Return to Video

มาเรีย เบเซติส (Maria Bezaitis): "ความแปลกหน้า" ที่จำเป็นอย่างน่าประหลาดใจ

  • 0:01 - 0:04
    "อย่าคุยกับคนแปลกหน้า"
  • 0:04 - 0:06
    คุณได้ยินประโยคนี้ที่บอกต่อๆกันมา
  • 0:06 - 0:11
    โดยเพื่อนของคุณ ครอบครัว โรงเรียน
    และสื่อต่างๆ มาหลายสิบปี
  • 0:11 - 0:13
    มันเป็นบรรทัดฐาน มันเป็นบรรทัดฐานทางสังคม
  • 0:13 - 0:16
    แต่มันเป็นบรรทัดฐานทางสังคมชนิดพิเศษ
  • 0:16 - 0:18
    เพราะมันเป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่ต้องการจะบอกเราว่า
  • 0:18 - 0:23
    ใครที่เราต้องมีความสัมพันธ์ด้วย
    และใครที่เราไม่ควรมี
  • 0:23 - 0:25
    "อย่าคุยกับคนแปลกหน้า" เขาว่ากัน
  • 0:25 - 0:29
    "อยู่ให้ห่างจากใครก็ตามที่คุณไม่คุ้นเคย
  • 0:29 - 0:32
    เกาะติดกับคนที่คุณรู้จักไว้
  • 0:32 - 0:35
    เกาะติดกับคนที่เหมือนคุณ"
  • 0:35 - 0:37
    น่าเชื่อจริงๆใช่มั้ยคะ
  • 0:37 - 0:40
    (แต่) มันไม่ใช่สิ่งที่เราทำตอนที่เราทำอะไรสักอย่างได้ดีที่สุด
    ใช่ไหม
  • 0:40 - 0:43
    ตอนที่เราทำได้ดีที่สุด เรากลับเข้าถึงผู้คน
  • 0:43 - 0:45
    ที่ไม่เหมือนเรา
  • 0:45 - 0:48
    เพราะเมื่อเราทำแบบนั้น เราเรียนรู้จากคนอื่น
  • 0:48 - 0:50
    ที่ไม่เหมือนเรา
  • 0:50 - 0:54
    วลีของฉันสำหรับสิ่งนี้ คือการ "ไม่เหมือนพวกเรา"
  • 0:54 - 0:56
    คือคำว่า "ความแปลกหน้า"
  • 0:56 - 1:00
    และจุดสำคัญก็คือว่า
    ในโลกที่เต็มไปด้วยระบบดิจิตอลทุกวันนี้
  • 1:00 - 1:03
    เอาเข้าจริงๆคนแปลกหน้ากลับไม่ใช่สาระสำคัญ
  • 1:03 - 1:05
    สาระสำคัญที่เราควรจะกังวลก็คือ
  • 1:05 - 1:08
    ความแปลกหน้ามากแค่ไหนที่เรากำลังจะได้เจอ
  • 1:08 - 1:11
    ทำไมต้องพูดถึงความแปลกหน้า
    เพราะความสัมพันธ์ทางสังคมของเรา
  • 1:11 - 1:14
    ต้องอาศัยข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 1:14 - 1:19
    และข้อมูลได้เปลี่ยนความสัมพันธ์ทางสังคมของเรา
    ไปเป็นความสัมพันธ์แบบดิจิตอล
  • 1:19 - 1:21
    และนั่นหมายความว่าความสัมพันธ์แบบดิจิตอลของเรา
  • 1:21 - 1:25
    ตอนนี้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีมากเป็นพิเศษ
  • 1:25 - 1:28
    ในการที่จะนำมันไปสู่ความมั่นคง
  • 1:28 - 1:29
    การค้นพบ
  • 1:29 - 1:33
    ความประหลาดใจและการคาดการณ์ไม่ได้
  • 1:33 - 1:34
    ทำไมต้องคนแปลกหน้าล่ะ
  • 1:34 - 1:37
    เพราะคนแปลกหน้าเป็นส่วนหนึ่งของโลก
  • 1:37 - 1:39
    ที่เต็มไปด้วยเส้นแบ่งมากมาย
  • 1:39 - 1:42
    พวกเขาตกอยู่ในโลกของผู้คนที่ฉันรู้จัก
  • 1:42 - 1:44
    กับผู้คนที่ฉันไม่รู้จัก
  • 1:44 - 1:47
    และในบริบทของความสัมพันธ์แบบดิจิตอลของฉันนั้น
