Return to Video

สังคมที่อ้างว้างทำให้เป็นเรื่องยากที่เราจะกลับคืนสู่บ้านหลังจากสงคราม

  • 0:00 - 0:05
    ผมเคยทำงานเป็นนักข่าวสงครามมานาน 15 ปี
  • 0:05 - 0:09
    ก่อนที่ผมจะตระหนักว่ามีปัญหา
    เกิดขึ้นกับผมจริง ๆ
  • 0:09 - 0:11
    มีบางอย่างที่ผิดปกติไปมาก ๆ เกิดขึ้นกับผม
  • 0:11 - 0:15
    เมื่อประมาณ 1 ปีก่อนเหตุ 9/11
    ตอนนั้นอเมริกายังไม่ได้ทำสงคราม
  • 0:15 - 0:18
    เราไม่พูดกันถึงโรคเครียด
    จากเหตุการณ์ร้ายแรง หรือ PTSD
  • 0:18 - 0:22
    เรายังไม่พูดกันถึงผลที่เกิดจาก
    ความชอกชํ้าและสงคราม
  • 0:22 - 0:24
    ที่มีต่อจิตวิญญาณของมนุษย์
  • 0:25 - 0:27
    ผมเคยไปอยู่ในอัฟกานิสถานนานสองเดือน
  • 0:27 - 0:30
    กับกลุ่มนอร์ทเทิร์นอัลลายแอนซ์
    ตอนกำลังต่อสู้กับกลุ่มตาลีบัน
  • 0:30 - 0:33
    ในตอนนั้นกลุ่มตาลีบันมีกำลังทางอากาศ
  • 0:33 - 0:37
    พวกเขามีเครื่องบินรบ รถถัง และปืนใหญ่
  • 0:37 - 0:40
    และเราก็ถูกกระหน่ำจนยํ่าแย่มาก ๆ สองครั้ง
  • 0:40 - 0:42
    เราได้เห็นบางอย่างที่น่าเกลียดอย่างยิ่ง
  • 0:43 - 0:45
    แต่ผมก็ไม่ได้คิดจริง ๆ ว่า มันจะมีผลกับผม
  • 0:45 - 0:47
    ผมไม่ได้คิดเกี่ยวกับมันมากนัก
  • 0:47 - 0:49
    ผมกลับถึงบ้านที่นิวยอร์ค ที่ผมอยู่
  • 0:49 - 0:52
    แล้ววันหนึ่งผมลงไปที่รถไฟใต้ดิน
  • 0:52 - 0:55
    และเป็นครั้งแรกในชีวิตผม
  • 0:55 - 0:57
    ผมได้รู้ถึงความกลัวที่แท้จริง
  • 0:57 - 0:59
    ผมเกิดอาการตื่นกลัวอย่างมาก
  • 1:00 - 1:03
    ผมกลัวมาก ๆ
    ผมรู้สึกกลัวมากกว่าตอนที่อยู่ในอัฟกานิสถาน
  • 1:04 - 1:07
    ทุกอย่างที่ผมมองเห็น
    ดูเหมือนกำลังจะมาฆ่าผม
  • 1:08 - 1:10
    แต่ผมก็อธิบายไม่ได้ว่าเพราะอะไร
  • 1:10 - 1:12
    รถไฟวิ่งเร็วมากเหลือเกิน
  • 1:12 - 1:13
    คนก็มากมายเหลือเกิน
  • 1:13 - 1:15
    แสงก็สว่างมากเหลือเกิน
  • 1:15 - 1:18
    ทุกสิ่งทุกอย่างเสียงดังมากเหลือเกิน
    เคลื่อนไหวเร็วมากเหลือเกิน
  • 1:18 - 1:21
    ผมถอยหลังไปปะทะเสา
    และก็แค่ยืนคอยรถไฟอยู่
  • 1:23 - 1:26
    เมื่อผมทนไม่ไหวแล้ว
    ผมจึงวิ่งออกมาจากสถานีรถไฟใต้ดิน
  • 1:26 - 1:28
    และก็เดินไปยังที่ ๆ ผมจะไป
  • 1:30 - 1:34
    ต่อมา ผมก็พบว่าอาการของผม คือ ความผิดปกติ
    ที่เรียกว่า PTSD ในช่วงสั้นๆ:
  • 1:34 - 1:36
    post-traumatic stress disorder
