Return to Video

อาหารที่คุณกินส่งผลอย่างไรต่อลำไส้ของคุณ - ซิลพา ราเวลลา (Shilpa Ravella)

  • 0:07 - 0:13
    แบคทีเรีย, ไวรัส และเชื้อราเป็นพันล้าน
    อาศัยอยู่ในร่างกายของเรา
  • 0:13 - 0:15
    การรักษาความสัมพันธ์ของพวกมัน
    ให้สมดุลดีนั้น
  • 0:15 - 0:17
    เป็นประโยชน์สำหรับเรา
  • 0:17 - 0:20
    พวกมันรวมตัวกันอยู่ในลำไส้
    ในลักษณะของ "ไมโครไบโอม"
  • 0:20 - 0:25
    ซึ่งก็คือระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์
    ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในร่างกายของเรา
  • 0:25 - 0:29
    แบคทีเรียในลำไส้สามารถย่อยอาหาร
    ที่ร่างกายของเราย่อยไม่ได้
  • 0:29 - 0:31
    ผลิตสารอาหารสำคัญ
  • 0:31 - 0:32
    ควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน
  • 0:32 - 0:36
    และปกป้องเราจากเชื้อโรคร้าย
  • 0:36 - 0:38
    เรายังไม่มีพิมพ์เขียว
  • 0:38 - 0:42
    ที่บอกว่าแบคทีเรียดีชนิดใดบ้าง
    ที่จำเป็นต่อลำไส้ที่สมบูรณ์แข็งแรง
  • 0:42 - 0:45
    แต่เรารู้ว่าโมโครไบโอมที่ดี
  • 0:45 - 0:48
    จะต้องมีสายพันธ์ุแบคทีเรียที่หลากหลาย
  • 0:48 - 0:50
    ปัจจัยหลายอย่างส่งผลต่อไมโครไบโอม
  • 0:50 - 0:51
    ที่รวมถึงสิ่งแวดล้อม
  • 0:51 - 0:53
    ยาที่ใช้ อย่างเช่น ยาปฏิชีวนะ
  • 0:53 - 0:58
    หรือเคยผ่านการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
    (Cesarean section) หรือไม่
  • 0:58 - 1:01
    ปรากฏว่า การบริโภคก็เป็นหนึ่งในปัจจัยหลัก
  • 1:01 - 1:04
    ที่ส่งผลต่อสุขภาพของลำไส้เช่นกัน
  • 1:04 - 1:06
    และในขณะที่เราไม่สามารถ
    ควบคุมปัจจัยทั้งหมดได้
  • 1:06 - 1:08
    เรายังสามารถปรับสมดุลจุลชีพของเรา
  • 1:08 - 1:12
    ด้วยการใส่ใจสิ่งที่เรารับประทาน
  • 1:12 - 1:18
    ใยอาหารจากอาหาร เช่น ผลไม้, ผัก,
    ถั่วเปลือกแข็ง, ถั่วฝักยาว, และธัญพืช
  • 1:18 - 1:21
    เป็นแหล่งพลังงานที่ยอดเยี่ยม
    สำหรับแบคทีเรียในลำไส้
  • 1:21 - 1:23
    เมื่อแบคทีเรียย่อยใยอาหาร
  • 1:23 - 1:27
    ก็จะผลิตกรดไขมันสายสั้น (SCFA)
    ที่หล่อเลี้ยงผนังลำไส้
  • 1:27 - 1:30
    ปรับปรุงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • 1:30 - 1:35
    และสามารถป้องกันการอักเสบ
    ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้
  • 1:35 - 1:36
    และยิ่งคุณรับประทานใยอาหารมากเท่าไร
  • 1:36 - 1:41
    แบคทีเรียที่ย่อยใยอาหารได้ ก็ยิ่งเข้ามา
    ตั้งรกรากอยู่ในลำไส้ของคุณมากเท่านั้น
  • 1:41 - 1:45
    จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์
    ได้เปลี่ยนการบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูง
  • 1:45 - 1:47
    ของกลุ่มชาวแอฟริกาใต้นอกเมือง
  • 1:47 - 1:53
    เป็นอาหารที่มีไขมันสูง อุดมด้วยเนื้อสัตว์
    แบบกลุ่มชาวแอฟริกัน - อเมริกัน
  • 1:53 - 1:57
