Return to Video

คิดว่าอีเมลของคุณเป็นส่วนตัวหรือ? คิดเสียใหม่เถอะ

  • 0:01 - 0:06
    25 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ที่ เซิร์น (CERN)
    ได้สร้าง เวิลด์ ไวด์ เว็บ ขึ้นมา
  • 0:06 - 0:10
    ตั้งแต่นั้นมา อินเตอร์เน็ตก็ได้เปลี่ยน
    วิธีการสื่อสารของเรา
  • 0:10 - 0:14
    วิธีที่เราทำธุรกิจ และแม้แต่วิถี
    ความเป็นอยู่ของเรา
  • 0:14 - 0:16
    ในหลายๆด้าน
  • 0:16 - 0:21
    แนวคิด ที่ทำให้เกิดกูเกิล เฟสบุ๊ค
    ทวิตเตอร์ และอื่นๆอีกมาก
  • 0:21 - 0:23
    ได้เปลี่ยนชีวิตของเรา
  • 0:23 - 0:27
    และนี่ได้นำประโยชน์มากมายมาให้เรา
    อย่างเช่น สังคมที่เชื่อมต่อถึงกันยิ่งขึ้น
  • 0:27 - 0:30
    อย่างไรก็ตาม นี่ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง
  • 0:31 - 0:34
    ทุกวันนี้ คนธรรมดาๆ มีข้อมูลส่วนตัว
  • 0:34 - 0:36
    ในอินเทอร์เน็ตอยู่มาก จนไม่น่าเชื่อ
  • 0:36 - 0:40
    และเราก็เพิ่มข้อมูลออนไลน์นี้เข้าไปอีก
    ทุกๆ ครั้งที่เราโพสต์เข้าไป ในเฟสบุ๊ค
  • 0:40 - 0:42
    ในแต่ละครั้งที่เราค้นข้อมูลในกูเกิล
  • 0:42 - 0:44
    และในแต่ละครั้ง ที่เราส่งอีเมล
  • 0:44 - 0:46
    พวกเราหลายคน อาจจะคิดว่า
  • 0:46 - 0:49
    อีเมลแค่อันเดียว ไม่มีอะไรในนั้น
  • 0:49 - 0:53
    แต่ถ้าคุณพิจารณา ปริมาณอีเมลของแต่ละปี
  • 0:53 - 0:56
    หรือบางที แม้กระทั่งอีเมลตลอดชีวิต
  • 0:56 - 0:58
    รวมกันทั้งหมดแล้ว มันบอกอะไรได้มากมาย
  • 0:58 - 1:01
    มันบอกว่า คุณได้ไปที่ไหนมา คุณได้ไปพบใคร
  • 1:01 - 1:05
    และในหลายๆ ด้าน แม้กระทั่ง
    สิ่งที่คุณกำลังคิดอยู่
  • 1:05 - 1:09
    และที่น่ากลัวกว่านั้น คือ
    ข้อมูลของเรา อยู่ไปตลอดกาล
  • 1:09 - 1:12
    ข้อมูลของคุณจึงมีชีวิตอยู่ได้ นานกว่าคุณ
  • 1:12 - 1:16
    สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือ พวกเราควบคุม
    ข้อมูลของเราไม่ได้
  • 1:16 - 1:18
    รวมถึง ความลับส่วนตัวของเราด้วย
  • 1:18 - 1:21
    ดังนั้นปีนี้ เมื่ออินเตอร์เน็ตมีอายุ 25 ปี
  • 1:21 - 1:24
    จึงสำคัญสำหรับเรามาก ที่จะใช้เวลาสั้นๆ
  • 1:24 - 1:26
    เพื่อมาคิดถึงนัยที่เกิดจากเรื่องนี้
  • 1:26 - 1:28
    เราต้องมาคิดอย่างจริงจัง
  • 1:28 - 1:30
    เราเสียความเป็นส่วนตัวไปแล้ว
  • 1:30 - 1:34
    แต่สิ่งที่เราเสียไปด้วยนั้น คือ
    แนวคิดในเรื่องความเป็นส่วนตัวนั่นเอง
  • 1:34 - 1:36
    ถ้าคุณมาคิดถึงมัน
  • 1:36 - 1:40
    เราส่วนใหญ่ที่นี่น่าจะจำได้ว่า
    ชีวิตก่อนจะมีอินเตอร์เน็ตนั้น เป็นอย่างไร
  • 1:40 - 1:42
    แต่ในวันนี้ มีเด็กรุ่นใหม่แล้ว
  • 1:42 - 1:46
    ที่ถูกสอนมา ตั้งแต่เด็ก
    ให้ส่งข้อมูลทุกอย่างถึงกัน ทางออนไลน์
  • 1:46 - 1:50
    และเป็นคนในรุ่นที่จะไม่รู้จัก
    ในสมัยที่ข้อมูลเป็นเรื่องส่วนตัว
  • 1:50 - 1:54
    ดังนั้นถ้าเรายังไปตามทางนี้
    อีก 20 ปี จากนี้ไป
  • 1:54 - 1:57
    คำว่า "ความเป็นส่วนตัว" ก็จะมีความหมาย
    ที่ต่างออกไปมาก
  • 1:57 - 1:59
    จากความหมายที่คุณและผมเข้าใจ
  • 1:59 - 2:01
    มันจึงถึงเวลาแล้วสำหรับเรา
    ที่จะใช้เวลามาคิดว่า
  • 2:01 - 2:04
    มีอะไรที่เราจะทำได้บ้างหรือไม่
    เกี่ยวกับเรื่องนี้?