  • 1:37 - 1:40
    เราวิวัฒนาการจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
    อยู่รอดมาได้ในช่วงภยันตราย
  • 1:40 - 1:43
    และถ้าหากชีวิตของคุณอยู่ในภยันตราย
  • 1:43 - 1:46
    คุณก็ต้องการจะแสดงปฏิกริยา
    กับเสียงที่คุณไม่คุ้นเคย
  • 1:47 - 1:50
    ต้องการจะหลับนิดเดียว
    และรู้สึกตัวตื่นขึ้นอย่างเร็ว
  • 1:50 - 1:52
    คุณต้องการจะฝันร้ายและเห็นภาพย้อนหลัง
  • 1:52 - 1:54
    ของสิ่งที่อาจจะฆ่าคุณให้ตายได้
  • 1:55 - 1:58
    คุณต้องการจะโกรธ
    เพราะมันจูงใจให้คุณอยากจะต่อสู้
  • 1:58 - 2:01
    หรือหดหู่ใจเพราะมันป้องกันคุณ
    ออกจากวงจรนั้นไปได้บ้าง
  • 2:02 - 2:03
    ทำให้คุณปลอดภัย
  • 2:04 - 2:06
    มันไม่น่ารื่นรมย์มากนัก
    แต่มันก็ดีกว่าถูกกัดกินไป
  • 2:08 - 2:11
    คนส่วนใหญ่หายจากอาการนี้
    ได้รวดเร็วมาก
  • 2:11 - 2:13
    ใช้เวลาสักสองสามสัปดาห์ สองสามเดือน
  • 2:13 - 2:16
    ผมยังคงมีอาการหวาดกลัวเรื่อยมา
    แต่มันก็จะหายไปได้ในที่สุด
  • 2:16 - 2:19
    ผมไม่ได้คิดว่ามันผลที่มาจากหลังสงคราม
    ที่ผมได้ไปเห็นมา
  • 2:19 - 2:20
    เพียงแค่คิดไปว่าผมกำลังจะเป็นบ้า
  • 2:20 - 2:24
    และแล้ว ผมก็คิดว่า เอาละ
    ตอนนี้ผมจะไม่บ้าอีกต่อไปแล้ว
  • 2:25 - 2:28
    อย่างไรก็ตามประมาณ 20%
  • 2:28 - 2:31
    ในที่สุดก็เป็นโรค PTSD ยาวนานเรื้อรัง
  • 2:31 - 2:34
    พวกเขาไม่ได้ปรับตัวเองกับภยันตราย
    ซึ่งมีช่วงสั้น ๆ
  • 2:34 - 2:36
    พวกเขาปรับตัวไม่ได้กับชีวิตประจำวัน
  • 2:36 - 2:38
    นอกเสียจากมีการช่วยเหลือ
  • 2:38 - 2:42
    เรารู้ว่าคนที่เสี่ยงจะเป็นโรค PTSD
    อย่างยาวนานได้ง่าย
  • 2:42 - 2:44
    คือคนที่ถูกข่มเหงขณะที่ยังเป็นเด็ก ๆ
  • 2:44 - 2:46
    ซึ่งทนทุกข์สะเทือนใจขณะที่เป็นเด็ก ๆ
  • 2:46 - 2:49
    คนที่มีระดับการศึกษาตํ่า
  • 2:49 - 2:51
    คนที่มีความผิดปกติทางจิต
    อยู่ในครอบครัวของพวกเขา
  • 2:51 - 2:53
    ถ้าคุณเป็นทหารในเวียตนาม
  • 2:53 - 2:55
    และพี่ชายคุณเป็นโรคจิตเภท
  • 2:55 - 2:59
    คุณก็มีโอกาสอย่างมาก
    ที่จะเป็นโรค PTSD ระยะยาวจากเวียตนาม
  • 3:01 - 3:03
    ผมจึงเริ่มต้นศึกษาเรื่องนี้
    ในฐานะเป็นนักหนังสือพิมพ์
  • 3:04 - 3:07
    และผมก็ตระหนักว่ามีบางสิ่งบางอย่างแปลก ๆ
    กำลังเกิดขึ้นอยู่
  • 3:07 - 3:10
    จำนวนดูเหมือนจะกำลังจะไป
