Return to Video

เกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณเป็นลมแดด - ดักลาส เจ คาซ่า (Douglas J. Casa)

  • 0:10 - 0:13
    ในปี ค.ศ. 1985 เด็กหนุ่มวัย 16 ปี
    ชื่อ ดักลาส คาซ่า
  • 0:13 - 0:18
    วิ่งแข่ง 10,000 เมตรในการแข่งขันเอมไพน์ สเตต
    (Empire State)
  • 0:18 - 0:21
    ขณะที่เหลืออีกเพียง 200 เมตร ก่อนจะเข้าเส้นชัย
    เขาก็ล้มพับลง
  • 0:21 - 0:25
    ลุกขึ้นมาวิ่งต่อ แต่แล้วก็ล้มพับไปอีก
    ตรงทางตรงก่อนเข้าเส้นชัย
  • 0:25 - 0:27
    โดยมีอุณหภูมิร่างกายสูงเข้าขั้นอันตราย
  • 0:27 - 0:30
    เขาล้มป่วยจากโรคลมแดดจากการออกกำลังหนัก
    (exertional heat stroke)
  • 0:30 - 0:32
    โชคดีที่ได้รับการพยาบาลอย่างเหมาะสมทันท่วงที
  • 0:32 - 0:35
    เขาจึงรอดชีวิตจากภาวะวิกฤต
  • 0:35 - 0:39
    และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เขายังได้ช่วยอีก 167 คน
    จากภาวะแบบเดียวกันนี้
  • 0:39 - 0:41
    ตั้งแต่ทหารยุคโบราณในสนามรบ
  • 0:41 - 0:44
    ไปจนถึงนักฟุตบอลในสนาม
  • 0:44 - 0:48
    โรคลมแดดจากการออกกำลังหนัก
    เป็นปัญหาใหญ่มานานแล้ว
  • 0:48 - 0:51
    และไม่เหมือนกับโรคลมแดดทั่วไป
    ที่มักเกิดกับคนที่อ่อนแอ
  • 0:51 - 0:54
    เช่น ทารก หรือคนชรา
    ในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อน
  • 0:54 - 0:57
    โรคลมแดดจากการออกกำลังหนัก เกิดจาก
    การออกกำลังอย่างหนักท่ามกลางอากาศร้อน
  • 0:57 - 1:02
    และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหนึ่งในสามอันดับแรก
    ของนักกีฬาหรือทหารระหว่างการฝึกซ้อม
  • 1:02 - 1:05
    เมื่อคุณออกกำลังกาย
    เกือบ 80% ของพลังงานที่ใช้ไป
  • 1:05 - 1:07
    ถูกเปลี่ยนไปเป็นความร้อน
  • 1:07 - 1:10
    ในสภาวะปกติ นี่เป็นสิ่งที่เรียกว่า
  • 1:10 - 1:12
    ภาวะเครียดจากความร้อนที่ปรับสมดุลย์ได้
    (compensable heat stress)
  • 1:12 - 1:15
    ซึ่งร่างกายคุณสามารถกำจัดความร้อน
    ได้เร็วพอๆ กับที่มันสร้าง
  • 1:15 - 1:17
    ด้วยวิธีลดอุณหภูมิ เช่น การระเหยของเหงื่อ
  • 1:17 - 1:20
    แต่สำหรับ ภาวะเครียดจากความร้อน
    ที่ปรับสมดุลย์ไม่ได้
  • 1:20 - 1:22
    ร่างกายจะไม่สามารถกำจัดความร้อนได้มากพอ
  • 1:22 - 1:25
    เนื่องจากการออกกำลังหนักเกินไป
    หรือเมื่ออากาศที่ร้อนและชื้น
  • 1:25 - 1:28
    ซึ่งทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงเกินระดับปกติ
  • 1:28 - 1:31
    เป็นสาเหตุให้โปรตีน
    และเยื่อหุ้มเซลล์ต่างๆ เสื่อมสภาพ
  • 1:31 - 1:34
    จนเซลล์ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ
  • 1:34 - 1:36
    และของเหลวในเซลล์เริ่มรั่วออกมา
  • 1:36 - 1:38
    ถ้าเซลล์เกิดปัญหาแบบนี้จนทั่วทั้งร่างกาย
  • 1:38 - 1:40
    ผลเสียจะใหญ่หลวงมาก
  • 1:40 - 1:43
    เช่น ตับได้รับความเสียหาย
    เกิดลิ่มเลือดในไต
  • 1:43 - 1:48
    ทางเดินอาหารได้รับความเสียหาย
    หรือแม้แต่อวัยวะสำคัญทำงานล้มเหลว
  • 1:48 - 1:51
    เราจะวินิจฉัยภาวะโรคลมแดด
    จากการออกกำลังหนักได้อย่างไร
  • 1:51 - 1:55
    ข้อบ่งชี้หลัก คือ
    อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส
  • 1:55 - 1:57
    ร่วมกับการตรวจพบอาการทางร่างกาย
  • 1:57 - 2:00
    เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตต่ำลง
    และการหายใจเร็วกว่าปกติ
  • 2:00 - 2:03
    หรือ พบการทำงานผิดปกติ
    ของระบบประสาทส่วนกลาง
  • 2:03 - 2:07
