Return to Video

ความเป็นจริงอะไรที่คุณเนรมิตให้กับตัวคุณเอง

  • 0:01 - 0:03
    ตอนโดโรธียังเป็นเด็กหญิงตัวน้อย
  • 0:03 - 0:04
    เธอชื่นชอบปลาทองมาก
  • 0:05 - 0:09
    พ่อของเธออธิบายให้ฟังว่า
    ปลาว่ายน้ำโดยการสะบัดหางไว ๆ
  • 0:09 - 0:10
    เพื่อพุ่งทะยานตัวเองไปในน้ำ
  • 0:11 - 0:13
    โดโรธีตัวน้อยตอบกลับทันที
    อย่างไม่ลังเล
  • 0:13 - 0:16
    "ค่ะ ป๊ะป๋า แล้วปลาก็ว่ายน้ำถอยหลัง
    โดยการส่ายหัวไปมาด้วยค่ะ"
  • 0:16 - 0:18
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:18 - 0:21
    ในใจของเธอ มันคือความจริง
    เช่นเดียวกับความจริงในเรื่องอื่น ๆ
  • 0:21 - 0:23
    ปลาว่ายน้ำถอยหลังโดย
    การส่ายหัวไปมา
  • 0:23 - 0:25
    เธอเชื่อเช่นนั้น
  • 0:25 - 0:28
    แท้จริงแล้ว ในชีวิตของพวกเรา
    ล้วนเต็มไปด้วยปลาที่ว่ายน้ำถอยหลัง
  • 0:28 - 0:31
    พวกเราสร้างสมมติฐานและ
    ก้าวกระโดดสู่ตรรกะอย่างผิด ๆ
  • 0:31 - 0:32
    พวกเราเก็บซ่อนอคติไว้ในใจ
  • 0:32 - 0:34
    เรารู้แต่ว่า พวกเราทำถูก
    ส่วนพวกเขาเป็นฝ่ายผิด
  • 0:34 - 0:36
    พวกเราเกรงว่าจะเป็นคนที่แย่ที่สุด
  • 0:36 - 0:38
    เราใฝ่หา
    ความสมบูรณ์แบบที่ไม่อาจถึงพร้อม
  • 0:39 - 0:41
    เราเฝ้าบอกตัวเองว่า
    อะไรคือสิ่งที่เราทำได้และทำไม่ได้
  • 0:42 - 0:46
    ในใจเรา ก็เหมือนปลาที่ว่ายน้ำถอยหลัง
    โดยการสะบัดหัวไปมาอย่างลนลาน
  • 0:46 - 0:47
    และเรายังไม่รู้สึกตัวอีกด้วย
  • 0:49 - 0:51
    ผมจะขอกล่าวถึงข้อเท็จจริง
    5 ประการของผมเองแก่ทุกท่าน
  • 0:51 - 0:53
    โดยมีอยู่ข้อเดียวที่โกหก
  • 0:54 - 0:59
    หนึ่ง ผมจบจากฮาร์วาร์ดตอนอายุ 19
    ด้านคณิตศาสตร์ ด้วยคะแนนเกียรตินิยม
  • 1:00 - 1:04
    สอง ปัจจุบันผมทำธุรกิจก่อสร้าง
    ในเมืองออร์แลนโด
  • 1:05 - 1:08
    สาม ผมเคยแสดงบทนำใน
    ละครซิทคอมทางโทรทัศน์
  • 1:09 - 1:14
    สี่ ผมสูญเสียการมองเห็นจากการเป็น
    โรคสายตาทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก
  • 1:15 - 1:19
    ห้า ผมเคยเป็นเจ้าหน้าที่ศาลใน
    ศาลสูงสุดของสหรัฐฯ สองแห่ง
  • 1:20 - 1:22
    ข้อไหนที่เป็นเรื่องโกหกครับ
  • 1:24 - 1:25
    ที่แท้แล้ว เป็นจริงหมดทุกข้อ
  • 1:26 - 1:28
    ใช่ครับ ทั้งหมดเป็นเรื่องจริง
  • 1:29 - 1:31
    (เสียงปรบมือ)
  • 1:33 - 1:36
    ณ จุดนี้ คนส่วนใหญ่คงสนใจแต่
    การแสดงละครโทรทัศน์สินะครับ
  • 1:36 - 1:38
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:40 - 1:41
    ผมทราบได้จากประสบการณ์