    ในทิศทางที่ผิด
  • 3:11 - 3:13
    ทุก ๆ สงครามที่เราได้ไปสู้รบ
    ในฐานะที่เป็นประเทศ
  • 3:13 - 3:15
    ตั้งแต่สงครามกลางเมืองมานั้น
  • 3:15 - 3:18
    ความเข้มข้นของการสู้รบได้ลดลงแล้ว
  • 3:19 - 3:22
    ผลก็คือ อัตราความเสียหายลดตํ่าลง
  • 3:23 - 3:25
    แต่อัตราการทุพพลภาพยิ่งเพิ่มขึ้น
  • 3:25 - 3:27
    พวกมันควรจะไปในทิศทางเดียวกัน
  • 3:28 - 3:30
    แต่กลับกำลังไปในทิศทางที่แตกต่างกัน
  • 3:32 - 3:37
    สงครามที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ในอิรัค
    และอัฟกานิสถาน ขอบคุณพระเจ้า
  • 3:37 - 3:42
    อัตราการผู้เสียชีวิตประมาณหนึ่งในสาม
    ของสงครามในเวียตนาม
  • 3:44 - 3:46
    แต่มันก็ได้สร้างขึ้นมาอีกด้วย --
  • 3:47 - 3:50
    มันได้ก่อให้เกิดอัตราทุพพลภาพเป็นสามเท่า
  • 3:52 - 3:57
    ประมาณ 10% กองทัพสหรัฐฯ
    กำลังพัวพันอย่างแข็งขันกับการสู้รบอยู่
  • 3:58 - 4:00
    10% หรือตํ่ากว่านั้น
  • 4:00 - 4:02
    พวกเขายิงใส่ผู้คน ฆ่าคน
  • 4:02 - 4:04
    ถูกยิงใส่ เห็นเพื่อนถูกฆ่า
  • 4:04 - 4:06
    มันเป็นความเจ็บชํ้าอย่างไม่น่าเชื่อ
  • 4:06 - 4:09
    แต่มันก็แค่เพียง 10% ของทหารของเรา
  • 4:09 - 4:11
    แต่ราวครึ่งหนึ่งของทหารของเราได้ยื่นคำร้อง
  • 4:11 - 4:15
    ขอค่าเสียหายบางอย่างเกี่ยวกับโรค PTSD
    จากรัฐบาล
  • 4:17 - 4:22
    แต่การฆ่าตัวตายนั้นใช้กับเรื่องนี้ไม่ได้
    ในแบบที่ไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง
  • 4:22 - 4:28
    เราทุกคนได้ยินได้ฟังสถิติที่โศกสลด
    ทหารผ่านศึก 22 คนต่อวัน โดยเฉลี่ย
  • 4:28 - 4:31
    ในประเทศนี้ ทหารผ่านศึกฆ่าตัวตาย
  • 4:32 - 4:33
    ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักว่า
  • 4:33 - 4:39
    ส่วนใหญ่ของการฆ่าตัวตายเหล่านั้น
    เป็นทหารผ่านศึกจากสงครามเวียตนาม
  • 4:39 - 4:41
    ทหารรุ่นนั้น
  • 4:41 - 4:45
    การตัดสินใจของพวกเขาที่ปลิดชีพตัวเองนั้น
    จริง ๆ แล้วอาจไม่เกี่ยวข้อง
  • 4:45 - 4:48
    กับสงครามที่พวกเขาได้ไปสู้รบเมื่อ 50 ปีก่อน
  • 4:49 - 4:53
    แท้จริงแล้ว ไม่มีสถิติที่เชื่อมโยงกัน
    ระหว่างการสู้รบกับการฆ่าตัวตาย
  • 4:53 - 4:56
    ถ้าคุณกำลังเป็นทหารอยู่ในกองทัพ
    และอยู่ในการสู้รบอย่างหนัก
  • 4:56 - 4:59
    คุณก็ไม่น่าจะฆ่าตัวตายมากไปกว่า
