Return to Video

ทำไมคุณคิดว่าคุณถูก -- ทั้ง ๆ ที่คุณผิด

  • 0:01 - 0:03
    ฉันอยากให้คุณลองจินตนาการดูสักครู่
  • 0:03 - 0:06
    ว่าคุณเป็นทหารท่ามกลางสมรภูมิรบ
  • 0:07 - 0:10
    คุณอาจเป็นทหารราบจากยุคโรมัน
    หรือเป็นพลธนูจากยุคกลาง
  • 0:10 - 0:12
    หรืออาจเป็นนักรบซูลูก็ได้
  • 0:12 - 0:16
    ไม่ว่าคุณจะอยู่ในยุคไหนหรือสถานที่ใดก็ตาม
    บางสิ่งจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ
  • 0:16 - 0:18
    ระดับอะดรีนาลีนของคุณจะเพิ่มสูงขึ้น
  • 0:18 - 0:23
    และการกระทำต่าง ๆ ของคุณจะเกิดขึ้น
    จากปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่ฝังลึกอยู่ภายใน
  • 0:23 - 0:28
    ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่เกิดขึ้นจากความ
    ต้องการที่จะปกป้องตัวเองและพวกพ้องของคุณ
  • 0:28 - 0:29
    และความต้องการที่จะเอาชนะศัตรู
  • 0:31 - 0:34
    ตอนนี้ฉันอยากให้คุณจินตนาการถึงบทบาทที่
    แตกต่างออกไปอย่างมากอีกบทบาทหนึ่ง
  • 0:34 - 0:36
    นั่นก็คือบทบาทของทหารพราน
  • 0:36 - 0:39
    หน้าที่ของทหารพรานนั้นไม่ใช่
    เพื่อโจมตีหรือปกป้อง
  • 0:39 - 0:42
    หน้าที่ของทหารพรานคือการทำความเข้าใจ
  • 0:42 - 0:44
    ทหารพรานคือผู้ที่ออกไป
  • 0:44 - 0:48
    ทำแผนที่ภูมิประเทศ
    ระบุสิ่งที่อาจเป็นอุปสรรค
  • 0:48 - 0:52
    และทหารพรานก็อาจหวังที่จะได้เจอสะพาน
  • 0:52 - 0:54
    ที่อยู่ในตำแหน่งที่สะดวก
    ต่อการข้ามแม่น้ำ เป็นต้น
  • 0:54 - 0:57
    แต่เหนือสิ่งอื่นใด ทหารพรานต้องการ
    รู้ว่าจริง ๆ แล้วมีสิ่งใดอยู่ตรงนั้น
  • 0:57 - 0:59
    อย่างแม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • 1:00 - 1:05
    และในกองทัพจริง ๆ ทั้งทหารและทหารพราน
    นั้นต่างมีความสำคัญ
  • 1:05 - 1:11
    แต่คุณอาจมองว่าแต่ละบทบาท
    เป็นเหมือนกับกรอบความคิด
  • 1:11 - 1:14
    ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยว่าเราทุกคนนั้น
    ประมวลผลข้อมูลและแนวคิดต่าง ๆ อย่างไร
  • 1:14 - 1:16
    ในชีวิตประจำวันของเรา
  • 1:16 - 1:20
    สิ่งที่ฉันจะอภิปรายในวันนี้
    ก็คือว่าการมีวิจารณญาณที่ดี
  • 1:20 - 1:23
    การคาดการณ์ที่แม่นยำ
    และการตัดสินใจที่ดี
  • 1:23 - 1:26
    ส่วนใหญ่แล้วเชื่อมโยง
    กับกรอบความคิดที่คุณอยู่
  • 1:27 - 1:30
    เพื่อให้เห็นการทำงานของกรอบความคิดนี้
  • 1:30 - 1:33
    ฉันจะพาคุณย้อนกลับไปยังฝรั่งเศส