    หลังสองสัปดาห์ที่บริโภคอาหารแบบตะวันตก
    ที่มีไขมันสูงและใยอาหารน้อย
  • 1:57 - 2:01
    กลุ่มชาวแอฟริกานอกเมือง
    ก็มีการอักเสบในลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น
  • 2:01 - 2:04
    เช่นเดียวกับการลดลงของบิวทายเรต
  • 2:04 - 2:08
    ซึ่งก็คือกรดไขมันสายสั้นที่คาดว่า
    ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้
  • 2:08 - 2:12
    ในขณะเดียวกัน กลุ่มที่เปลี่ยนไปบริโภค
    อาหารที่มีใยอาหารสูงและไขมันต่ำ
  • 2:12 - 2:15
    กลับให้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม
  • 2:15 - 2:20
    เกิดอะไรขึ้นกับแบคทีเรียในลำไส้
    เมื่อเรากินอาหารแปรรูปที่ใยอาหารต่ำ
  • 2:20 - 2:24
    ใยอาหารต่ำหมายถึงพลังงานที่น้อยลง
    สำหรับแบคทีเรียในลำไส้
  • 2:24 - 2:28
    เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกมันอดอาหารจนล้มตาย
  • 2:28 - 2:30
    ผลลัพธ์ก็คือความหลากหลายที่ลดลง
  • 2:30 - 2:32
    พร้อมด้วยแบคทีเรียที่หิวโหย
  • 2:32 - 2:37
    ซึ่งถ้าหิวโซหนัก ๆ แบคทีเรียบางชนิด
    ก็อาจถึงกับเริ่มกินเยื่อบุลำไส้ของเราได้
  • 2:37 - 2:41
    เรายังรู้อีกว่าอาหารบางอย่าง
    สามารถส่งผลต่อแบคทีเรียในลำไส้
  • 2:41 - 2:43
    การศึกษาหนึ่งเกี่ยวกับ
    ไมโครไบโอมเมื่อไม่นานมานี้
  • 2:43 - 2:45
    นักวิทยาศาสตร์พบว่า ผลไม้
  • 2:45 - 2:46
    ผัก
  • 2:46 - 2:47
    ชา
  • 2:47 - 2:47
    กาแฟ
  • 2:47 - 2:48
    ไวน์แดง
  • 2:48 - 2:49
    และดาร์คช็อกโกแลต
  • 2:49 - 2:53
    มีความสัมพันธ์กับความหลากหลาย
    ของแบคทีเรียทีเพิ่มขึ้น
  • 2:53 - 2:56
    อาหารเหล่านี้มีสารโพลีฟีนอล
  • 2:56 - 3:00
    ซึ่งเป็นสารประกอบต้านอนุมูลอิสระ
    (Antioxidant) ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
  • 3:00 - 3:01
    อีกนัยหนึ่ง
  • 3:01 - 3:03
    อาหารที่มีไขมันสูง
  • 3:03 - 3:06
    เช่น นมไขมันครบส่วน (whole milk)
    และเครื่องดื่มน้ำอัดลม
  • 3:06 - 3:09
    สัมพันธ์กับความหลากหลายที่ลดลง
  • 3:09 - 3:11
    วิธีการประกอบอาหารก็สำคัญเช่นกัน
  • 3:11 - 3:15
    อาหารสดใหม่ที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย
    โดยทั่วไปแล้ว มักมีใยอาหารมากกว่า
  • 3:15 - 3:17
    และให้พลังงานได้ดีกว่า
  • 3:17 - 3:18
    ฉะนั้น ผักที่นึ่งเพียงเล็กน้อย
  • 3:18 - 3:19
    ผัด (sautéed)
  • 3:19 - 3:20
    หรือผักสด
  • 3:20 - 3:23
    ตามปกติก็จะมีคุณค่าทางอาหาร
    มากกว่าอาหารทอด
  • 3:23 - 3:28
    ยังมีวิธีการประกอบอาหารอื่น ๆ
    ที่ให้แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์
  • 3:28 - 3:31
    ที่รู้จักกันในชื่อ "โพรไบโอติคส์"
    มาอาศัยอยู่ในลำไส้ของคนเรา
  • 3:31 - 3:35
    อาหารหมักจะช่วยเพิ่มจำนวนของ
    แบคทีเรียโพรไบโอติคส์
  • 3:35 - 3:37
    เช่น แลคโตบาซิลลัส
  • 3:37 - 3:39
    และไบฟิโดแบคทีเรีย