  • 1:42 - 1:46
    ก็ได้ครับ เป็นเรื่อง "ระฆังช่วยชีวิต :
    ชั้นเรียนใหม่" ทางช่อง NBC ครับ
  • 1:46 - 1:49
    และผมแสดงเป็น วิสเซิล ไวเซล
    (Weasel Wyzell)
  • 1:50 - 1:54
    ในเรื่องเป็นคนที่มีบุคลิกออกเฉิ่ม ๆ
    และเป็นเด็กเนิร์ด
  • 1:54 - 1:59
    ซึ่งทำให้เกิดความท้าทาย
    ในการแสดงมาก
  • 1:59 - 2:01
    สำหรับเด็กผู้ชายอายุ 13
    อย่างผม
  • 2:01 - 2:02
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:03 - 2:06
    คราวนี้ คุณรู้สึกอึดอัดกับข้อ 4
    อาการตาบอดของผมบ้างไหมครับ
  • 2:07 - 2:08
    เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
  • 2:09 - 2:12
    เราได้สร้างสมมติฐานขึ้นมา
    ที่ใคร ๆ ต่างเรียกว่า ความพิการ
  • 2:12 - 2:15
    ในฐานะผู้พิการทางสายตาคนหนึ่ง
    ผมต้องเผชิญกับการเข้าใจผิด ๆ ของคนอื่น
  • 2:15 - 2:17
    เกี่ยวกับความสามารถของผมอยู่ทุกวัน
  • 2:19 - 2:21
    อย่างไรก็ดีครับ ประเด็นของวันนี้
    ไม่ใช่เรื่องอาการตาบอดของผม
  • 2:21 - 2:22
    แต่มันเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์
  • 2:23 - 2:27
    การมองไม่เห็นได้สอนให้ผม
    ใช้ชีวิตอย่างเปิดตาเปิดใจให้กว้าง
  • 2:28 - 2:31
    มันสอนผมให้เห็น
    เหล่าปลาที่ว่ายน้ำถอยหลัง
  • 2:31 - 2:32
    ภายในใจที่เราปรุงแต่งขึ้นมา
  • 2:32 - 2:34
    การตาบอดได้จับให้ไปอยู่ในจุดโฟกัส
  • 2:36 - 2:38
    ความรู้สึกของการมองเห็นเป็นเช่นไร
    น่ะหรือ
  • 2:39 - 2:40
    มันเป็นไปอย่างฉับพลัน และ
    รับข้อมูลเพียงอย่างเดียว
  • 2:41 - 2:43
    เพียงแค่ลืมตาก็มองเห็นโลก
  • 2:43 - 2:45
    เห็นด้วยตาแล้วจึงเชื่อ
    ภาพที่เห็นคือความเป็นจริง
  • 2:45 - 2:46
    ใช่ไหมครับ
  • 2:47 - 2:49
    ครับ นั่นคือสิ่งที่ผมเคยคิด
  • 2:50 - 2:54
    เมื่ออายุ 12 ถึง 25
    จอประสาทตาผมเสื่อมสภาพไปทีละน้อย
  • 2:55 - 2:58
    การมองเห็นก็เริ่มแปลกขึ้นเรื่อย ๆ
  • 2:58 - 3:01
    ในห้องโถงของบ้านหรรษากระจกเงา
    และภาพลวงตาที่งานเทศกาล
  • 3:02 - 3:04
    พนักงานขายที่ผมรู้สึกสบายใจที่
    ได้เห็นในร้านค้า
  • 3:04 - 3:05
    แท้จริงแล้ว คือหุ่นจำลอง
  • 3:06 - 3:07
    เมื่อไปถึงที่ที่ผมจะล้างมือ
  • 3:07 - 3:11
    ทันใดนั้น ผมก็เห็นว่าที่ผมจับอยู่นั้น
    คือโถปัสสาวะ ไม่ใช่อ่างล้างมือ
  • 3:11 - 3:12
    ต่อเมื่อนิ้วได้สัมผัสถึงรูปร่าง
    จริง ๆ ของมัน
  • 3:13 - 3:15
    เพื่อนคนหนึ่งเคยบรรยาย
    รูปถ่ายที่อยู่ในมือผม
  • 3:15 - 3:17