  • 1:47 - 1:51
    ฉันได้ทำสิ่งต่างๆกับผู้คนที่ฉันไม่รู้จักไปเรียบร้อยแล้ว
  • 1:51 - 1:54
    คำถามไม่ใช่ว่าฉันรู้จักคุณหรือไม่
  • 1:54 - 1:57
    คำถามคือ ฉันจะทำอะไรร่วมกับคุณได้บ้าง
  • 1:57 - 1:59
    ฉันเรียนรู้อะไรร่วมกับคุณได้บ้าง
  • 1:59 - 2:03
    เราจะทำอะไรด้วยกันได้บ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อเราทั้งคู่
  • 2:03 - 2:06
    ฉันใช้เวลามากมายคิดเกี่ยวกับว่า
  • 2:06 - 2:09
    ภูมิทัศน์ทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
  • 2:09 - 2:11
    เทคโนโลยีใหม่ๆได้สร้างข้อจำกัดใหม่
  • 2:11 - 2:14
    และโอกาสใหม่ให้กับผู้คนอย่างไรบ้าง
  • 2:14 - 2:17
    การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดที่เรากำลังเผชิญอยู่วันนี้
  • 2:17 - 2:19
    ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลและสิ่งที่ข้อมูลกำลังทำอยู่
  • 2:19 - 2:21
    เพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบดิจิตอล
  • 2:21 - 2:24
    ที่เป็นไปได้สำหรับพวกเราในอนาคต
  • 2:24 - 2:26
    ระบบเศรษฐกิจแห่งอนาคตขึ้นอยู่กับสิ่งนั้น
  • 2:26 - 2:29
    ชีวิตในสังคมของเราในอนาคตขึ้นอยู่กับสิ่งนั้น
  • 2:29 - 2:32
    สิ่งคุกคามที่น่ากังวลไม่ใช่คนแปลกหน้า
  • 2:32 - 2:34
    สิ่งคุกคามที่น่ากังวลคือ
  • 2:34 - 2:37
    พวกเราจะจะได้พบเจอสัดส่วนความแปลกหน้า
    ที่เพียงพอหรือไม่ต่างหาก
  • 2:37 - 2:40
    ตอนนี้ นักจิตวิทยาและนักสังคมวิทยาแห่งศตวรรษที่ 20
  • 2:40 - 2:42
    กำลังคิดเรื่องคนแปลกหน้า
  • 2:42 - 2:45
    แต่พวกเขาไม่ได้คิดเรื่อง
    ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เท่าไหร่นัก
  • 2:45 - 2:46
    และพวกเขาคิดเรื่องคนแปลกหน้า
  • 2:46 - 2:49
    ท่ามกลางบริบทของการกระทำที่มีอิทธิพล
  • 2:49 - 2:52
    สแตนลีย์ มิลแกรม (Stanley Milgram)
    จากยุค 60 และ 70
  • 2:52 - 2:54
    ผู้สร้างการทดลองโลกใบเล็ก
  • 2:54 - 2:57
    ที่ได้โด่งดังเป็นที่รู้จักในนาม หกระดับของการแบ่งแยก
  • 2:57 - 3:00
    เขาบอกว่า คนสองคนที่ถูกเลือกแบบสุ่ม
  • 3:00 - 3:04
    มีแนวโน้มที่จะเชื่อมถึงกันได้ ด้วยขั้นตอนสื่อกลาง 5-7 ขั้น
  • 3:04 - 3:07
    ประเด็นของเขาก็คือ สำหรับคนแปลกหน้าที่อยู่ข้างนอกนั่น
  • 3:07 - 3:09
    เราสามารถเข้าถึงพวกเขาได้
    มันมีหนทางต่างๆ
  • 3:09 - 3:11
    ที่ทำให้เราเข้าถึงพวกเขาได้
  • 3:11 - 3:15
    มาร์ก กราโนเวตเตอร์ (Mark Granovetter)
    นักสังคมวิทยาจากสแตนฟอร์ด
  • 3:15 - 3:18
    ในงานชิ้นสำคัญของเขาเมื่อปี 1973
    บทความชื่อ "ความแข็งแกร่งของความสัมพันธ์แบบหลวมๆ"