    หากคุณไม่ได้ไปอยู่ในสงคราม
  • 5:00 - 5:01
    งานวิจัยเรื่องหนึ่งพบว่า
  • 5:01 - 5:03
    ถ้าคุณไปรบในอิรัคหรืออัฟกานิสถาน
  • 5:03 - 5:06
    จริง ๆ แล้วคุณก็น่าจะฆ่าตัวตายในเวลาต่อมา
    น้อยลงไปหน่อย
  • 5:09 - 5:11
    ผมศึกษาเรื่องมานุษยวิทยาในมหาวิทยาลัย
  • 5:11 - 5:14
    ผมได้ทำการสำรวจที่เขตสงวนนาวาโฮ
  • 5:14 - 5:17
    ผมเขียนวิทยานิพนธ์
    เรื่องนาวาโฮนักวิ่งทางไกล
  • 5:18 - 5:22
    และเมื่อไม่นานมานี้
    ขณะที่ผมกำลังค้นคว้าเรื่อง PTSD อยู่
  • 5:24 - 5:26
    ผมก็ได้ความคิดนี้ขึ้นมา
  • 5:26 - 5:29
    ผมย้อนกลับไปคิดถึงงานที่ผมทำ
    ตอนผมยังเป็นหนุ่ม
  • 5:29 - 5:33
    และผมก็คิด ผมเข้าใจแล้ว
    นาวาโฮ อาปาเช คอมมานชี--
  • 5:34 - 5:36
    ผมหมายถึง คนเหล่านี้เป็นชาติ
    ที่พร้อมจะเข้าทำสงคราม
  • 5:36 - 5:40
    ผมเข้าใจได้เลยว่า พวกเขาไม่มีอาการ PTSD
    อย่างเช่นพวกเรา
  • 5:41 - 5:44
    เมื่อนักรบของพวกเขากลับมาจาก
    การสู้รบกับทหารสหรัฐ
  • 5:44 - 5:45
    หรือการสู้รบกับพวกเขาเอง
  • 5:46 - 5:50
    ผมเข้าใจได้เลยว่าพวกเขาก็แค่ลื่นไหล
    กลับเข้าสู่ชีวิตของชนเผ่า
  • 5:52 - 5:54
    และบางทีสิ่งนั้นอาจจะมีอิทธิพลต่อ
  • 5:54 - 5:57
    อัตราของอาการ PTSD
  • 5:57 - 5:59
    ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นที่นั่น
  • 6:00 - 6:02
    แต่เป็นเรื่องของสังคมที่คุณกลับคืนเข้ามา
  • 6:03 - 6:08
    และบางทีถ้าคุณกลับคืนเข้ามาสู่สังคม
    ของชนเผ่าที่ใกล้ชิดกันเหนียวแน่น
  • 6:09 - 6:11
    คุณก็จะสามารถหายจากอาการชํ้าชอกได้
    อย่างเร็วมาก
  • 6:12 - 6:16
    แต่ถ้าคุณกลับคืนมาสู่สังคมสมัยใหม่
    ที่หมางเมินกัน
  • 6:17 - 6:20
    คุณอาจจะยังคงบอบชํ้าใจไปตลอดชีวิตของคุณ
  • 6:20 - 6:23
    พูดอีกอย่างหนึ่งคือ บางทีปัญหา
    ไม่ได้อยู่ที่พวกเขา พวกทหารผ่านศึก
  • 6:23 - 6:25
    บางทีปัญหานั้นอยู่ที่เรา
  • 6:27 - 6:32
    แน่นอน สังคมยุคใหม่นั้น
    รุนแรงต่อภาวะจิตใจของมุษย์
  • 6:33 - 6:35
    โดยดูได้จากทุก ๆ ระบบการวัดที่เรามี
  • 6:37 - 6:39
    ขณะที่ความรํ่ารวยสูงขึ้นในสังคม
  • 6:42 - 6:45
    อัตราการฆ่าตัวตายก็สูงขึ้นตามไปด้วย
    แทนที่จะตํ่าลง
  • 6:46 - 6:48
    ถ้าคุณอาศัยอยู่ในสังคมสมัยใหม่
  • 6:48 - 6:50
    คุณน่าจะมีโอกาสมากกว่าถึงแปดเท่า
  • 6:52 - 6:55