  • 3:39 - 3:41
    แต่เดิม การหมัก
    เป็นวิธีการที่ใช้ในการถนอมอาหาร
  • 3:41 - 3:43
    ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์ตู้เย็น
  • 3:43 - 3:47
    และมันยังถูกใช้กันอยู่ทั่วโลก
  • 3:47 - 3:48
    อาหารอย่างเช่น กิมจิ
  • 3:48 - 3:49
    เซาเคราท์
  • 3:49 - 3:50
    เทมเปห์
  • 3:50 - 3:51
    และ คอมบูชา
  • 3:51 - 3:54
    ได้ให้ความหลากหลายและพลังงาน
    กับอาหารอันโอชาของเรา
  • 3:54 - 3:59
    โยเกิร์ตเป็นอาหารหมักอีกอย่างที่ให้
    แบคทีเรียที่มีประโยชน์มาอยู่ในลำไส้ของเรา
  • 3:59 - 4:03
    แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า
    โยเกิร์ตทุกชนิดจะดีต่อเราเสมอไป
  • 4:03 - 4:05
    ยี่ห้อที่มีน้ำตาลสูง
    และให้แบคทีเรียน้อยเกินไป
  • 4:05 - 4:08
    อาจไม่ได้ช่วยสักเท่าไร
  • 4:08 - 4:09
    นี่เป็นเพียงคำแนะนำคร่าว ๆ
  • 4:09 - 4:12
    เรายังต้องการงานวิจัยอีกมาก
    กว่าเราจะเข้าใจอย่างสมบูรณ์
  • 4:12 - 4:17
    ว่าอาหารเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์
    กับไมโครไบโอมของเราอย่างไรกันแน่
  • 4:17 - 4:18
    เราเห็นความสัมพันธ์ในเชิงบวก
  • 4:18 - 4:23
    แต่เป็นเรื่องยากที่จะศึกษา
    ภายในลำไส้ของเราโดยตรง
  • 4:23 - 4:25
    ยกตัวอย่างเช่น
    ในปัจจุบัน เราไม่รู้ว่า
  • 4:25 - 4:29
    อาหารเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
    ความหลากหลายโดยตรงหรือไม่
  • 4:29 - 4:32
    หรือว่าเกิดอะไรที่ซับซ้อนมากกว่านั้น
  • 4:32 - 4:36
    ขณะที่เรากำลังจะเริ่มสำรวจผืนที่รกร้าง
    อันกว้างใหญ่ไพศาลในลำไส้ของเรา
  • 4:36 - 4:42
    เราก็ได้เห็นบ้างแล้วว่า ไมโครไบโอม
    สำคัญต่อระบบทางเดินอาหารขนาดไหน
  • 4:42 - 4:48
    ข่าวดีก็คือ เรามีความสามารถ
    ที่จะปลุกแบคทีเรียในพุงของเราแล้ว
  • 4:48 - 4:49
    ด้วยการเติมอาหารที่มีใยอาหาร
  • 4:49 - 4:51
    อาหารสด และอาหารหมัก
  • 4:51 - 4:54
    เพียงเท่านี้คุณก็สามารถฝากสุขภาพที่ดี
    เอาไว้กับลำไส้ของคุณได้เลย
Title:
อาหารที่คุณกินส่งผลอย่างไรต่อลำไส้ของคุณ - ซิลพา ราเวลลา (Shilpa Ravella)
Speaker:
Shilpa Ravella
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-the-food-you-eat-affects-your-gut-shilpa-ravella

แบคทีเรียในลำไส้ของเราย่อยอาหารที่ร่างกายของเราไม่สามารถย่อยได้, สร้างสารอาหารที่สำคัญ, ควบคุมระบบภูมิค้มกัน และปกป้องเราจากเชื้อโรคร้าย และในขณะที่เราไม่สามารถควบคุมปัจจัยรอบด้านที่จะช่วงคงรักษาไมโครไบโอมที่สมบูรณ์ในลำไส้ของเราได้ แต่เราสามารถปรับสมดุลของจุลชีพที่อยู่ในตัวเราได้ ด้วยการให้ความใส่ใจกับสิ่งที่เรากิน
ซิลพา ราเวลลา จะมาแบ่งปันอาหารชั้นเลิศเพื่อลำไส้ที่สุขภาพดีของคุณ

บทเรียนโดย Shilpa Ravella แอนิเมชันโดย Andrew Foerster

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:10

Thai subtitles

Revisions