Return to Video

การสูญพันธ์ุครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นอีกเมื่อไร - บอร์ทส์ (Borths), เดอร์ อีมิก (D'Emic) และ พริทคาร์ด (Pritchard)

  • 0:07 - 0:09
    ประมาณ 66 ล้านปีก่อน
  • 0:09 - 0:13
    เหตุการณ์การสูญพันธุ์ที่น่าสะพรึงกลัว
    ได้เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตบนโลก
  • 0:13 - 0:15
    ระบบนิเวศถูกโจมตีอย่างหนักสองครั้ง
  • 0:15 - 0:20
    ด้วยการระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่
    ที่ปกคลุมบรรยากาศด้วยคาร์บอนไดออกไซด์
  • 0:20 - 0:25
    และอุกาบาตขนาดประมาณแมนฮัตตันพุ่งชนโลก
  • 0:25 - 0:30
    ฝุ่นจากการพุ่งชนลดหรือหยุด
    การสังเคราะห์แสงของพืชจำนวนมาก
  • 0:30 - 0:34
    ทำให้สัตว์กินพืชและสัตว์กินเนื้อที่กินพวกมัน
    ต้องอดอยาก
  • 0:34 - 0:36
    ในเวลาอันสั้น
  • 0:36 - 0:39
    หนึ่งในสามของสายพันธุ์บนโลกหายไปตลอดกาล
  • 0:39 - 0:41
    และไดโนเสาร์ขนาดใหญ่
  • 0:41 - 0:43
    พเทโรซอรัสบินได้
  • 0:43 - 0:44
    หมึกมีกระดอง
  • 0:44 - 0:47
    และสัตว์เลื้อยคลานในทะเลที่อยู่มานานแสนนาน
  • 0:47 - 0:50
    ก็เป็นอันหายไปจากยุคก่อนประวัติศาสตร์
  • 0:50 - 0:53
    อาจราวกับว่าไดโนเสาร์โชคไม่ดี
  • 0:53 - 0:58
    แต่การสูญพันธุ์ในระดับที่แตกต่างกัน
    ได้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง
  • 0:58 - 1:01
    และยังคงเกิดขึ้นอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกวันนี้
  • 1:01 - 1:02
    การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม
  • 1:02 - 1:05
    ผลักให้บางสายพันธุ์ออกไปจาก
    สภาวะที่เหมาะสมกับมัน
  • 1:05 - 1:08
    ในขณะที่สร้างโอกาสใหม่ให้กับสายพันธุ์อื่น
  • 1:08 - 1:13
    สายพันธุ์ที่รุกเข้ามายังแหล่งอาศัยใหม่
    เอาชนะสายพันธุ์พื้นเมือง
  • 1:13 - 1:16
    และมันบางกรณี
    ทั้งสายพันธุ์นั้นก็ถูกกำจัดทิ้งไป
  • 1:16 - 1:21
    เนื่องจากการปรับตัวที่ดีกว่าของสิ่งมีชีวิตใหม่
  • 1:21 - 1:24
    อย่างไรก็ดี บางครั้งการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
    ในสิ่งแวดล้อม
  • 1:24 - 1:28
    เกิดขึ้นเร็วเกินไปกว่าการปรับตัว
    สำหรับสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่
  • 1:28 - 1:32
    ทำให้สายพันธุ์หลายพันต้องล้มตาย
    ในแบบทันทีในทางธรณีวิทยา
  • 1:32 - 1:35
    เราเรียกว่าเป็นการสูญพันธ์ุครั้งใหญ่
  • 1:35 - 1:37
    และแม้ว่าเหตุการณ์นั้นอาจเกิดขึ้นได้ยาก
  • 1:37 - 1:40
    นักบรรพชีวินวิทยาสามารถที่จะบ่งจำแนก
    พวกมันบางชนิดได้
  • 1:40 - 1:43
    ผ่านการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
    ในบันทึกฟอสซิล
  • 1:43 - 1:46
    ที่ซึ่งเชื้อสายของมัน
    ที่คงอยู่ในชั้นหินแต่ละชั้น
  • 1:46 - 1:49
    หายไปในทันที
  • 1:49 - 1:53
    อันที่จริง การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่