    เพียงวิธีนี้ผมจึงจะมองเห็น
    ภาพจริงที่ปรากฎ
  • 3:19 - 3:23
    วัตถุปรากฎขึ้น ปรับเปลี่ยนรูปร่าง
    และสูญหายไปในความเป็นจริงของผม
  • 3:24 - 3:27
    มันทั้งลำบากและเหนื่อยล้าที่จะมองเห็น
  • 3:28 - 3:31
    ผมปะติดปะต่อชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
    เป็นภาพที่เกิดเพียงชั่วครู่
  • 3:31 - 3:33
    วิเคราะห์คำใบ้ปริศนาอย่างมีสติ
  • 3:33 - 3:36
    มองหาหลักการบางอย่าง
    ในภาพอันลานตาที่แตกเป็นชิ้น ๆ
  • 3:37 - 3:38
    จนกระทั่งผมมองไม่เห็นอะไรเลย
  • 3:40 - 3:41
    ผมได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่พวกเราเห็น
  • 3:41 - 3:44
    มันไม่ใช่ความเป็นจริงโดยสากล
  • 3:44 - 3:46
    มันไม่ใช่ความเป็นจริงเชิงวัตถุวิสัย
  • 3:48 - 3:53
    สิ่งที่เราเห็นคือความเป็นจริงเฉพาะตัว
    เฉพาะบุคคล และความเป็นจริงเสมือน
  • 3:53 - 3:55
    ที่สมองของเราได้สร้างมันขึ้นมา
    อย่างชาญฉลาด
  • 3:56 - 3:58
    ขอผมอธิบายด้วยความรู้ทาง
    ประสาทวิทยาสักเล็กน้อยนะครับ
  • 3:58 - 4:01
    เปลือกสมองส่วนการมองเห็นครองพื้นที่
    ประมาณ 30 เปอร์เซนต์ของสมองคุณ
  • 4:02 - 4:05
    นั่นเทียบได้กับส่วนการรับสัมผัส
    ที่มีอยู่ประมาณ 8 เปอร์เซนต์
  • 4:05 - 4:07
    และ 2-3 เปอร์เซนต์ในส่วนของการฟัง
  • 4:08 - 4:11
    ทุกวินาที ตาของคุณสามารถส่งข้อมูล
    ไปยังเปลือกสมองส่วนการมองเห็น
  • 4:11 - 4:14
    มากเท่ากับข้อมูลนับสองพันล้านข้อมูล
  • 4:14 - 4:18
    ร่างกายส่วนอื่น ๆ จะสามารถส่งข้อมูล
    ไปยังสมองของคุณเพิ่มได้อีกพันล้านเท่านั้น
  • 4:19 - 4:23
    การมองเห็นจึงใช้หนึ่งในสาม
    ปริมาตรของเนื้อสมองทั้งหมด
  • 4:23 - 4:26
    และสามารถกล่าวได้ว่าประมาณสองในสาม
    นั้นเป็นแหล่งประมวลผลข้อมูลของสมอง
  • 4:27 - 4:28
    มันจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลย
  • 4:28 - 4:30
    ว่าภาพลวงตาของการมองเห็น
    ถึงไม่อาจต้านทานได้อยู่
  • 4:30 - 4:33
    แต่มันไม่ได้ก่อความผิดพลาด
    เพราะการมองเห็นคือภาพมายา
  • 4:34 - 4:36
    ตรงนี้แหละที่เริ่มน่าสนใจ
  • 4:36 - 4:38
    ในการสร้างประสบการณ์การมองเห็น
    สิ่งต่าง ๆ
  • 4:38 - 4:41
    สมองของคุณจะอ้างอิงจากความเข้าใจ
    เชิงมโนทัศน์ของคุณที่มีต่อโลก
  • 4:41 - 4:45
    ความรู้อื่น ความทรงจำ ความคิดเห็น
    อารมณ์ความรู้สึก และการจดจ่อ
  • 4:46 - 4:50
    ทั้งหมดนี้ และนอกเหนือจากนี้ นำมา
    เชื่อมโยงสมองของคุณกับการมองเห็น
  • 4:51 - 4:54
    การเชื่อมโยงนี้ทำงานสองทิศทาง
