Return to Video

อะไรที่ทำให้เราป่วย ลองมองย้อนไปต้นทางดูสิ

  • 0:01 - 0:02
    กว่าสิบปีมาแล้วที่ผมเป็นหมอ
  • 0:02 - 0:05
    ผมได้รักษาเหล่าทหารผ่านศึก
    ซึ่งกลายเป็นคนเร่ร่อน
  • 0:05 - 0:07
    รักษาครอบครัวชนชั้นแรงงาน
  • 0:07 - 0:11
    ผมได้ดูแลรักษาผู้คน
    ที่อาศัยและทำงาน
  • 0:11 - 0:14
    ในสภาวะอันยากลำบาก
  • 0:14 - 0:16
    และมันทำให้ผมเชื่อว่า
  • 0:16 - 0:18
    เราต้องมีมุมมองพื้นฐานที่ต่างออกไป
  • 0:18 - 0:20
    ต่อการบริการสาธารณสุข
  • 0:20 - 0:21
    เราต้องการระบบสาธารณสุข
  • 0:21 - 0:23
    ที่เป็นมากกว่าการดูแลรักษาตามอาการ
  • 0:23 - 0:25
    ที่ทำให้พวกเขามาที่โรงพยาบาล
  • 0:25 - 0:28
    แต่เราต้องตรวจไปถึงสาเหตุ
  • 0:28 - 0:30
    และพัฒนาสุขภาพของผู้คน
    ตั้งแต่ต้นทางกันเลย
  • 0:30 - 0:32
    ต้นทางของการเจ็บป่วยนั้น
  • 0:32 - 0:35
    เราหาไม่พบในห้องตรวจหรอกครับ
  • 0:35 - 0:36
    แต่มันอยู่ในที่ที่พวกเราอาศัย
  • 0:36 - 0:38
    ที่ที่พวกเราทำงาน
  • 0:38 - 0:41
    ที่ที่เรากิน, นอน, เรียนรู้และเล่น,
  • 0:41 - 0:45
    ที่ที่เราใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับมัน
  • 0:45 - 0:48
    แล้วแนวทางใหม่ของการบริการทางสุขภาพนี้
  • 0:48 - 0:51
    ที่ทำให้สุขภาพของเราพัฒนาได้ตั้งแต่ต้นทาง
    มีหน้าตาอย่างไร?
  • 0:51 - 0:55
    เพื่อให้เข้าใจง่ายนะครับ
    ผมจะเล่าเรื่องของเวโรนิกาให้ฟัง
  • 0:55 - 0:56
    เวโรนิกาเป็นคนไข้รายที่ 17
  • 0:56 - 0:58
    ในวันที่ผมมีคนไข้ 26 คน
  • 0:58 - 1:01
    ที่คลินิกที่เซาท์เซนทรัลลอสแอนเจลิส
  • 1:01 - 1:04
    เธอเข้ามาที่คลินิกด้วยอาการปวดหัวเรื้อรัง
  • 1:04 - 1:05
    อาการนี้เรื้อรังอยู่หลายปี
  • 1:05 - 1:07
    และในกรณีนี้
  • 1:07 - 1:09
    เป็นปัญหาที่ก่อความรำคาญมากๆ
  • 1:09 - 1:12
    จริงๆ แล้วสามสัปดาห์
    ก่อนที่เธอจะมาที่คลินิกผม
  • 1:12 - 1:15
    เธอได้ไปที่แผนกฉุกเฉินสักที่
    ในลอส แอนเจลิสมาก่อนแล้ว
  • 1:15 - 1:18
    คุณหมอแผนกฉุกเฉินได้พูดกับเธอว่า
  • 1:18 - 1:20
    "เราได้ผลตรวจของเธอมาแล้ว เวโรนิกา
  • 1:20 - 1:22
    ผลตรวจก็ดูปกติดี
    งั้นผมจ่ายยาแก้ปวดให้คุณนะ
  • 1:22 - 1:25
    แล้วตามดูอาการ
    กับคุณหมออายุรกรรมอีกที
  • 1:25 - 1:27
    แต่ถ้าอาการปวดยังไม่หายหรือแย่ลง
  • 1:27 - 1:28
    คงต้องกลับมาอีกทีนะ"
  • 1:28 - 1:31
    เวโรนิกาก็ทำตามคำแนะนำของหมอ
  • 1:31 - 1:33
    และเธอก็กลับไปอีก
  • 1:33 - 1:36
    เธอไม่ได้กลับไปแค่ครั้งเดียว
    แต่กลับไปอีกสองครั้ง
  • 1:36 - 1:39
    ในสามสัปดาห์ก่อนที่เวโรนิกาจะมาพบเรานั้น
  • 1:39 - 1:41
    เธอไปที่แผนกฉุกเฉินถึงสามครั้ง
  • 1:41 - 1:43
    เธอไปหาหมอหลายครั้ง
  • 1:43 - 1:45
    เข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลและคลินิก
  • 1:45 - 1:46
    เหมือนที่เธอเคยทำให้หลายปีที่ผ่านมา
  • 1:46 - 1:50
    พยายามหาวิธีรักษาแต่ก็ไม่หายเสียที
  • 1:50 - 1:52
    เมื่อเวโรนิกาเข้ามาที่คลินิกของเรา
  • 1:52 - 1:54
    แม้ว่าตอนนั้นเธอจะได้รักษา
    กับผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแล้ว
  • 1:54 - 1:57
    แต่เธอก็ยังคงป่วยอยู่
  • 1:57 - 2:01
    ดังนั้นเมื่อเธอมาหาเรา
    เราก็ได้ลองหาวิธีการอื่นๆ ดู
  • 2:01 - 2:04
    วิธีของเราเริ่มจาก
    ผู้ช่วยแพทย์ครับ
  • 2:04 - 2:06
    ผู้ช่วยคนนี้จบแค่มัธยมครับ
  • 2:06 - 2:07
    แต่เขารู้จักแถบที่เธออยู่ดี
  • 2:07 - 2:09
    ผู้ช่วยของเราได้ถามคำถามทั่วๆ ไปกับเธอ
  • 2:09 - 2:12
    เธอถามว่า "คุณเป็นอะไรมา"
  • 2:12 - 2:14
    "ปวดหัวค่ะ"
  • 2:14 - 2:15
    "ลองตรวจสัญญาณชีพดูนะ"
  • 2:15 - 2:18
    เราก็วัดความดัน ชีพจร
  • 2:18 - 2:20
    แต่เมื่อลองเราถามบางอย่าง
    ที่สำคัญไม่แพ้กัน
  • 2:20 - 2:22
    กับเวโรนิกาและผู้ป่วยแบบเดียวกับเธอ
  • 2:22 - 2:24
    ในตอนใต้ของลอสแอนเจลิสว่า
  • 2:24 - 2:26
    "เวโรนิกา คุณช่วยอธิบาย
    บ้านที่คุณอยู่หน่อยสิ"
  • 2:26 - 2:28
    เอาแบบเจาะจงหน่อยนะ
