Return to Video

ปลาจะหมดทะเลหรือไม่ - อะยานา เอลิซาเบธ จอห์นสัน (Ayana Elizabeth Johnson) และ เจนนิเฟอร์ แจ็คเก็ต ( Jennifer Jacquet)

  • 0:07 - 0:09
    ปลากำลังตกอยู่ในอันตราย
  • 0:09 - 0:14
    ประชากรปลาค็อดนอกชายฝั่งทางตะวันออก
    ของแคนาดา ลดลงอย่างมากในทศวรรษที่ 1990
  • 0:14 - 0:16
    การจับปลาจำนวนมาก
    เพื่อความบันเทิงและอุตสาหกรรม
  • 0:16 - 0:20
    ทำลายประชากรฝูงปลาเก๋าทะเลยักษ์
    ทางตอนใต้ของรัฐฟลอริดา
  • 0:20 - 0:24
    และประชากรส่วนใหญ่ของทูน่า
    ดิ่งลงไปมากกว่า 50%
  • 0:24 - 0:28
    ปลาทูน่าครีบน้ำเงินใต้
    ก็มีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์
  • 0:28 - 0:31
    นั่นเป็นเพียงบางส่วนของตัวอย่างมากมาย
  • 0:31 - 0:33
    การจับปลามากเกินไปเกิดขึ้นทั่วโลก
  • 0:33 - 0:35
    มันเกิดขึ้นได้อย่างไร
  • 0:35 - 0:36
    เมื่อบางคนคิดถึงการตกปลา
  • 0:36 - 0:41
    เราจินตนาการถึงการพักผ่อนบนเรือ
    ค่อย ๆ สาวปลาที่จับได้ในวันนั้นขึ้นมาอย่างอดทน
  • 0:41 - 0:45
    แต่ในอุตสาหกรรมการจับปลาในปัจจุบัน
    แบบที่สร้างคลังอาหารไว้บนหิ้งของเรา
  • 0:45 - 0:47
    เหมือนกับการทำสงครามเสียมากกว่า
  • 0:47 - 0:51
    อันที่จริง เทคโนโลยีที่พวกเขาใช้
    ถูกพัฒนามาเพื่อทำสงคราม
  • 0:51 - 0:52
    เรดาร์
  • 0:52 - 0:52
    โซนาร์
  • 0:52 - 0:53
    เฮลิคอปเตอร์
  • 0:53 - 0:54
    และเครื่องบินสังเกตการณ์
  • 0:54 - 0:59
    ทั้งหมดถูกใช้เพื่อนำกองเรือโรงงาน
    ไปยังที่อยู่อาศัยของฝูงปลา
  • 0:59 - 1:01
    เบ็ดยาวที่มีตะขอเป็นร้อย ๆ
    หรือแหขนาดใหญ่
  • 1:01 - 1:04
    ล้อมปลาปริมาณมาก และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
  • 1:04 - 1:08
    เช่น นกทะเล เต่า และโลมา เป็นต้น
  • 1:08 - 1:10
    และปลาก็ถูกยกขึ้นไปยังเรือยักษ์
  • 1:10 - 1:13
    ปิดท้ายด้วยเครื่องไม้เครื่องมือ
    ในการแช่แข็งเฉียบพลันและแปรรูปบนเรือ
  • 1:13 - 1:17
    เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้เรา
    สามารถจับปลาที่อาศัยอยู่ลึกมาก ๆ ได้
  • 1:17 - 1:20
    และออกไปยังทะเล
    ที่ห่างไกลออกไปได้มากกว่าเดิม
  • 1:20 - 1:23
    และเมื่อระยะทางกับความลึกของการจับปลา
    แผ่ขยายออกไป
  • 1:23 - 1:26
    สิ่งมีชีวิตที่ตกเป็นเป้าหมาย
    ก็มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
  • 1:26 - 1:30
    ยกตัวอย่างเช่น ปลาฟัน
    ที่ทั้งชื่อทั้งหน้าตาก็ดูไม่ค่อยน่ากิน
  • 1:30 - 1:33
    ชาวประมงไม่สนใจมัน
    จนกระทั่งปลายทศวรรษที่ 1970
  • 1:33 - 1:38
    เมื่อมันถูกปัดฝุ่นและถูกขาย
    ให้กับพ่อครัวในสหรัฐฯ ในชื่อ ปลาหิมะ
  • 1:38 - 1:41
    แม้ว่ามันจะเป็นปลาจำพวกปลาค็อดก็ตาม
  • 1:41 - 1:44
    ไม่นานมันก็ผุดขึ้นในตลาดทั่วโลก
  • 1:44 - 1:46
    และกลายเป็นอาหารราคาแพงในตอนนี้
  • 1:46 - 1:48
    น่าเสียดาย ปลาน้ำลึกเหล่านี้จะไม่สืบพันธุ์
  • 1:48 - 1:51
    จนกว่าพวกมันจะมีอายุได้อย่างน้อยสิบปี
  • 1:51 - 1:53
    ทำให้พวกมันได้รับผลกระทบมาก
    จากการจับปลาที่มากเกินไป
  • 1:53 - 1:56
    เมื่อปลาที่อายุน้อยถูกจับ
    ก่อนที่พวกมันจะมีโอกาสแพร่พันธุ์
  • 1:56 - 1:59
    รสนิยมของผู้บริโภคและราคา
    ยังสามารถส่งผลที่เป็นอันตรายได้
  • 1:59 - 2:04
    ยกตัวอย่างเช่น ซุปหูฉลามถูกมองว่า
    เป็นอาหารชั้นเลิศในจีนและเวียดนาม
  • 2:04 - 2:08
    และครีบของมันก็ได้กลายเป็น
    ส่วนที่ทำเงินได้มากที่สุดของฉลาม
  • 2:08 - 2:10
    นั่นทำให้ชาวประมงมากมาย
    บรรทุกครีบของพวกมันมาเต็มลำ
  • 2:10 - 2:14
