Return to Video

ณ วินาทีที่เราตาย คือตอนไหน - แรนเดล ฮาเยซ (Randall Hayes)

  • 0:02 - 0:05
    ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของเรา
  • 0:10 - 0:15
    มนุษย์สนอกสนใจเรื่องราวความตาย
    และการเกิดใหม่
  • 0:15 - 0:19
    เกือบทุกศาสนาในโลก ล้วนแต่
    มีการตีความถึงเรื่องนี้ด้วยกันทั้งสิ้น
  • 0:19 - 0:20
    และจากตำนานที่เก่าแก่ที่สุดของเรา
  • 0:20 - 0:26
    จนถึงหนังจอเงินเรื่องล่าสุด
    สิ่งที่ตายไปแล้วหวนกลับมาอยู่เรื่อย
  • 0:26 - 0:28
    แต่การคืนชีพนั้นเป็นไปได้จริง ๆ หรือ
  • 0:28 - 0:34
    และอะไรคือความแตกต่างที่แท้จริง
    ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีชีวิตและร่างที่ไร้ชีวิต
  • 0:34 - 0:38
    เพื่อที่จะเข้าใจว่าความตายคืออะไร
    เราต้องเข้าใจก่อนว่าชีวิตคืออะไร
  • 0:38 - 0:41
    ทฤษฏีเก่าแก่หนึ่งคือแนวคิด
    ที่มีชื่อว่า ชีวิตนิยม (vitalism)
  • 0:41 - 0:44
    ซึ่งอ้างว่าสิ่งที่มีชีวิตนั้น
    มีความเป็นเอกลักษณ์
  • 0:44 - 0:47
    เพราะมันเต็มไปด้วยสสาร
    หรือพลังงานพิเศษมากมาย
  • 0:47 - 0:50
    ที่เป็นปัจจัยสำคัญของชีวิต
  • 0:50 - 0:52
    ไม่ว่าเราจะเรียกมันว่า ชิ
  • 0:52 - 0:52
    โลหิตแห่งชีวิต
  • 0:52 - 0:54
    หรือธาตุ
  • 0:54 - 0:57
    ความเชื่อที่มีต่อใจความดังกล่าวนั้น
    เป็นเรื่องที่พบได้ทั่วโลก
  • 0:57 - 1:00
    และยังคงมีอยู่ในเรื่องราวของสิ่งมีชีวิต
  • 1:00 - 1:03
    ที่สามารถดูดพลังชีวิตจากผู้อื่น
  • 1:03 - 1:07
    หรือรูปแบบบางอย่างของแหล่งเวทมนต์
    ที่สามารถเติมพลังให้มันได้
  • 1:07 - 1:10
    แนวคิดแบบชีวิตนิยม
    เริ่มเสื่อมความนิยมลงในโลกตะวันตก
  • 1:10 - 1:14
    เมื่อมีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
    ในศตวรรษที่ 17
  • 1:14 - 1:16
    เรอเน เดการ์ต ได้เสนอแนวคิดว่า
  • 1:16 - 1:20
    ร่างกายมนุษย์โดยแท้จริงนั้น
    ก็ไม่ได้ต่างไปจากเครื่องจักรอื่น ๆ
  • 1:20 - 1:26
    มีชีวิตโดยจิตวิญญาณที่บริเวณต่อมไพเนียล
    ซึ่งเราได้รับมันมาจากพระเจ้า
  • 1:26 - 1:32
    และในปี ค.ศ. 1907 ดร. ดันแคน แม็คดูกัลล์
    ยังอ้างว่าวิญญาณนั้นมีน้ำหนัก
  • 1:32 - 1:38
    ด้วยการวัดน้ำหนักตัวผู้ป่วยทันทีก่อน
    และหลังเสียชีวิตเพื่อพยายามพิสูจน์
  • 1:38 - 1:42
    แม้ว่าการทดลองของเขาจะถูกปฏิเสธ
    เช่นเดียวกับแนวคิดชีวิตนิยม
  • 1:42 - 1:45
    บางส่วนของทฤษฏีของเขา
    ก็ยังกลับมาปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
  • 1:45 - 1:48
    แต่ทฤษฏีที่ถูกปฏิเสธนี้ให้อะไรเราบ้าง
  • 1:48 - 1:51
    ที่เรารู้ตอนนี้ก็คือ
    ชีวิตนั้นมิได้ถูกบรรจุอยู่ใน
  • 1:51 - 1:54
    สสารหรือประกายวิเศษอะไรบางอย่าง
  • 1:54 - 1:58
    แต่อยู่ในของกระบวนการทางชีววิทยา
    ที่ดำเนินไปด้วยตัวของมันเอง
  • 1:58 - 2:00
    และเพื่อที่จะเข้าใจกระบวนการเหล่านี้
  • 2:00 - 2:04
    เราต้องมองลึกเข้าไป
    ในระดับของเซลล์แต่ละเซลล์
  • 2:04 - 2:06
    ภายในเซลล์แต่ละเซลล์เหล่านี้
  • 2:06 - 2:09
    ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
  • 2:09 - 2:13
    ซึ่งมันถูกขับเคลื่อนด้วยกลูโคสและออกซิเจน
    ที่ร่างกายของเราเปลี่ยนแปลง
  • 2:13 - 2:17