    (The Strength of Weak Ties)
  • 3:18 - 3:21
    ได้ระบุว่า ความสัมพันธ์แบบหลวมๆเหล่านี้
  • 3:21 - 3:23
    เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายของพวกเรา
    คนแปลกหน้าเหล่านี้
  • 3:23 - 3:26
    จริงๆแล้ว มีประสิทธิภาพ
    ในการกระจายข้อมูลให้กับเรามากกว่า
  • 3:26 - 3:31
    ความสัมพันธ์แบบสนิทชิดเชื้อของเรา
    ซึ่งก็คือคนที่ใกล้ชิดกับเราที่สุด เสียอีก
  • 3:31 - 3:34
    เขาได้ระบุเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบแนบแน่นของเรา
  • 3:34 - 3:37
    คนเหล่านี้ที่สนิทกับเราเหลือเกิน
  • 3:37 - 3:39
    ความสัมพันธ์แนบแน่นเหล่านี้ในชีวิตเรา
  • 3:39 - 3:42
    จริงๆแล้วมีผลลัพธ์เชิงหลอมรวมต่อเรา
  • 3:42 - 3:45
    พวกเขาสร้างความเหมือน
  • 3:45 - 3:48
    เพื่อนร่วมงานของฉันและตัวฉันเองที่อินเทล
    ได้ใช้เวลาช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
  • 3:48 - 3:50
    ดูว่ามีทางไหนบ้างที่ช่องทางดิจิตอล (digital platforms)
  • 3:50 - 3:52
    จะเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของพวกเรา
  • 3:52 - 3:55
    แบบแผนชีวิตใหม้แบบไหนที่เป็นไปได้
  • 3:55 - 3:56
    เราเฝ้าดูดิจิตอลแพลตฟอร์มต่างๆ
  • 3:56 - 3:59
    ที่สามารถทำให้เรา
  • 3:59 - 4:02
    นำของๆเรา สิ่งเหล่านั้นที่เคย
  • 4:02 - 4:05
    ถูกจำกัดอยู่กับพวกเราและเพื่อนของเราในบ้านของเรา
  • 4:05 - 4:09
    และทำให้มันถูกเข้าถึงได้ โดยคนที่เราไม่รู้จัก
  • 4:09 - 4:12
    ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าของเรา รถของเรา
  • 4:12 - 4:14
    จักรยานของเรา หนังสือหรือดนตรีของเรา
  • 4:14 - 4:17
    ตอนนี้ เราสามารถเอาของต่างๆของเรา
  • 4:17 - 4:21
    มาทำให้มันถูกเข้าถึงได้โดยผู้ที่เราไม่เคยเจอมาก่อน
  • 4:21 - 4:24
    แล้วพวกเราก็สรุปข้อคิดที่สำคัญมาก
  • 4:24 - 4:25
    ซึ่งก็คือว่า ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างคน
  • 4:25 - 4:28
    กับสิ่งของในชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไป
  • 4:28 - 4:31
    ดังนั้น ความสัมพันธ์ของพวกเขากับคนอื่นๆก็เช่นเดียวกัน
  • 4:31 - 4:33
    แต่เจ้าระบบแนะนำ
  • 4:33 - 4:37
    ระบบแล้วระบบเล่าต่างก็พลาดไป
  • 4:37 - 4:40
    มันยังคงพยายามทำนายสิ่งที่ฉันต้องการ
  • 4:40 - 4:43
    จากบุคลิกลักษณะในอดีตของฉัน
  • 4:43 - 4:45
    และสิ่งที่ฉันทำไปแล้ว
  • 4:45 - 4:48
    เทคโนโลยีความปลอดภัย ซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • 4:48 - 4:50
    ยังคงออกแบบการป้องกันข้อมูล
  • 4:50 - 4:52
    ในแง่ของภัยคุกคามและการโจมตี
  • 4:52 - 4:56