    ที่จะทนทุกข์ทรมานจากอาการซึมเศร้า
    ในชีวิตของคุณ
  • 6:55 - 6:58
    มากกว่าหากคุณอาศัยอยู่ในสังคมกสิกรที่ยากจน
  • 6:59 - 7:03
    สังคมสมัยใหม่น่าจะได้ทำให้เกิด
    อัตราสูงการฆ่าตัวตายสูงสุด
  • 7:03 - 7:06
    อาการซึมเศร้าและความกังวลใจ
    ความว้าเหว่เหงาใจและการข่มเหงเด็ก
  • 7:06 - 7:08
    เท่าที่เคยเป็นมาในประวัติศาสตร์
    ของมนุษยชาติ
  • 7:09 - 7:10
    ผมเคยเห็นงานวิจัยเรื่องหนึ่ง
  • 7:10 - 7:13
    ที่เปรียบเทียบผู้หญิงในประเทศไนจีเรีย
  • 7:13 - 7:16
    ประเทศหนึ่งที่วุ่นวาย รุนแรง
    และทุจริตคอร์รัปชั่น
  • 7:17 - 7:19
    และยากจนที่สุดในทวีปแอฟริกา
  • 7:19 - 7:21
    กับผู้หญิงในอเมริกาเหนือ
  • 7:21 - 7:26
    อัตราการซึมเศร้าเป็นของผู้หญิง
    ที่อยู่ในเขตเมืองในอเมริกาเหนือมากที่สุด
  • 7:26 - 7:28
    ซึ่งยังเป็นกลุ่มที่รํ่ารวยที่สุดด้วย
  • 7:29 - 7:32
    ทีนี้ ขอให้เรากลับไปที่ทหารอเมริกา
  • 7:33 - 7:36
    สิบเปอร์เซ็นต์อยู่ในสนามรบ
  • 7:36 - 7:40
    ประมาณ 50 % ได้ยื่นเรื่องขอค่าเสียหาย
    จากโรค PTSD
  • 7:42 - 7:47
    ราว 40% ของทหารผ่านศึกจริง ๆ แล้ว
    ไม่มีอาการบอบชํ้าใจตอนอยู่ในต่างประเทศ
  • 7:48 - 7:52
    แต่เมื่อได้กลับมาถึงบ้านก็พบว่าถูกหมางเมิน
    อย่างฉกาจฉกรรจ์
  • 7:53 - 7:54
    และซึมเศร้า
  • 7:56 - 7:59
    ดังนั้น อะไรกำลังเกิดขึ้นกับพวกเขาหรือ
  • 7:59 - 8:01
    อะไรกำลังเกิดขึ้นกับผู้คนเหล่านั้น
  • 8:02 - 8:07
    พวกอสูรกาย 40% ที่เป็นทุกข์
    แต่ไม่เข้าใจว่าเป็นเพราะอะไร
  • 8:07 - 8:08
    บางทีอาจจะเป็นสิ่งนี้ก็ได้
  • 8:08 - 8:13
    ก็คือบางทีพวกเขาอาจจะผ่านประสบการณ์
    คล้าย ๆ กับความสนิทสนมแน่นแฟ้นในชนเผ่า
  • 8:13 - 8:15
    ในหน่วยรบของพวกเขาเมื่ออยู่ในต่างประเทศ
  • 8:16 - 8:19
    พวกเขากินด้วยกัน นอนด้วยกัน
  • 8:19 - 8:21
    ทำงานและมีภาระกิจที่ได้รับมอบหมายด้วยกัน
  • 8:21 - 8:24
    ไว้วางใจกันและกันด้วยชีวิตของพวกเขา
  • 8:25 - 8:27
    แต่แล้วเมื่อกลับมาบ้าน
  • 8:27 - 8:29
    พวกเขาก็ต้องเลิกทำทุกอย่างนั้นไป
  • 8:30 - 8:34
    กลับมาสู่สังคมหนึ่งคือสังคมสมัยใหม่
  • 8:34 - 8:37
    ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก
    แม้กับคนที่ไม่เคยอยู่ในกองทัพ
  • 8:37 - 8:39
    มันก็เป็นเรื่องที่ยากกับทุก ๆ คน
  • 8:39 - 8:43