    และมักเกิดขึ้นที่จิตใต้สำนึก
  • 4:54 - 4:56
    ยกตัวอย่างเช่น
  • 4:56 - 4:58
    สิ่งที่คุณเห็น
    จะมีอิทธิพลต่อความรู้สึก
  • 4:59 - 5:01
    และความรู้สึก
    สามารถไปเปลี่ยนสิ่งที่คุณเห็นได้
  • 5:02 - 5:04
    งานวิจัยจำนวนมากพิสูจน์ถึงเรื่องนี้
  • 5:05 - 5:06
    ตัวอย่างเช่นหากคุณถูกขอให้ประมาณ
  • 5:06 - 5:10
    ความเร็วในการเดินของคนที่อยู่ในวิดิโอ
  • 5:10 - 5:14
    คำตอบของคุณจะต่างออกไป หากบอกให้
    คุณประมาณความเร็วของเสือชีตาร์หรือเต่า
  • 5:15 - 5:18
    เนินเขาจะดูสูงชันขึ้น
    หากคุณเพิ่งออกกำลังกายมา
  • 5:18 - 5:21
    และตำแหน่งของมันจะดูไกลออกไป
  • 5:21 - 5:22
    หากคุณสะพายกระเป๋าเป้ใบหนัก ๆ
  • 5:24 - 5:27
    เรามาพูดกันถึงเรื่อง
    ความขัดแย้งที่เป็นพื้นฐานกันครับ
  • 5:28 - 5:33
    สิ่งที่คุณเห็นคือความซับซ้อนของ
    โครงสร้างทางจิตที่ตัวคุณสร้างขึ้นเอง
  • 5:33 - 5:34
    แต่เป็นประสบการณ์ที่คุณรับข้อมูล
  • 5:34 - 5:37
    เสมือนเป็นทางตรงในการสร้างภาพ
    โลกรอบ ๆ ตัวคุณ
  • 5:38 - 5:40
    คุณเนรมิตความเป็นจริงให้ตัวเอง
    และคุณก็เชื่อความจริงนั้น
  • 5:42 - 5:44
    ผมเคยเชื่อว่าเป็นความจริงของผม
    จนมันพังทลาย
  • 5:45 - 5:47
    การเสื่อมสภาพของดวงตา
    ได้ทำให้ภาพลวงตาสลายลง
  • 5:49 - 5:51
    การมองเห็นเป็นเพียงหนทางเดียว
  • 5:51 - 5:53
    ที่พวกเราก่อร่างความเป็นจริงของเรา
  • 5:53 - 5:56
    พวกเราเนรมิตความเป็นจริงของตัวเอง
    ในหลากหลายทาง
  • 5:57 - 6:00
    ผมขอนำเรื่องความกลัวมาเป็นตัวอย่าง
    นะครับ
  • 6:01 - 6:04
    ความกลัวได้บิดเบือนความจริงของคุณ
  • 6:06 - 6:10
    ภายใต้ตรรกะของความกลัวที่บิดเบี้ยว
    อะไรก็ตามล้วนดูดีกว่าความรู้สึกไม่มั่นคง
  • 6:10 - 6:13
    ความกลัวเติมเต็มช่องว่าง
    ในทุกสถานการณ์
  • 6:13 - 6:15
    ดึงความสนใจจากสิ่งที่คุณรู้
    ไปหาสิ่งที่คุณกลัวจับจิต
  • 6:15 - 6:17
    นำพามาสู่สถานที่อันเลวร้ายที่สุด
    ของความแยกแยะไม่ออก
  • 6:18 - 6:19
    ด้วยการตั้งข้อสันนิษฐาน
    มาแทนที่เหตุผล
  • 6:20 - 6:23
    นักจิตวิทยาให้คำนิยามไว้ว่า
    การสร้างความเลวร้าย (awfulizing)
  • 6:23 - 6:24
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:24 - 6:26
    ใช่ไหมครับ
  • 6:26 - 6:29
    ความกลัวแทนที่สิ่งที่คุณไม่รู้
    ด้วยการคิดไปในแง่เลวร้ายเกินจริง
  • 6:30 - 6:32
    ณ ตอนนี้
    ความกลัวคือการตระหนักรู้ในตัวเอง
  • 6:32 - 6:34