    ถูกใช้เพื่อแบ่งประวัติศาสตร์โลก
  • 1:53 - 1:55
    เป็นยุคต่าง ๆ
  • 1:55 - 1:57
    แม้ว่าการหายไปของไดโนเสาร์
  • 1:57 - 2:00
    เป็นเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่
    ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด
  • 2:00 - 2:04
    การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นนาน
    ก่อนไดโนเสาร์จะมีอยู่เสียอีก
  • 2:04 - 2:09
    252 ล้านปีก่อน
    ระหว่างยุคเพอร์เมียนและไทรแรสซิก
  • 2:09 - 2:14
    มวลพื้นของโลกรวมตัวกัน
    เป็นทวีปหลักทวีปเดียว เรียกว่า แพนเกีย
  • 2:14 - 2:18
    เมื่อมันอยู่รวมกันอย่างนั้น
    ส่วนในของทวีปจึงเต็มไปด้วยทะเลทราย
  • 2:18 - 2:23
    ในขณะที่แนวชายฝั่งเดี่ยว
    ทำให้เขตทะเลน้ำตื้นหลายแห่งหายไป
  • 2:23 - 2:25
    ซึ่งมันเป็นที่ก่อกำเนิด
    ของความหลากหลายทางชีวภาพ
  • 2:25 - 2:29
    การระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟ
    ทั่วทั้งไซบีเรีย
  • 2:29 - 2:31
    พร้อมกับอุณหภูมิที่สูงมาก
  • 2:31 - 2:35
    น่าจะทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
  • 2:35 - 2:37
    ความวุ่นวายเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสูญพันธุ์
  • 2:37 - 2:41
    ของสิ่งมีชีวิต 95% ในมหาสมุทร
  • 2:41 - 2:43
    และบนผืนดิน
    สัตว์เลื้อยคลานแปลก ๆ จากยุคเพอร์เมียน
  • 2:43 - 2:49
    หลีกทางให้กับบรรพบุรุษ
    ของไดโนเสาร์ที่เรารู้จักดีกว่าในทุกวันนี้
  • 2:49 - 2:53
    แต่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่
    ไม่ใช่แค่สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตอันแสนไกล
  • 2:53 - 2:55
    ตลอดระยะเวลาไม่กี่ล้านปี
  • 2:55 - 2:59
    การเปลี่ยนแปลงของแผ่นน้ำแข็งยักษ์
    ที่ขั้วโลกของเรา
  • 2:59 - 3:02
    ได้ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นและลดลง
  • 3:02 - 3:05
    การเปลี่ยนแปลงรูปแบบสภาพอากาศ
    และกระแสน้ำในทะเลด้วย
  • 3:05 - 3:09
    เมื่อแผ่นน้ำแข็งแผ่ขยายออก
    ร่นถอยลดลง และกลับไปเป็นดังเดิม
  • 3:09 - 3:12
    สัตว์บางชนิดอาจปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง
  • 3:12 - 3:15
    หรืออาจย้ายถิ่นไปยังที่มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสมกว่า
  • 3:15 - 3:18
    อย่างไรก็ดี สัตว์อื่น ๆ เช่น สล๊อตยักษ์
  • 3:18 - 3:19
    ไฮยีนายักษ์
  • 3:19 - 3:22
    และแมมมอท สูญพันธุ์ไป
  • 3:22 - 3:24
    การสูญพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่
  • 3:24 - 3:29
    เป็นเวลาเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ
    และระบบนิเวศ เนื่องจากการละลายของน้ำแข็ง
  • 3:29 - 3:32
    แต่มันก็ยังมีส่วนซ้อนทับ
  • 3:32 - 3:38
    ของการเกิดขึ้นของสัตว์จำพวกโอมินิด
    ในแอฟริกาเมื่อ 150,000 ปีก่อน
  • 3:38 - 3:41
