Return to Video

ทำไมคนบางพวกจึงเห็นว่าการออกกำลังกายว่า ยากกว่าพวกอื่น

  • 0:01 - 0:03
    การมองเห็นเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญ
  • 0:03 - 0:06
    และใช้มากที่สุดที่เรามี
  • 0:06 - 0:07
    ตลอดเวลา เรามองดู
  • 0:07 - 0:09
    โลกรอบกายเรา
  • 0:09 - 0:11
    และต้องระบุกับทำความเข้าใจ
  • 0:11 - 0:14
    กับสิ่งที่เราเห็นได้อย่างรวดเร็ว
  • 0:14 - 0:16
    ขอเริ่มด้วยตัวอย่าง
  • 0:16 - 0:17
    กันก่อนนะคะ
  • 0:17 - 0:19
    ฉันจะให้คุณดูภาพถ่าย
    ของคนคนหนึ่ง
  • 0:19 - 0:21
    สักสองสามวินาที
  • 0:21 - 0:23
    และฉันอยากให้คุณลองระบุ
  • 0:23 - 0:25
    มาว่าคนในรูปมีอารมณ์อย่างไร
  • 0:25 - 0:26
    พร้อมนะคะ
  • 0:26 - 0:29
    เอาล่ะค่ะ ตามที่รู้สึกเลย
  • 0:29 - 0:31
    โอเค คุณมองเห็นอะไรคะ
  • 0:31 - 0:33
    ที่จริงแล้วเราลองใช้แบบสอบถามสำรวจดู
  • 0:33 - 0:36
    จากคนกว่า 120 คน
  • 0:36 - 0:37
    ผลปรากฏว่าไม่เป็นเอกฉันท์
  • 0:37 - 0:40
    ทุุกคนไม่ได้เห็นพ้องว่า
  • 0:40 - 0:43
    หน้าชายคนนี้แสดงอารมณ์อะไร
  • 0:43 - 0:44
    บางทีคุณอาจจะ
    เห็นความกระอักกระอ่วน
  • 0:44 - 0:46
    ซึ่งเป็นคำตอบยอดนิยม
  • 0:46 - 0:48
    ที่เราได้รับ
  • 0:48 - 0:50
    แต่ถ้าลองถามคนที่นั่งด้านซ้ายมือของคุณ
  • 0:50 - 0:52
    เขาอาจจะตอบว่า ความเสียดาย
    หรือความสงสัย
  • 0:52 - 0:54
    หรือถ้าถามคนทางขวามือ
  • 0:54 - 0:57
    เขาอาจจะตอบสิ่ง
    ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง
  • 0:57 - 1:00
    เช่น ความหวังหรือความเห็นใจ
  • 1:00 - 1:02
    ดังนั้น เมื่อเราลองมามอง
  • 1:02 - 1:05
    ใบหน้าเดียวกันใบนี้อีกครั้ง
  • 1:05 - 1:06
    เราอาจจะเห็น
  • 1:06 - 1:09
    สิ่งที่ไม่เหมือนเดิมเลย
  • 1:09 - 1:12
    เพราะว่า การรับรู้เป็นเรื่องอัตวิสัย
  • 1:12 - 1:14
    สิ่งที่เราคิดว่าเราเห็น
  • 1:14 - 1:15
    เป็นสิ่งที่จริง ๆ แล้วกรอง
  • 1:15 - 1:18
    ผ่านมโนภาพของเรา
  • 1:18 - 1:20
    มีหลายตัวอย่างเลยที่แสดง
  • 1:20 - 1:22
    ให้เห็นว่าเรามองโลก
    ตามมโนภาพของตน
  • 1:22 - 1:24
    จะขอยกตัวอย่างให้ฟังสักสองสามข้อ
  • 1:24 - 1:27
    เช่น คนที่กำลังควบคุมอาหาร
  • 1:27 - 1:29
    จะเห็นแอปเปิ้ลว่าผลใหญ่
  • 1:29 - 1:32
    กว่าคนที่ไม่ได้นั่งนับแคลอรี
  • 1:32 - 1:35
    นักกีฬาซอฟต์บอล
    จะเห็นลูกบอลว่าเล็กกว่า
  • 1:35 - 1:38
    ถ้าเพิ่งออกมากจากช่วงมือตก
  • 1:38 - 1:41
    เมื่อเทียบกับคนที่กำลังมือขึ้น
  • 1:41 - 1:44
    อันที่จริง ความเชื่อด้านการเมือง
  • 1:44 - 1:46