  • 2:04 - 2:07
    และผมก็เชื่อว่ามี
  • 2:07 - 2:10
    เรามาดูรูปแบบของการสื่อสาร
    ที่ใช้กันมากที่สุดแบบหนึ่ง
  • 2:10 - 2:12
    ในโลกทุกวันนี้ คือ อีเมล
  • 2:12 - 2:16
    ก่อนการประดิษฐ์อีเมลขึ้นมานั้น
    ส่วนใหญ่เราสื่อสารกันทางจดหมาย
  • 2:16 - 2:19
    และกระบวนการนั้นง่ายๆ
  • 2:19 - 2:22
    คุณเริ่มด้วยการเขียนข้อความ บนกระดาษ
  • 2:22 - 2:24
    แล้วก็ใส่เข้าไปในซองจดหมายปิดผนึก
  • 2:24 - 2:26
    และจากตรงนั้น คุณก็ไปส่งจดหมายได้เลย
  • 2:26 - 2:28
    หลังจากที่ติดแสตมป์ และจ่าหน้าซองแล้ว
  • 2:28 - 2:30
    แต่โชคไม่ดี ในทุกวันนี้
  • 2:30 - 2:33
    เมื่อเราส่งอีเมล
    เราไม่ได้กำลังส่งจดหมาย
  • 2:33 - 2:35
    สิ่งที่เรากำลังส่ง ในหลายๆรูปแบบนั้น
    จริงๆ คือ โพสต์การ์ด
  • 2:35 - 2:39
    และมันเป็นโพสการ์ด ในความรู้สึกที่ว่า
    ทุกคนที่เห็นมัน
  • 2:39 - 2:43
    ระหว่างเวลาที่มันออกจากคอมพิวเตอร์ของคุณ
    จนเมื่อมันไปถึงผู้รับนั้น
  • 2:43 - 2:45
    จริงๆแล้ว สามารถอ่านเนื้อหาทั้งหมดได้
  • 2:45 - 2:49
    วิธีแก้ปัญหานั้น รู้กันมาระยะหนึ่งแล้ว
  • 2:49 - 2:51
    และก็มีความพยายามหลายครั้ง ที่จะทำกัน
  • 2:51 - 2:54
    วิธีแก้ปัญหาแบบพื้นฐานที่สุด คือ
    การใช้วิธีเข้ารหัส
  • 2:54 - 2:56
    แนวคิดนี้ง่ายๆ
  • 2:56 - 2:57
    เริ่มแรก คุณเข้ารหัสการเชื่อมต่อ
  • 2:57 - 3:00
    ระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณ
    และอีเมลเซอร์เวอร์
  • 3:00 - 3:04
    แล้วคุณก็เข้ารหัสข้อมูล
    ขณะที่มันอยู่ บนตัวเซอร์เวอร์เอง
  • 3:04 - 3:06
    แต่ก็มีปัญหาในวิธีการนี้
  • 3:06 - 3:09
    นั่นก็คือ อีเมลเซอร์เวอร์นั้น ก็มี
    กุญแจ ที่จะถอดรหัสนั้นด้วย
  • 3:09 - 3:13
    ตอนนี้คุณก็เลยมีแม่กุญแจที่ใหญ่มาก
    กับลูกกุญแจสำหรับไข วางอยู่ใกล้ๆ
  • 3:13 - 3:16
    ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลไหนๆก็ตาม
    สามารถขอลูกกุญแจนั้น
  • 3:16 - 3:18
    และดูข้อมูลของคุณได้
    โดยถูกต้องตามกฏหมาย
  • 3:18 - 3:21
    และทั้งหมดนี้เกิดขึ้น
    โดยที่คุณไม่รู้อะไรเลย
  • 3:21 - 3:26
    ดังนั้น วิธีที่เราแก้ปัญหานี้
    จริงๆ มันค่อนข้างง่าย ตามหลักการแล้ว
  • 3:26 - 3:29
    คือ คุณให้ทุกคนถือรหัสของตัวเองไว้
  • 3:29 - 3:32
    แล้วก็ทำให้แน่ใจได้ว่า
    เซอร์เวอร์ ไม่มีรหัสนั้นจริงๆ
  • 3:32 - 3:34
