtitles

Revisions