    เช่น สภาพบ้าน
  • 2:28 - 2:30
    มีราไหม มีน้ำรั่วบ้างไหม
  • 2:30 - 2:33
    มีแมลงสาบในบ้านหรือเปล่า"
  • 2:33 - 2:35
    ปรากฏว่า เวโรนิกาไม่ปฏิเสธ
    ทั้งสามอย่างนั้นเลยครับ
  • 2:35 - 2:37
    แมลงสาบ, น้ำรั่ว, เชื้อรา
  • 2:37 - 2:40
    แล้วผมก็ได้อ่านเวชระเบียนของเธอ
    อย่างละเอียด
  • 2:40 - 2:42
    จากนั้นก็เปิดประตู
  • 2:42 - 2:44
    เข้าห้องตรวจไปหาเธอ
  • 2:44 - 2:45
    คุณต้องเข้าใจว่าเวโรนิกา
  • 2:45 - 2:48
    ก็เหมือนกับผู้ป่วยที่ผมได้เคย
    ดูแลมาก่อน
  • 2:48 - 2:50
    พวกเขาเคยเป็นคนที่มีสง่า
    มีหน้ามีตา
  • 2:50 - 2:52
    และมีบุคลิกที่ดีมาก่อน
  • 2:52 - 2:54
    แต่ในเวโรนิกาในตอนนี้
  • 2:54 - 2:57
    เธอนั่งอยู่ตรงโต๊ะตรวจ
    อย่างหมดสภาพ
  • 2:57 - 3:01
    เธอเอามือกุมหัวเพราะอาการของเธอ
  • 3:01 - 3:02
    เมื่อเธอเงยหน้าขึ้นมา
  • 3:02 - 3:05
    ผมทักเธอว่า "สวัสดีครับ"
  • 3:05 - 3:07
    แล้วผมก็สังเกตบางอย่าง
  • 3:07 - 3:08
    ตรงสันจมูกของเธอ
  • 3:08 - 3:10
    มันเป็นรอยย่นๆ
  • 3:10 - 3:14
    ในทางการแพทย์แล้วเราเรียกรอยย่นนี้ว่า
    รอยภูมิแพ้ (allergy salute)
  • 3:14 - 3:17
    เราพบมันได้บ่อยในเด็กๆ
    ที่เป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรัง
  • 3:17 - 3:19
    โดยรอยย่นนี้มาจากการที่
    มีการถูกจมูกขึ้นลงเป็นเวลานาน
  • 3:19 - 3:22
    เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูกจากภูมิแพ้
  • 3:22 - 3:24
    แล้วเราก็พบอาการนี้ในเวโรนิกา
  • 3:24 - 3:26
    ซึ่งแสดงว่าเธอมีอาการของภูมิแพ้อยู่
  • 3:26 - 3:29
    หลังจากจากซักประวัติเธอซักพัก
  • 3:29 - 3:31
    รวมถึงตรวจร่างกายเธอ
  • 3:31 - 3:34
    ผมก็พูดกับเธอว่า "เวโรนิกา
    ผมคิดว่าผมรู้แล้วว่าคุณเป็นอะไร
  • 3:34 - 3:36
    ผมคิดว่าคุณเป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรัง
  • 3:36 - 3:38
    และผมคิดว่าคุณเป็นไมเกรน
    และไซนัสอักเสบร่วมด้วย
  • 3:38 - 3:42
    ทั้งหมดนี่ผมคิดว่ามันเนื่องมาจาก
    บ้านของคุณนะ"
  • 3:42 - 3:44
    เธอดูคลายกังวลไปนิดหน่อย
  • 3:44 - 3:46
    เพราะนี่คือครั้งแรก
    ที่เธอได้รับการวินิฉัย
  • 3:46 - 3:48
    แต่ผมกล่าวอีกว่า
    "เราต้องคุยถึงการรักษาแล้วล่ะ
  • 3:48 - 3:51
    ผมจะสั่งยาเพื่อบรรเทา
    อาการของคุณนะ
  • 3:51 - 3:55
    แต่ผมต้องส่งต่อเคสคุณ
    ให้กับผู้เชี่ยวชาญด้วย ถ้าคุณตกลง"
  • 3:55 - 3:57
    ทีนี้ ผู้เชี่ยวชาญที่ผมว่า
    ก็ไม่ได้หาตัวง่ายเลย
  • 3:57 - 3:59
    ในเขตตอนใต้ของลอส แอนเจลิส
  • 3:59 - 4:02
    เธอเลยทำท่าว่า "จริงเหรอคะ"
  • 4:02 - 4:04
    และผมก็บอกเธอว่า "จริงๆ แล้ว
    ผู้เชี่ยวชาญที่ผมหมายถึงนั้น
  • 4:04 - 4:07
    คือ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนนั่นเอง
  • 4:07 - 4:08
    ถ้าคุณตอบตกลงนะ
  • 4:08 - 4:09
    เขาจะไปที่บ้าน
  • 4:09 - 4:11
    ไปดูว่ามันเกิดอะไรขึ้น
  • 4:11 - 4:12
    พวกน้ำรั่ว เชื้อรา
  • 4:12 - 4:16
    เขาจะไปช่วยคุณจัดการปัญหาในบ้านพวกนี้
    ที่ผมคิดว่าเป็นที่มาของอาการที่คุณเป็นอยู่
  • 4:16 - 4:18
    แล้วถ้าจำเป็นนะ
    อสม.ก็จะส่งต่อคุณ
  • 4:18 - 4:21
    ไปยังผู้เชี่ยวชาญอีกคน
    นั่นก็คือทนายอาสา
  • 4:21 - 4:23
    เพราะว่าเจ้าของบ้านเช่านั้นอาจจะ
  • 4:23 - 4:26
    ไม่ได้ซ่อมแซมบ้านเขาให้ดีอย่างที่ควร"
  • 4:26 - 4:28
    เวโรนิกากลับมาหาเราสองสามเดือนถัดมา
  • 4:28 - 4:31
    เธอเห็นด้วยกับแผนการรักษานี้
  • 4:31 - 4:34
    เธอบอกเราว่าอาการของเธอนั้น
    ดีขึ้นกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
  • 4:34 - 4:36
    เธอไปทำงานได้นานขึ้น
  • 4:36 - 4:38
    ใช้เวลากับครอบครับได้มาก
  • 4:38 - 4:42
    และไปแผนกฉุกเฉินน้อยลง
  • 4:42 - 4:44
    อาการของเวโรนิกาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • 4:44 - 4:46
    เธอมีลูกชายที่ป่วยเป็นหอบหืด
  • 4:46 - 4:48
    ซึ่งลูกเธอก็หายจากหอบหืดที่เคยเป็นเลย
  • 4:48 - 4:50