    เมื่อคุณเผชิญความต้องการที่ยิ่งใหญ่
  • 6:34 - 6:36
    ให้มองออกไปภายนอกตัวคุณ
    และคิดอย่างมีวิจารณญาณ
  • 6:36 - 6:39
    ความกลัวจะทำลายความสงบ
    ส่วนลึกในจิตใจคุณ
  • 6:39 - 6:41
    บิดเบือนและบีบมุมมอง
    ของคุณให้แคบลง
  • 6:41 - 6:43
    ถาโถมความสามารถ
    ในการคิดวิเคราะห์ของคุณให้จมลง
  • 6:43 - 6:45
    ด้วยอารมณ์ความรู้สึกแปรปรวนต่าง ๆ
    ที่เอ่อล้น
  • 6:46 - 6:49
    เมื่อคุณสบโอกาสที่บีบบังคับ
    ให้ลงมือทำ
  • 6:49 - 6:51
    ความกลัวจะเป่าหูคุณ
    ให้ไม่ต้องลงมือทำอะไร
  • 6:51 - 6:55
    ล่อลวงให้คุณได้แต่นิ่งดูดาย
    ให้มันทำนายว่าตัวคุณเป็นเช่นนั้น
  • 6:58 - 7:00
    ตอนที่ผมถูกวินิจฉัยด้วยโรคตาบอด
  • 7:00 - 7:03
    ผมรู้ว่าการตาบอดจะทำลายชีวิตผม
  • 7:04 - 7:07
    การตาบอดคือคำตัดสินโทษประหาร
    ความเป็นอิสระเสรีของผม
  • 7:07 - 7:09
    มันเป็นจุดจบของ
    การประสบความสำเร็จของผม
  • 7:11 - 7:15
    การตาบอดหมายถึง
    ผมจะใช้ชีวิตที่ไม่อาจประทับใจ
  • 7:15 - 7:16
    ต่ำต้อยและทุกข์ระทม
  • 7:16 - 7:18
    แล้วก็คงจะโดดเดี่ยว
  • 7:18 - 7:19
    ผมทราบดี
  • 7:21 - 7:24
    นี่คือนิยายที่ถือกำเนิดจาก
    ความกลัวของผม และผมก็เชื่อมัน
  • 7:25 - 7:27
    เป็นเรื่องโกหก
    แต่มันคือความเป็นจริงของผม
  • 7:27 - 7:31
    ดังเช่นเหล่าปลาที่ว่ายน้ำถอยหลัง
    ในความคิดของโดโรธี
  • 7:32 - 7:34
    หากผมไม่ได้เผชิญหน้ากับ
    ความกลัวที่เป็นจริงของผม
  • 7:34 - 7:36
    ผมคงจะใช้ชีวิตแบบนั้น
  • 7:36 - 7:37
    ผมแน่ใจว่าเป็นอย่างนั้น
  • 7:40 - 7:42
    ดังนั้นคุณจะใช้ชีวิต
    อย่างเปิดตาเปิดใจได้อย่างไร
  • 7:43 - 7:45
    มันคือกฎเกณฑ์ที่ต้องเรียนรู้
  • 7:46 - 7:48
    สามารถสอนกันได้ ฝึกกันได้
  • 7:49 - 7:50
    ผมจะสรุปอย่างสั้น ๆ นะครับ
  • 7:52 - 7:54
    คุณต้องรับผิดชอบต่อตัวคุณเอง
  • 7:54 - 7:56
    ในทุกขณะ ทุกความคิด
  • 7:56 - 7:57
    และในทุกรายละเอียด
  • 7:58 - 8:00
    มองให้โผล่พ้นความกลัวของคุณ
  • 8:00 - 8:02
    ตระหนักว่ามันคือสมมุติฐานของคุณ
  • 8:02 - 8:03
    ใช้พลังจากความเข้มแข็งในใจ
  • 8:03 - 8:06
    เงียบเสียงคำติเตียนที่อยู่ในตัว
  • 8:06 - 8:08
    แก้ไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ
    โชคชะตาและความสำเร็จ
  • 8:09 - 8:13
    ยอมรับจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง
    และเข้าใจในความต่างนั้น
  • 8:14 - 8:15
    เปิดใจของคุณออกรับ
  • 8:15 - 8:16
    คำอวยพรอันมากมาย