    กักขังฉันไว้ให้อยู่ในความสัมพันธ์ที่รัดตรึงมากๆ
  • 4:56 - 4:58
    การแบ่งประเภทอย่าง "เพื่อน" และ "ครอบครัว"
  • 4:58 - 5:01
    และ "ผู้ติดต่อ" และ "เพื่อนร่วมงาน"
  • 5:01 - 5:05
    ไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของฉันจริงๆ
  • 5:05 - 5:07
    วิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
    ในการคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของฉัน
  • 5:07 - 5:09
    อาจจะเป็นในเชิงความใกล้ชิดและความห่างไกล
  • 5:09 - 5:13
    ที่ซึ่ง ณ บางจุดบางเวลา กับใครสักคนหนึ่ง
  • 5:13 - 5:17
    ฉันทั้งสนิทและเหินห่างกับคนๆนั้น
  • 5:17 - 5:21
    ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ฉันต้องทำตอนนี้
  • 5:21 - 5:24
    ผู้คนไม่ได้สนิทสนมหรือเหินห่าง
  • 5:24 - 5:27
    ผู้คนมีส่วนผสมของทั้งสองอย่างอยู่เสมอ
  • 5:27 - 5:31
    และส่วนผสมนั้นก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด
  • 5:31 - 5:33
    ถ้าหากเทคโนโลยีสามารถเข้ามาก้าวก่าย
  • 5:33 - 5:37
    เพื่อทำลายสมดุลของความสัมพันธ์บางประเภทได้ล่ะ?
  • 5:37 - 5:39
    ถ้าหากเทคโนโลยีสามารถแทรกแซง
  • 5:39 - 5:43
    เพื่อช่วยฉันในการหาใครสักคนที่ฉันต้องการเดี๋ยวนี้ได้ล่ะ
  • 5:43 - 5:46
    ความแปลกหน้าคือ การวัดเชิงเปรียบเทียบ
  • 5:46 - 5:48
    ระหว่างความสนิทกับความห่าง
  • 5:48 - 5:52
    ที่ทำให้ฉันได้เจอผู้คนที่ฉันต้องการเดี๋ยวนี้
  • 5:52 - 5:55
    ที่ทำให้ฉันได้เจอกับแหล่งของความชิดเชื้อ
  • 5:55 - 6:00
    ของการค้นพบ และของแรงบันดาลใจที่ฉันต้องการตอนนี้
  • 6:00 - 6:02
    ความแปลกหน้าไม่ใช่เรื่องของการพบคนแปลกหน้า
  • 6:02 - 6:04
    ง่ายๆเลย มันเป็นเรื่องของการที่เราต้อง
  • 6:04 - 6:07
    ทำลายพื้นที่ความคุ้นเคยของเรา
  • 6:07 - 6:11
    ดังนั้น การเขย่าพื้นที่ความคุ้นเคยเหล่านั้นเบาๆ
    เป็นหนทางหนึ่งในการคิดถึงความแปลกหน้า
  • 6:11 - 6:14
    และมันเป็นปัญหาที่พบเจอ
    ไม่ใช่เฉพาะกับคนแต่ละคนทุกวันนี้
  • 6:14 - 6:16
    แต่รวมไปถึงองค์กรต่างๆด้วย
  • 6:16 - 6:21
    องค์กรที่พยายามแสวงหาโอกาสใหม่ๆมากมาย
  • 6:21 - 6:23
    ไม่ว่าคุณจะเป็นพรรคการเมือง
  • 6:23 - 6:26
    ยืนกรานต่อความเสียหายจากการแบ่งชัด
  • 6:26 - 6:28
    ระหว่างใครพวกเรา ใครไม่ใช่
  • 6:28 - 6:29
    ไม่ว่าคุณจะเป็นรัฐบาล
  • 6:29 - 6:32
    ที่กำลังปกป้องสถาบันทางสังคมอย่างการแต่งงาน
  • 6:32 - 6:36
    และจำกัดการเข้าถึงของสถาบันเหล่านั้นให้แก่คนบางกลุ่ม
  • 6:36 - 6:38
    ไม่ว่าคุณจะเป็นสาวน้อยในห้องนอนของเธอ
  • 6:38 - 6:42
    ที่กำลังกระทบกระทั่งกับพ่อแม่ของเธออยู่
  • 6:42 - 6:45
