Return to Video

ความรักและการหลอกลวงของหิ่งห้อย

  • 0:01 - 0:04
    ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ และมนุษย์คนหนึ่ง
  • 0:04 - 0:06
    ฉันได้พยายามทำให้ตัวเอง
  • 0:06 - 0:09
    อ่อนไหวต่อความมหัศจรรย์
  • 0:09 - 0:12
    ฉันคิดว่า เมื่อคืน เจสัน เวบลี เรียกมันว่า
  • 0:12 - 0:16
    "การวางแผนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความอัศจรรย์"
  • 0:16 - 0:19
    ซึ่งโชคดีมากที่อาชีพนักชีววิทยาของฉัน
  • 0:19 - 0:22
    ชักจูงฉันให้เข้าไปถึงส่วนลึกของชีวิต
  • 0:22 - 0:24
    ของสิ่งมีชีวิตที่น่ามหัศจรรย์อย่างแท้จริง
  • 0:24 - 0:27
    ที่ร่วมอาศัยอยู่ในโลกของเรา
  • 0:27 - 0:28
    นั่นคือ หิ่งห้อย
  • 0:28 - 0:31
    สำหรับหลายๆ คนที่นี่ ฉันรู้ว่าหิ่งห้อย
  • 0:31 - 0:33
    ได้ปลุกความทรงจำที่วิเศษมากมายให้กับคุณ
  • 0:33 - 0:37
    ชีวิตวัยเด็ก ช่วงฤดูร้อน
  • 0:37 - 0:38
    หรือแม้แต่ TED Talks อื่นๆ
  • 0:38 - 0:41
    อะไรบางอย่างเหล่านี้
  • 0:45 - 0:48
    สิ่งที่จูงใจฉันให้เข้าไปสู่โลกของหิ่งห้อย
  • 0:48 - 0:51
    ได้เริ่มขึ้น ตอนที่ฉันกลับไปเรียนระดับปริญญา
  • 0:52 - 0:54
    บ่ายวันหนึ่ง ฉันกำลังนั่งอยู่ที่สนามหญ้า
  • 0:54 - 0:56
    ที่แคลิฟอเนียเหนือ
  • 0:56 - 0:59
    และทันใดนั้น
  • 0:59 - 1:01
    แสงที่สงัดพวกนี้
  • 1:01 - 1:04
    ได้ปรากฏขึ้นรอบๆ ฉัน
  • 1:04 - 1:05
    และฉันก็เริ่มประหลาดใจ
  • 1:05 - 1:08
    สิ่งมีชีวิตพวกนี้มีแสงได้ยังไง ?
  • 1:08 - 1:09
    แล้วแสงที่กระพริบพวกนี้คืออะไร ?
  • 1:09 - 1:11
    พวกมันกำลังคุยกันหรือ ?
  • 1:11 - 1:14
    แล้วจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อแสงหมดไป ?
  • 1:14 - 1:16
    ฉันโชคดีที่มีโอกาสให้คำตอบ
  • 1:16 - 1:17
    กับคำถามพวกนั้น
  • 1:17 - 1:21
    เพราะฉันได้สำรวจโลกแห่งรัตติกาลนี้
  • 1:21 - 1:23
    เอาล่ะ ถ้าคุณเคยเห็น
  • 1:23 - 1:26
    หรือเคยได้ยินเกี่ยวกับหิ่งห้อย
  • 1:26 - 1:28
    คุณคงรู้ว่ามันสามารถเปลี่ยน
  • 1:28 - 1:31
    ทิวทัศน์ทั่วไปของเราให้เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
  • 1:31 - 1:33
    ที่บอบบางเหมือนอยู่คนละโลกได้อย่างอัศจรรย์
  • 1:33 - 1:34
    และนี่มันเกิดขึ้นทั่วทั้งโลก
  • 1:34 - 1:37
    เช่น เชิงเขานี้บนสโมคกี้ เมาเท่นส์
    (Smoky Mountains)
  • 1:37 - 1:41
    ที่ฉันพบว่ามันถูกเปลี่ยน
    ให้เป็นเหมือนกับน้ำตกที่มีชีวิต
  • 1:41 - 1:45
    โดยแสงที่ดูลึกลับ
    ของหิ่งห้อยพันธุ์บลู โกส (Blue Ghost)