    ก็ดูเหมือนเป็นสามัญสำนึกธรรมดา
    ใช่มั๊ยครับ
  • 3:34 - 3:38
    คำถามต่อมา จึงอยู่ที่ว่า
    ทำไมจึงไม่ทำเสียที?
  • 3:38 - 3:41
    ครับ ถ้าเราคิดถึงเรื่องนี้อย่างจริงจังแล้ว
  • 3:41 - 3:44
    เราจะเห็นว่า รูปแบบธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต
    ในทุกวันนี้
  • 3:44 - 3:46
    ไปคู่กับความเป็นส่วนตัวไม่ได้
  • 3:46 - 3:49
    แค่ดูบางชื่อที่ใหญ่ๆที่สุด บนเว็บไซท์
  • 3:49 - 3:52
    คุณก็เห็นได้ว่า การโฆษณามีบทบาทสำคัญมาก
  • 3:52 - 3:56
    จริงๆแล้ว แค่ปีนี้เพียงปีเดียว
    โฆษณาถึง 137 พันล้านดอลลาร์
  • 3:56 - 3:58
    และเพื่อให้เราดูโฆษณามากที่สุด
  • 3:58 - 4:01
    บริษัทต้องรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับเรา
  • 4:01 - 4:03
    พวกเขาต้องรู้ว่า เราอยู่ที่ไหน
  • 4:03 - 4:06
    เราอายุเท่าไหร่ เราชอบอะไร
    เราไม่ชอบอะไร
  • 4:06 - 4:08
    และเรื่องอื่นๆอีก ที่พวกเขา
    สามารถหยิบฉวยมาได้
  • 4:08 - 4:10
    และถ้าคุณคิดถึงเรื่องนี้
  • 4:10 - 4:14
    วิธีที่ดีที่สุด ที่จะได้ข้อมูลนี้มา
    ก็แค่ล่วงลํ้าเข้าไปในความเป็นส่วนตัวของเรา
  • 4:14 - 4:17
    บริษัทเหล่านี้ จึงจะไม่ยอมให้เรา
    มีความเป็นส่วนตัว
  • 4:17 - 4:19
    ถ้าต้องการมีความเป็นส่วนตัว
    ทางออนไลน์
  • 4:19 - 4:23
    สิ่งที่เราต้องทำก็คือ เราต้องไปเอามันมา
    ด้วยตัวเราเอง
  • 4:23 - 4:25
    หลายปีในอดีต เมื่อพูดถึงเรื่องอีเมล
  • 4:25 - 4:28
    วิธีแก้ปัญหาอย่างเดียว ก็คือ
    อย่างที่รู้จักกันว่า PGP
  • 4:28 - 4:31
    ซึ่งค่อนข้างจะซับซ้อน และเข้าถึงได้เพียง
    คนที่เชี่ยวชาญทางเทคนิค
  • 4:31 - 4:34
    นี่เป็นแผนภาพ ที่โดยพื้นฐานแล้วแสดง
  • 4:34 - 4:36
    กระบวนการของการเข้ารหัส และถอดรหัสข้อความ
  • 4:36 - 4:39
    แน่นอนว่า
    นี่ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาสำหรับทุกคน
  • 4:39 - 4:42
    และจริงๆแล้ว นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา
  • 4:42 - 4:45
    เพราะถ้าคุณคิดถึง เรื่องการสื่อสาร
  • 4:45 - 4:49
    ตามคำจำกัดความแล้ว มันเกี่ยวกับ
    การที่มีคนสื่อสารกัน
  • 4:49 - 4:52
    ดังนั้น ขณะที่ PGP ทำงานได้เยี่ยมยอด
    ในสิ่งที่มันถูกออกแบบมาให้ทำ
  • 4:52 - 4:55
    สำหรับคนนอก ซึ่งไม่เข้าใจวิธีใช้มัน
  • 4:55 - 4:58
    ตัวเลือกสำหรับการสื่อสารเป็นส่วนตัว
    ก็แค่ไม่มีเลย