    ความแปลกหน้าเป็นทางหนึ่งที่จะคิด
  • 6:45 - 6:47
    ว่าเราจะสร้างหนทางไปสู่ความสัมพันธ์แบบใหม่ได้อย่างไร
  • 6:47 - 6:51
    เราต้องเปลี่ยนบรรทัดฐานทางสังคม
  • 6:51 - 6:54
    เราต้องเปลี่ยนบรรทัดฐานเพื่อทำให้
  • 6:54 - 6:56
    เทคโนโลยีรูปแบบใหม่
  • 6:56 - 6:58
    ได้เป็นพื้นฐานของการทำธุรกิจแบบใหม่
  • 6:58 - 7:02
    แล้วคำถามที่น่าสนใจที่อยู่ตรงหน้าเรา
  • 7:02 - 7:05
    ในโลกที่ไม่มีคนแปลกหน้าคืออะไร
  • 7:05 - 7:09
    เราจะคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเรากับผู้คน
    ให้ต่างไปจากเดิมได้อย่างไร
  • 7:09 - 7:12
    เราจะคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเรากับ
    กลุ่มคนกระจัดกระจาย
  • 7:12 - 7:14
    ให้ต่างไปจากเดิมได้อย่างไร
  • 7:14 - 7:18
    เราจะคิดถึงความสัมพันธ์ของเรากับเทคโนโลยี
  • 7:18 - 7:21
    สิ่งที่ได้กลายมาเป็นผู้มีส่วนร่วมทางสังคมตามสิทธิของมัน
  • 7:21 - 7:23
    ให้แตกต่างไปจากเดิมได้อย่างไร
  • 7:23 - 7:27
    ช่วงของความสัมพันธ์ทางดิจิตอลนั้นน่าทึ่งมาก
  • 7:27 - 7:32
    ท่ามกลางบริบทของความสัมพันธ์ดิจิตอลนี้
  • 7:32 - 7:35
    การค้นหาความแปลกหน้าอย่างปลอดภัยอาจจะ
  • 7:35 - 7:37
    เป็นพื้นฐานใหม่สำหรับนวัตกรรมก็เป็นได้
  • 7:37 - 7:38
    ขอบคุณค่ะ
  • 7:38 - 7:43
    (เสียงปรบมือ)
Title:
มาเรีย เบเซติส (Maria Bezaitis): "ความแปลกหน้า" ที่จำเป็นอย่างน่าประหลาดใจ
Speaker:
Maria Bezaitis
Description:

ในโลกดิจิตอลของเรา ความสัมพันธ์ทางสังคมกลายมาขึ้นอยู่กับข้อมูล ปราศจากการรับรู้มัน เราก็ได้กีดกันตัวเองออกจากความแปลกหน้า ผู้คนและความคิดที่ไม่เข้ากับแบบแผนของคนที่เรารู้จักอยู่แล้ว สิ่งที่เราชอบอยู่แล้ว และสถานที่ที่เราไปมาแล้ว นี่คือการเรียกร้องให้เทคโนโลยีพาเราไปเจอสิ่งและคนที่เราต้องการ ถึงแม้ว่ามันอาจจะไม่คุ้นเคยก็ตามแต่ (ถ่ายทำที่ TED@Intel)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:00
Paravee Asava-Anan commented on Thai subtitles for Why we need strangeness
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why we need strangeness
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Why we need strangeness
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we need strangeness
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we need strangeness
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we need strangeness
Paravee Asava-Anan accepted Thai subtitles for Why we need strangeness
Paravee Asava-Anan edited Thai subtitles for Why we need strangeness
Show all

Thai subtitles

Revisions