    ก็มีผลกับการมองคนอื่นด้วย
  • 1:46 - 1:49
    รวมทั้งการมองนักการเมืองด้วย
  • 1:49 - 1:52
    ฉันกับทีมวิจัยตัดสินใจ
    ที่จะทดสอบปัญหานี้ดู
  • 1:52 - 1:56
    ในปี 2008 บารัก โอบามา
    ลงสมัครเป็นประธานาธิบดี
  • 1:56 - 1:57
    เป็นครั้งแรก
  • 1:57 - 2:00
    เราเลยสำรวจชาวอเมริกันหลายร้อยคน
  • 2:00 - 2:02
    หนึ่งเดือนก่อนการเลือกตั้ง
  • 2:02 - 2:04
    สิ่งที่เราพบในการสำรวจนี้ก็คือ
  • 2:04 - 2:06
    คนอเมริกันบางคน
  • 2:06 - 2:08
    คิดว่ารูปถ่ายเช่นนี้
  • 2:08 - 2:11
    สะท้อนภาพจริงของโอบามาได้ดีที่สุด
  • 2:11 - 2:14
    จากคนกลุ่มนี้ มีคน 75 เปอร์เซ็นต์
  • 2:14 - 2:17
    ที่ไปลงคะแนนให้โอบามาจริง ๆ
  • 2:17 - 2:20
    แต่คนอื่นที่คิดว่ารูปแบบนี้
  • 2:20 - 2:22
    สะท้อนภาพจริงของโอบามา
  • 2:22 - 2:24
    89 เปอร์เซ็นต์ของคนกลุ่มนี้
  • 2:24 - 2:26
    ได้โหวตให้แมคเคน
  • 2:26 - 2:29
    เราแสดงรูปถ่ายของโอบามาเป็นจำนวนมาก
  • 2:29 - 2:31
    ทีละรูป
  • 2:31 - 2:34
    โดยที่คนจะได้ไม่ทันเห็นว่าที่เราเปลี่ยน
  • 2:34 - 2:36
    จากรูปหนึ่งไปยังอีกรูปหนึ่ง
  • 2:36 - 2:38
    ก็คือเราได้แต่งสีผิวของเขาให้ขาวขึ้น
  • 2:38 - 2:40
    หรือให้เข้มขึ้น
  • 2:40 - 2:42
    แล้วนี่เป็นไปได้อย่างไร
  • 2:42 - 2:45
    เป็นไปได้อย่างไรว่าเมื่อฉันดูรูปคน ๆ หนึ่ง
  • 2:45 - 2:46
    หรือวัตถุสิ่งหนึ่ง หรือเหตุการณ์หนึ่ง ๆ
  • 2:46 - 2:48
    ฉันเห็นบางอย่างที่แตกต่าง
  • 2:48 - 2:50
    จากคนอื่นเป็นอย่างมาก
  • 2:50 - 2:53
    จริง ๆ เหตุผลนั้นมีหลายอย่าง
  • 2:53 - 2:55
    แต่อย่างหนึ่งเราต้องเข้าใจ
  • 2:55 - 2:57
    สักเล็กน้อยเพิ่มขึ้นว่า ตาทำงานอย่างไร
  • 2:57 - 2:59
    คือ นักวิทยาศาสตร์เเกี่ยวการเห็นรู้ว่า
  • 2:59 - 3:01
    ปริมาณข้อมูล
  • 3:01 - 3:03
    ที่เราเห็น
  • 3:03 - 3:05
    ในเวลาใดเวลาหนึ่ง
  • 3:05 - 3:07
    ปริมาณที่เราอาจใส่ใจได้
    ค่อนข้างน้อย
  • 3:07 - 3:10
    สิ่งที่เราเห็นได้อย่างคมชัด
  • 3:10 - 3:12
    ชัดเจน และแม่นยำ
  • 3:12 - 3:14
    ก็เท่ากับ
  • 3:14 - 3:16
    ส่วนผิวหนังนิ้วโป้งของเรา
  • 3:16 - 3:19
    จากแขนที่ยื่นออกไป
  • 3:19 - 3:21
    ส่วนรอบ ๆ จะไม่ชัด
  • 3:21 - 3:23
    ทำให้สิ่งที่มีอยู่ปรากฏ
  • 3:23 - 3:26
    ต่อตาของเราอย่างไม่ชัด
  • 3:26 - 3:28
    แต่เราต้องทำให้ชัด
  • 3:28 - 3:30
    เพื่อจะให้รู้ได้ว่าเห็นอะไร
  • 3:30 - 3:34
    และเป็นใจของเรานั่นแหละที่เติมเต็ม
  • 3:34 - 3:37
    และดังนั้น การรับรู้เป็นประสบการณ์
    ที่เป็นอัตวิสัย
  • 3:37 - 3:39
    และนั่นจึงเป็นการเห็น