  • 4:58 - 5:01
    และนี่คือปัญหา ที่เราจำเป็นต้องแก้
  • 5:01 - 5:03
    ดังนั้น ถ้าอยากมีความเป็นส่วนตัว
    ออนไลน์
  • 5:03 - 5:06
    วิธีเดียวที่จะสำเร็จได้ ก็คือ
    เมื่อทั้งโลกร่วมมือกันทำ
  • 5:06 - 5:10
    จะเป็นไปได้ ก็เมื่อทำให้
    อุปสรรคที่จะเข้าไปถึงนั้นน้อยลง
  • 5:10 - 5:13
    ผมคิดว่าแทัจริงแล้ว นี่เป็นสิ่งท้าทายสำคัญ
    ที่อยู่ในชุมชนชาวเทคฯ
  • 5:13 - 5:17
    แท้จริงสิ่งที่เราต้องทำ ก็คือ ทำให้
    ความเป็นส่วนตัวนั้น เข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น
  • 5:17 - 5:20
    ฤดูร้อนที่แล้ว เมื่อมีเรื่องราวของ
    เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ออกมา
  • 5:20 - 5:24
    เพื่อนร่วมงานหลายคนกับผม จึงตัดสินใจ
    ว่าเราจะทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น ได้หรือไม่
  • 5:24 - 5:29
    ในเวลานั้น เรากำลังทำงานอยู่ที่
    องค์การเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ของยุโรป (เซิร์น)
  • 5:29 - 5:33
    ที่มีเครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดของโลก
    ที่เร่งให้โปรตอนปะทะกัน
  • 5:33 - 5:36
    พวกเราทั้งหมดเป็นนักวิทยาศาสตร์
    เราจึงใช้ความสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
  • 5:36 - 5:39
    และทำให้ได้ชื่อที่สร้างสรรค์มาก
    เพื่อโครงการของเรา
  • 5:39 - 5:41
    คือ โปรตอนเมล (เสียงหัวเราะ)
  • 5:41 - 5:44
    คนที่เริ่มทำธุรกิจหลายคนในปัจจุบัน
    จริงๆแล้วเริ่มทำกันในบ้าน
  • 5:44 - 5:46
    หรือไม่ก็ในห้องใต้ถุน
  • 5:46 - 5:47
    แต่เราต่างออกไปหน่อย
  • 5:47 - 5:50
    เราเริ่มทำกันที่ห้องอาหารที่เซิร์น
  • 5:50 - 5:53
    ซึ่งจริงๆก็เยี่ยมยอด เพราะดูซิครับ
  • 5:53 - 5:55
    คุณมีทั้งอาหารและนํ้า
    ที่คุณต้องการเมื่อใดก็ได้
  • 5:55 - 5:57
    แต่ที่ยิ่งดีกว่านั้น ก็คือ ทุกๆวัน
  • 5:57 - 6:01
    ระหว่าง 12 น. ถึง บ่าย 2 โมง
    เราไม่ต้องจ่ายเงินครับ
  • 6:01 - 6:06
    ห้องอาหารของเซิร์น มาพร้อมๆกับ
    นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรหลายพันคน
  • 6:06 - 6:08
    และคนเหล่านี้ โดยพื้นฐานแล้ว
    รู้คำตอบของทุกๆเรื่อง
  • 6:08 - 6:11
    ดังนั้น ในสภาพแวดล้อมแบบนี้แหละ
    ที่พวกเราเริ่มต้นทำงานกัน
  • 6:11 - 6:14
    สิ่งที่เราต้องการทำจริงๆก็คือ
    เราต้องการเอาอีเมลของคุณ
  • 6:14 - 6:18