    แต่เรายังคงมุ่งสนใจอยู่กับความบอบชํ้า
    อยู่กับอาการPTSD
  • 8:45 - 8:46
    แต่สำหรับคนเหล่านี้จำนวนมากแล้ว
  • 8:47 - 8:49
    บางทีอาจไม่ใช่ความบอบช้ำ
  • 8:49 - 8:51
    ผมหมายถึง แน่นอนครับ ทหารได้รับความบอบชํ้า
  • 8:51 - 8:54
    และคนที่มีอาการที่ต้องได้รับการรักษานั้น
  • 8:54 - 8:55
    แต่พวกเขาจำนวนมากนั้น--
  • 8:55 - 8:58
    บางทีสิ่งที่กำลังรบกวนเขาอยู่
    จริง ๆ คือลักษณะความหมางเมินอย่างหนึ่ง
  • 8:58 - 9:01
    ผมหมายถึง บางทีเราแค่ใช้คำ
    ผิดไปบ้างบางอย่าง
  • 9:01 - 9:04
    และก็แค่เปลี่ยนภาษา ความเข้าใจของเราไปหน่อย
  • 9:04 - 9:05
    ก็อาจจะช่วยได้บ้างเล็กน้อย
  • 9:05 - 9:07
    "ความผิดปกติที่เกิดจากความหมางเมิน
    หลังการรบในสงคราม"
  • 9:07 - 9:10
    บางทีแค่เพียงเรียกมันว่าอย่างนั้น
    สำหรับคนเหล่านี้บางคน
  • 9:12 - 9:14
    ก็อาจจะทำให้พวกเขาหยุดจินตนาการ
  • 9:14 - 9:17
    พยายามที่จะจินตนาการถึงความบอบชํ้า
    ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ๆ
  • 9:18 - 9:20
    เพื่อที่จะอธิบายความรู้สึก
    ที่กำลังเกิดขึ้นจริง ๆ
  • 9:21 - 9:23
    ความจริงแล้ว
    มันเป็นความรู้สึกที่อันตรายอย่างที่สุด
  • 9:23 - 9:26
    ความหมางเมินและความซึมเศร้านั้น
    นำไปสู่การฆ่าตัวตายได้
  • 9:26 - 9:28
    ผู้คนเหล่านี้อยู่ในอันตราย
  • 9:28 - 9:30
    มันสำคัญมากที่ต้องเข้าใจว่าเป็นเพราะอะไร
  • 9:31 - 9:35
    ทหารอิสราเอลมีอัตราอาการ PTSD
    ประมาณหนึ่งเปอร์เซ็นต์
  • 9:36 - 9:41
    ทฤษฎีมีอยู่ว่าทุกคนในอิสราเอลต้องเป็นทหาร
  • 9:41 - 9:43
    เมื่อทหารกลับมาจากแนวหน้า
  • 9:43 - 9:48
    พวกเขาไม่ได้ออกจากสภาพแวดล้อมทหาร
    สู่สภาวะแวดล้อมพลเรือน
  • 9:49 - 9:52
    พวกเขากลับมาสู่ชุมชนที่ทุกคนเข้าใจ
  • 9:54 - 9:55
    เกี่ยวกับทหาร
  • 9:55 - 9:57
    ทุกคนเคยเข้าไปอยู่ในที่นั้น
  • 9:57 - 9:59
    ทุกคนเข้าใจสถานการณ์ทั้งหมดที่ตัวเอง
    เคยผ่านมา
  • 9:59 - 10:02
    เหมือนกับว่าทุกคนเป็นชนเผ่าใหญ่ชนเผ่าหนึ่ง
  • 10:02 - 10:04
    เรารู้ว่าถ้าคุณเอาหนูทดลอง
  • 10:04 - 10:08
    ทำให้มันบอบชํ้าและเอามันไปขังตัวเดียวในกรง
  • 10:08 - 10:11
    คุณก็สามารถทำให้มันยังคงมีอาการบอบชํ้า
    เกือบไม่มีที่สิ้นสุด
  • 10:12 - 10:17
    แต่ถ้าคุณเอาหนูทดลองตัวเดียวกันนั้น
    เอาขังในกรงรวมกับหนูตัวอื่น ๆ