    เธอดีขึ้น และไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่
  • 4:50 - 4:54
    บ้านของเธอจะดีขึ้นด้วย
  • 4:54 - 4:56
    เรื่องที่กล่าวมานี้
    คือวิธีที่แตกต่าง
  • 4:56 - 5:00
    ที่ทำให้เรารักษาคนป่วยได้ดีขึ้น
  • 5:00 - 5:03
    ไปโรงบาลน้อยลง
    มีสุขภาพที่ดีขึ้น
  • 5:03 - 5:05
    ง่ายๆครับ มันเริ่มจากคำถามที่ว่า
  • 5:05 - 5:08
    "เวโรนิกา บ้านคุณเป็นอย่างไรบ้าง"
  • 5:08 - 5:11
    แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ ระบบ
  • 5:11 - 5:13
    ระบบที่ให้เราซักประวัติ
    ด้วยคำถามทั่วไป
  • 5:13 - 5:15
    กับเวโรนิกาและคนอีกมากที่คล้ายเธอ
  • 5:15 - 5:17
    เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพวกเขาในสังคม
  • 5:17 - 5:19
    ที่ๆสุขภาพของพวกเขา
  • 5:19 - 5:22
    และรวมถึงความเจ็บป่วย ได้เริ่มขึ้น
  • 5:22 - 5:24
    ในที่อย่าง แอลเอ ตอนใต้นี้
  • 5:24 - 5:26
    ที่อยู่อาศัยที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
  • 5:26 - 5:28
    และอาหารแย่ๆ นั้นคือปัจจัยสำคัญ
  • 5:28 - 5:29
    ที่เป็นปัญหาพวกเราได้ตระหนักดี
  • 5:29 - 5:31
    แต่ในสังคมอื่นๆ มันอาจจะเป็น
  • 5:31 - 5:33
    การขนส่งมวลชน, โรคอ้วน
  • 5:33 - 5:37
    พื้นที่สีเขียว ความรุนแรงจากอาวุธปืน
  • 5:37 - 5:39
    สิ่งที่สำคัญคือ เราต้องมีระบบ
  • 5:39 - 5:40
    มีวิธีที่มันใช้ได้จริง
  • 5:40 - 5:43
    และวิธีการนั้น
    ผมเรียกว่าการมองไปย้อนต้นทาง
  • 5:43 - 5:44
    จริงๆคำนี้คุณก็อาจคุ้นๆอยู่
  • 5:44 - 5:46
    มันมาจากเรื่องเล่าที่คุ้นกันดี
  • 5:46 - 5:49
    ในวงการสาธารณสุข
  • 5:49 - 5:51
    เขาเล่าว่า มีคนสามคนเป็นเพื่อนกัน
  • 5:51 - 5:53
    ลองคิดว่าคุณเป็นหนึ่งในสามคนนั้น
  • 5:53 - 5:55
    ได้เดินทางมาถึงแม่น้ำ
  • 5:55 - 5:58
    วิวตรงนั้นมันสวยมาก
    แต่ก็มีเด็กคนหนึ่งกำลังร้องไห้อยู่
  • 5:58 - 6:01
    แล้วก็ยังมีเด็กสี่ห้าคนกำลังจมน้ำ
    ร้องขอความช่วยเหลืออยู่
  • 6:01 - 6:03
    แน่นอนคุณก็คงทำเหมือนที่ทุกคนทำ
  • 6:03 - 6:05
    คุณโดดลงไปในน้ำกับเพื่อนของคุณ
  • 6:05 - 6:07
    เพื่อนคนแรกพูดว่า เธอจะช่วยเด็ก
  • 6:07 - 6:08
    คนที่กำลังจะจมน้ำ
  • 6:08 - 6:10
    เด็กพวกนี้กำลังจะตกไปกับน้ำตกอยู่แล้ว
  • 6:10 - 6:12
    เพื่อนคนที่สองก็พูดบ้างว่า
    เธอจะสร้างแพ
  • 6:12 - 6:14
    เพื่อที่จะแน่ใจว่ามีเด็กตกลงไปในน้ำตก
  • 6:14 - 6:15
    จำนวนน้อยที่สุด
  • 6:15 - 6:17
    เรามาช่วยกันต่อแพเถอะ
  • 6:17 - 6:18
    เด็กๆจะได้รอดมากขึ้น
  • 6:18 - 6:20
    เอาไม้มามัดรวมกันเร็ว
  • 6:20 - 6:22
    เวลาผ่านไป พวกเขาช่วยเด็กๆ ได้
    แต่ก็ไม่ทั้งหมด
  • 6:22 - 6:23
    แค่บางส่วนเท่านั้น
  • 6:23 - 6:25
    ยังมีเด็กๆตกลงไป
    และสองคนนั้นก็มองขึ้นมา
  • 6:25 - 6:27
    มองหาเพื่อนอีกคน
  • 6:27 - 6:28
    ที่หายไปไหนก็ไม่รู้
  • 6:28 - 6:29
    แต่สุดท้ายสองคนนั้นก็พบเธอ
  • 6:29 - 6:31
    เธออยู่ในแม่น้ำ ว่ายน้ำห่างไปจากพวกเขา
  • 6:31 - 6:34
    ขึ้นสวนกระแสไป และช่วยเด็กๆไปด้วย
  • 6:34 - 6:35
    สองคนนั้นตะโกนถาม
    "จะไปไหน
  • 6:35 - 6:37
    ยังมีเด็กให้ช่วยตรงนี้อีกนะ"
  • 6:37 - 6:38
    และเธอตอบกลับมาว่า
  • 6:38 - 6:39
    "ฉันจะไปดูว่า
  • 6:39 - 6:43
    ใครหรือตัวอะไรมันโยนเด็กลงมาในแม่น้ำนี่"
  • 6:43 - 6:46
    ในทางการแพทย์แล้ว เรามีเพื่อนคนแรก
  • 6:46 - 6:47
    คนที่เป็นหมอเฉพาะทาง
  • 6:47 - 6:50
    เรามีหมอผ่าตัด เรามีพยาบาลไอซียู
  • 6:50 - 6:51
    เรามีหมอแผนกฉุกเฉิน
  • 6:51 - 6:54
    เรามีพวกเขาเหล่านี้ เป็นผู้ช่วยชีวิต
  • 6:54 - 6:57
    พวกเขาจะช่วยเราตอนที่เราสาหัสแล้วได้
  • 6:57 - 6:59
    และเรายังมีเพื่อนคนที่สอง
  • 6:59 - 7:01
    คนที่ต่อแพ
  • 7:01 - 7:03
    คนพวกนี้คือหมออายุกรรมทั่วไป
  • 7:03 - 7:05
    คนที่จะช่วยเรารักษา
  • 7:05 - 7:06
    จัดการโรคเรื้อรังต่างๆ
  • 7:06 - 7:08
    พวกโรคเบาหวาน ความดัน
  • 7:08 - 7:09
    ตรวจสุขภาพประจำปีให้คุณ
  • 7:09 - 7:11