  • 3:39 - 3:41
    ผ่านมโนภาพของเรา
  • 3:41 - 3:43
    คือ ฉันเป็นนักจิตวิทยาสังคม
  • 3:43 - 3:44
    เป็นคำถามเช่นนี้นี่แหละ
  • 3:44 - 3:46
    ที่ฉันสนใจจริง ๆ
  • 3:46 - 3:48
    ฉันสนใจเหตุการณ์ต่าง ๆ
  • 3:48 - 3:50
    ที่คนมีความเห็นไม่เหมือนกัน
  • 3:50 - 3:52
    ทำไมบางคน
  • 3:52 - 3:55
    จึงเห็นถ้วยว่าเต็มครึ่งหนึ่ง
  • 3:55 - 3:56
    และบางคนเห็นจริงๆจังๆ
  • 3:56 - 3:57
    ว่าพร่องไปครึ่งหนึ่ง
  • 3:57 - 4:01
    อะไรที่คนหนึ่ง ๆ คิดหรือรู้สึก
  • 4:01 - 4:02
    ที่ทำให้เขาเห็นโลก
  • 4:02 - 4:04
    แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
  • 4:04 - 4:07
    และนี่มีผลจริง ๆ อะไรหรือไม่
  • 4:07 - 4:10
    เพื่อที่จะเริ่มตอบคำถามเช่นนี้
  • 4:10 - 4:13
    ทีมวิจัยและฉันตัดสินใจที่จะเจาะลึก
  • 4:13 - 4:14
    ถึงเรื่องที่ได้รับ
  • 4:14 - 4:16
    ความสนใจระดับสากล คือ
  • 4:16 - 4:18
    สุขภาพและฟิตเนสของเรา
  • 4:18 - 4:19
    ทั่วโลก
  • 4:19 - 4:22
    คนกำลังมีปัญหาบริหารน้ำหนักของตน
  • 4:22 - 4:24
    มีวิธีหลายอย่าง
  • 4:24 - 4:27
    ที่เรามีเพื่อช่วยรักษาน้ำหนัก
  • 4:27 - 4:31
    เช่น เราตั้งความมุ่งมั่นที่ดี
  • 4:31 - 4:33
    ที่จะออกกำลังกายหลังวันหยุด
  • 4:33 - 4:36
    แต่จริง ๆ แล้วคนอเมริกันโดยมาก
  • 4:36 - 4:38
    พบว่าสัญญาที่ทำในช่วงปีใหม่
  • 4:38 - 4:41
    จะแตกทำลายก่อนถึงวันวาเลนไทน์
  • 4:41 - 4:42
    เราจะพูดกับตัวเอง
  • 4:42 - 4:44
    อย่างให้กำลังใจ
  • 4:44 - 4:46
    บอกตนว่านี่เป็นปีของเรา
  • 4:46 - 4:48
    ที่จะมีร่างกายแข็งแรงอีก
  • 4:48 - 4:50
    แต่นี่ไม่พอที่จะลด
  • 4:50 - 4:51
    น้ำหนักให้กลับไปสู่อุดมคติ
  • 4:51 - 4:53
    ทำไมถึงเป็นอย่างนี้
  • 4:53 - 4:55
    แน่นอนว่า ไม่มีคำตอบง่าย ๆ
  • 4:55 - 4:58
    แต่ฉันเสนอว่ามีเหตุผลอย่างหนึ่ง
  • 4:58 - 5:00
    ว่ามโนภาพของเรา
  • 5:00 - 5:01
    อาจเป็นศัตรูกับเรา
  • 5:01 - 5:04
    บางคนอาจจะเห็นการออกำลังกาย
  • 5:04 - 5:06
    ว่ายากกว่า
  • 5:06 - 5:08
    และบางคนอาจจะเห็นการออกกำลังกาย
  • 5:08 - 5:10
    ว่าง่ายกว่า
  • 5:10 - 5:14
    ดั้งนั้น ขั้นแรกที่จะตรวจสอบปัญหาเช่นนี้
  • 5:14 - 5:16
    เราจะเก็บวัดข้อมูลที่เป็นปรวิสัย
  • 5:16 - 5:19
    เกี่ยวกับสุขภาพกายของแต่ละคน
  • 5:19 - 5:21
    เราวัดขนาดเอว
  • 5:21 - 5:25
    เทียบกับขนาดตะโพก
  • 5:25 - 5:26
    อัตราส่วนของเอว-ตะโพก ที่ค่าสูงกว่า
  • 5:26 - 5:28
    เป็นตัวบ่งชี้ว่า ร่างกายแข็งแรงน้อยกว่า
  • 5:28 - 5:30
    ค่าอัตราส่วนที่ต่ำกว่า
  • 5:30 - 5:33