    ไปเปลี่ยนเป็น บางสิ่งบางอย่าง
    ที่เหมือนอย่างนี้
  • 6:18 - 6:20
    แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น
    เราต้องการจะทำในแบบที่
  • 6:20 - 6:22
    คุณจะไม่รู้เลยว่า มันได้เกิดขึ้น
  • 6:22 - 6:25
    เพื่อที่จะทำเรื่องนี้
    เราจึงจำเป็นต้องมีเทคโนโลยี่
  • 6:25 - 6:27
    และการออกแบบอีกด้วย
  • 6:27 - 6:29
    ดังนั้น เราจะทำเรื่องแบบนี้ได้อย่างไร
  • 6:30 - 6:34
    ครับ มันน่าจะเป็นความคิดดี่ดีว่า
    เราจะไม่เอากุญแจไขรหัส ไว้บนเซอร์เวอร์
  • 6:34 - 6:38
    ดังนั้นสิ่งที่เราทำคือ เราสร้างกุญแจไขรหัส
    ไว้บนคอมพิวเตอร์ของคุณ
  • 6:38 - 6:42
    และเราไม่สร้างเพียงกุญแจเดียว แต่จริงๆ
    สร้างไว้หนึ่งคู่
  • 6:42 - 6:46
    จึงมีกุญแจ RSA สำหรับส่วนตัว หนึ่งอัน
    และกุญแจ RSA สำหรับสาธารณะหนึ่งอัน
  • 6:46 - 6:48
    และกุญแจเหล่านี้นั้น ถูกเชื่อมต่อกัน
    ทางคณิตศาสตร์
  • 6:48 - 6:50
    ดังนั้น เรามาดูกันว่า มันทำงานอย่างไร
  • 6:50 - 6:53
    เมื่อมีผู้คนเป็นจำนวนมาก สื่อสารกัน
  • 6:53 - 6:57
    ตรงนี้เรามี บ๊อบ และอลิซ ที่ต้องการ
    จะติดต่อกันเป็นการส่วนตัว
  • 6:57 - 7:01
    ความท้าทายที่สำคัญ จึงอยู่ที่
    เอาข้อความของบ๊อบ
  • 7:01 - 7:05
    ไปให้กับอลิซ โดยที่ตัวเซอร์เวอร์
    ไม่สามารถอ่านข้อความนั้นได้
  • 7:05 - 7:08
    ดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำก็คือ
    เราต้องเข้ารหัสมันไว้
  • 7:08 - 7:10
    ก่อนที่มันจะออกไปจาก คอมพิวเตอร์ของบ๊อบ
  • 7:10 - 7:14
    และเคล็ดลับอย่างหนึ่งก็คือ
    เราเอาไปเข้ารหัสโดยใช้ กุญแจสาธารณะจากอลิซ
  • 7:14 - 7:19
    ทีนี้ข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วนี้
    ก็ถูกส่งผ่านเซอร์เวอร์ไปถึงอลิซ
  • 7:19 - 7:24
    และเพราะข้อความนั้นถูกเข้ารหัสแล้ว
    โดยใช้กุญแจสาธารณะของอลิซ
  • 7:24 - 7:28
    กุญแจอันเดียวที่ถอดรหัสมันได้
    ก็คือกุญแจส่วนตัว ที่เป็นของอลิซ
  • 7:28 - 7:33
    จึงกลายเป็นว่า
    อลิซเป็นผู้เดียวที่มีกุญแจนี้
  • 7:33 - 7:35
    ขณะนี้เราจึงบรรลุจุดประสงค์นี้แล้ว
  • 7:35 - 7:37
    ซึ่งก็คือ นำข้อความนั้น จากบ๊อบไปถึงอลิซ
  • 7:37 - 7:40
    โดยที่เซอร์เวอร์ไม่สามารถอ่านได้ว่า
    มีอะไรอยู่
  • 7:40 - 7:43
    สิ่งที่ผมแสดงให้ดูตรงนี้ เป็น
    ภาพที่ทำให้ดูง่ายมากๆ
  • 7:43 - 7:45
    ความเป็นจริงมันซับซ้อนกว่านี้มาก