    ฉีดวัคซีนกันโรคประจำปีให้
  • 7:11 - 7:13
    พวกเขาจะทำให้คุณอุ่นใจ
  • 7:13 - 7:17
    ว่าคุณจะมีแพนั่งอย่างปลอดภัย
  • 7:17 - 7:18
    แต่ก็ยังมีอีกคนที่สำคัญมากๆ
  • 7:18 - 7:20
    นั่นคือเพื่อนคนที่มองย้อนขึ้นไปนั่นเอง
  • 7:20 - 7:22
    พวกเขามีจำนวนไม่เพียงพอ
  • 7:22 - 7:24
    พวกเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
  • 7:24 - 7:26
    ที่รู้ว่าสุขภาพที่ดีนั้นเกิดขึ้นได้
  • 7:26 - 7:28
    ณ ที่ๆเราอยู่อาศัย ทำงาน พักผ่อน
  • 7:28 - 7:31
    แต่มากไปกว่านั้น
  • 7:31 - 7:33
    เขายังจะสร้างระบบ
  • 7:33 - 7:35
    ในคลินิก ในโรงพยาบาลของพวกเขา
  • 7:35 - 7:38
    ระบบที่จะใช้วิธีการมองย้อนขึ้นไปดูต้นทาง
  • 7:38 - 7:40
    ที่เชื่อมผู้คนเข้ากับสิ่งที่พวกเขาต้องการ
  • 7:40 - 7:43
    ข้างนอกคลินิกนั่นอีกด้วย
  • 7:43 - 7:45
    ตอนนี้คุณอาจจะสงสัย
    อาจจะมีคำถาม
  • 7:45 - 7:47
    คำถามที่คนในวงการแพทย์จะถามว่า
  • 7:47 - 7:50
    "หมอกับพยาบาลเนี่ยนะ
    จะไปคิดถึงเรื่องขนส่งกับสภาพบ้าน"
  • 7:50 - 7:53
    เราแค่จ่ายยาและรักษาไปเท่านั้นนี่
  • 7:53 - 7:54
    เราต้องทำสิ่งที่เราทำตอนนี้ให้ดีสิ
  • 7:54 - 7:57
    แน่นอนครับ การช่วยผู้คนที่จมน้ำนั้น
  • 7:57 - 8:00
    เป็นสิ่งที่สำคัญ
  • 8:00 - 8:02
    หมอๆไม่ได้มีเวลาเหลือเฟือ
  • 8:02 - 8:05
    แต่ผมขอแย้งว่า
    ถ้าเราใช้เหตุผลนำแล้ว
  • 8:05 - 8:07
    เราจะพบว่าการมองย้อนต้นทาง
    ไปหาสาเหตุเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ
  • 8:07 - 8:09
    นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่า
  • 8:09 - 8:11
    สภาพความเป็นอยู่และการทำงาน
  • 8:11 - 8:13
    ที่อยู่รอบตัวเรานั้น
  • 8:13 - 8:15
    ส่งผลต่อสุขภาพของเรา
  • 8:15 - 8:18
    มากกว่าพันธุกรรมถึงสองเท่า
  • 8:18 - 8:19
    และสภาพความเป็นอยู่ การงาน
  • 8:19 - 8:20
    สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
  • 8:20 - 8:24
    สังคมรอบๆ ตัวเรา
  • 8:24 - 8:26
    พฤติกรรมของเรา
    ที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งเหล่านี้
  • 8:26 - 8:28
    ทั้งหมดนั้น มีผลต่อสุขภาพของเรา
    มากกว่ายา
  • 8:28 - 8:29
    หรือการรักษาอื่นๆ
  • 8:29 - 8:31
    จากแพทย์รวมถึงโรงพยาบาล
  • 8:31 - 8:33
    ถึงห้าเท่าเลยทีเดียว
  • 8:33 - 8:36
    ทั้งสภาพความเป็นอยู่และการทำงานนั้น
  • 8:36 - 8:40
    ถือเป็น 60 % ในการป้องกันการเสียชีวิต
    เลยทีเดียว
  • 8:40 - 8:42
    ผมจะลองยกตัวอย่างให้ฟังนะครับ
  • 8:42 - 8:45
    ยังมีบริษัทหนึ่ง
    เขาทำพวกคิดค้นสินค้าแนวคิดใหม่ๆ
  • 8:45 - 8:47
    เขามาหาคุณ แล้วบอกว่า
    "เรามีสินค้ามาเสนอ
  • 8:47 - 8:49
    มันจะช่วยลดความเสี่ยง
    ของการตายจากโรคหัวใจได้"
  • 8:49 - 8:51
    คุณคงอยากจะลงทุนกับสินค้าตัวนี้ล่ะสิ
  • 8:51 - 8:54
    ถ้าสินค้านั้นเป็นยา หรือเครื่องมือ
  • 8:54 - 8:57
    แต่ถ้าสินค้านั้นเป็นสวนสาธารณะล่ะ
  • 8:57 - 8:59
    มีการศึกษาในอังกฤษ
  • 8:59 - 9:01
    สำรวจตัวอย่างประชากร
  • 9:01 - 9:04
    ผู้ที่อาศัยในอังกฤษกว่า 40 ล้านคน
  • 9:04 - 9:06
    โดยสำรวจตัวแปรหลายๆตัว
  • 9:06 - 9:09
    โดยควบคุมปัจจัยต่างๆอย่างเป็นระบบ
    และพบว่า
  • 9:09 - 9:13
    ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจนั้น
  • 9:13 - 9:16
    แปรผันตามการที่ผู้คนได้มี
    พื้นที่สีเขียว อย่างชัดเจน
  • 9:16 - 9:18
    ยิ่งคุณได้อยู่ใกล้พื้นที่สีเขียว
  • 9:18 - 9:19
    ใกล้สวน ใกล้ต้นไม้
  • 9:19 - 9:20
    คุณก็จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจต่ำลง
  • 9:20 - 9:23
    ไม่ว่าคุณจะรวย หรือจนก็ตาม
  • 9:23 - 9:26
    การศึกษานี้ทำให้ผมเข้าใจ
    ที่อาสาสมัครสาธารณสุข
  • 9:26 - 9:27
    มักจะพูดว่า
  • 9:27 - 9:29
    รหัสไปรษณีย์คุณน่ะ ส่งผลกับชีวิต
  • 9:29 - 9:31
    มากกว่ารหัสพันธุกรรมเสียอีก
  • 9:31 - 9:32
    เราได้รู้แล้วว่าที่ๆเราอาศัย
  • 9:32 - 9:35
    ส่งผลต่อพันธุกรรมของเราจริงๆ
  • 9:35 - 9:38