    และทิ้งฉลามหลายล้านตัวให้ตายในทะเล
  • 2:14 - 2:16
    ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้น
    เฉพาะกับปลาหิมะและฉลามเท่านั้น
  • 2:16 - 2:19
    เกือบ 31% ของประชากรปลาในโลก
    ถูกจับมากเกินไป
  • 2:19 - 2:24
    และอีก 58% ถูกจับที่ระดับสูงสุด
    ของการจับปลาแบบยั่งยืน
  • 2:24 - 2:29
    ปลาตามธรรมชาติไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ทัน
    กับความต้องการบริโภคของคน 7 พันล้านคน
  • 2:29 - 2:32
    การจับปลายังส่งผลกระทบ
    ต่อระบบนิเวศในวงกว้างยิ่งกว่านั้น
  • 2:32 - 2:36
    โดยทั่วไปกุ้งตามธรรมชาติถูกจับ
    ด้วยการลากอวนขนาดเท่ากับสนามฟุตบอล
  • 2:36 - 2:38
    ไปตามก้นทะเล
  • 2:38 - 2:41
    ซึ่งเป็นการรบกวนและทำลายสัตว์
    ที่อาศัยอยู่บนพื้นทะเล
  • 2:41 - 2:43
    สิ่งที่จับได้มักเป็นกุ้งเพียง 5%
  • 2:43 - 2:48
    ที่เหลือคือสัตว์ไม่พึงประสงค์ที่เผอิญติดมา
    ซึ่งโดนโยนกลับลงไปในสภาพที่ตายแล้ว
  • 2:48 - 2:50
    การทำนากุ้งตามชายฝั่งก็ไม่ได้ดีไปกว่านั้น
  • 2:50 - 2:53
    ป่าโกงกางถูกถาง
    เพื่อปรับพื้นที่ในการทำนากุ้ง
  • 2:53 - 2:57
    ปล้นเอาแหล่งชุมชนป้องกันพายุตามชายฝั่ง
    กับกระบวนการกรองน้ำตามธรรมชาติไป
  • 2:57 - 3:00
    และเป็นการยึดเอาแหล่งอนุบาลปลาไปด้วย
  • 3:00 - 3:04
    แล้วมันจะเป็นอย่างไร ถ้าเราหยุดพัก
    และให้โอกาสพวกมันฟื้นตัว
  • 3:04 - 3:06
    การป้องกันสามารถทำได้หลายรูปแบบ
  • 3:06 - 3:09
    ในน่านน้ำสากล ภาคส่วนรัฐบาลต่าง ๆ
    สามารถกำหนด
  • 3:09 - 3:14
    ว่าจะให้จับปลาได้อย่างไร เมื่อไร ที่ไหน
    และในปริมาณเท่าไร
  • 3:14 - 3:16
    โดยมีข้อจำกัดในเรื่องของเรือและอุปกรณ์
  • 3:16 - 3:20
    การกระทำที่เป็นอันตราย เช่น
    การใช้อวนลาก อาจโดนสั่งห้ามไปพร้อมกัน
  • 3:20 - 3:23
    และเราอาจกำหนดพื้นที่คุ้มครองทางทะเล
    ใกล้กับจุดที่มีการจับปลา
  • 3:23 - 3:26
    เพื่อช่วยให้ระบบนิเวศได้ฟื้นฟูตัวเอง
  • 3:26 - 3:31
    ผู้บริโภคยังควรที่จะตระหนัก
    และคว่ำบาตรการกระทำที่สิ้นเปลือง
  • 3:31 - 3:32
    เช่น การตัดครีบฉลาม เป็นต้น
  • 3:32 - 3:35
    และผลักดันให้อุตสาหกรรมประมง
    หันไปใช้วิธีที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
  • 3:35 - 3:40
    การแทรกแซงในอดีตช่วยฟื้นฟู
    การลดจำนวนประชากรปลาได้สำเร็จ
  • 3:40 - 3:41
    มีการแก้ปัญหาได้หลายวิธี
  • 3:41 - 3:45
    วิธีการที่ดีที่สุดในการจับปลาแต่ละแบบ
    จะต้องได้รับการพิจารณาตามหลักวิทยาศาสตร์
  • 3:45 - 3:48
    ให้ความเคารพต่อชุมชนท้องถิ่น
    ที่ต้องทำมาหากินกับท้องทะเล
  • 3:48 - 3:50
    และต่อปลาทั้งหลาย ในฐานะที่มันเป็นสัตว์ป่า
  • 3:50 - 3:52
    และจากนั้นกฎต่าง ๆ จะต้องโดนบังคับใช้
  • 3:52 - 3:55
    ความร่วมมือในระดับสากล
    มักจะเป็นที่ต้องการเช่นกัน
  • 3:55 - 3:58
    เพราะว่าปลาไม่สนใจ
    เรื่องการแบ่งเขตแดนของเรา
  • 3:58 - 4:00
    เราต้องหยุดการจับปลามากเกินไป
  • 4:00 - 4:01
    ระบบนิเวศ
  • 4:01 - 4:02
    ความมั่นคงทางอาหาร
  • 4:02 - 4:03
    งาน
  • 4:03 - 4:04
    เศรษฐกิจ
  • 4:04 - 4:07
    และสิ่งมีชีวิตตามแนวชายฝั่ง
    ทั้งหมดขึ้นอยู่กับมัน
Title:
ปลาจะหมดทะเลหรือไม่ - อะยานา เอลิซาเบธ จอห์นสัน (Ayana Elizabeth Johnson) และ เจนนิเฟอร์ แจ็คเก็ต ( Jennifer Jacquet)
Speaker:
Ayana Elizabeth Johnson and Jennifer Jacquet
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/will-the-ocean-ever-run-out-of-fish-ayana-elizabeth-johnson-and-jennifer-jacquet