    ตลอดการปรับตัวของพวกมันต่อสิ่งแวดล้อมใหม่
  • 3:41 - 3:45
    สร้างเครื่องมือและวิธีการใหม่
    สำหรับการรวบรวมอาหารและการล่าสัตว์
  • 3:45 - 3:50
    มนุษย์อาจไม่สามารถล้มสัตว์ใหญ่
    ให้มันสูญพันธุ์ได้ด้วยมือเดียวแน่
  • 3:50 - 3:54
    เพราะสัตว์หลายสายพันธุ์ก็อยู่ร่วมกับเรามา
    เป็นเวลาหลายพันปี
  • 3:54 - 3:56
    แต่ในปัจจุบันมันชัดเจน
  • 3:56 - 3:59
    เครื่องมือและวิธีการของเรา
    กลายเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพ
  • 3:59 - 4:02
    ที่มนุษย์ไม่ตอบสนองต่อธรรมชาติอีกต่อไป
  • 4:02 - 4:04
    แต่เปลี่ยนแปลงมันได้โดยตรง
  • 4:04 - 4:07
    การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเป็นปกติ
  • 4:07 - 4:09
    เป็นพื้นหลังของระบบนิเวศ
  • 4:09 - 4:12
    แต่การศึกษาแสดงให้เห็นว่า
    อัตราการสูญพันธุ์ในปัจจุบัน
  • 4:12 - 4:13
    สำหรับสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ อย่าง
  • 4:13 - 4:18
    มีมากกว่าร้อยถึงพันเท่าของพื้นหลังตามปกติ
  • 4:18 - 4:23
    แต่ความสามารถอันเป็นเอกลักษณ์เดียวกันนี้
    ที่ทำให้มนุษย์สามารถขับเคลื่อนการสูญพันธุ์
  • 4:23 - 4:25
    ยังสามารถทำให้เราป้องกันมันได้ด้วย
  • 4:25 - 4:28
    โดยการศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์การสูญพันธุ์
  • 4:28 - 4:31
    จดจำว่ามันเกิดอะไรขึ้นในปัจจุบัน
    เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ
  • 4:31 - 4:35
    และใช้ความรู้นี้เพื่อลดผลกระทบ
    ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น
  • 4:35 - 4:38
    เราสามารถเปลี่ยนผลกระทบมนุษย์ที่มีต่อโลก
  • 4:38 - 4:41
    จากอะไรบางอย่างที่มันบ่อนทำลาย
    เช่นเดียวกับอุกกาบาตขนาดใหญ่
  • 4:41 - 4:45
    เป็นการให้ความร่วมมือกับอนาคต
    ในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
Title:
การสูญพันธ์ุครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นอีกเมื่อไร - บอร์ทส์ (Borths), เดอร์ อีมิก (D'Emic) และ พริทคาร์ด (Pritchard)
Description:

ชมบทเรียนเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/when-will-the-next-mass-extinction-occur-borths-d-emic-and-pritchard

ประมาณ 66 ล้านปีก่อน เหตุการณ์การสูญพันธุ์ที่น่าสะพรึงที่กวาดล้างไดโนเสาร์ แต่มันไม่ใช่เหตุการณ์แบบนี้ครั้งเดียว -- การสูญพันธุ์ในระดับที่แตกต่างกันได้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง -- และมันยังคงเกิดขึ้นอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกวันนี้ บอร์ทส์ (Borths), เดอร์ อีมิก (D'Emic) และ พริทคาร์ด (Pritchard) เล่าประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทั้งหลาย

บทเรียนโดย Borths, D'Emic, และ Pritchard, แอนิเมชันโดย Juliette Marchand

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:01

Thai subtitles

Revisions