    เช่น อาการสับสน ก้าวร้าว หรือ หมดสติ
  • 2:07 - 2:11
    วิธีการวัดอุณหภูมิร่างกายที่เหมาะสม
    และแม่นยำที่สุด
  • 2:11 - 2:12
    คือ การใช้ปรอทวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก
  • 2:12 - 2:17
    เพราะในกรณีนี้ ถ้าวัดด้วยวิธีอื่นจะไม่แม่นยำพอ
  • 2:17 - 2:19
    ระหว่างการปฐมพยาบาล
  • 2:19 - 2:23
    จำไว้ว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ
    ลดอุณหภูมิก่อน เคลื่อนย้ายผู้ป่วยทีหลัง
  • 2:23 - 2:27
    เพราะร่างกายมนุษย์สามารถทนความร้อน
    ที่เกิน 40 องศาเซลเซียส
  • 2:27 - 2:30
    ได้เพียงประมาณ 30 นาที
    ก่อนเซลล์จะเริ่มถูกทำลาย
  • 2:30 - 2:33
    การลดอุณหภูมิร่างกาย ณ ที่เกิดเหตุ
    จึงสำคัญมาก
  • 2:33 - 2:36
    เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายลดลงเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • 2:36 - 2:40
    หลังจากถอดเครื่องป้องกัน
    หรืออุปกรณ์กีฬาของผู้ป่วยออก
  • 2:40 - 2:43
    นำผู้ปวยไปแช่ในอ่างน้ำใส่น้ำแข็ง
    ขณะที่กวนน้ำในอ่างไปด้วย
  • 2:43 - 2:45
    และวัดสัญญาณชีพอย่างต่อเนื่อง
  • 2:45 - 2:47
    ถ้าเกิดไม่สามารถทำแบบนี้ได้
  • 2:47 - 2:51
    ใช้ผ้าเปียกชุบน้ำเย็น
    โปะให้ทั่วร่างกายก็สามารถช่วยได้
  • 2:51 - 2:55
    แต่ก่อนจะลงมือช่วยผู้ป่วย
    ควรเรียกรถฉุกเฉินก่อน
  • 2:55 - 2:58
    ขณะที่คุณรอ
    มันสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยอยู่ในความสงบ
  • 2:58 - 3:00
    ในขณะที่พยายามลดอุณหภูมิบนผิว
    ของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
  • 3:00 - 3:03
    จนกระทั่งรถพยาบาลมา
  • 3:03 - 3:06
    ถ้ามีทีมพยาบาลอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว
    การลดอุณภูมิร่างกายควรทำต่อไป
  • 3:06 - 3:11
    จนกว่าอุณหภูมิจะลดลง
    จนเหลือ 38.9 องศาเซลเซียส
  • 3:11 - 3:13
    เป็นที่รู้กันว่าดวงอาทิตย์มอบชีวิตให้แก่เรา
  • 3:13 - 3:15
    แต่มันก็พรากชีวิตไปได้เช่นกัน ถ้าเราไม่ระวัง
  • 3:15 - 3:18
    แม้แต่ในคนที่แข็งแรงที่สุดก็ตาม
  • 3:18 - 3:22
    ดังที่ นายแพทย์ เจเจ เลวิค เขียนเกี่ยวกับ
    โรคลมแดดจากการออกกำลังหนัก ในปี ค.ศ.1859
  • 3:22 - 3:25
    "มันคร่าชีวิตเหยื่อของมัน
    แม้เขาจะสวมเกราะเต็มตัว
  • 3:25 - 3:29
    ความหนุ่มสาว สุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง
    ไม่เป็นอุปสรรคต่อความร้ายกาจของมัน"
  • 3:29 - 3:34
    แม้ว่าภาวะนี้จะเป็นหนึ่งในสามสาเหตุสำคัญ
    ของการเสียชีวิตในนักกีฬา
  • 3:34 - 3:38
    แต่ก็มีโอกาสรอด 100%
    ถ้าได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
Title:
เกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณเป็นลมแดด - ดักลาส เจ คาซ่า (Douglas J. Casa)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/what-happens-when-you-get-heat-stroke-douglas-j-casa

คุณเคยเป็นโรคลมแดดจากการออกกำลังกายหนัก (exertional heat stroke) หรือไม่? ภาวะนี้เกิดจากการออกกำลังอย่างหนักท่ามกลางอากาศร้อน และยังเป็นหนึ่งในสามสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของนักกีฬาและทหารระหว่างการฝึก ดักลาส เจ คาซ่า อธิบายถึง ผลร้ายแรงจากการเกิดโรคลมแดดที่มีต่อร่างกายเรา และแนวทางปฏิบัติในกรณีที่มันเกิดกับคนที่คุณรู้จัก

แบบเรียนโดย Douglas J. Casa, แอนิเมชั่นโดย Cinematic.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:54

Thai subtitles

Revisions