  • 7:45 - 7:49
    และมันต้องมีซอฟต์แวร์อีกมากมาย
    ที่ดูคล้ายๆอย่างนี้บ้างเหมือนกัน
  • 7:49 - 7:51
    จริงๆแล้ว นั่นคือ
    ความยากยิ่งของการออกแบบกุญแจรหัส
  • 7:51 - 7:55
    ทำอย่างไร เราจึงจะเอาความซับซ้อนทั้งหมดนี้
    หรือซ๊อพท์แวร์ทั้งหมดนี้
  • 7:55 - 7:59
    และเอามันไปใช้ ในแบบที่ผู้ใช้
    ไม่สามารถมองเห็นมันได้
  • 7:59 - 8:02
    ผมคิดว่า กับโปรตอนเมล
    เราได้เข้าไปใกล้มากแล้ว ที่จะทำสิ่งนี้
  • 8:02 - 8:05
    ดังนั้น เรามาดูว่ามันทำงานอย่างไร
    ในทางปฏิบัติ
  • 8:05 - 8:08
    ตรงนี้ เรากลับมาที่บ๊อบกับอลิซ
  • 8:08 - 8:10
    ซึ่งต้องการสื่อสารถึงกันอย่างปลอดภัยด้วย
  • 8:10 - 8:12
    พวกเขาก็เพียงสร้างบัญชีผู้ใช้บนโปรตอนเมล
  • 8:12 - 8:15
    ซึ่งก็ง่ายๆ และใช้เวลาชั่วครู่เดียว
  • 8:15 - 8:17
    การเข้ารหัสและสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น
  • 8:17 - 8:19
    เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หลังฉาก
  • 8:19 - 8:21
    ขณะที่บ๊อบกำลังสร้างบัญชีผู้ใช้
  • 8:21 - 8:24
    ทันทีทีบัญชีผู้ใช้ถูกสร้างขึ้นมาแล้ว
    เขาก็คลิกที่ "เขียนจดหมาย"
  • 8:24 - 8:27
    และตอนนี้เขาก็จะเขียนอีเมลได้
    เหมือนที่เขาทำได้ในปัจจุบันนี้
  • 8:27 - 8:28
    เขาก็ใส่ข้อมูลของเขาลงไป
  • 8:28 - 8:32
    แล้วหลังจากนั้น
    เขาก็แค่คลิกที่ "ส่ง"
  • 8:32 - 8:35
    ก็เท่านี้เอง โดยไม่ต้องรู้และเข้าใจ
    เรื่องการเข้ารหัสลับ
  • 8:35 - 8:39
    และไม่ต้องทำอะไรเลยที่ต่างไปจาก
    ที่เขาเขียนอีเมลอยู่ในปัจจุบัน
  • 8:39 - 8:41
    บ๊อบเพิ่งจะส่งข้อความที่ถูกเข้ารหัสไป
  • 8:41 - 8:46
    สิ่งที่เรามีอยู่ตรงนี้ เป็นแค่เพียงก้าวแรก
  • 8:46 - 8:48
    แต่มันแสดงให้เห็นว่า
    ด้วยการปรับปรุงเทคโนโลยี่
  • 8:48 - 8:52
    ความเป็นส่วนตัว ไม่ใช่ต้องเป็นเรื่องยาก
    ไม่ใช่ต้องเป็นเรื่องยุ่งเหยิง
  • 8:52 - 8:57
    ถ้าเราเปลี่ยนเป้าหมาย จากรายได้
    การโฆษณาให้มากที่สุด มาเป็นการปกป้องข้อมูล
  • 8:57 - 8:59
    เราก็จะสามารถเข้าถึงมันได้อย่างแท้จริง
  • 8:59 - 9:01
    ครับ ผมรู้คำถามที่อยู่ในใจของทุกคน คือ
  • 9:01 - 9:04
    ปกป้องความเป็นส่วนตัว
    นี่เป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่
  • 9:04 - 9:06
    แต่เราจะทำเรื่องนี้จริงๆได้อย่างไร
  • 9:06 - 9:09
    โดยไม่มีเงินจำนวนมาก ที่โฆษณาให้กับเรา?