    เราต้องเข้าใจก่อนถึงอิพิเจเนติคส์
    โดยต้องดูถึงกลไกระดับโมเลกุล
  • 9:38 - 9:41
    มันคือการทำให้พันธุกรรมของเรานั้น
  • 9:41 - 9:42
    เปิด-ปิดสวิตช์การทำงาน
  • 9:42 - 9:45
    โดยปัจจัยที่เป็นสวิตช์คือ
    สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
  • 9:45 - 9:47
    ที่ๆเราอยู่อาศัย และทำงาน
  • 9:47 - 9:49
    ดังนั้นก็เป็นที่แน่ชัดว่า
  • 9:49 - 9:51
    สาเหตุต้นทางนั้น ส่งผลจริงๆ
  • 9:51 - 9:53
    ต่อสุขภาพของเรา
  • 9:53 - 9:56
    และหมอกับนักสาธารณสุขก็ควรจะ
    ทำอะไรซักอย่างได้แล้ว
  • 9:56 - 9:57
    และ เวโรนิกาครับ เธอถามผม
  • 9:57 - 9:58
    ด้วยคำถามที่ตอบยาก
  • 9:58 - 10:00
    คำถามนึงเลยทีเดียว
  • 10:00 - 10:02
    ตอนที่นัดตามอาการนั้น
    เธอถามขึ้นว่า
  • 10:02 - 10:04
    "ทำไมที่ผ่านมานั้น
  • 10:04 - 10:07
    คุณหมอไม่ได้ถามถึงบ้านฉันมาก่อนเลยคะ
  • 10:07 - 10:09
    ตอนที่ฉันเข้าห้องฉุกเฉิน
  • 10:09 - 10:11
    ฉันโดนสแกนสมอง
  • 10:11 - 10:13
    ฉันโดนเจาะไขสันหลัง
  • 10:13 - 10:14
    หมอเอาเข็มมาเจาะไขสันหลังฉัน
  • 10:14 - 10:16
    ฉันยังเคยตรวจเลือดเป็นสิบครั้ง
  • 10:16 - 10:18
    ฉันเข้ามาหาหมอตั้งหลายครั้ง
    เจอคนในโรงพยาบาลตั้งมากมาย
  • 10:18 - 10:23
    แต่ไม่มีใครถามเกี่ยวกับบ้านฉันเลย"
  • 10:23 - 10:25
    ผมตอบไปอย่างสุภาพว่า
    ในระบบสาธารณสุข
  • 10:25 - 10:26
    เรามักจะรักษาอาการ
  • 10:26 - 10:29
    โดยที่ไม่ได้ถามถีงว่าอะไร
    เป็นสาเหตุทำให้คุณป่วยในตอนแรก
  • 10:29 - 10:31
    และเหตุผลใหญ่ๆสามประการ
    นั่นคือ
  • 10:31 - 10:36
    หนึ่ง เราไม่ได้ถูกจ้างมาให้ทำงานแบบนั้น
  • 10:36 - 10:39
    เราทำงานแบบเน้นปริมาณ ไม่ใช่คุณภาพ
  • 10:39 - 10:41
    เรามักจะจ่ายให้หมอและโรงพยาบาล
  • 10:41 - 10:43
    ตามจำนวนของการบริการที่เขาทำให้
  • 10:43 - 10:46
    ไม่ได้ตามสุขภาพที่ดีขึ้นของคุณ
  • 10:46 - 10:49
    นั่นทำให้ไปสู่ข้อสอง ที่ผมเรียกว่า
  • 10:49 - 10:50
    วิธีการแบบ "ห้ามถาม ห้ามพูด"
  • 10:50 - 10:52
    เกี่ยวกับสาเหตุต้นทางในการดูแลสุขภาพของคุณ
  • 10:52 - 10:54
    เราไม่ถามเกี่ยวกับว่า
    คุณอาศัย ที่ไหน
  • 10:54 - 10:55
    เพราะถ้ามันมีปัญหาที่นั่น
  • 10:55 - 10:58
    เราก็ไม่รู้ว่าจะพูดอะไรกับคุณเหมือนกัน
  • 10:58 - 11:01
    ไม่ใช่ว่าหมอๆไม่ทราบเกี่ยวกับ
    เรื่องสำคัญนี้หรอกนะครับ
  • 11:01 - 11:03
    ในการสำรวจที่ทำกับหมอ
    ในสหรัฐอเมริกา
  • 11:03 - 11:05
    มากกว่า 1,000 คน
  • 11:05 - 11:07
    80 % นั้นก็ทราบดีว่า
  • 11:07 - 11:08
    เขารู้ว่าสาเหตุต้นทางของปัญหานั้น
  • 11:08 - 11:10
    เป็นส่วนสำคัญต่อสุขภาพ
  • 11:10 - 11:12
    ต่ออาการป่วยต่างๆ
  • 11:12 - 11:14
    แต่แม้ว่าเหล่าหมอๆจะตระหนักดี
  • 11:14 - 11:16
    เกี่ยวกับสาเหตุต้นทางเหล่านี้
  • 11:16 - 11:19
    มีแค่หนึ่งในห้าที่บอกว่า
  • 11:19 - 11:21
    เขามั่นใจว่าการที่ระบุสาเหตุได้นั้น
  • 11:21 - 11:23
    จะพัฒนาสุขภาพได้ตั้งแต่เริ่มแรกเลย
  • 11:23 - 11:25
    แสดงว่ายังมีช่องว่าระหว่างการที่
  • 11:25 - 11:27
    รู้ว่าชีวิตของผู้ป่วย,
    และสิ่งแวดล้อมนั้นสำคัญ
  • 11:27 - 11:30
    กับการที่จะทำอะไรซักอย่างกับมันได้
  • 11:30 - 11:32
    ในระบบที่เรา(หมอ)ทำงานอยู่
  • 11:32 - 11:34
    นี่เป็นปัญหาใหญ่อยู่ในขณะนี้ครับ
  • 11:34 - 11:36
    เพราะว่านี่จะทำให้เกิดคำถามต่อไป นั่นคือ
  • 11:36 - 11:38
    ใครจะเป็นคนไปทำล่ะ
  • 11:38 - 11:40
    นั่นคือข้อที่สามที่ผมพูดถึงนั่นเอง
  • 11:40 - 11:43
    ที่จะตอบคำถามยากๆนี้ของเวโรนิกา
  • 11:43 - 11:44
    ที่เรามีปัญหานี้นั้น
  • 11:44 - 11:48
    ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราไม่มีคนที่จะมองย้อน
    ไปต้นทางของปัญหามากพอ
  • 11:48 - 11:50
    ในระบบสาธารณสุขของเรา
  • 11:50 - 11:52
    เราไม่มีเพื่อนคนที่สาม
  • 11:52 - 11:54
    คนที่จะคอยมองหาสาเหตุ
  • 11:54 - 11:57
    ว่าใครหรืออะไรมันคอยโยนเด็กลงมาในแม่น้ำกันแน่