  • 1:45 - 1:48
    หรือแม่น้ำริมทางในญี่ปุ่นที่ฉันเคยไปเที่ยว
  • 1:48 - 1:52
    ที่มันให้กำเนิดแสงที่ล่องลอยอย่างเชื่องช้า
  • 1:52 - 1:55
    ของหิ่งห้อยพันธุ์เจนจิ (Ganji)
  • 1:55 - 1:57
    หรือในมาเลเซีย ไม้โกงกาง
  • 1:57 - 2:00
    ที่ฉันมอง เบ่งบานยามกลางคืน
  • 2:00 - 2:01
    ไม่ใช่ด้วยดอกไม้
  • 2:01 - 2:04
    แต่เป็นแสงของหิ่งห้อย - (บี๊บ! บี๊บ!) -
    นับพัน
  • 2:04 - 2:05
    ที่เปล่งแสง
  • 2:05 - 2:08
    พร้อมกันอย่างสวยงาม
  • 2:08 - 2:11
    ภูมิทัศน์ที่เรืองแสงพวกนี้
  • 2:11 - 2:13
    ยังคงเติมเต็มความมหัศจรรย์ให้ฉัน
  • 2:13 - 2:15
    และมันเชื่อมฉันกับเวทมนต์
  • 2:15 - 2:18
    ของโลกแห่งธรรมชาติ
  • 2:18 - 2:19
    และฉันได้พบกับความมหัศจรรย์อีกว่า
  • 2:19 - 2:23
    แสงได้เกิดจากแมลงเล็กๆ พวกนี้
  • 2:23 - 2:26
    โดยส่วนตัวแล้ว หิ่งห้อยเป็นสิ่งที่สวยงาม
  • 2:26 - 2:27
    พวกมันมีเสน่ห์ดึงดูดใจ
  • 2:27 - 2:29
    พวกมันเป็นที่รู้จักทั้งในงานศิลปะ
  • 2:29 - 2:32
    และในบทกวี มาหลายร้อยปี
  • 2:32 - 2:33
    ฉันได้ท่องเที่ยวไปทั่วโลก
  • 2:33 - 2:35
    ได้เจอคนช่างคิดหลายคน
  • 2:35 - 2:38
    พวกเขาบอกฉันว่า
    พระเจ้าประทานหิ่งห้อยให้กับโลก
  • 2:38 - 2:40
    เพื่อมนุษย์จะได้มีความเพลิดเพลิน
  • 2:40 - 2:42
    สิ่งมีชีวิตอื่น
    ก็สามารถเพลิดเพลินไปกับมันได้เช่นกัน
  • 2:42 - 2:47
    ฉันคิดว่าแมลงพวกนี้
    มีความมหัศจรรย์อย่างแท้จริง
  • 2:47 - 2:51
    เพราะมันฉายความงดงาม
  • 2:51 - 2:55
    ผ่านการแสดงที่สร้างสรรค์ของวิวัฒนาการ
  • 2:55 - 2:57
    พวกมันถูกกำหนดรูปพรรณโดย
  • 2:57 - 2:58
    แรงขับทางวิวัฒนาการอันทรงพลังสองประการ
  • 2:58 - 3:02
    คือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
    การดิ้นรนเพื่ออยู่รอด
  • 3:02 - 3:04
    และการคัดเลือกโดยการผสมพันธุ์
  • 3:04 - 3:08
    การดิ้นรนเพื่อชิงโอกาสในการผสมพันธุ์
  • 3:08 - 3:11
    ในฐานะที่เป็นคนบ้าหิ่งห้อย เป็นเวลา 20 มานี้
  • 3:11 - 3:13
    มันค่อนข้างเป็นการเดินทางที่น่าสนใจ
  • 3:13 - 3:15
    ฉันกับนักเรียนของฉันที่มหาวิทยาลัยทัฟส์
    (Tufts University)
  • 3:15 - 3:17
    พร้อมกับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ
  • 3:17 - 3:20
    พวกเราได้ค้นพบเรื่องราวมากมายของหิ่งห้อย
  • 3:20 - 3:22
    ทั้งการเกี้ยวพาราสี การผสมพันธุ์
  • 3:22 - 3:25
    การการทรยศ และการฆาตกรรม
  • 3:25 - 3:27
    ดังนั้นวันนี้ ฉันอยากจะเล่าให้พวกคุณฟัง