    และหลังจากที่วัดค่าเหล่านี้
  • 5:33 - 5:34
    เราบอกผู้ร่วมการทดลองว่า
  • 5:34 - 5:36
    จะให้เดินไปถึงหลักชัย
  • 5:36 - 5:38
    โดยต้องแบกน้ำหนักเพิ่ม
  • 5:38 - 5:39
    โดยทำคล้ายๆแข่งกีฬา
  • 5:39 - 5:41
    แต่ก่อนที่จะเริ่ม
  • 5:41 - 5:43
    เราบอกให้เขาประมาณระยะทาง
  • 5:43 - 5:45
    สู่หลักชัย
  • 5:45 - 5:47
    เราคิดว่าความแข็งแรงทางร่างกาย
  • 5:47 - 5:51
    อาจจะเปลี่ยนการรับรู้ระยะทาง
  • 5:51 - 5:53
    แล้วเราได้พบอะไร
  • 5:53 - 5:55
    คือ ค่าอัตราส่วนเอว-ตะโพก
  • 5:55 - 5:58
    เป็นตัวพยากรณ์การรับรู้ระยะทาง
  • 5:58 - 6:01
    คนที่สุขภาพไม่ดีไม่แข็งแรง
  • 6:01 - 6:03
    จริงๆเห็นระยะทางสู่หลักชัย
  • 6:03 - 6:04
    ว่าไกลกว่าอย่างสำคัญ
  • 6:04 - 6:06
    กว่าคนที่แข็งแรงกว่า
  • 6:06 - 6:08
    สภาพร่างกายของคน
  • 6:08 - 6:11
    เปลี่ยนการรับรู้สิ่งแวดล้อมของตน
  • 6:11 - 6:13
    แต่ใจเราก็สามารถทำการเปลี่ยนได้เช่นกัน
  • 6:13 - 6:15
    คือจริง ๆ แล้วทั้งร่างกายและจิตใจ
  • 6:15 - 6:17
    ทำงานร่วมกัน
  • 6:17 - 6:20
    เพื่อเปลี่ยนการเห็นโลกรอบตัวของเรา
  • 6:20 - 6:22
    ทำให้เราคิดว่าบางที คน
  • 6:22 - 6:23
    ที่มีกำลังใจเข้มแข็ง
  • 6:23 - 6:25
    และจุดหมายมั่นคงเพื่อออกกำลังกาย
  • 6:25 - 6:28
    จริงๆอาจเห็นหลักชัยว่าใกล้
  • 6:28 - 6:32
    กว่าคนที่มีกำลังใจอ่อนกว่า
  • 6:32 - 6:34
    และเพื่อจะทดสอบกำลังใจ
  • 6:34 - 6:38
    ว่ามีผลต่อการรับรู้ของเราเยี่ยงนี้
  • 6:38 - 6:40
    เราได้ทำการศึกษาที่สอง
  • 6:40 - 6:42
    อีกครั้งหนึ่ง เราวัดค่าที่เป็นปรวิสัย
  • 6:42 - 6:44
    เกี่ยวกับสุขภาพทางกาย
  • 6:44 - 6:46
    โดยวัดขนาดเอว
  • 6:46 - 6:48
    และขนาดตะโพก
  • 6:48 - 6:52
    และทดสอบความแข็งแรงด้านอื่น ๆ
  • 6:52 - 6:54
    อาศัยข้อมูลที่เราให้กับพวกเขา
  • 6:54 - 6:56
    ผู้ร่วมการทดลองบางคนบอกเราว่า
  • 6:56 - 6:58
    เขาไม่มีกำลังใจที่จะออกกำลังกายอีกต่อไป
  • 6:58 - 7:00
    เขารู้สึกว่าได้ถึงเป้าหมายสุขภาพ
    ที่ต้องการแล้ว
  • 7:00 - 7:02
    และจะไม่ทำอะไรอีก
  • 7:02 - 7:04
    คนพวกนี้ไม่มีกำลังใจ
  • 7:04 - 7:06
    แต่พวกอื่น อาศัยข้อมูลที่ได้จากเรา
  • 7:06 - 7:09
    เขาบอกเราว่า มีกำลังใจสูงที่จะออกกำลังกาย
  • 7:09 - 7:11
    มีเป้ามั่นคงที่จะไปถึงหลักชัย
  • 7:11 - 7:14
    แต่อีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะให้เดินไปยังเส้นชัย
  • 7:14 - 7:16
    เราให้เขาประมาณระยะทาง
  • 7:16 - 7:18
    ว่าหลักชัยไกลเท่าไร
  • 7:18 - 7:20
    และก็เหมือนกับการศึกษาที่ผ่านมา
