Return to Video

จะเขียนนิยายให้มีชีวิตชีวาได้อย่างไร - นาโล ฮอพคินสัน (Nalo Hopkinson)

  • 0:08 - 0:12
    มีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้เราอ่านนิยาย
  • 0:12 - 0:13
    เพื่อความบันเทิง
  • 0:13 - 0:15
    เพื่อค้นหาว่าใครเป็นคนทำนะ
  • 0:15 - 0:18
    เพื่อเดินทางไปยังโลกใหม่ที่แปลกประหลาด
  • 0:18 - 0:19
    เพื่อที่จะได้ขนหัวลุก
  • 0:19 - 0:20
    เพื่อที่จะหัวเราะ
  • 0:20 - 0:21
    เพื่อที่จะร้องไห้
  • 0:21 - 0:22
    เพื่อที่จะคิด
  • 0:22 - 0:23
    เพื่อที่จะได้รับรู้ความรู้สึก
  • 0:23 - 0:28
    เพื่อที่จะซึมซับสิ่งนั้นสักชั่วขณะหนี่ง
    และลืมว่าเราอยู่ที่ไหน
  • 0:28 - 0:31
    แล้ว การเขียนนิยายล่ะ
  • 0:31 - 0:34
    คุณจะดึงผู้อ่านของคุณเข้ามา
    ในเรื่องราวของคุณได้อย่างไร
  • 0:34 - 0:36
    ด้วยโครงเรื่องที่น่าตื่นเต้นล่ะมั้ง
  • 0:36 - 0:39
    หรืออาจจะเป็นตัวละครที่น่าสนใจหรือเปล่า
  • 0:39 - 0:43
    ภาษาที่สวยงามกระมัง
  • 0:43 - 0:48
    "ขาของบิลลีดั่งเส้นหมี่
    ปลายผมของเธอดั่งเข็มพิษ
  • 0:48 - 0:53
    ลิ้นของเธอเป็นฟองน้ำมีหนามแหลม
    ดวงตาเธอเป็นถุงสารฟอกขาว"
  • 0:53 - 0:58
    คำบรรยายนั้นแทบจะทำให้คุณรู้สึกมึน
    อย่างที่บิลลี่รู้สึกไหม
  • 0:58 - 1:01
    เราจับความได้ว่าขาของบิลลี่
    ไม่ได้เป็นเส้นหมี่จริง ๆ หรอก
  • 1:01 - 1:04
    สำหรับบิลลี่แล้ว
    ขามันเปลี้ย ๆ เหมือนกับบะหมี่ลวก
  • 1:04 - 1:07
    มันเป็นการเปรียบเทียบ
    เป็นการอุปมา
  • 1:07 - 1:10
    ฉะนั้น ทำไมไม่เขียนให้มันง่าย ๆ แบบนี้ล่ะ
  • 1:10 - 1:13
    "บิลลี่รู้สึกมึน ๆ และเพลีย"
  • 1:13 - 1:18
    เป็นไปได้ว่า สำหรับคุณแล้ว
    การบรรยายที่สองไม่มีสีสันเท่าอันแรก
  • 1:18 - 1:21
    จุดประสงค์ของนิยายคือการร่ายมนต์
  • 1:21 - 1:26
    ภาพลวงตา ณ วินาทีที่คุณอยู่ในโลก
    ของเรื่องราวเหล่านั้น
  • 1:26 - 1:28
    นิยายเข้าถึงสัมผัส
  • 1:28 - 1:31
    ช่วยให้เราสร้างตัวแทนทางความคิดที่ชัดเจน
  • 1:31 - 1:34
    เกี่ยวกับประสบการณ์
    ที่ตัวละครกำลังได้รับ
  • 1:34 - 1:37
    บางฉาก บางตอน
    เข้าถึงสัมผัสของเราโดยตรง
  • 1:37 - 1:42
    เราเห็นและได้ยินการมีปฏิสัมพันธ์
    ของตัวละครและสถานการณ์
  • 1:42 - 1:43
    แต่ด้วยนิยายร้อยแก้ว
  • 1:43 - 1:48
    ทั้งหมดที่คุณมีก็คือสัญลักษณ์นิ่ง ๆ
    ที่อยู่บนพื้นหลังที่แตกต่าง
  • 1:48 - 1:52
    ถ้าคุณอธิบายเรื่องราวแบบข้อเท็จจริง
    ไม่ใช่แบบภาษาที่รับรู้ได้โดยสัมผัส
  • 1:52 - 1:54
    เกรงว่ามนต์นั้นจะค่อนข้างอ่อน
  • 1:54 - 1:58
    ผู้อ่านของคุณอาจไม่ได้อะไรมากไปกว่า
    การตีความอักขระ
  • 1:58 - 2:00
    เธอจะเข้าใจว่าบิลลี่รู้สึกอย่างไร
  • 2:00 - 2:04
    แต่เธอจะไม่รู้สึกในสิ่งที่บิลลี่รู้สึก
  • 2:04 - 2:07
    เธอจะอ่าน แต่ไม่จมดิ่งลงไปในโลกของเรื่องราว
  • 2:07 - 2:13
    ไม่ค้นพบความจริงของชีวิตของบิลลี่
    ไปพร้อมกับบิลลี่
  • 2:13 - 2:16
    นิยายเล่นกับความรู้สึกของเรา
  • 2:16 - 2:17
    รส
  • 2:17 - 2:18
    กลิ่น
  • 2:18 - 2:19
    สัมผัส
  • 2:19 - 2:20
    การได้ยิน
  • 2:20 - 2:21
    การมองเห็น
  • 2:21 - 2:23
    และสัมผัสการเคลื่อนไหว
  • 2:23 - 2:29
    และยังเล่นกับความสามารถของเรา ในการคิด