  • 3:27 - 3:29
    สักสองเรื่อง ที่พวกเราได้นำมา
  • 3:29 - 3:32
    จากการผจญภัยต่างๆ
  • 3:32 - 3:35
    ในโลกที่ถูกซ่อนเอาไว้นี้
  • 3:35 - 3:39
    หิ่งห้อย เป็นแมลงในกลุ่มแมลงปีกแข็ง
    ที่มีความสวยงาม
  • 3:39 - 3:43
    และมีความหลากหลาย
  • 3:43 - 3:48
    บนโลกนี้ มีหิ่งห้อยมากกว่า 2000 สายพันธุ์
  • 3:48 - 3:50
    และสิ่งนี้ทำให้เกิดวิวัฒนาการสู่ความหลากหลาย
  • 3:50 - 3:51
    ของสัญญาณการเกี้ยวพาราสี
  • 3:51 - 3:55
    นั่นคือความแตกต่างในการที่จะหา
    และดึงดูดเพศตรงข้าม
  • 3:55 - 3:57
    ประมาณ 150 ล้านปีที่ก่อน
  • 3:57 - 4:00
    หิ่งห้อยสายพันธุ์แรกๆ อาจจะมีลักษณะแบบนี้
  • 4:00 - 4:01
    พวกมันบินตอนกลางวัน
  • 4:01 - 4:04
    และไม่เปล่งแสง
  • 4:04 - 4:07
    แต่ตัวผู้จะใช้หนวดอันน่าทึ่งของมัน
  • 4:07 - 4:11
    ดมกลิ่นน้ำหอมที่ปล่อยมาจากตัวเมียแทน
  • 4:11 - 4:15
    หิ่งห้อยพันธุ์อื่น ตัวเมียเท่านั้นที่จะเปล่งแสง
  • 4:15 - 4:19
    ตัวเมียดูอ้วนกลมน่าสนใจ และไม่มีปีก
  • 4:19 - 4:21
    ทุกๆ คืน พวกมันจะปีนไปบนขอนไม้
  • 4:21 - 4:23
    และเปล่งแสงอยู่หลายชั่วโมง
  • 4:23 - 4:26
    เพื่อจะดึงดูดตัวผู้ที่บินไปมา แต่ไม่เปล่งแสง
  • 4:28 - 4:30
    ในขณะนั้นหิ่งห้อยพันธ์ุอื่นๆ ทั้งสองเพศ
  • 4:30 - 4:33
    ใช้การกระพริบแสงสว่างอันรวดเร็วเพื่อหาคู่
  • 4:33 - 4:35
    ที่อเมริกาเหนือนี้
  • 4:35 - 4:38
    มีหิ่งห้อยมากกว่า 100 ชนิด
  • 4:38 - 4:41
    ที่มีความสามารถเฉพาะตัว
    ในการปล่อยพลังงานออกมา
  • 4:41 - 4:44
    จากร่างกาย
  • 4:44 - 4:46
    ในรูปของแสง
  • 4:46 - 4:48
    พวกมันทำได้อย่างไร ?
  • 4:48 - 4:50
    มันดูน่าทึ่งมาก
  • 4:50 - 4:52
    แต่สัญญาณที่เป็นสารเรืองแสงที่ชีวภาพเหล่านี้
  • 4:52 - 4:55
    เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมี
    ที่เรียบเรียงไว้อย่างละเอียดอ่อน
  • 4:55 - 4:58
    ที่เกิดภายในกระเปาะของตัวหิ่งห้อย
  • 4:58 - 5:01
    ดาราหลักคือเอนไซม์ ลูซิเฟอเรส (luciferase)
  • 5:01 - 5:03
    ซึ่งด้วยผลของวิวัฒนาการ
  • 5:03 - 5:06
    มันได้หาทางพันส่วนแขนเล็กๆ ของมัน
  • 5:06 - 5:10
    พันรอบโมเลกุลที่เล็กยิ่งกว่า ที่เรียกว่า
    ลูซิเฟอริน (luciferin)
  • 5:10 - 5:12
    ในกระบวนการที่ทำให้มันถูกกระตุ้น
  • 5:12 - 5:16
    ที่ทำให้มันเปล่งแสงออกมา
  • 5:16 - 5:18
    เหลือเชื่อมาก
  • 5:18 - 5:19
    แต่ ทำไมแสงพวกนี้
  • 5:19 - 5:23
    ถึงมีเอื้อประโยชน์กับหิ่งห้อยสายพันธุ์แรกๆ
    บางชนิด ?