    ในศตวรรษที่ 19
  • 1:33 - 1:36
    ที่ที่แผ่นกระดาษที่ดูไร้พิษภัยนี้
  • 1:36 - 1:39
    สร้างเรื่องอื้อฉาวทางการเมือง
    ที่ใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์
  • 1:40 - 1:44
    มันถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1894 โดยเหล่านายทหาร
    ในกองเสนาธิการของฝรั่งเศส
  • 1:45 - 1:47
    มันถูกฉีกเป็นชิ้น ๆ
    อยู่ในถังทิ้งเศษกระดาษ
  • 1:47 - 1:49
    แต่เมื่อพวกเขานำพวกมันกลับมาต่อกันใหม่
  • 1:49 - 1:51
    พวกเขาพบว่าใครบางคน
    ที่มีตำแหน่งเดียวกับพวกเขา
  • 1:51 - 1:54
    ได้ขายความลับทางการทหารให้กับเยอรมนี
  • 1:54 - 1:57
    ดังนั้นพวกเขาจึงเริ่มการสืบสวนครั้งใหญ่
  • 1:57 - 2:01
    และข้อสงสัยต่าง ๆ ก็มุ่งไปยังชายคนนี้
    อย่างรวดเร็ว
  • 2:01 - 2:02
    อาลแฟรด แดรฟุส (Alfred Dreyfus)
  • 2:03 - 2:04
    เขามีประวัติที่โปร่งใส
  • 2:04 - 2:08
    ไม่เคยทำผิดมาก่อน
    ไม่มีแรงจูงใจใด ๆ เท่าที่พวกเขาทราบ
  • 2:08 - 2:13
    แต่แดรฟุสเป็นนายทหารเชื้อสายยิว
    เพียงคนเดียวของกองทัพในชั้นยศนั้น
  • 2:13 - 2:18
    และโชคไม่ดีที่กองทัพฝรั่งเศส
    ต่อต้านยิวอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานั้น
  • 2:18 - 2:21
    พวกเขาเปรียบเทียบลายมือของแดรฟุส
    กับลายมือที่อยู่บนกระดาษแผ่นนั้น
  • 2:21 - 2:23
    แล้วสรุปว่าลายมือนั้นตรงกัน
  • 2:23 - 2:26
    ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญด้านลายมือจากภายนอก
  • 2:26 - 2:28
    จะไม่มั่นใจสักเท่าไรว่ามันคล้ายกัน
  • 2:28 - 2:30
    แต่พวกเขาก็ไม่สนใจ
  • 2:30 - 2:32
    พวกเขาไปตรวจค้นที่พักของแดรฟุส
  • 2:32 - 2:33
    เพื่อหาร่องรอยใด ๆ ก็ตาม
    ที่เกี่ยวข้องกับของการจารกรรม
  • 2:33 - 2:36
    พวกเขาตรวจดูเอกสารเขา
    แต่ก็ไม่พบอะไรเลย
  • 2:36 - 2:40
    นี่ทำให้พวกเขาเชื่อมากขึ้นไปอีกว่า
    แดรฟุสไม่เพียงแค่ทำผิด
  • 2:40 - 2:43
    แต่ยังปิดบังอำพรางอีกด้วย เพราะเห็นได้ชัด
    ว่าเขาซุกซ่อนหลักฐานทั้งหมด
  • 2:43 - 2:45
    ก่อนที่พวกเขาจะเข้าไปพบ
  • 2:45 - 2:48
    จากนั้น พวกเขาก็ไปตรวจสอบ
    ประวัติส่วนตัวของเขา
  • 2:48 - 2:50
    เพื่อหารายละเอียดการกระทำความผิด
  • 2:50 - 2:52
    พวกเขาคุยกับครูของแดรฟุส
  • 2:52 - 2:55
    พวกเขาพบว่าเขาได้ศึกษา
    ภาษาต่างประเทศในโรงเรียน
  • 2:55 - 2:59
    ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน
    ถึงความต้องการที่จะสมคบคิดกับรัฐบาลต่างชาติ
  • 2:59 - 3:00
    ต่อไปในอนาคตของเขา
  • 3:00 - 3:06
    ครูของเขายังบอกอีกว่าแดรฟุสมีความจำ
    ที่ดีเยี่ยม และทุกคนก็รู้เรื่องนั้น
  • 3:06 - 3:08
    ซึ่งมันน่าสงสัยมากใช่ไหม
  • 3:08 - 3:11
    เพราะสายลับต้องจดจำสิ่งต่าง ๆ มากมาย
  • 3:12 - 3:16
    ดังนั้นคดีนี้ก็เข้าสู่การสอบสวน
    และแดรฟุสก็ตกเป็นผู้กระทำความผิด
  • 3:17 - 3:20
    หลังจากนั้น พวกเขานำตัวแดรฟุส
    มายังลานสาธารณะ
  • 3:20 - 3:24
    และปลดเครื่องยศของเขา
    ออกจากชุดเครื่องแบบทหารตามพีธีการ
  • 3:24 - 3:26
    แล้วหักดาบของเขาออกเป็นสองท่อน
  • 3:26 - 3:28
    ซึ่งเรียกกันว่า "การถอดยศอาลแฟรด แดรฟุส"
  • 3:29 - 3:31
    แล้วพวกเขาก็ลงโทษเขาด้วยการจำคุกตลอดชีวิต
  • 3:31 - 3:34
    ในสถานที่ที่มีสมญานามว่า
    เกาะเดวิลล์ (Devil's Island)
  • 3:34 - 3:37
    ซึ่งเป็นโขดหินแห้งแล้งนอกชายฝั่งอเมริกาใต้
  • 3:38 - 3:41
    เขาจึงไปที่นั่นและใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว
  • 3:41 - 3:44
    เขียนจดหมายฉบับแล้วฉบับเล่า
    ไปยังรัฐบาลฝรั่งเศส
  • 3:44 - 3:47
    ร้องขอให้พวกเขารื้อคดีนี้ขึ้นมาใหม่
    เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเขา
  • 3:48 - 3:51
    แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ชาวฝรั่งเศส
    ต่างมองว่าคดีนี้จบลงแล้ว
  • 3:51 - 3:56
    ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่ฉันสนใจ
    เกี่ยวกับเรื่องอื้อฉาวของแดรฟุส
  • 3:56 - 3:59
    ก็คือคำถามที่ว่า ทำไมนายทหารทั้งหลาย
    ถึงได้เชื่อมั่นอย่างมาก
  • 3:59 - 4:01
    ว่าแดรฟุสกระทำความผิด
  • 4:02 - 4:04
    แบบว่า คุณอาจคิดด้วยซ้ำว่า
    พวกเขาใส่ความชายคนนั้น
  • 4:04 - 4:06
    พวกเขาใส่ร้ายแดรฟุสอย่างมีเจตนา
  • 4:06 - 4:08
    แต่นักประวัติศาสตร์ไม่ได้คิดแบบนั้น
  • 4:08 - 4:10
    จากเท่าที่เรารู้
  • 4:10 - 4:14
    เหล่านายทหารต่างเชื่อจริง ๆ ว่า
    ข้อสนับสนุนในคดีของแดรฟุสนั้นมีความน่าเชื่อถือ
  • 4:14 - 4:17
    ซึ่งอาจทำให้คุณตั้งคำถาม
  • 4:17 - 4:19
    ว่ามันบ่งบอกอะไร
    เกี่ยวกับความนึกคิดของมนุษย์
  • 4:19 - 4:21
    ที่ทำให้หลักฐานเพียงเล็กน้อยแบบนั้น
  • 4:21 - 4:23
    มีน้ำหนักพอที่จะทำให้ชายคนหนึ่งมีความผิดได้
  • 4:24 - 4:28