  • 10:18 - 10:21
    หลังจากสองสัปดาห์มันก็จะเป็นปกติได้
  • 10:24 - 10:25
    หลังจากเหตุการณ์ 9/11
  • 10:27 - 10:30
    อัตราฆาตกรรมในกรุงนิวยอร์คลดลงมาราว 40 %
  • 10:30 - 10:32
    อัตราการฆ่าตัวตายลดลง
  • 10:33 - 10:37
    อัตราอาชญากรรมรุนแรงในกรุงนิวยอร์ค
    ลดลงมาหลังเหตุการณ์ 9/11
  • 10:37 - 10:43
    แม้แต่ทหารที่ผ่านศึกสงครามก่อนหน้านี้มา
    ซึ่งทนทุกข์ทรมานจากอาการ PTSD
  • 10:43 - 10:47
    ก็บอกว่าอาการของพวกเขาลดลง
    หลังเหตุการณ์ 9/11
  • 10:47 - 10:51
    สาเหตุก็เพราะว่า
    ถ้าคุณทำให้สังคมบอบชํ้าทั่วไปทั้งหมด
  • 10:52 - 10:56
    เราก็จะไม่แตกแยกเป็นเสี่ยง ๆ
    แล้วก็วิ่งเข้าใส่กัน
  • 10:56 - 10:58
    เรามารวมตัวกัน เรารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
  • 10:58 - 11:00
    พูดง่าย ๆ เรารวมตัวกันเป็นชนเผ่า
  • 11:00 - 11:05
    และกระบวนการของการรวมกันนั้น
    เป็นความรู้สึกดียิ่งและดียิ่งสำหรับเรา
  • 11:05 - 11:07
    ดีจนกระทั่งมันช่วยผู้คน
  • 11:07 - 11:10
    ซึ่งกำลังดิ้นรนอยู่กับปัญหาสุขภาพทางจิต
  • 11:10 - 11:12
    ช่วงการโจมตีทางอากาศที่รุนแรงในลอนดอน
  • 11:12 - 11:17
    การรับเข้ารักษาในแผนกจิตเวช
    ลดลงในระหว่างการทิ้งระเบิด
  • 11:19 - 11:22
    เป็นช่วงหนึ่ง (9/11) ที่เป็นแบบของประเทศ
  • 11:22 - 11:26
    ที่ทหารอเมริกันกลับเข้ามาสู่ --
    ประเทศที่รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
  • 11:26 - 11:28
    เราผนึกแน่นเข้าด้วยกัน
  • 11:28 - 11:30
    ตอนนั้นเรากำลังพยายามเข้าใจ
    สิ่งที่คุกคามเรา
  • 11:30 - 11:34
    เราพยายามจะช่วยตัวเองและโลก
  • 11:36 - 11:37
    แต่สิ่งนั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว
  • 11:38 - 11:41
    ขณะนี้ทหารอเมริกัน
  • 11:41 - 11:45
    ทหารผ่านศึกอเมริกันกำลังกลับคืนสู่ประเทศ
    ที่ถูกแบ่งแยกอย่างขมขื่น
  • 11:46 - 11:49
    ที่พรรคการเมืองสองพรรค
    กำลังกล่าวหากันและกันอย่างเอาจริงเอาจัง
  • 11:51 - 11:54
    ในเรื่องการทรยศ การเป็นศัตรูต่อรัฐ
  • 11:54 - 11:59
    ในการพยายามจะบ่อนทำลายความมั่นคง
    และสวัสดิภาพของประเทศตนเอง
  • 11:59 - 12:03
    ช่องว่างระหว่างความรํ่ารวยและความยากจน
    กว้างใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
  • 12:03 - 12:04