เมื่อคนส่วนใหญ่คิดถึงการจับปลา เราจินตนาการถึงการผ่อนคลายอิริยาบทบนเรือ และการค่อย ๆ สาวปลาที่จับได้ในวันนั้นขึ้นมาอย่างอดทน แต่ในอุตสาหกรรมการจับปลาปัจจุบัน -- ประเภทที่สร้างคลังอาหารไว้บนหิ้งของเรา -- เหมือนกับการทำสงครามเสียมากกว่า อะยานา เอลิซาเบธ จอห์นสัน (Ayana Elizabeth Johnson) และ เจนนิเฟอร์ แจ็คเก็ต ( Jennifer Jacquet) อธิบายถึงการจับปลาที่มากเกินไป และผลกระทบต่อระบบนิเวศ ความมั่นคงทางอาหาร งาน เศรษฐกิจ และสิ่งมีชีวิตตามแนวชายฝั่ง

บทเรียนโดย Ayana Elizabeth Johnson และ Jennifer Jacquet แอนิเมชันโดย Anton Bogaty

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:28
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Will the ocean ever run out of fish?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Will the ocean ever run out of fish?
Suwitcha Chandhorn accepted Thai subtitles for Will the ocean ever run out of fish?
Suwitcha Chandhorn edited Thai subtitles for Will the ocean ever run out of fish?
Suwitcha Chandhorn edited Thai subtitles for Will the ocean ever run out of fish?
Suwitcha Chandhorn edited Thai subtitles for Will the ocean ever run out of fish?
Suwitcha Chandhorn edited Thai subtitles for Will the ocean ever run out of fish?
Suwitcha Chandhorn edited Thai subtitles for Will the ocean ever run out of fish?
Show all

Thai subtitles

Revisions