    และนี่คือกรณีศึกษาที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า
    "การคิดหาเหตุผลประกอบด้วยแรงจูงใจ"
  • 4:29 - 4:32
    มันคือปรากฏการณ์
    ที่ซึ่งแรงจูงใจใต้สำนึกของเรา
  • 4:32 - 4:34
    ความปรารถนา และความกลัวของเรา
  • 4:34 - 4:36
    มีอิทธิพลต่อวิธีการที่เราตีความข้อมูล
  • 4:36 - 4:40
    ดังนั้นข้อมูล และแนวคิดบางอย่าง
    จะให้ความรู้สึกเหมือนเป็นฝ่ายเดียวกับเรา
  • 4:40 - 4:42
    เราต้องการให้มันชนะ
    เราต้องการที่จะปกป้องมัน
  • 4:42 - 4:45
    ส่วนข้อมูลและแนวคิดอื่น ๆ นั้น
    จะกลายเป็นศัตรู
  • 4:45 - 4:47
    และเราต้องการกำจัดมัน
  • 4:47 - 4:51
    และนี่คือเหตุผลที่ฉันเรียกการให้เหตุผล
    แบบมีแรงจูงใจว่า "กรอบความคิดแบบทหาร"
  • 4:52 - 4:55
    เป็นไปได้ว่าพวกคุณส่วนใหญ่นั้นไม่เคยลงโทษ
  • 4:55 - 4:57
    นายทหารเชื้อสายฝรั่งเศส-ยิวในข้อหากบฏ
  • 4:57 - 4:59
    ฉันคิดว่าอย่างนั้นนะ
  • 4:59 - 5:04
    แต่บางทีคุณอาจติดตามกีฬา
    หรือข่าวการเมือง และคุณอาจรับรู้ว่า
  • 5:04 - 5:08
    เมื่อกรรมการตัดสินว่าทีมของคุณทำผิด
  • 5:08 - 5:09
    ยกตัวอย่างนะ
  • 5:09 - 5:12
    คุณจะมีแรงจูงใจอย่างมากที่จะหาเหตุผล
    ว่าทำไมเขาถึงตัดสินผิดพลาด
  • 5:12 - 5:16
    แต่ถ้าเขาตัดสินว่าทีมฝ่ายตรงข้ามทำผิด
    -- นั่นเยี่ยมเลย!
  • 5:16 - 5:18
    นั่นเป็นการตัดสินที่ถูกต้องแล้ว
    ไม่ต้องไปตรวจสอบอะไรมากก็ได้
  • 5:19 - 5:21
    หรือบางทีเวลาที่คุณอ่านบทความหรืองานวิจัย
  • 5:21 - 5:24
    ที่ตรวจสอบนโยบายบางอย่าง
    ที่เป็นที่ถกเถียงกันอยู่
  • 5:24 - 5:25
    เช่น การลงโทษประหารชีวิต
  • 5:26 - 5:28
    และเมื่อนักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า
  • 5:28 - 5:30
    สมมติว่าคุณสนับสนุนการประหารชีวิต
  • 5:30 - 5:32
    แต่ผลการศึกษาวิจัยแสดงออกมาว่า
    มันไม่มีประสิทธิภาพ
  • 5:32 - 5:35
    คุณก็จะมีแรงจูงในอย่างมาก
    ที่จะหาเหตุผลต่าง ๆ นานา
  • 5:35 - 5:38
    ว่าทำไมการศึกษานั้นถึงออกแบบมาได้ไม่ดี
  • 5:38 - 5:39
    กลับกัน ถ้ามันแสดงว่า
    การประหารชีวิตนั้นเป็นวิธีที่ดี
  • 5:39 - 5:41
    เยี่ยมมาก มันคืองานวิจัยที่ดี
  • 5:41 - 5:44
    และในทำนองเดียวกัน ถ้าคุณไม่สนับสนุน
    การลงโทษประหารชีวิต ผลก็ยังคงเหมือนเดิม
  • 5:44 - 5:47
    การตัดสินของเรานั้นได้รับอิทธิพลอย่างมาก
    โดยที่เราไม่รู้ตัว
  • 5:47 - 5:49
    จากฝ่ายที่เราต้องการให้ชนะ