  • 5:23 - 5:26
    เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องเปิดไปดู
  • 5:26 - 5:30
    อัลบั้มครอบครัว ไปยังภาพของสมัยเด็กๆ
  • 5:30 - 5:34
    หิ่งห้อยเปลี่ยนรูปร่างไปอย่างสมบูรณ์
    เมื่อมันเปล่งแสง
  • 5:34 - 5:36
    พวกมันใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิต
  • 5:36 - 5:38
    มากถึงสองปี
  • 5:38 - 5:41
    ในระยะตัวอ่อน
  • 5:41 - 5:43
    ช่วงเวลานี้ของพวกมันก็เหมือนวัยรุ่น
  • 5:43 - 5:46
    ที่ต้องกิน และเติบโต
  • 5:46 - 5:48
    แสงแรกของมันเกิดขึ้น
  • 5:48 - 5:50
    ในช่วงวัยรุ่นนี้แหละ
  • 5:50 - 5:53
    ดัวอ่อนหิ่งห้อยแต่ละตัวสามารถเปล่งแสง
  • 5:53 - 5:56
    ถึงแม้เมื่อพวกมันโตเต็มแล้วจะไม่สามารถทำได้
  • 5:56 - 5:57
    แต่ เพื่ออะไรล่ะ ?
  • 5:57 - 6:01
    เพื่อที่จะเป็นจุดสนใจหรือ ?
  • 6:01 - 6:02
    เอาล่ะ พวกเรารู้ว่าตัวอ่อนพวกนี้
  • 6:02 - 6:04
    สร้างสารเคมีที่มีรสชาติแย่
  • 6:04 - 6:08
    นั่นทำให้มันมีชีวิตรอดในช่วงวัยเด็กอันยาวนาน
  • 6:08 - 6:12
    พวกเราจึงคิดว่า
    แสงพวกนี้ตอนแรกพัฒนาขึ้นไว้เพื่อเตือนภัย
  • 6:12 - 6:16
    สัญญาณเรืองแสงที่บอกว่า
    " นั่นพิษ! อย่าเข้าใกล้"
  • 6:16 - 6:19
    กับทุกอย่างที่อาจเป็นผู้ล่า
  • 6:19 - 6:22
    มันใช้เวลาหลายล้านปี
  • 6:22 - 6:23
    ก่อนที่แสงพวกนี้
  • 6:23 - 6:26
    จะพัฒนามาเป็นเครื่องมือสื่อสารอันชาญฉลาด
  • 6:26 - 6:29
    ซึ่งไม่เพียงแต่จะสกัดความสามารถของผู้ล่า
  • 6:29 - 6:32
    แต่ยังนำมาซึ่งคู่ครอง
  • 6:32 - 6:35
    มาถึงการคัดเลือกโดยการผสมพันธุ์
  • 6:35 - 6:37
    หิ่งห้อยที่โตเต็มที่บางตัว
  • 6:37 - 6:39
    เช่น หิ่งห้อยตัวผู้นี้
  • 6:39 - 6:43
    ได้พัฒนากระเปาะที่เปล่งแสงได้ในที่มืด
  • 6:43 - 6:45
    ซึ่งจะทำให้การเกี้ยวพาราสีของมัน
  • 6:45 - 6:48
    ยกสู่ระดับที่เหนือกว่า
  • 6:48 - 6:51
    หิ่งห้อยตัวเต็มวัยจะมีชีวิตแค่ไม่กี่อาทิตย์
  • 6:51 - 6:56
    และตอนนี้
    พวกมันจะคิดแต่เรื่องการผสมพันธุ์อย่างเดียว
  • 6:56 - 6:58