    ขณะนี้มันกำลังเลวลง ๆ
  • 12:04 - 12:07
    ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติก็แย่
  • 12:07 - 12:10
    มีการเดินขบวนและแม้กระทั่งการจลาจล
    บนท้องถนน
  • 12:10 - 12:12
    สาเหตุเพราะความไม่เป็นธรรมด้านเชื้อชาติ
  • 12:13 - 12:17
    ทหารผ่านศึกรู้ดีว่าชนเผ่าใดก็ตาม
    ที่ทำตัวแบบนั้น-- จริงๆแล้ว
  • 12:17 - 12:22
    หมวดทหารใดที่ทำตัวเองแบบนั้น
    ก็จะไม่รอดชีวิตไปได้
  • 12:23 - 12:25
    เราคุ้นเคยกับมันแล้ว
  • 12:25 - 12:29
    ทหารผ่านศึกที่ได้ไปทำสงคราม
    และกำลังจะกลับมา
  • 12:29 - 12:33
    และกำลังมองดูประเทศของตนเอง
    ด้วยสายตาที่สดใส
  • 12:33 - 12:35
    และพวกเขาเห็นว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น
  • 12:36 - 12:38
    นี่หรือประเทศที่พวกเขาไปสู้รบให้
  • 12:38 - 12:40
    ไม่ประหลาดใจที่พวกเขาหดหู่ใจ
  • 12:40 - 12:42
    ไม่ประหลาดใจที่พวกเขากลัว
  • 12:43 - 12:47
    บางครั้ง เราถามตัวเองว่า
    จะช่วยชีวิตทหารผ่านศึกเหล่านี้ได้หรือไม่
  • 12:48 - 12:51
    ผมคิดว่าคำถามที่แท้จริงก็คือ
    เราจะช่วยชีวิตของเราเองได้หรือไม่
  • 12:52 - 12:54
    ถ้าเราสามารถช่วยได้
  • 12:54 - 12:56
    ผมคิดว่าทหารผ่านศึกก็จะสบายดี
  • 12:57 - 13:00
    ถึงเวลาแล้วที่ประเทศนี้จะรวมกัน
  • 13:02 - 13:07
    ถ้าหากว่าจะช่วยผู้ชายและผู้หญิง
    ที่ได้ไปต่อสู้เพื่อปกป้องเรา
  • 13:07 - 13:08
    ขอบคุณมากครับ
  • 13:08 - 13:15
    (เสียงปรบมือ)
Title:
สังคมที่อ้างว้างทำให้เป็นเรื่องยากที่เราจะกลับคืนสู่บ้านหลังจากสงคราม
Speaker:
เซบาสเตียน ยุงเงอร์ (Sebastian Junger)
Description:

เซบาสเตียน ยุงเงอร์ (Sebastian Junger) ได้เห็นสงครามมาอย่างใกล้ชิด และเขารู้ถึงผลกระทบที่ความชอกชํ้าจากสนามรบที่มีต่อทหาร แต่เขาเสนอแนะว่า มีสาเหตุของความเจ็บปวดที่สำคัญอีกสาเหตุหนึ่ง สำหรับทหารผ่านศึกเมื่อเขาได้กลับคืนสู่บ้าน คือ ประสบการณ์ที่มาจากความใกล้ชิดของกองทัพ และกลับมาสู่สังคมสมัยใหม่ที่ถุกแบ่งแยกอย่างหมางเมินและขมขื่น เขาบอกว่า "บางครั้งเราถามตัวเองว่า เราจะช่วยชีวิตทหารผ่านศึกเหล่านี้ได้หรือไม่" และเขาก็บอกว่า "ผมคิดว่า คำถามที่แท้จริงนั้น คือ เราจะช่วยชีวิตตัวเราเองได้หรือไม่ต่างหาก"

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:28

Thai subtitles

Revisions Compare revisions