  • 9:09 - 9:11
    และผมคิดว่า คำตอบจริงๆ คือ ทำได้
  • 9:11 - 9:14
    เพราะว่าวันนี้ เราได้ไปถึงจุดหนึ่ง
  • 9:14 - 9:18
    ที่ผู้คนทั่วโลก เข้าใจอย่างแท้จริงแล้วว่า
    ความเป็นส่วนตัวนั้นสำคัญอย่างไร
  • 9:18 - 9:21
    และเมื่อคุณมีสิ่งนั้น อะไรๆก็เป็นไปได้
  • 9:21 - 9:22
    ตอนต้นๆปีนี้
  • 9:22 - 9:25
    โปรตอนเมล มีคนใช้แล้วเป็นจำนวนมาก
    จนกระทั่งเราไม่มีทรัพยากรเหลืออีกแล้ว
  • 9:25 - 9:28
    และเมื่อสิ่งนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว
    ชุมชนของผู้ใช้ ก็มารวมตัวกัน
  • 9:28 - 9:30
    บริจาคเงินได้ครึ่งล้านดอลลาร์
  • 9:30 - 9:33
    และนี่เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นได้
  • 9:33 - 9:36
    เมื่อคุณนำชุมชนมารวมตัวกัน
    มุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน
  • 9:36 - 9:37
    เรายังสามารถส่งอิทธิพลต่อโลกด้วย
  • 9:37 - 9:39
    ในขณะนี้
  • 9:39 - 9:42
    เรามีคนอยู่สองแสนห้าหมื่นคน
    ที่ได้เข้ามาลงบัญชีใช้โปรตอนเมล
  • 9:42 - 9:44
    และคนเหล่านี้ มาจากทุกหนทุกแห่ง
  • 9:44 - 9:45
    นี่แสดงให้เห็นว่า ความเป็นส่วนตัว
  • 9:45 - 9:48
    ไม่ใช่แค่ปัญหาของคนอเมริกัน
    หรือคนยุโรปเท่านั้น
  • 9:48 - 9:50
    มันเป็นปัญหาของโลก
    ที่กระทบถึงเราหมดทุกคน
  • 9:50 - 9:54
    มันเป็นบางอย่างที่แท้จริงแล้ว เราจะต้อง
    เอาใจใส่ให้มันเดินไปข้างหน้า
  • 9:54 - 9:57
    ดังนั้น เราต้องทำอะไรเพื่อแก้ปัญหานี้
  • 9:57 - 9:59
    ลำดับแรก
  • 9:59 - 10:02
    เราจำเป็นต้องสนับสนุน แบบอย่างธุรกิจ
    อินเตอร์เน็ตที่ต่างออกไป
  • 10:02 - 10:04
    แบบที่ไม่ต้องขึ้นอยู่กับการโฆษณาทั้งหมด
  • 10:04 - 10:06
    เพื่อให้มีรายได้ และการเติบโต
  • 10:06 - 10:09
    จริงๆแล้ว เราจำเป็นต้องสร้างอินเตอร์เน็ต
    ขึ้นมาใหม่
  • 10:09 - 10:14
    ที่ความเป็นส่วนตัว และความสามารถที่จะ
    ควบคุมข้อมูลของเรานั้น สำคัญเป็นอันดับแรก
  • 10:14 - 10:16
    แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น
  • 10:16 - 10:21
    เราต้องสร้างอินเตอร์เน็ต ที่ความเป็น
    ส่วนตัวไม่ใช่เป็นแค่ทางเลือก อีกต่อไป
  • 10:21 - 10:23
    แต่ยังเป็นตัวเลือกอัตโนมัติ อีกด้วย
  • 10:24 - 10:26
    เราได้ทำขั้นตอนแรกไปแล้ว ด้วยโปรตอนเมล
  • 10:26 - 10:30
    แต่นี่เป็นแค่ขั้นตอนแรก
    ในการเดินทางที่แสนยาวไกล
  • 10:30 - 10:33
    ข่าวดีที่ผมจะบอกให้ฟัง ในวันนี้
  • 10:33 - 10:36
    ข่าวที่น่าตื่นเต้น คือ
    เราไม่ได้กำลังเดินทางโดยลำพัง
  • 10:36 - 10:38
    การเปลี่ยนแปลง เพื่อปกป้อง
    ความลับและอิสรภาพของผู้คนออนไลน์
  • 10:38 - 10:40
    กำลังได้รับแรงผลักดัน
  • 10:40 - 10:43
    และในวันนี้ มีโครงการมากมายจากทั่วโลก
  • 10:43 - 10:47
    ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อปรับปรุง
    ความเป็นส่วนตัวของเรา
  • 10:47 - 10:51
    โครงการเหล่านี้ปกป้องเรื่อง ตั้งแต่
    การแชทของเรา จนถึงการสื่อสารทางเสียง
  • 10:51 - 10:53
    การเก็บแฟ้มข้อมูล การหาข้อมูลออนไลน์ของเรา
  • 10:53 - 10:56
    การเรียกดูทางออนไลน์ของเรา
    และอื่นๆอีกมาก
  • 10:56 - 11:00
    โครงการต่างๆเหล่านี้ ไม่ได้ถูกหนุน