    เพื่อจะพลักดันพันธุ์กรรมของพวกมัน
  • 6:58 - 7:01
    ไปสู่หิ่งห้อยรุ่นต่อไป
  • 7:01 - 7:04
    ดังนั้น เราจะตามหิ่งห้อยตัวผู้นี้ไปยังสถานที่
  • 7:04 - 7:07
    ที่มันรวมตัวกับหิ่งห้อยตัวผู้ตัวอื่นอีกนับพัน
  • 7:07 - 7:11
    ที่กำลังโอ้อวดสัญญาณการเกี้ยวพาราสีแบบใหม่ๆ
  • 7:11 - 7:14
    มันน่าทึ่งที่แสงสว่างที่พวกมันเปล่งออกมา
  • 7:14 - 7:16
    ให้พวกเราจะชื่นชม
  • 7:16 - 7:18
    ที่นี่และความจริงที่อื่นๆ ทั่วโลก
  • 7:18 - 7:22
    คือบทเพลงรักอย่างเงียบๆ
  • 7:22 - 7:25
    ของหิ่งห้อยตัวผู้
  • 7:25 - 7:30
    พวกมันโบยบินและเปล่งแสงอย่างสุดใจ
  • 7:30 - 7:33
    ฉันคิดว่ามันโรแมนติกเหลือเกิน
  • 7:33 - 7:36
    แล้ว ในขณะนั้น ตัวเมียไปอยู่ไหนหมดล่ะ ?
  • 7:36 - 7:38
    พวกมันกำลังนั่งมองอยู่ที่เบื้องล่าง
  • 7:38 - 7:40
    สำรวจหาตัวเลือกอยู่
  • 7:40 - 7:42
    พวกมันมีตัวผู้มากมายให้เลือก
  • 7:42 - 7:46
    และตัวเมียตัวนี้ ก็ช่างเลือกด้วยสิ
  • 7:46 - 7:48
    เมื่อตัวเมียเห็นแสง
  • 7:48 - 7:51
    จากตัวผู้ที่มันสนใจ
  • 7:51 - 7:54
    มันจะเจาะจงหันกระเปาะแสงไปในทิศทางของตัวผู้
  • 7:54 - 7:56
    และรอแสงตอบรับ
  • 7:56 - 8:00
    มันคือสัญลักษณ์ที่บอกว่า "มานี่เถอะ"
  • 8:00 - 8:03
    ตัวผู้ก็จะบินมาใกล้ขึ้น และเปล่งแสงอีกครั้ง
  • 8:03 - 8:04
    ถ้นมันยังคงชอบตัวผู้อยู่
  • 8:04 - 8:08
    พวกมันก็จะเริ่มการสนทนา
  • 8:08 - 8:10
    สิ่งมีชีวิตนี้จะพูดคุยภาษารัก
  • 8:10 - 8:13
    ผ่านแสง
  • 8:13 - 8:18
    แล้ว อะไรที่ตัวเมียใช้พิจารณา
    ว่าตัวผู้นั้นมีเสน่ห์ ?
  • 8:18 - 8:21
    เราตัดสินใจทำการสำรวจจากหิ่งห้อยบางกลุ่ม
  • 8:21 - 8:23
    เพื่อที่จะหาคำตอบ
  • 8:23 - 8:26
    เมื่อเราทดสอบตัวเมียด้วยการกระพริบแสงแอลอีดี
  • 8:26 - 8:28
    เราจะพบว่ามันชอบตัวผู้
  • 8:28 - 8:32
    ที่เปล่งแสงได้นานกว่า
  • 8:32 - 8:36
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 8:36 - 8:37
    ฉันรู้ว่าพวกคุณกำลังสงสัย
  • 8:37 - 8:40
    ว่าตัวผู้มีอะไรเป็นเสน่ห์ดึงดูดเพศตรงข้าม ?