  • 5:50 - 5:51
    และสิ่งนี้สามารถพบได้ทั่วไป
  • 5:51 - 5:55
    มันส่งผลต่อวิธีการคิดของเรา
    ในเรื่องสุขภาพ ความสัมพันธ์
  • 5:55 - 5:57
    การตัดสินใจลงคะแนนเสียงของเรา
  • 5:57 - 5:59
    หรือสิ่งที่เรามองว่าถูกต้องหรือมีศีลธรรม
  • 6:00 - 6:03
    สิ่งที่ดูน่ากลัวที่สุดสำหรับฉัน
    ของการมีเหตุผลแบบมีแรงจูงใจ
  • 6:03 - 6:04
    หรือกรอบความคิดแบบทหาร
  • 6:04 - 6:05
    ก็คือการที่เราแทบไม่รู้ตัว
  • 6:05 - 6:09
    เราอาจคิดว่าเราเป็นคนที่ยุติธรรม
    และไม่ลำเอียง
  • 6:09 - 6:12
    แต่สุดท้าย เราก็ยังทำลายชีวิตของผู้บริสุทธิ์
  • 6:13 - 6:16
    อย่างไรก็ตาม โชคยังดีสำหรับแดรฟุส
    เพราะเรื่องของเขายังไม่จบแค่นั้น
  • 6:16 - 6:17
    นี่คือพันเอกปีการ์
  • 6:17 - 6:20
    เขาเป็นนายทหารระดับสูงอีกคน
    ในกองทัพฝรั่งเศส
  • 6:20 - 6:23
    และเขาคิดว่าแดรฟุสเป็นคนผิด
    เหมือนกับที่คนส่วนใหญ่คิดกัน
  • 6:23 - 6:27
    แล้วเขาเองก็ยังต่อต้านคนเชื้อสายยิว
    เหมือนคนส่วนใหญ่ในกองทัพเช่นกัน
  • 6:27 - 6:31
    แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง ปีการ์เริ่มเอะใจว่า
  • 6:31 - 6:34
    "ถ้าเราทุกคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับแดรฟุสล่ะ"
  • 6:34 - 6:37
    สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเขาได้ค้นพบหลักฐาน
  • 6:37 - 6:39
    ว่าการสอดแนมของเยอรมนียังคงเกิดขึ้นอยู่
  • 6:39 - 6:41
    ถึงแม้ว่าแดรฟุสจะอยู่ในคุกแล้วก็ตาม
  • 6:42 - 6:45
    และเขายังพบอีกว่า
    นายทหารอีกคนในกองทัพ
  • 6:45 - 6:47
    มีลายมือที่ตรงกันกับในบันทึกที่พบทุกประการ
  • 6:47 - 6:50
    ซึ่งเหมือนมากกว่าลายมือของแดรฟุสมาก
  • 6:50 - 6:53
    เขาจึงนำเรื่องนี้ไปรายงานผู้บังคับบัญชา
  • 6:54 - 6:58
    แต่เขากลับต้องผิดหวัง
    เพราะว่าพวกเขาไม่สนใจเรื่องนี้
  • 6:58 - 7:01
    หรือไม่ก็พวกเขาไม่ให้เหตุผลเพิ่มเติม
    เพื่ออธิบายสิ่งที่เขาได้พบ
  • 7:01 - 7:07
    เช่น "อืม ปีการ์ ทั้งหมดที่คุณแสดงมาเนี่ย
    ก็แค่ชี้ให้เห็นว่ามีสายลับอีกคน
  • 7:07 - 7:09
    ที่พยายามเลียนแบบลายมือของแดรฟุส
  • 7:09 - 7:13
    และเขาก็รับช่วงทำหน้าที่เป็นสายลับต่อ
    หลังจากที่แดรฟุสไปแล้ว
  • 7:13 - 7:15
    แต่แดรฟุสก็ยังเป็นคนผิดอยู่ดีนั่นแหละ"
  • 7:16 - 7:19
    ในท้ายที่สุด ปีการ์ก็ทำให้แดรฟุส
    พ้นจากข้อกล่าวหาได้สำเร็จ
  • 7:19 - 7:20