  • 7:20 - 7:22
    เราพบว่าค่าอัตราส่วนเอว-ตะโพก
  • 7:22 - 7:24
    เป็นตัวพยากรณ์การรับรู้ระยะทาง
  • 7:24 - 7:29
    คนไม่แข็งแรงเห็นระยะทางว่าไกลกว่า
  • 7:29 - 7:31
    เห็นหลักชัยว่าไกล
  • 7:31 - 7:33
    กว่าคนที่แข็งแรงกว่า
  • 7:33 - 7:35
    จุดสำคัญก็คือ นี่เกิดกับ
  • 7:35 - 7:37
    คนที่ไม่มีกำลังใจ
  • 7:37 - 7:38
    ที่จะออกกำลังกาย (เท่านั้น)
  • 7:38 - 7:40
    เพราะนัยตรงกันข้าม
  • 7:40 - 7:43
    คนที่มีกำลังใจสูงที่จะออกกำลังกาย
  • 7:43 - 7:45
    เห็นระยะทางว่าสั้น
  • 7:45 - 7:47
    แม้แต่คนที่แข็งแรงน้อยที่สุด
  • 7:47 - 7:49
    เห็นหลักชัย
  • 7:49 - 7:50
    ว่าใกล้พอกัน
  • 7:50 - 7:52
    ถ้าไม่ใช่ใกล้กว่า
  • 7:52 - 7:55
    เทียบกับคนที่แข็งแรงกว่า
  • 7:55 - 7:57
    ดังนั้น ร่างกายของเราสามารถเปลี่ยน
  • 7:57 - 7:59
    ความรู้สึกว่าหลักชัยนั้นไกลเท่าไร
  • 7:59 - 8:03
    แต่คนที่ปักใจเพื่อไปถึงเป้าหมาย
    ที่สามารถทำได้
  • 8:03 - 8:05
    ที่สามารถไปถึงได้ในอนาคตเร็ว ๆ นี้
  • 8:05 - 8:07
    และเชื่อว่าตนสามารถ
  • 8:07 - 8:09
    ที่จะไปถึงเป้าหมาย
  • 8:09 - 8:12
    เห็นว่าการออกกำลังกายว่า ง่ายกว่า
  • 8:12 - 8:14
    นี่ทำให้เราสงสัยต่อไปว่า
  • 8:14 - 8:17
    มีกลวิธีที่เราสามารถใช้
  • 8:17 - 8:19
    สอนคนเพื่อจะช่วย
  • 8:19 - 8:21
    เปลี่ยนการรับรู้ระยะทาง
  • 8:21 - 8:24
    ช่วยทำให้เห็นว่าการออกกำลังกายง่ายขึ้น
    หรือไม่
  • 8:24 - 8:26
    เราจึงไปดูวรรณกรรมวิทยาศาสตร์เกี่ยวการเห็น
  • 8:26 - 8:28
    เพื่อวางแผนว่าต้องทำอะไร
  • 8:28 - 8:31
    อาศัยสิ่งที่เราอ่าน เราจึงได้กลยุทธ์หนึ่ง
  • 8:31 - 8:34
    ที่เราเรียกว่า "มองแต่ที่จุดหมาย"
  • 8:34 - 8:36
    นี่ไม่ใชสโลแกน
  • 8:36 - 8:38
    จากโปสเตอร์ให้แรงบันดาลใจ
  • 8:38 - 8:40
    (แต่)เป็นแนวทางจริง ๆ
  • 8:40 - 8:43
    เพื่อใช้ดูสิ่งแวดล้อมของคุณ
  • 8:43 - 8:45
    คนที่เราสอนให้ใช้วิธีนี้
  • 8:45 - 8:49
    เราบอกให้ใส่ใจที่หลักชัย
  • 8:49 - 8:51
    ไม่ให้ดูสิ่งรอบ ๆ
  • 8:51 - 8:52
    ให้จินตนาการว่า มีสปอร์ตไลท์
  • 8:52 - 8:54
    ฉายที่เป้าหมายนั้น
  • 8:54 - 8:56
    ให้สิ่งที่อยู่รอบ ๆ มองไม่ชัด
  • 8:56 - 8:58
    และมองไม่ค่อยเห็น
  • 8:58 - 9:00
    เรานึกว่าวิธีนี้
  • 9:00 - 9:03
    จะทำให้การออกกำลังกายดูง่ายกว่า
  • 9:03 - 9:04
    เราเปรียบเทียบคนกลุ่มนี้
  • 9:04 - 9:06
    กับกลุ่มควบคุม
  • 9:06 - 9:07
    ซึ่งเราบอกว่า
  • 9:07 - 9:09
    ให้ดูสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ
  • 9:09 - 9:10