  • 8:40 - 8:42
    เอาล่ะ เราจะมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 8:42 - 8:44
    เมื่อแสงดับลง
  • 8:44 - 8:46
    อย่างแรกที่เราสังเกตได้
  • 8:46 - 8:48
    เมื่อหิ่งห้อยคู่นี้ ติดกันเหมือนในรูป
  • 8:48 - 8:51
    มันจะใช้เวลาด้วยกันทั้งคืน
  • 8:51 - 8:52
    และเมื่อเราดูเข้าไปข้างใน
  • 8:52 - 8:54
    เพื่อที่จะดูว่ามันมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
  • 8:54 - 8:56
    เราได้รู้ถึงสิ่งที่น่าทึ่งมาก
  • 8:56 - 8:58
    เกี่ยวกับเรื่องการผสมพันธุ์ของหิ่งห้อย
  • 8:58 - 8:59
    ขณะที่มันกำลังผสมพันธุ์
  • 8:59 - 9:01
    ตัวผู้ก็วุ่นอยู่กับการปล่อย
  • 9:01 - 9:03
    ทั้งอสุจิ
  • 9:03 - 9:07
    และถุงเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยสารอาหาร
  • 9:07 - 9:12
    ที่เรียกว่า ของขวัญแต่งงาน
  • 9:12 - 9:14
    เราจะมองเข้าไปใกล้ๆ
  • 9:14 - 9:15
    ในคู่ที่กำลังผสมพันธุ์นี้
  • 9:15 - 9:17
    เราจะเห็นของขวัญ
  • 9:17 - 9:18
    ที่แสดงบนนี้เป็นสีแดง
  • 9:18 - 9:22
    ในขณะที่มันกำลังส่งผ่านจากตัวผู้ ไปสู่ ตัวเมีย
  • 9:22 - 9:25
    สิ่งที่ทำให้ของขวัญนี้มีค่ามาก
  • 9:25 - 9:27
    คือมันเต็มไปด้วยโปรตีน
  • 9:27 - 9:32
    ให้ตัวเมียใช้เป็นเสบียงอาหารให้กับไข่ของมัน
  • 9:32 - 9:36
    ดังนั้นตัวเมียหมายตาต่อสิ่งมีค่านี้
  • 9:36 - 9:38
    เมื่อมันได้กะขนาดของตัวที่อาจมาเป็นคู่ของมัน
  • 9:38 - 9:41
    เราพบว่าตัวเมียใช้สัญญาณแสงของตัวผู้
  • 9:41 - 9:43
    เพื่อจะเดาว่าตัวไหน
  • 9:43 - 9:45
    มีของขวัญที่จะให้หล่อนมากกว่ากัน
  • 9:45 - 9:50
    เพราะว่าสิ่งนี้จะทำให้ตัวเมียวางไข่ได้มากขึ้น
  • 9:50 - 9:53
    และทำให้พวกมันมีลูกๆ
  • 9:53 - 9:56
    ผ่านไปยังรุ่นต่อไปมากขึ้น
  • 9:58 - 10:00
    แล้วใช่ว่ามันจะมีแต่ความหอมหวาน กับ แสง
  • 10:00 - 10:02
    ความรักของหิ่งห้อยมันเสี่ยงมาก
  • 10:02 - 10:05
    ช่วงเวลาส่วนใหญ่ หิ่งห้อยในวัยเจริญพันธุ์
  • 10:05 - 10:08
    มันจะไม่โดนกิน ด้วยเหตุผลเดียวกับตอนเป็นตัวอ่อน
  • 10:08 - 10:11
    พวกมันสามารถสร้างสารพิษที่น่ารังเกียจ
  • 10:11 - 10:14
    ต่อนก และสัตว์กินแมลงอื่นๆ
  • 10:14 - 10:16
    แต่ก็ยังมี
  • 10:16 - 10:18
    หิ่งห้อยอีกสายพันธุ์หนึ่ง
  • 10:18 - 10:22
    ที่ไม่รู้ว่าด้วยเหตุผลกลใดจึงไม่มีกลไก
  • 10:22 - 10:25
    ที่สำคัญต่อการสร้างสารพิษป้องกันตัวเอง
  • 10:25 - 10:28
    วิวัฒนาการที่เป็นจุดอ่อนแบบนี้
  • 10:28 - 10:30
    ซึ่งถูกค้นพบโดยทอม ไอส์เนอร์ (Tom Eisner)
    เพื่อนร่วมงานของฉัน
  • 10:30 - 10:32
    มันทำให้หิ่งห้อยสายพันธุ์นี้
  • 10:32 - 10:36
    ต้องเเปล่งแสงตอนกลางคืน
  • 10:36 - 10:39
    ด้วยจุดประสงค์ที่อันตราย
  • 10:39 - 10:41
    ที่มีฉายาว่า "เฟมมา เฟทัล" (femme fatales)
  • 10:41 - 10:43