    ด้วยเงินหลายพันล้านดอลลาร์ จากการโฆษณา
  • 11:00 - 11:02
    แต่พวกเขาได้รับการสนับสนุนจริงๆ
  • 11:02 - 11:05
    จากบุคคลต่างๆ
    อย่างเช่นคุณกับผม จากทั่วทั้งโลก
  • 11:05 - 11:08
    เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะสุดท้ายแล้ว
  • 11:08 - 11:12
    ความเป็นส่วนตัว ขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคน
  • 11:12 - 11:15
    เราต้องปกป้องมันเสียแต่เดี๋ยวนี้
    เพราะข้อมูลออนไลน์ของเรา
  • 11:15 - 11:18
    เป็นมากกว่าตัวเลขหนึ่งและเลขศูนย์
  • 11:18 - 11:19
    จริงๆ มันเป็นมากกว่านั้น
  • 11:19 - 11:22
    มันเป็นชีวิตของเรา
    เป็นเรื่องราวส่วนตัวของเรา
  • 11:22 - 11:24
    ของเพื่อนเรา ของครอบครัวเรา
  • 11:24 - 11:28
    และในหลายๆอย่าง ยังเป็นความหวังของเรา
    แรงบันดาลใจของเรา
  • 11:28 - 11:31
    เราจำเป็นต้องใช้เวลาในขณะนี้
    เพื่อปกป้องสิทธิของเราอย่างแท้จริง
  • 11:31 - 11:34
    เพื่อแชร์สิ่งนี้กับคนที่เราต้องการ
    จะบอกให้เขารู้เท่านั้น
  • 11:34 - 11:36
    เพราะถ้าขาดสิ่งนี้ไปแล้ว
    เราก็จะไม่มีสังคมที่เป็นอิสระอีก
  • 11:36 - 11:39
    ขณะนี้จึงถึงเวลา
    ที่เราจะรวมตัว และกล่าวว่า
  • 11:39 - 11:43
    เราต้องการ ที่จะมีชีวิตอยู่ในโลก
    พร้อมกับความเป็นส่วนตัวทางออนไลน์
  • 11:43 - 11:47
    และ เราสามารถทำงานด้วยกันได้
    เพื่อให้วิสัยทัศน์นี้ เป็นจริงขึ้นมา
  • 11:47 - 11:49
    ขอบคุณครับ
  • 11:49 - 11:56
    (เสียงปรบมือ)
Title:
คิดว่าอีเมลของคุณเป็นส่วนตัวหรือ? คิดเสียใหม่เถอะ
Speaker:
แอนดี้ เย็น (Andy Yen)
Description:

การส่งข้อความทางอีเมล ก็เหมือนการส่งโพสการ์ด แอนดี้ เย็น ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ บอกว่าอย่างนั้น เพราะทุกคนอ่านมันได้

แต่การเข้ารหัส ซึ่งเป็นเทคโนโลยี่ ที่ปกป้องความเป็นส่วนตัวของอีเมลนั้นเกิดขึ้นแล้ว แต่มันติดตั้งและใช้งานได้ยากมาก จนกระทั่งตอนนี้
โดยการแสดงโปรแกรมอีเมลให้ดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งเขาได้ร่วมกันออกแบบกับเพื่อนร่วมงานที่ เซิร์น เย็น ให้เหตุผลว่า การเข้ารหัสสามารถทำให้ง่ายได้ จนถึงจุดที่ให้เป็นตัวเลือกอัตโนมัติ
ซึ่งทำให้ทุกคนมีอีเมล ที่เป็นส่วนตัวได้จริง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
12:09
TED Translators admin approved Thai subtitles for Think your email's private? Think again
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for Think your email's private? Think again
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for Think your email's private? Think again
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for Think your email's private? Think again
Pongsapak Vanichrundorn accepted Thai subtitles for Think your email's private? Think again
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for Think your email's private? Think again
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for Think your email's private? Think again
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for Think your email's private? Think again
Show all

Thai subtitles

Revisions