    ตามปกติ
  • 9:10 - 9:12
    คุณอาจจะสังเกตเห็นหลักชัย
  • 9:12 - 9:13
    แต่คุณก็อาจจะสังเกตเห็น
  • 9:13 - 9:15
    ถังขยะที่อยู่ด้านขวา
  • 9:15 - 9:18
    หรือคนและเสาไฟที่อยู่ด้านซ้าย
  • 9:18 - 9:20
    เรานึกว่าคนที่ใช้วิธีนี้
  • 9:20 - 9:22
    จะเห็นระยะทางว่า ไกลกว่า
  • 9:22 - 9:25
    แล้วเราพบอะไร
  • 9:25 - 9:27
    เมื่อเราให้พวกเขาประมาณระยะทาง
  • 9:27 - 9:29
    กลยุทธ์นี้ได้ผลหรือไม่
  • 9:29 - 9:31
    ในการเปลี่ยนประสบการณ์การรับรู้
  • 9:31 - 9:32
    เปลี่ยนค่ะ
  • 9:32 - 9:34
    คนที่มองดูแต่ที่เป้าหมาย
  • 9:34 - 9:37
    เห็นหลักชัยว่าอยู่ 30 เปอร์เซนต์
  • 9:37 - 9:39
    ใกล้กว่าคนที่แลดูรอบ ๆ
  • 9:39 - 9:40
    ตามธรรมชาติ
  • 9:40 - 9:42
    เราคิดว่า เยี่ยม
  • 9:42 - 9:44
    เราตื่นเต้นมากเพราะนี่หมายความว่า
  • 9:44 - 9:45
    วิธีนี้ช่วยให้
  • 9:45 - 9:47
    การออกกำลังกายดูง่ายกว่า
  • 9:47 - 9:49
    แต่คำถามสำคัญก็คือ
  • 9:49 - 9:51
    นี่จะช่วยการออกกำลังกาย
  • 9:51 - 9:52
    ให้ดีกว่าจริง ๆ หรือเปล่า
  • 9:52 - 9:54
    สามารถเพิ่มคุณภาพ
  • 9:54 - 9:56
    ของการออกกำลังกายด้วยหรือไม่
  • 9:56 - 9:58
    ขั้นต่อไป เราจึงบอกคนร่วมทดลองว่า
  • 9:58 - 10:00
    คุณจะเดินไปยังหลักชัย
  • 10:00 - 10:02
    โดยใส่น้ำหนักเพิ่ม
  • 10:02 - 10:04
    เราเพิ่มน้ำหนักไปที่ข้อเท้า
  • 10:04 - 10:07
    หนักประมาณ 15 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักตัว
  • 10:07 - 10:09
    เราบอกให้เขายกเข่าสูง ๆ
  • 10:09 - 10:11
    ให้เดินไปที่หลักชัยเร็ว ๆ
  • 10:11 - 10:13
    เราออกแบบการออกกำลังกายนี้โดยเฉพาะ
  • 10:13 - 10:15
    ให้ท้าทายพอสมควร
  • 10:15 - 10:17
    แต่ไม่ใช่ว่ายากจนทำไม่ได้
  • 10:17 - 10:18
    ให้เหมือนกับออกกำลังโดยมาก
  • 10:18 - 10:21
    ที่เพิ่มความแข็งแรงของเราจริง ๆ
  • 10:21 - 10:23
    คำถามสำคัญต่อไปก็คือ
  • 10:23 - 10:25
    การมองแต่ที่เป้าหมาย
  • 10:25 - 10:28
    และใส่ใจแต่ที่หลักชัย
  • 10:28 - 10:31
    จะเปลี่ยนประสบการณ์การออกกำลังกายหรือไม่
  • 10:31 - 10:32
    เปลี่ยนค่ะ
  • 10:32 - 10:34
    คนที่มองแต่ที่เป้าหมาย
  • 10:34 - 10:36
    บอกเราภายหลังว่าใช้
  • 10:36 - 10:38
    กำลัง 17 เปอร์เซนต์
  • 10:38 - 10:40
    ในการออกกำลังกายนี้
  • 10:40 - 10:43
    น้อยกว่าคนที่มองดูรอบ ๆ ตามธรรมชาติ
  • 10:43 - 10:45
    มันได้เปลี่ยนประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสัย
  • 10:45 - 10:47
    ของการออกกำลังกาย
  • 10:47 - 10:50
    และมันก็ได้เปลี่ยนธรรมชาติที่เป็นปรวิสัย