  • 11:57 - 11:59
    ทุกวันนี้เรามีคนทำหน้าที่นี้เยอะ
  • 11:59 - 12:01
    และผมมีโอกาสที่จะได้พบกับพวกเขาเหล่านี้
  • 12:01 - 12:04
    ในลอส แอนเจลิส และในอีกหลายๆที่ในสหรัฐ
  • 12:04 - 12:05
    และรอบโลก
  • 12:05 - 12:08
    และต้องไม่ลืมนะครับ ว่าคนพวกนี้
  • 12:08 - 12:10
    บางครั้งก็เป็นหมอ แต่ก็ไม่เสมอไป
  • 12:10 - 12:13
    พวกเขาอาจเป็นพยาบาลหรือผู้ช่วยอื่นๆ
  • 12:13 - 12:15
    นักสังคมสงเคราะห์ ก็ได้
  • 12:15 - 12:16
    เรื่องวุฒิปริญญานั้นไม่สำคัญหรอกครับ
  • 12:16 - 12:18
    ว่าบุคลากรเหล่านี้จะจบอะไรมา
  • 12:18 - 12:20
    ที่สำคัญกว่าคือ พวกเขานั้น
  • 12:20 - 12:24
    จะต้องทำงานร่วมกัน
  • 12:24 - 12:26
    เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการช่วยเหลือผู้คน
  • 12:26 - 12:29
    เปลี่ยนแปลงวิธีการรักษาคนไข้
  • 12:29 - 12:30
    ขั้นตอนนี่ค่อนข้างง่ายเลยทีเดียว
  • 12:30 - 12:33
    ก็แค่สามขั้นตอนครับ
  • 12:33 - 12:34
    หนึ่ง ทุกคนต้องนั่งลงพูดคุยกัน
  • 12:34 - 12:36
    หาว่าปัญหาของกลุ่มผู้ป่วยที่พบนั้น
  • 12:36 - 12:38
    มีอาการอะไรบ้าง
  • 12:38 - 12:39
    ยกตัวอย่างนะครับ เช่น
  • 12:39 - 12:41
    เรามาช่วยกันช่วยเด็กๆ
  • 12:41 - 12:43
    ที่เข้าออกโรงพยาบาลบ่อยๆ
  • 12:43 - 12:45
    ด้วยอาการหอบหืดกัน
  • 12:45 - 12:48
    หลับจากรู้ว่าปัญหาคืออะไร
    เราก็ไปสู่ขั้นที่สองครับ
  • 12:48 - 12:50
    นั่นคือการหารากที่มาของปัญหา
  • 12:50 - 12:54
    และการวิเคราะห์สาเหตุนี้
    เดิมทีทางการแพทย์
  • 12:54 - 12:56
    เรามักกล่าวว่า ให้ไปดูพันธุกรรม
  • 12:56 - 12:58
    ดูพฤติกรรมต่างๆ ของคุณ
  • 12:58 - 13:00
    บางทีคุณอาจจะกินอะไรไม่ดีต่อสุขภาพนะ
  • 13:00 - 13:01
    กินให้ดีขึ้นหน่อย
  • 13:01 - 13:03
    พูดเรื่องง่ายๆ
  • 13:03 - 13:04
    กับการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
  • 13:04 - 13:06
    และผมพบว่ามันแทบจะไม่ได้ผลเลย
  • 13:06 - 13:08
    ถ้าเรายังมองภาพแคบๆแบบนี้อยู่ครับ
  • 13:08 - 13:10
    การวิเคราะห์สาเหตุที่ผู้มองไปยังต้นทาง
  • 13:10 - 13:12
    จะทำคือ ต้องไปดูถึงชีวิต
    ของผู้ป่วย
  • 13:12 - 13:16
    สภาพที่อาศัย ที่ทำงาน
  • 13:16 - 13:18
    บางทีเด็กๆที่เป็นหอบหืด
  • 13:18 - 13:19
    นั่นเพราะมีสาเหตุจาก
    ในบ้านเด็กเอง
  • 13:19 - 13:22
    หรืออยู่ไม่ห่างจากทางหลวง
    ที่มีมลพิษสูง
  • 13:22 - 13:24
    ที่ทำให้เกิดหอบหืดได้
  • 13:24 - 13:27
    และบางทีเราควรจริงจังกับปัญหานี้ครับ
  • 13:27 - 13:29
    เพราะส่วนที่สามที่ผมจะกล่าวนั้น
  • 13:29 - 13:32
    คือส่วนที่สำคัญที่สุด
    ที่คนที่มองไปยังสาเหตุจะทำครับ
  • 13:32 - 13:34
    พวกเขาจะทุ่มเทในการหาทางแก้ปัญหา
  • 13:34 - 13:36
    ทั้งในด้านระบบคลินิก
  • 13:36 - 13:38
    และจากนั้นเอาคนจากสาธารณสุข
  • 13:38 - 13:39
    จากหลายภาคส่วน
    อาทิ ทนาย
  • 13:39 - 13:41
    หรือใครก็ได้ที่จะช่วยเราได้
  • 13:41 - 13:43
    มาร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้
  • 13:43 - 13:46
    ให้กับผู้ป่วยที่กำลังป่วยอยู่เหล่านั้น
  • 13:46 - 13:48
    ให้เห็นถึงรากของปัญหานั้นด้วยกัน
  • 13:48 - 13:51
    โดยถามพวกเขาถึงสิ่งที่อาจจะเป็นปัญหาได้
  • 13:51 - 13:53
    มีหลายครั้งเลยที่ผมแน่ใจ
  • 13:53 - 13:55
    ว่าคนที่มองย้อนไปที่รากของปัญหา
    นั้นแก้ปัญหาได้จริง
  • 13:55 - 13:58
    แต่ปัญหาก็คือคนที่มองย้อนหา
    รากของปัญหานี้ มีจำนวนไม่พอ
  • 13:58 - 14:00
    มีการคาดการณ์ว่า เราต้องมีคนพวกนี้
  • 14:00 - 14:03
    หนึ่งคนต่อ หมอ 20-30 คน
  • 14:03 - 14:05
    ถ้าเป็นในสหรัฐฯ นั่นคือ
  • 14:05 - 14:07
    เราต้องมีผู้ที่จะหาที่มาของโรคนี้
    25,000 คน
  • 14:07 - 14:10
    ภายในปี 2020
  • 14:10 - 14:14
    แต่ตอนนี้เรามีคนพวกนี้แค่ไม่กี่พันคน
    เท่าที่เราทราบ
  • 14:14 - 14:17
    และนั่นเป็นสาเหตุว่าไม่กี่ปีก่อนนี้
    ผมและทีมงาน
  • 14:17 - 14:19
    มักจะบอกว่าคุณรู้ไหม