    แต่เขาใช้เวลาถึง 10 ปี
  • 7:20 - 7:23
    และในช่วงหนึ่ง เขาเองก็ติดคุกด้วย
  • 7:23 - 7:25
    ในข้อหาไม่ซื่อสัตย์ต่อกองทัพ
  • 7:26 - 7:32
    แล้วคุณรู้ไหมว่า ผู้คนต่างรู้สึกว่าปีการ์
    ไม่อาจเป็นวีรบุรุษของเรื่องนี้ได้
  • 7:33 - 7:37
    เพราะว่าเขาเองก็ต่อต้านยิว
    และนั่นเป็นเรื่องเลวร้ายซึ่งฉันก็เห็นด้วย
  • 7:37 - 7:42
    แต่โดยส่วนตัวแล้ว สำหรับฉัน
    ข้อเท็จจริงที่ว่าปีการ์ต่อต้านยิวนั้น
  • 7:42 - 7:45
    จริง ๆ แล้วกลับทำให้การกระทำของเขา
    น่ายกย่องมากยิ่งขึ้น
  • 7:45 - 7:48
    เพราะว่าเขามีทั้งอคติและเหตุผล
    ที่จะทำให้เขาลำเอียงได้เช่นเดียวกัน
  • 7:48 - 7:50
    กับสหายทหารคนอื่น ๆ ของเขา
  • 7:50 - 7:54
    แต่แรงจูงใจของเขาในการค้นหาความจริง
    และค้ำชูความจริงนั้นเอาชนะทุกสิ่งที่กล่าวมา
  • 7:55 - 7:56
    ดังนั้น สำหรับฉันแล้ว
  • 7:56 - 8:00
    ปีการ์คือตัวแทนของสิ่งที่ฉันเรียกว่า
    "กรอบความคิดแบบทหารพราน"
  • 8:01 - 8:05
    มันคือแรงผลักดันที่ไม่ทำให้ความคิดหนึ่งชนะ
    หรือความคิดอีกอย่างหนึ่งแพ้
  • 8:05 - 8:07
    แต่เพียงเพื่อมองสิ่งที่อยู่ตรงนั้นจริง ๆ
  • 8:07 - 8:09
    อย่างซื่อตรงและเที่ยงตรงเท่าที่จะทำได้
  • 8:09 - 8:12
    แม้ว่ามันจะไม่สวยงาม
    หรือง่ายดาย หรือน่าพอใจ
  • 8:13 - 8:17
    และกรอบความคิดแบบนี้ คือสิ่งที่
    โดยส่วนตัวแล้ว ฉันสนใจเป็นอย่างมาก
  • 8:17 - 8:22
    และฉันใช้เวลาสองสามปีมานี้
    ในการวิเคราะห์และพยายามค้นหา
  • 8:22 - 8:24
    ว่าอะไรทำให้เกิดกรอบความคิดแบบทหารพราน
  • 8:24 - 8:27
    ทำไมคนบางคน อย่างน้อยที่สุดก็ในบางครั้ง
  • 8:27 - 8:31
    ถึงสามารถก้าวข้ามอคติ ความลำเอียง
    และแรงจูงใจของตัวเอง
  • 8:31 - 8:33
    และพยายามมองหาแต่ความจริง
    และหลักฐาน
  • 8:33 - 8:35
    อย่างไร้อคติที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • 8:36 - 8:39
    และคำตอบก็อาจจะสะเทือนอารมณ์ไปหน่อย
  • 8:39 - 8:43
    นั่นก็คือ ขณะที่กรอบความคิดแบบทหาร
    นั้นเกิดขึ้นมาจากอารมณ์ต่าง ๆ
  • 8:43 - 8:46
    อย่างเช่น การปกป้องหรือความเป็นพวกพ้อง
  • 8:47 - 8:48
    กรอบความคิดทหารพรานก็เป็นแบบเดียวกัน
  • 8:48 - 8:50
    แต่แค่มันเกิดมาจากอารมณ์ที่ต่างออกไป
  • 8:50 - 8:53
    ยกตัวอย่างเช่น ทหารพรานมักสงสัยใคร่รู้
  • 8:53 - 8:57
    พวกเขามักบอกว่า รู้สึกพึงพอใจ
  • 8:57 - 8:59
    เวลาที่พวกเขาได้พบข้อมูลใหม่ ๆ