    ไปเป็นโมเลกุลที่กักเก็บพลังงานได้
    ที่เรียกกันว่า เอทีพี
  • 2:17 - 2:20
    เซลล์ต่าง ๆ ใช้พลังงานนี้
    สำหรับทุกกิจกรรม ตั้งแต่การซ่อมแซม
  • 2:20 - 2:21
    การเจริญเติบโต
  • 2:21 - 2:22
    ไปจนถึงการสืบพันธุ์
  • 2:22 - 2:26
    ไม่เพียงแต่มันใช้พลังงานมาก
    ในการสร้างโมเลกุลที่จำเป็น
  • 2:26 - 2:30
    แต่จะใช้มากยิ่งกว่านั้น
    เพื่อที่จะให้มันไปอยู่ในที่ซึ่งมันเป็นที่ต้องการ
  • 2:30 - 2:32
    ปรากฏการณ์สากลของเอนโทรปี
  • 2:32 - 2:36
    หมายความว่าโมเลกุลต่าง ๆ
    มีแนวโน้มที่จะกระจายออกอย่างสุ่ม
  • 2:36 - 2:40
    โดยย้ายจากพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูง
    ไปสู่พื้นที่ที่มีความหนาแน่นต่ำกว่า
  • 2:40 - 2:44
    หรืออาจแตกออกเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ หรืออะตอม
  • 2:44 - 2:47
    ฉะนั้น เซลล์จะต้องคงระดับเอนโทรปีอยู่เสมอ
  • 2:47 - 2:50
    โดยการใช้พลังงาน
    เพื่อรักษาโมเลกุลเหล่านั้น
  • 2:50 - 2:52
    ในโครงสร้างที่ซับซ้อนมาก ๆ
  • 2:52 - 2:56
    ที่จำเป็นต่อการทำงานทางชีวภาพที่เกิดขึ้น
  • 2:56 - 3:00
    การพังทลายของการจัดเรียงเหล่านี้
    เมื่อทั้งเซลล์สลายสู่เอนโทรปี
  • 3:00 - 3:03
    สุดท้ายผลลัพธ์ของมันก็คือความตาย
  • 3:03 - 3:07
    และนั่นคือเหตุผลที่สิ่งมีชีวิต
    ไม่อาจถูกกระตุ้นให้มีชีวิตขึ้นมาใหม่ได้
  • 3:07 - 3:09
    เมื่อมันตายไปแล้ว
  • 3:09 - 3:11
    เราสามารถเป่าลม
    เข้าไปในปอดของใครสักคนได้
  • 3:11 - 3:13
    แต่ก็ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น
  • 3:13 - 3:16
    ถ้ากระบวนการอื่น ๆ อีกมากมาย
    ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ
  • 3:16 - 3:18
    หยุดทำงานไปแล้ว
  • 3:18 - 3:21
    ในทำนองเดียวกัน การกระตุ้นกระแสไฟฟ้า
    จากเครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • 3:21 - 3:24
    ไม่ได้ทำให้หัวใจที่หยุดเต้นไปแล้ว
    กลับมาทำงานใหม่
  • 3:24 - 3:28
    แต่ช่วยประสานจังหวะของเซลล์กล้ามเนื้อ
    ที่เต้นที่ผิดปกติ
  • 3:28 - 3:31
    เพื่อให้มันฟื้นกลับมาเต้นถูกจังหวะอีกครั้งนึง
  • 3:31 - 3:35
    มันช่วยป้องกันไม่ให้คนเสียชีวิตได้
    แต่ช่วยชุบชีวิตศพ
  • 3:35 - 3:37
    หรือสัตว์ประหลาด
    ที่ถูกเย็บต่อกันจากซากศพไม่ได้
  • 3:37 - 3:41
    ดูเหมือนว่าปาฏิหาริย์
    ทางการแพทย์ทั้งหมดของเรา
  • 3:41 - 3:45
    สามารถช่วยยับยั้งหรือป้องกันความตายได้
    แต่ย้อนคืนชีพให้เราไม่ได้
  • 3:45 - 3:47
    แต่มันก็ไม่ได้ง่ายดายอย่างนั้นหรอก
  • 3:47 - 3:51
    เพราะความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
    ทางด้านเทคโนโลยีและทางการแพทย์
  • 3:51 - 3:54
    ทำให้เราสามารถวินิจฉัยอาการโคม่า
  • 3:54 - 3:57
    อธิบายความน่าจะเป็นในการฟื้นฟูสภาวะ
  • 3:57 - 4:01
    ซึ่งถูกพิจารณาว่าอยู่ในสภาพที่ตายแล้ว
    จากการวินิจฉัยก่อนหน้านี้
  • 4:01 - 4:06
    ในอนาคต จุดที่มิอาจย้อนกลับนี้
    อาจถูกผลักให้ไกลออกไป
  • 4:06 - 4:09
    เรารู้ว่าสัตว์บางชนิดยืดอายุขัยของตัวเอง
  • 4:09 - 4:11
    หรือมีชีวิตรอดในสภาวพแวดล้อมที่สุดโต่ง
  • 4:11 - 4:14
    ด้วยการทำให้
    กระบวนการทางชีวภาพของพวกมันช้าลง