    เราต้องสร้างคนพวกนี้
  • 14:19 - 14:21
    สร้างคนที่มองรากของปัญหาโรค
    ให้มากกว่านี้
  • 14:21 - 14:22
    ดังนั้นเราจึงตั้งองค์กรขึ้นมา
  • 14:22 - 14:25
    ชื่อว่า เฮลท์ บีกินส์
    (สุขภาพดี เริ่มที่นี่)
  • 14:25 - 14:26
    และสิ่งที่ เฮลท์ บีกินส์ ทำก็คือ
  • 14:26 - 14:27
    เราฝึกคนพวกนี้ขึ้นมา
  • 14:27 - 14:29
    และมีหลายปัจจัย
    ที่ใช้วัดความสำเร็จของเรา
  • 14:29 - 14:31
    แต่ปัจจัยหลักที่เราสนใจคือ
  • 14:31 - 14:33
    การที่เราจะมั่นใจได้ว่าเราจะเปลี่ยน
  • 14:33 - 14:34
    ความคิดของเหล่าหมอที่ฝังหัวอยู่
  • 14:34 - 14:36
    ว่า "อย่าถาม อย่าบอก" กับคนไข้
  • 14:36 - 14:38
    เราพยายามที่จะให้หมอเหล่านี้
  • 14:38 - 14:40
    รวมถึงระบบสาธารณสุขที่พวกเขาทำงานอยู่
  • 14:40 - 14:43
    มีความสามารถ และความมั่นใจ
  • 14:43 - 14:45
    ที่จะระบุปัญหาไปถึงการใช้ชีวิต
  • 14:45 - 14:48
    ไปถึงในที่ทำงานของพวกเราได้
  • 14:48 - 14:50
    เราเริ่มเห็นตัวอย่าง
  • 14:50 - 14:52
    ของการหาที่มาของโรคแบบนี้บ้างแล้ว
  • 14:52 - 14:53
    มันช่วยเราได้มาก
  • 14:53 - 14:55
    สิ่งที่น่าสนใจของ
    ของวิธีนี้นะ
  • 14:55 - 14:57
    คือการที่ได้ทำงาน
  • 14:57 - 15:01
    กับผู้ค้นหารากของโรค
    ในการรวมพวกเขาไว้ด้วยกัน
  • 15:01 - 15:03
    ที่สำคัญที่สุดเลยคือ ในทุกๆวัน
  • 15:03 - 15:07
    ทุกๆสัปดาห์ ผมได้รับรู้เรื่อง
    ที่เหมือนกับเรื่องของเวโรนิกา
  • 15:07 - 15:10
    มีผู้คนอีกมากที่เหมือนเวโรนิกา
  • 15:10 - 15:12
    มีเรื่องราวที่คล้ายกัน
  • 15:12 - 15:13
    คนที่เขามาสู่ระบบสาธารณสุข
  • 15:13 - 15:15
    และได้รับรู้ว่ามันเป็นอย่างไร
  • 15:15 - 15:17
    เขามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบนี้
  • 15:17 - 15:20
    ระบบสุขภาพที่จะหยุดการ
    เข้าๆออกๆโรงพยาบาล
  • 15:20 - 15:22
    ระบบที่จะพัฒนาสุขภาพของคุณ
  • 15:22 - 15:23
    รับฟังว่าคุณคือใคร
  • 15:23 - 15:25
    หาว่าคุณมีความเป็นอยู่อย่างไร
  • 15:25 - 15:29
    ไม่ว่าคุณจะรวย จน หรือเป็นชนชั้นกลาง
  • 15:29 - 15:31
    เรื่องราวเหล่านี้
    มันน่าสนใจก็เพราะว่า
  • 15:31 - 15:33
    ไม่ใช้แค่ผู้ป่วยบอกเราว่า
  • 15:33 - 15:36
    เราใกล้จะได้ระบบสาธารณสุข
    ที่เราต้องการแล้ว
  • 15:36 - 15:38
    แต่มันยังมีบางอย่าง
    ที่เราทุกคนช่วยกันให้ไปสู่จุดหมายได้
  • 15:38 - 15:40
    แพทย์และพยาบาลสามารถช่วยได้
    ในการซักประวัติ
  • 15:40 - 15:42
    เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
    ของคนไข้
  • 15:42 - 15:45
    ไม่ใช่แค่เป็นส่วนหนึ่งของ
    มารยาทในการเข้าหาคนไข้
  • 15:45 - 15:48
    แต่มันช่วยให้เราดูแลพวกเขา
    ได้ดีขึ้นได้จริงๆ
  • 15:48 - 15:49
    ระบบสาธารณสุขและรัฐบาล
  • 15:51 - 15:53
    สามารถเริ่มให้เหล่าองค์กร
    สาธารณสุข
  • 15:53 - 15:54
    เข้ามาร่วมกัน
    และบอกกับเขาว่า
  • 15:54 - 15:56
    เรามาดูข้อมูลคนไข้นี้ด้วยกันเถอะ
  • 15:56 - 15:59
    มาดูว่าเราสามารถค้นพบ
    รูปแบบอะไรได้ในข้อมูลของชีวิตคนไข้
  • 15:59 - 16:02
    ที่มันจะทำให้เห็นรากของปัญหานี้ได้ไหม
  • 16:02 - 16:04
    และที่สำคัญต่อมาเลย
    คือเราจะจัดการทรัพยากร
  • 16:04 - 16:07
    ที่เรามีไปช่วยเขาได้ไหม
  • 16:07 - 16:08
    โรงเรียนแพทย์และพยาบาล
  • 16:08 - 16:10
    ที่ให้การศึกษาของเหล่า
    บุคลากรสาธารณสุขเหล่านี้
  • 16:10 - 16:14
    สามารถช่วยในการสร้าง
    ผู้มองรากของโรครุ่นใหม่ๆออกมาได้
  • 16:14 - 16:16
    เราต้องมั่นใจว่าโรงเรียนเหล่านี้
  • 16:16 - 16:19
    จะสอนในเรื่องการหารากของโรค
    เป็นหลักในการเข้าหาสาเหตุโรค
  • 16:19 - 16:21
    และนั่นคืออาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนนั่นเอง
  • 16:21 - 16:23
    เราต้องการคนพวกนี้เยอะๆในระบบ
  • 16:23 - 16:25
    ถ้าเราอยากให้ระบบนี้ใช้งานได้ดีจริงๆ
  • 16:25 - 16:27
    ให้เปลี่ยนจากการดูแลการเจ็บป่วย
  • 16:27 - 16:28
    เป็นการดูแลสุขภาพในที่สุด