  • 8:59 - 9:01
    หรือเกิดความต้องการที่จะแก้ปัญหา
  • 9:02 - 9:05
    พวกเขามักเกิดความสนใจ
    เวลาที่พวกเขาพบเจอกับบางสิ่ง
  • 9:05 - 9:07
    ที่ขัดกับความคาดหมายของพวกเขา
  • 9:07 - 9:09
    ทหารพรานยังมีค่านิยมที่แตกต่างออกไป
  • 9:09 - 9:12
    พวกเขามักพูดว่าการตรวจสอบ
    ความเชื่อของตัวคุณเองนั้น
  • 9:12 - 9:14
    เป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
  • 9:14 - 9:18
    และมักไม่พูดว่าคนที่เปลี่ยนใจนั้น
  • 9:18 - 9:19
    เป็นคนอ่อนแอ
  • 9:19 - 9:21
    และเหนือสิ่งอื่นใด
    ทหารพรานนั้นมีเหตุมีผล
  • 9:21 - 9:25
    ซึ่งหมายความว่า
    คุณค่าในตนเองในฐานะบุคคลของพวกเขานั้น
  • 9:25 - 9:30
    ไม่ได้เกี่ยวกับว่า
    พวกเขาถูกหรือผิดอย่างไรในเรื่องนั้น ๆ
  • 9:30 - 9:33
    ฉะนั้น พวกเขาอาจเชื่อว่าโทษประหาร
    เป็นการกระทำที่เหมาะสม
  • 9:33 - 9:36
    และถ้าผลการศึกษาแสดงว่า
    มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น พวกเขาอาจพูดว่า
  • 9:36 - 9:40
    "โอ้ ดูเหมือนว่าฉันจะผิดซะแล้ว
    แต่นั่นไม่ได้แปลว่าฉันไม่ดีหรือสมองทึบนะ"
  • 9:42 - 9:46
    ดังนั้นกลุ่มอุปนิสัยเหล่านี้
    ที่นักวิจัยได้ค้นพบ
  • 9:46 - 9:48
    และตัวฉันเองก็พบจากประสบการณ์เช่นเดียวกัน
  • 9:48 - 9:50
    เป็นตัวชี้วัดถึงการมีวิจารณญาณที่ดี
  • 9:50 - 9:54
    และสิ่งสำคัญที่ฉันอยากฝากไว้ให้พวกคุณ
    ในเรื่องอุปนิสัยเหล่านั้น
  • 9:54 - 9:57
    ก็คือ โดยหลักแล้ว
    พวกมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับว่าคุณฉลาดแค่ไหน
  • 9:57 - 9:59
    หรือคุณรู้มากแค่ไหน
  • 9:59 - 10:02
    อันที่จริง มันไม่ได้สัมพันธ์
    กับไอคิวเลยด้วยซ้ำ
  • 10:03 - 10:04
    แต่มันเกี่ยวกับว่าคุณรู้สึกอย่างไร
  • 10:05 - 10:09
    มีคำกล่าวอันหนึ่งที่ฉันมักนึกถึงอยู่เสมอ
    ซึ่งกล่าวโดยแซ็งแตกซูว์เปรี
  • 10:09 - 10:11
    เขาคือผู้ประพันธ์เรื่อง "เจ้าชายน้อย"
  • 10:11 - 10:14
    เขากล่าวไว้ว่า "ถ้าคุณต้องการสร้างเรือสักลำ
  • 10:14 - 10:19
    จงอย่าระดมคนงานของคุณ
    ให้ออกไปหาไม้แล้วคอยออกคำสั่ง
  • 10:19 - 10:20
    และมอบหมายงาน
  • 10:21 - 10:25
    แต่จงสอนพวกเขาให้โหยหาความกว้างใหญ่
    อันไร้ขอบเขตของทะเล"
  • 10:26 - 10:28
    พูดอีกอย่างก็คือ ฉันอาจอธิบายได้ว่า
  • 10:29 - 10:32
    ถ้าเราต้องการพัฒนาวิจารณญาณของเรา
    อย่างแท้จริงในฐานะบุคคล