    ซึ่งให้ไว้โดย จิม ลอยด์ (Jim Lloyd)
    เพื่อนร่วมงานอีกคน
  • 10:43 - 10:46
    ตัวเมียพวกนี้รู้วิธีที่จะทำให้
  • 10:46 - 10:50
    ตัวผู้สายพันธุ์อื่น มาสนใจ
  • 10:50 - 10:52
    และแล้ว การล่าก็ได้เริ่มต้นขึ้น ด้วยผู้ล่า
  • 10:52 - 10:54
    มันปรากฏให้เห็นในรูปล่างซ้าย
  • 10:54 - 10:56
    มันจะนั่งเงียบๆ
  • 10:56 - 10:59
    แอบดักฟังบทสนทนารัก
  • 10:59 - 11:01
    ของเหยื่อที่มันสนใจ
  • 11:01 - 11:03
    และนี่คือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น
  • 11:03 - 11:07
    เริ่มแรก เหยื่อตัวผู้จะเปล่งแสงถามว่า
    "คุณรักผมไหม ?"
  • 11:07 - 11:11
    ตัวเมียของมันก็ตอบกลับ "อื้ม..อาจจะ"
  • 11:11 - 11:14
    หลังจากนั้นตัวผู้ก็เปล่งแสงอีกครั้ง
  • 11:14 - 11:17
    แต่ครั้งนี้ ผู้ล่าได้ปลอมตัวเข้าไปตอบแทน
  • 11:17 - 11:23
    ซึ่งมันเลียนแบบทุกอย่างที่ตัวเมียตัวนั้นพูด
  • 11:23 - 11:27
    มันไม่ได้ทำเพื่อความรักหรอก
    มันแค่ต้องการพิษ
  • 11:27 - 11:31
    ถ้ามันเก่งจริง
    มันจะสามารถล่อตัวผู้ให้เข้ามาใกล้
  • 11:31 - 11:34
    พอที่จะเอื้อมถึงและจับไว้
  • 11:34 - 11:37
    เหยื่อตัวนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นของว่าง
  • 11:37 - 11:39
    ผ่านไปเพียงหนึ่งชั่วโมง มันค่อยๆ
  • 11:39 - 11:42
    กินเลือดเหยื่อ
  • 11:42 - 11:46
    เหลือทิ้งไว้แค่ซาก
  • 11:46 - 11:49
    การที่ไม่สามารถสร้างพิษเองได้
  • 11:49 - 11:51
    ตัวเมียเหล่านี้จะต้องกินเลือด
  • 11:51 - 11:56
    ของหิ่งห้อยพันธุ์อื่น
    เพื่อจะได้สารเคมีไว้ป้องกันตัวเอง
  • 11:56 - 12:02
    ดังนั้น หิ่งห้อยแวมไพร์ตัวนี้
  • 12:02 - 12:06
    เกิดขึ้นจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
  • 12:06 - 12:09
    ยังคงมีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับหิ่งห้อย
    ให้เราได้ศึกษา
  • 12:09 - 12:13
    แต่เหมือนว่ายังคงมีอีกหลายเรื่อง
    ที่ยังไม่ได้รับการบอกกล่าว
  • 12:13 - 12:15
    เพราะบนโลกนี้ ยังมีหิ่งห้อยมากมาย
  • 12:15 - 12:18
    ที่กำลังจะสิ้นแสง
  • 12:18 - 12:20
    ต้นเหตุหลักคือ พื้นที่ธรรมชาติหายไป
  • 12:20 - 12:23
    แทบจะในทุกๆที่ ทั้งทุ่งและป่าไม้
  • 12:23 - 12:26
    ป่าโกงกางและทุ่งหญ้า
    ที่หิ่งห้อยต้องการเพื่อจะอาศัย
  • 12:26 - 12:29
    กำลังพ่ายต่อการพัฒนาและการขยายของเมือง
  • 12:29 - 12:33
    อีกปัญหาหนึ่งคือ เราเอาชนะความมืด
  • 12:33 - 12:37
    แต่การด้วยวิธีการนั้น
    เราใช้แสงไฟยามค่ำคืนมากเกินไป
  • 12:37 - 12:40
    มันทำลายความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตอื่น
  • 12:40 - 12:44
    และหิ่งห้อยก็อ่อนไหวต่อมลภาวะทางแสง
  • 12:44 - 12:46
    เพราะมันบดบังสัญญาณแสงของหิ่งห้อย
  • 12:46 - 12:51
    ที่มีไว้สำหรับหาคู่
  • 12:51 - 12:53
    เราจำเป็นต้องมีหิ่งห้อยด้วยหรือ ?