  • 16:28 - 16:30
    แต่สุดท้ายนี้
    และก็เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
  • 16:30 - 16:33
    คือ "เราจะทำอะไร"
    "เราทำอะไรในฐานะผู้ป่วยล่ะ"
  • 16:33 - 16:35
    เราเริ่มได้ง่ายๆโดยไปหาหมอ
  • 16:35 - 16:37
    หาพยาบาล ที่คลินิกใกล้ๆ
  • 16:37 - 16:39
    แล้วถามพวกเขาว่า "มีอะไรในที่ๆฉันอยู่
  • 16:39 - 16:41
    ที่ๆฉันทำงาน ที่ฉันควรต้องระวังไหม"
  • 16:41 - 16:44
    "มีปัจจัยเสี่ยงอะไรที่ฉันไม่ทันได้ระวังไหม
  • 16:44 - 16:46
    และที่สำคัญคือ ถ้ามี
  • 16:46 - 16:48
    และฉันกำลังได้รับมันอยู่ ถ้าฉันมาหาหมอ
  • 16:48 - 16:50
    และฉันก็พูดว่า ฉันคิดว่าฉันมีปัญหากับ
  • 16:50 - 16:53
    อพาร์ตเมนต์ฉัน หรือที่ทำงาน
  • 16:53 - 16:55
    หรือฉันไม่สามารถเข้าถึงระบบขนส่งที่ดี
  • 16:55 - 16:56
    หรือสวนสาธารณะมันอยู่ไกล
  • 16:56 - 16:58
    ฉันขอโทษด้วยนะหมอ
    ฉันคงทำตามที่หมอแนะไม่ได้
  • 16:58 - 17:00
    ที่จะให้ไปวิ่งเหยาะๆ
  • 17:00 - 17:02
    ถ้าปัญหามันยังอยู่
  • 17:02 - 17:05
    ถ้างั้นคุณหมอพร้อมจะรับฟังฉันไหม
  • 17:05 - 17:07
    และอะไรที่เรา
    สามารถร่วมกัน
  • 17:07 - 17:09
    ทำให้สุขภาพของฉันดีขึ้น
    ตั้งแต่ต้นตอสาเหตุมาเลย
  • 17:09 - 17:12
    ถ้าเราทุกคนสามารถทำแบบนี้ได้
  • 17:12 - 17:13
    หมอและระบบสาธารณสุข
  • 17:13 - 17:15
    รัฐบาล และพวกเราทุกคน
  • 17:15 - 17:18
    เราจะตระหนักถึงสุขภาพของเราได้อย่างแท้จริง
  • 17:18 - 17:21
    สุขภาพนั้นไม่ใช่แค่
    ความรับผิดชอบส่วนตัว
  • 17:21 - 17:25
    แต่เป็นเรื่องของสังคมและทุกคนร่วมกัน
  • 17:25 - 17:27
    มันมาจากการที่เรา
    รู้ว่า
  • 17:27 - 17:29
    ชีวิตของเราทุกคนนั้นมีค่า
  • 17:29 - 17:31
    ตั้งแต่ในบริบทที่เราอาศัย
    และในที่ๆเราทำงาน
  • 17:31 - 17:33
    กิน นอน ใช้ชีวิต
  • 17:33 - 17:34
    และนั่นคือสิ่งที่เราทำเพื่อตัวของพวกเรา
  • 17:34 - 17:36
    เราควรจะทำเพื่อคนอื่นๆด้วย
  • 17:36 - 17:38
    คนที่อาศัยและทำงานใน
  • 17:38 - 17:41
    ที่ๆไม่เหมาะสม
  • 17:41 - 17:44
    เราสามารถช่วยได้โดยการพัฒนา
  • 17:44 - 17:46
    ต้นตอสาเหตุของโรค
  • 17:46 - 17:48
    แต่ในขณะเดียวกันก็ร่วมกัน
  • 17:48 - 17:51
    และแสดงให้เห็นว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลง
  • 17:51 - 17:53
    ระบบนี้ตั้งแต่ต้นทางได้
  • 17:53 - 17:56
    เราสามารถพัฒนาสุขภาพได้ตั้งแต่ต้นทางครับ
  • 17:56 - 17:58
    ขอบคุณครับ
  • 17:58 - 18:00
    (เสียงปรบมือ)
Title:
อะไรที่ทำให้เราป่วย ลองมองย้อนไปต้นทางดูสิ
Speaker:
ริชี่ มันจันดา (Rishi Manchanda)
Description:

ริชี่ มันจันดา เป็นหมอที่ทำงานคลินิกที่เซาท์เซนทรัลลอสแอนเจลิสมานับสิบปี ที่นั่นทำให้เขาตระหนักว่างานของเขาไม่ใช่แค่รักษาอาการของผู้ป่วย แต่ยังต้องรักษาถึงสาเหตุว่าอะไรทำให้ผู้คนเหล่านั้นป่วย นั่นคือปัจจัย"ต้นทาง" เช่น การกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง ความเครียดจากการทำงาน อากาศที่เป็นมลพิษ เขาพยายามให้หมอในชุมชนใส่ใจกับชีวิตของผู้ป่วยนอกห้องตรวจบ้าง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
18:13
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for What makes us get sick? Look upstream
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What makes us get sick? Look upstream
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What makes us get sick? Look upstream
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What makes us get sick? Look upstream
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for What makes us get sick? Look upstream
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What makes us get sick? Look upstream
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What makes us get sick? Look upstream
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What makes us get sick? Look upstream
Show all

Thai subtitles

Revisions