  • 4:14 - 4:17
    จนถึงจุดที่กระบวนการทั้งหมดเกือบจะหยุด
  • 4:17 - 4:20
    และการวิจัยเรื่องไครโอนิกส์ (cryonics)
    หวังว่าจะทำให้มาซึ่งจุดประสงค์เดียวกัน
  • 4:20 - 4:24
    ด้วยการแช่แข็งคนป่วยใกล้ตาย
    แล้วชุบชีวิตขึ้นมาใหม่ภายหลัง
  • 4:24 - 4:26
    เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ
    ที่จะสามารถช่วยชีวิตพวกเขาได้
  • 4:26 - 4:31
    เห็นไหม ถ้าเซลล์โดนแช่แข็งแล้ว
    การเคลื่อนไหวของโมเลกุลนั้นจะน้อยมาก
  • 4:31 - 4:33
    และการแพร่กระจายก็เกือบจะหยุดลง
  • 4:33 - 4:38
    แม้ว่ากระบวนการระดับเซลล์ภายในร่างกาย
    จะสลายไปแล้วก็ตาม
  • 4:38 - 4:42
    เราเข้าใจว่า มันอาจยังย้อนกลับได้
    ด้วยฝูงหุ่นยนต์นาโน
  • 4:42 - 4:45
    ที่เคลื่อนย้ายทุก ๆ โมเลกุล
    กลับไปไว้ในจุดที่เหมาะสม
  • 4:45 - 4:49
    และฉีดทุก ๆ เซลล์ด้วยเอทีพีพร้อมกัน
  • 4:49 - 4:53
    ซึ่งคาดว่านั่นจะทำให้ร่างกาย
    ดำเนินต่อจากจุดที่มันหยุดค้างอยู่
  • 4:53 - 4:56
    ถ้าเราคิดว่าชีวิตนั้นไม่ได้เป็นเพียง
    แค่ประกายมหัศจรรย์อะไรสักอย่าง
  • 4:56 - 5:01
    แต่เป็นสภาวะที่ซับซ้อนอย่างน่าทึ่ง
    องค์กรส่วนตัวที่เป็นอมตะ
  • 5:01 - 5:04
    ความตายอาจเป็นแค่กระบวนการ
    การเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี
  • 5:04 - 5:07
    ที่ทำลายสมดุลอันเปราะบางนี้ลง
  • 5:07 - 5:10
    และ ณ จุดที่สิ่งมีชีวิตตายสนิท
  • 5:10 - 5:12
    ไม่ได้เป็นจุดหยุดนิ่งคงที่
  • 5:12 - 5:15
    แต่เป็นเรื่องธรรมดาที่ว่า
    จะมีเอนโทรปีนี้มากแค่ไหน
  • 5:15 - 5:18
    ที่ตอนนี้เราจะสามารถย้อนกลับไปได้
Title:
ณ วินาทีที่เราตาย คือตอนไหน - แรนเดล ฮาเยซ (Randall Hayes)
Speaker:
Randall Hayes
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/at-what-moment-are-you-dead-randall-hayes

ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของเรา มนุษย์สนอกสนใจเรื่องราวความตายและการเกิดใหม่มาก แต่การคืนชีวิตเป็นไปได้จริง ๆ หรือ และอะไรคือความแตกต่างที่แท้จริงระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีชีวิตและร่างที่ไร้ชีวิต แรนเดล ฮาเยซ พาคุณเข้าสู่ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เพื่อจะไขคำตอบของคำถามที่เก่าแก่นี้

บทเรียนโดย Randall Hayes, แอนิเมชันโดย Anton Bogaty

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:34
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for At what moment are you dead?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for At what moment are you dead?
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for At what moment are you dead?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for At what moment are you dead?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for At what moment are you dead?
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for At what moment are you dead?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for At what moment are you dead?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for At what moment are you dead?
Show all

Thai subtitles

Revisions