  • 10:50 - 10:51
    ของการออกกำลังกายด้วย
  • 10:51 - 10:54
    คนที่ดูแต่ที่เป้าหมาย
  • 10:54 - 10:56
    ไปได้ 23 เปอร์เซนต์ เร็วกว่า
  • 10:56 - 11:00
    คนที่แลดูรอบ ๆ ตามธรรมชาติ
  • 11:00 - 11:01
    เทียบอย่างง่าย ๆ
  • 11:01 - 11:03
    ความเร็วขึ้น 23 เปอร์เซนต์
  • 11:03 - 11:07
    เป็นเหมือนกับแลกรถเชฟโรเลต ไซเตชั่น
    ปี 80 ของคุณ
  • 11:07 - 11:12
    กับรถเชฟโรเลต คอร์เวตปี 80
  • 11:12 - 11:14
    เราตื่นเต้นมากกับเรื่องนี้
  • 11:14 - 11:16
    เพราะมันหมายความว่าวิธีนี้
  • 11:16 - 11:18
    ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรเลย
  • 11:18 - 11:20
    และง่ายที่คนจะใช้
  • 11:20 - 11:22
    ไม่ว่าจะมีสุขภาพเป็นอย่างไร
  • 11:22 - 11:24
    หรือลำบากที่จะไปถึงเส้นชัย
  • 11:24 - 11:25
    มีผลมาก
  • 11:25 - 11:27
    การมองแต่ที่เป้าหมาย
  • 11:27 - 11:30
    ทำให้การออกกำลังกายดูและรู้สึกว่าง่ายกว่า
  • 11:30 - 11:32
    แม้ว่าจะต้องพยายามมากกว่า
  • 11:32 - 11:34
    เพราะว่าเดินเร็วกว่า
  • 11:34 - 11:37
    จริงอยู่ ฉันรู้ว่ามีองค์ทางสุขภาพอย่างอื่น
  • 11:37 - 11:39
    มากไปกว่าการเดินเร็วเพิ่มอีกนิดหน่อย
  • 11:39 - 11:41
    แต่การมองแต่ที่เป้าหมาย
  • 11:41 - 11:43
    อาจเป็นวิธีอีกวิธีหนึ่ง
  • 11:43 - 11:45
    ที่คุณสามารถใช้ช่วยโปรโมต
  • 11:45 - 11:47
    การใช้ชีวิตแบบสุขภาพ
  • 11:47 - 11:49
    ถ้าคุณยังไม่เชื่อ
  • 11:49 - 11:52
    ว่าเรามองเห็นโลกตามมโนภาพของเรา
  • 11:52 - 11:54
    ฉันขอทิ้งตัวอย่างสุดท้ายไว้ให้
  • 11:54 - 11:57
    นี่เป็นรูปถ่ายของถนนงามในกรุงสตอกโฮล์ม
    กับรถ 2 คัน
  • 11:57 - 11:59
    รถคันหลังดูใหญ่
  • 11:59 - 12:01
    กว่าคันข้างหน้ามาก
  • 12:01 - 12:02
    แต่ว่า จริง ๆ แล้ว
  • 12:02 - 12:05
    รถทั้งสองขนาดเดียวกัน
  • 12:05 - 12:08
    แต่ว่า เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น
  • 12:08 - 12:10
    แล้วนี่มันหมายความว่า
  • 12:10 - 12:11
    ตาของเราเสียหรือไม่
  • 12:11 - 12:14
    หรือว่าสมองของเราผิดปกติ
  • 12:14 - 12:17
    ไม่ได้ความว่าอย่างนั้นเลย
  • 12:17 - 12:19
    นี่เป็นเพียงวิธีการทำงานของตาเรา
  • 12:19 - 12:21
    เราอาจจะเห็นโลกต่างกันไป
  • 12:21 - 12:23
    และบางครั้งมันก็อาจจะ
  • 12:23 - 12:25
    ไม่ตรงกับความจริง
  • 12:25 - 12:27
    แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคนหนึ่งถูก
  • 12:27 - 12:29
    และอีกคนหนึ่งผิด
  • 12:29 - 12:31
    เราล้วนแต่เห็นโลกตามมโนภาพของเรา
  • 12:31 - 12:34