  • 8:17 - 8:20
    ความกลัวของคุณ
    คำติเตียนของคุณ
  • 8:20 - 8:22
    ฮีโร่ของคุณ ศัตรูตัวร้ายของคุณ
  • 8:22 - 8:25
    เหล่านี้เป็นข้อแก้ตัวของคุณทั้งสิ้น
  • 8:25 - 8:27
    การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง
    การคิดหาทางลัด
  • 8:27 - 8:29
    การให้เหตุผลแก้ตัว
    การยอมแพ้
  • 8:30 - 8:33
    เหล่านี้คือนิยายที่คุณ
    เข้าใจว่ามันคือความจริง
  • 8:34 - 8:36
    จงเลือกที่จะมองผ่านมันไป
  • 8:36 - 8:37
    จงเลือกที่จะปล่อยมันไป
  • 8:38 - 8:41
    คุณคือผู้เนรมิตความเป็นจริง
    ของตัวคุณเอง
  • 8:42 - 8:45
    ด้วยการเสริมสร้างความแข็งแกร่งนั้น
    ความรับผิดชอบอย่างเต็มรูปแบบจะตามมา
  • 8:46 - 8:52
    ผมเลือกที่จะก้าวออกมาจากอุโมงค์แห่ง
    ความกลัวมายังดินแดนนิรนามอันเป็นปริศนา
  • 8:52 - 8:55
    ผมได้เลือกที่จะสร้างชีวิตที่เปี่ยมสุข
  • 8:56 - 8:58
    ห่างไกลจากความโดดเดี่ยว
  • 8:58 - 9:01
    ผมได้ใช้ชีวิตอันสวยงาม
    ร่วมกับโดโรธี
  • 9:01 - 9:03
    กับภรรยาแสนสวยของผม
  • 9:03 - 9:05
    กับเจ้าแฝดสามที่เราเรียกว่า
    "ทริปสกี้"
  • 9:06 - 9:08
    และสมาชิกคนล่าสุด
    ของครอบครัวเรา
  • 9:08 - 9:10
    เจ้าตัวเล็ก
    "น้องเคลเมนไทน์"
  • 9:11 - 9:12
    คุณหวาดกลัวอะไรครับ
  • 9:14 - 9:15
    คำโกหกอะไร
    ที่คุณพร่ำบอกกับตัวเอง
  • 9:17 - 9:19
    คุณปรุงแต่งความเป็นจริงและ
    เขียนลงนิยายของคุณอย่างไร
  • 9:20 - 9:23
    ความเป็นจริงอะไร
    ที่คุณเนรมิตให้กับตัวคุณเอง
  • 9:24 - 9:27
    ในอาชีพการงาน ในชีวิตส่วนตัว
    และในด้านความสัมพันธ์
  • 9:27 - 9:29
    รวมถึงในหัวใจและจิตวิญญาณ
  • 9:29 - 9:31
    ปลาที่ว่ายน้ำถอยหลังของคุณ
    ทำร้ายคุณได้อย่างใหญ่หลวง
  • 9:33 - 9:36
    พวกมันเป็นตัวบ่อนทำลายในบรรดาโอกาส
    ที่พลาดไปและศักยภาพที่ไม่เคยล่วงรู้
  • 9:37 - 9:40
    และยังก่อความรู้สึกไม่มั่นคงและ
    ความไม่เชื่อใจ
  • 9:40 - 9:42
    ที่จะแสวงหาความสำเร็จสมปรารถนา
    และการปฏิสัมพันธ์
  • 9:44 - 9:46
    ผมจะกระตุ้นให้คุณค้นหามันออกมาให้ได้
  • 9:47 - 9:52
    เฮเลน เคลเลอร์ เคยกล่าวไว้ว่า
    สิ่งเดียวที่เลวร้ายกว่าการตาบอด
  • 9:52 - 9:54
    คือการมองเห็น แต่ปราศจากวิสัยทัศน์
  • 9:55 - 9:59
    สำหรับผมแล้ว การตาบอด
    คือพรอันประเสริฐ
  • 9:59 - 10:01
    เพราะการตาบอด
    ได้มอบวิสัยทัศน์แก่ผม
  • 10:02 - 10:04
    ผมหวังว่าคุณจะได้พบ
    ในสิ่งที่ผมพบนะครับ
  • 10:04 - 10:05
    ขอบคุณครับ