  • 12:53 - 12:55
    จริงๆ แล้ว พวกมันเป็นส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่ง
  • 12:55 - 12:57
    ในความหลากหลายทางชีวภาพ
  • 12:57 - 13:00
    แต่ทุกครั้งที่สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์
  • 13:00 - 13:03
    มันก็เหมือนกับการดับเทียนที่มีอยู่เต็มห้อง
  • 13:03 - 13:06
    ทีละแท่ง
  • 13:06 - 13:07
    คุณอาจจะไม่สังเกต
  • 13:07 - 13:10
    เมื่อแสงแรกๆ ค่อยๆ ดับ
  • 13:10 - 13:14
    จนสุดท้าย ก็จะเหลือแค่ห้องมืดกับคุณ
  • 13:20 - 13:24
    ถ้าเราช่วยกันปั้นแต่งอนาคตของโลกนี้
  • 13:24 - 13:27
    ฉันหวังว่าพวกเราจะสามารถหาทาง
  • 13:27 - 13:30
    ที่จะทำให้แสงนี้ส่องสว่างต่อไป
  • 13:30 - 13:32
    ขอบคุณค่ะ
  • 13:32 - 13:35
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ความรักและการหลอกลวงของหิ่งห้อย
Speaker:
ซาร่าห์ ลิวอิส (Sara Lewis)
Description:

นักชีววิทยา ซาร่าห์ ลิวอิส ได้ใช้เวลา 20 ปีที่ผ่านมา เข้าไปสู่เบื้องลึกแห่งความความมหัศจรรย์ และความสวยความของหิ่งห้อย ในการบรรยายที่น่าสนใจนี้ เธอทำให้พวกเรารู้ว่า แมลงปีกแข็งพวกนี้เปล่งแสงสงัดพวกนี้ออกมาได้อย่างไรและทำไม เกิดอะไรขึ้นเมื่อหิ่งห้อยกำลังผสมพันธุ์ และ ทำไมหิ่งห้อยตัวเมียกลุ่มหนึ่งจึงถูกเรียกว่า หิ่งห้อยแวมไพร์ (มันไม่น่ารักเท่าไหร่) พบกับความมหัศจรรย์ของหิ่งห้อยอีกมากมาย ในคำอธิบายของลิวอิส ข้างล่าง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:51
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The loves and lies of fireflies
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for The loves and lies of fireflies
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for The loves and lies of fireflies
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The loves and lies of fireflies
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The loves and lies of fireflies
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The loves and lies of fireflies
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for The loves and lies of fireflies
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for The loves and lies of fireflies
Show all
  • Thanks for translation; I think this is fine. The content is quite technical and I think it's challenging for you; but you did it nicely :)
    Please review the latest draft and click accept to send back to me (reviewer) and we can submit it for approval.

    Apart from typo fixes, here are some suggestions :)

    - Name should be translated into Thai; Should you think it's necessary, English word can be put in brackets.

    - Please keep the original meaning as much as possible. Word play is allowed as long as it does not disturb the meaning of the context.

    - Space either before and after ๆ (or just after is ok; I prefer it, but it's up to you).

    - Applause should be translated into เสียงปรบมือ

    Hope I didn't change your tone so much with alternative words. It may look a lot like awful lots of changes, but I only try to make it precise yet sounds like normal narrative. Please don't be upset and give up translating :)

    Please let me know what do you think. Wish to see more of your work soon.
    Best,
    Note.

  • I wish this draft is fine. Let me know if you wish to further change anything. I'll submit it to approving queue.

Thai subtitles

Revisions