    แต่เราสามารถสอนตนให้เห็นอย่างอื่นได้
  • 12:34 - 12:36
    ฉันสามารถนึกถึงวัน
  • 12:36 - 12:38
    ที่ไม่มีอะไรดีเลยสำหรับฉัน
  • 12:38 - 12:41
    ฉันเบื่อ อารมณ์เสีย เหนื่อย
  • 12:41 - 12:42
    และฉันเหลืองานอีกเยอะมาก
  • 12:42 - 12:45
    และมีเมฆสีดำ ๆ ก้อนใหญ่
  • 12:45 - 12:46
    ที่กำลังลอยอยู่เหนือหัวฉัน
  • 12:46 - 12:47
    และในวันเช่นนี้นี่แหละ
  • 12:47 - 12:49
    ที่ทุกคนรอบตัวฉันดูเหมือน
  • 12:49 - 12:51
    จะดูไม่ดีไปด้วย
  • 12:51 - 12:53
    เพื่อนร่วมงานของฉันดูจะรำคาญ
  • 12:53 - 12:56
    เมื่อฉันขอเลื่อนงาน
  • 12:56 - 12:58
    เพื่อนฉันดูจะขัดข้องใจ
  • 12:58 - 13:01
    เมื่อฉันไปกินข้าวกลางวันสาย
    เพราะประชุมนาน
  • 13:01 - 13:02
    และในตอนเย็น
  • 13:02 - 13:04
    สามีของฉันดูจะผิดหวัง
  • 13:04 - 13:07
    เพราะฉันอยากจะไปนอนแทนที่จะไปดูหนัง
  • 13:07 - 13:10
    และเป็นวันเช่นนี้นี่แหละที่ทุกคนดูเหมือน
  • 13:10 - 13:12
    จะไม่พอใจและโกรธฉัน
  • 13:12 - 13:15
    ฉันพยายามเตือนใจตนว่า
    มีมุมมองอื่น
  • 13:15 - 13:18
    บางทีเพื่อนร่วมงานฉันอาจจะสับสน
  • 13:18 - 13:21
    บางที่เพื่อนฉันอาจจะเป็นห่วง
  • 13:21 - 13:24
    บางทีสามีฉันอาจจะรู้สึกเห็นใจไม่ใช่อื่น
  • 13:24 - 13:26
    เพราะเราเห็นโลก
  • 13:26 - 13:28
    ตามมโนภาพของเรา
  • 13:28 - 13:30
    และในบางวัน อาจจะดูเหมือน
  • 13:30 - 13:31
    ว่าโลกอันตราย
  • 13:31 - 13:34
    เป็นความยากที่ข้ามไม่ได้
  • 13:34 - 13:37
    แต่มันไม่ต้องดูเหมือนอย่างนั้นตลอดชั่วกาลนาน
  • 13:37 - 13:39
    เราสามารถสอนตนให้เห็นแตกต่างออกไป
  • 13:39 - 13:41
    และเมื่อเรารู้วิธีที่จะทำให้โลก
  • 13:41 - 13:43
    ดูสวยงามขึ้นและง่ายขึ้น
  • 13:43 - 13:46
    มันก็อาจจะกลายเป็นอย่างนั้นจริงๆ
  • 13:46 - 13:47
    ขอบคุณค่ะ
  • 13:47 - 13:51
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมคนบางพวกจึงเห็นว่าการออกกำลังกายว่า ยากกว่าพวกอื่น
Speaker:
เอมิลี่ บาลเซทิส (Emily Balcetis)
Description:

ทำไมคนบางคนถึงต้องพยายามมากกว่าเพื่อนเรื่องการรักษาน้ำหนัก นักจิตวิทยาสังคม เอมิลี่ บาลเซทิส แสดงผลการวิจัยที่พูดถึงปัจจัยอย่างหนึ่ง นั่นคือ การมองเห็น
ในปาฐกถาที่เปี่ยมไปด้วยข้อมูลนี้ เอมิลี่แสดงให้เห็นว่า เมื่อพูดถึงเรื่องการออกกำลังกาย บางคนจะเห็นโลกในมุมที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง แล้วจะเสนอแนวทางแก้ไขง่ายๆทีน่าอัศจรรย์ใจของปัญหาเรื่องการมองโลกที่แตกต่างกันอีกด้วย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:08

Thai subtitles

Revisions