    เชิงทฤษฎี และสร้างความเชื่อมโยงที่ซับซ้อน
  • 2:29 - 2:31
    ดูที่ประโยคต่อจากนี้สิ
  • 2:31 - 2:33
    "โลกสงัดเป็นผี
  • 2:33 - 2:38
    จะมีก็แต่เสียงที่กรีดผ่านใบเรือ
    และฟองปุดของคลื่นน้ำที่กระทบลำเรือ"
  • 2:38 - 2:41
    คำว่า "สงัด" "กรีด" และ "ปุด"
  • 2:41 - 2:43
    เกี่ยวข้องกับสัมผัสการได้ยิน
  • 2:43 - 2:47
    สังเกตว่า บัคเคล (Buckell)
    ไม่ได้ใช้คำสำหรับเสียงทั่ว ๆ ไป
  • 2:47 - 2:53
    แต่ละคำที่เขาเลือก กระตุ้นให้นึกถึง
    คุณสมบัติของแต่ละเสียง
  • 2:53 - 2:56
    จากนั้น เช่นเดียวกับศิลปินที่ลงสี
  • 2:56 - 2:59
    เพื่อให้สัมผัสของเนื้อหนัง
    กับภาพวาด
  • 2:59 - 3:04
    เขาเติมมันเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง
    "เสียงที่กรีดผ่านใบเรือ"
  • 3:04 - 3:08
    และสัมผัส
    "ฟองปุดของคลื่นน้ำที่กระทบลำเรือ"
  • 3:08 - 3:11
    ท้ายที่สุด เขาให้ความสัมพันธ์ในเชิงทฤษฎีกับเรา
  • 3:11 - 3:15
    โดยการเชื่อมคำว่า สงัด กับคำว่า ผี
  • 3:15 - 3:17
    ไม่ใช่ "สงัดเหมือนกับผี"
  • 3:17 - 3:19
    ซึ่งจะทำให้ชั้นของการเปรียบเทียบ
  • 3:19 - 3:21
    ระหว่างผู้อ่านและประสบการณ์ห่างออกไป
  • 3:21 - 3:26
    แทนที่จะเป็นอย่างนั้น บัคเคลสร้างอุปมา
    "เงียบเป็นผี" ขึ้น
  • 3:26 - 3:29
    เพื่อการตีความ
    มากกว่าที่จะเป็นการเปรียบเทียบที่ชัดเจน
  • 3:29 - 3:32
    นักเขียนจะถูกบอกเสมอให้เลี่ยงสำนวนที่ซ้ำซาก
  • 3:32 - 3:36
    เพราะสำหรับผู้อ่านแล้ว ภาพที่ใช้บ่อยเกินไป
    จะถูกเข้าถึงได้น้อยมาก
  • 3:36 - 3:38
    อย่างเช่น "แดงเหมือนกุหลาบ"
  • 3:38 - 3:39
    แต่ถ้าบอกว่า
  • 3:39 - 3:42
    "รัก ... เริ่มต้นบนหาด
  • 3:42 - 3:47
    มันเริ่มต้นในวันที่เจคอฟเห็นแอนเน็ต
    ในชุดเชอรี่สุกงอม"
  • 3:47 - 3:50
    และสมองของพวกเขา
    ก็จะเข้ามาทำหน้าที่
  • 3:50 - 3:53
    ในการค้นหาว่า
    ชุดเชอรี่สุกงอมนั้นคืออะไร
  • 3:53 - 3:57
    ทันใดนั้น พวกเขาก็ไปอยู่บนหาด
    พร้อมที่จะตกหลุมรัก
  • 3:57 - 4:01
    พวกเขาได้ประสบการณ์จากเรื่องราว
    ทั้งในระดับเชิงลึกและระดับเค้าโครง
  • 4:01 - 4:04
    ได้พบกันครึ่งทางกับนักเขียน
    ในการเล่นที่เต็มไปด้วยจินตนาการ
  • 4:04 - 4:08
    ของการสร้างโลกที่เต็มไปด้วย
    พลังและจินตนาการแห่งสัมผัส
  • 4:08 - 4:11
    ฉะนั้น เมื่อคุณเขียน
    เลือกใช้คำให้ดี
  • 4:11 - 4:16
    เพื่อเข้าถึงเสียง การมองเห็น รส
    สัมผัส กลิ่น และการเคลื่อนไหว
  • 4:16 - 4:21
    จากนั้นสร้างสิ่งที่ไม่คาดคิด แฝงอยู่ใน
    ส่วนประกอบในเนื้อเรื่องของคุณ
  • 4:21 - 4:25
    แล้วจุดไฟแห่งจินตนาการของผู้อ่านให้ลุกโชน
Title:
จะเขียนนิยายให้มีชีวิตชีวาได้อย่างไร - นาโล ฮอพคินสัน (Nalo Hopkinson)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/how-to-write-fiction-that-comes-alive-nalo-hopkinson

จุดประสงค์ของนิยายคือการร่ายมนต์ ภาพลวงตา ณ วินาทีนั้น ๆ ว่าคุณกำลังอยู่ในโลกของเรื่องราวนั้น แต่ในฐานะนักเขียน คุณจะดึงดูดผู้อ่านของคุณเข้ามาในเรื่องราวของคุณได้อย่างไร นาโล ฮอพคินสัน แบ่งปันเคล็ดลับการใช้ภาษาเพื่อทำให้นิยายของคุณมีชีวิตชีวา
บทเรียนโดย Nalo Hopkinson, แอนิเมชันโดย Enjoyanimation

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:42

Thai subtitles

Revisions