  • 10:06 - 10:08
    (เสียงปรบมือ)
  • 10:21 - 10:24
    บรูโน จิสซานี : คุณไอแซค ก่อนที่
    จะลงจากเวที ผมมีคำถามหนึ่งครับ
  • 10:24 - 10:28
    ท่านผู้ชมของเราเป็น ผู้ประกอบการ
    ผู้ปฏิบัติงาน นักนวัตกรรม
  • 10:28 - 10:31
    คุณซึ่งเป็นซีอีโอของบริษัท
    แห่งหนึ่งในรัฐฟลอริดา
  • 10:31 - 10:34
    และหลายท่านคงสงสัยว่า
  • 10:34 - 10:36
    การเป็นซีอีโอที่มองไม่เห็น
    นั้นเป็นอย่างไรครับ
  • 10:36 - 10:40
    คุณมีอุปสรรคสำคัญแบบไหน
    และคุณผ่านมันมาได้อย่างไรครับ
  • 10:40 - 10:43
    ไอแซค ลิดสกี: ครับ
    อุปสรรคอันใหญ่ยิ่งนี้กลายมาเป็นพรของผมครับ
  • 10:43 - 10:45
    คือ ผมจะมองไม่เห็นท่าทีตอบกลับจากผู้คนครับ
  • 10:46 - 10:48
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:48 - 10:50
    แล้วพวกเสียงล่ะครับ
    ไอแซค : ได้รับครับ
  • 10:50 - 10:54
    ตัวอย่างเช่น
    ในการประชุมหัวหน้าแผนก
  • 10:54 - 10:56
    ผมจะไม่เห็นสีหน้าท่าทาง
    ของพวกเขาครับ
  • 10:58 - 11:01
    ผมได้เรียนรู้ที่จะขอให้มีการ
    บอกผลตอบกลับรูปแบบคำพูดมากขึ้น
  • 11:01 - 11:05
    โดยทั่วไปผมจะให้พวกเขาบอกผม
    เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาคิด
  • 11:06 - 11:08
    ซึ่งในเรื่องนี้
  • 11:08 - 11:12
    อย่างที่ผมเคยบอก มันกลายเป็นพร
    อันแท้จริงให้ทั้งโดยส่วนตัวและบริษัท
  • 11:12 - 11:15
    เพราะเราจะมีการสื่อสารกัน
    ในระดับที่ลึกซึ้งมากขึ้น
  • 11:15 - 11:17
    พวกเราหลีกเลี่ยงความคลุมเครือ
  • 11:18 - 11:24
    และที่สำคัญที่สุด พวกเขาต่างรู้ว่า
    สิ่งที่พวกเขาคิดเป็นสิ่งสำคัญจริง ๆ
  • 11:27 - 11:29
    บรูโน: คุณไอแซค ขอบคุณที่มา TED นะครับ
    ไอแซค: ขอบคุณครับ คุณบรูโน
  • 11:29 - 11:33
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ความเป็นจริงอะไรที่คุณเนรมิตให้กับตัวคุณเอง
Speaker:
ไอแซค ลิดสกี (Isaac Lidsky)
Description:

ความจริงไม่ใช่สิ่งที่คุณรับรู้ แต่เป็นสิ่งที่จิตของคุณคิดปรุงแต่งขึ้นมาเอง ไอแซค ลิดสกี ได้เรียนรู้บทเรียนอันลึกซึ้งนี้โดยตรง ยามที่เหตุการณ์ในชีวิตที่ไม่เป็นดังหวังได้ให้การตระหนักรู้อันทรงคุณค่าแก่เขา ในการบรรยายถึงชืวิตส่วนตัวและการครุ่นคิดไตร่ตรองตนเองนี้ เขาได้กระตุ้นให้เราทุกคนปล่อยวางข้ออ้าง การมโนนึกคิดไปเอง และความกลัวทั้งหลาย แล้วยอมรับในความรับผิดชอบอันแสนสุดยอดของการเป็นผู้เนรมิตความเป็นจริงให้แก่ตัวเราเอง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:46

Thai subtitles

Revisions