  • 10:32 - 10:33
    ในฐานะสังคม
  • 10:34 - 10:37
    สิ่งที่เราต้องการที่สุด
    ไม่ใช่คำสั่งในเชิงเหตุผล
  • 10:37 - 10:41
    หรือการใช้วาทศิลป์จูงใจ
    หรือความน่าจะเป็น หรือเศรษฐศาสตร์
  • 10:41 - 10:43
    ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะค่อนข้างมีประโยชน์
  • 10:43 - 10:46
    แต่สิ่งที่เราต้องการที่สุด
    เพื่อให้ปรับใช้หลักการเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี
  • 10:46 - 10:47
    ก็คือกรอบความคิดแบบทหารพราน
  • 10:47 - 10:49
    เราต้องเปลี่ยนแปลงวิธีที่เรารู้สึก
  • 10:50 - 10:54
    เราต้องเรียนรู้ว่าจะรู้สึกภูมิใจ
    แทนที่จะอับอายได้อย่างไร
  • 10:54 - 10:56
    เมื่อเรารู้ว่าเราอาจผิดพลาดในบางอย่าง
  • 10:56 - 10:59
    เราต้องเรียนรู้ที่จะรู้สึกสนใจ
    แทนที่จะปกป้องตนเอง
  • 10:59 - 11:04
    เมื่อเราพบเจอข้อมูลบางอย่าง
    ที่ขัดแย้งกับความเชื่อของเรา
  • 11:05 - 11:07
    ฉะนั้น คำถามที่ฉันอยากทิ้งไว้ให้คุณก็คือ
  • 11:08 - 11:10
    คุณปรารถนาสิ่งใดมากที่สุด
  • 11:11 - 11:13
    คุณปรารถนาที่จะปกป้อง
    ความเชื่อของตนเอง
  • 11:14 - 11:18
    หรือคุณปรารถนาที่จะมองเห็นโลก
    อย่างแจ่มชัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • 11:18 - 11:20
    ขอบคุณค่ะ
  • 11:20 - 11:25
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมคุณคิดว่าคุณถูก -- ทั้ง ๆ ที่คุณผิด
Speaker:
จูเลีย กาเลฟ (Julia Galef)
Description:

ทัศนคติคือทุกสิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันเกี่ยวกับการตรวจสอบความเชื่อของตัวคุณเอง คุณเป็นเหมือนทหารซึ่งมักปกป้องความคิดเห็นของตนเองไม่ว่าอย่างไรก็ตามหรือเปล่า หรือเหมือนทหารพรานที่ถูกกระตุ้นโดยความสงสัยใคร่รู้ จูเลีย กาเลฟ วิเคราะห์ถึงแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังกรอบความคิดสองแบบนี้ และเหตุใดมันจึงมีอิทธิพลต่อวิธิที่เราตีความข้อมูล พร้อมด้วยบทเรียนทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจของฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 19 เมื่อความคิดเห็นที่คุณยึดมั่นถูกทดสอบ กาเลฟตั้งคำถามว่า: "คุณปรารถนาสิ่งใดมากที่สุด คุณปรารถนาที่จะปกป้องความเชื่อของตนเองหรือคุณเห็นโลกอย่างแจ่มชัดที่สุดเท่าที่เป็นไปได้"

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:37

Thai subtitles

Revisions Compare revisions