Return to Video

เราควรมองหาสิ่งมีชีวิตในที่อื่น ๆ ในจักรวาลหรือไม่ - โอมาวา ชิลด์ส (Aomawa Shields)

  • 0:07 - 0:12
    นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์นับพัน
    ที่โคจรรอบดาวฤกษ์อื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์
  • 0:12 - 0:14
    พวกมันมีขนาดแตกต่างกันไป
  • 0:14 - 0:17
    และมีขนาดวงโคจรจากดาวฤกษ์ของมัน
    ที่แตกต่างกัน
  • 0:17 - 0:20
    ดาวเคราะห์ที่ใกล้ที่สุด
    อยู่ห่างจากเราออกไปไกลกว่าล้านล้านไมล์
  • 0:20 - 0:23
    แม้แต่ดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุด
    ยังเห็นเป็นเพียงจุดเบลอ ๆ
  • 0:23 - 0:26
    เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ
    ที่มีกำลังขยายสูง
  • 0:26 - 0:29
    แต่ถ้าหากหนึ่งในดาวเคราะห์เหล่านั้น
    มีขนาดใกล้เคียงกับโลกของเรา
  • 0:29 - 0:33
    และมีวงโคจรที่ไม่ใกล้หรือไกล
    จากดาวฤกษ์ของมันจนเกินไป
  • 0:34 - 0:37
    ดาวเคราะห์ดวงนั้นอาจแข็งแรง
    และอบอุ่นเพียงพอที่จะมีมหาสมุทร
  • 0:37 - 0:40
    หรือบางทีอาจมีสิ่งมีชีวิตก็ได้
  • 0:40 - 0:43
    กลุ่มนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบ
    ดาวเคราะห์ที่สิ่งมีชีวิตอาจอาศัยอยู่ได้
  • 0:43 - 0:46
    และพวกเขาต่างรู้สึกตื่นเต้นกับการค้นพบนี้
  • 0:46 - 0:50
    จะมีโลกที่ห่างไกลสักใบไหมนะ
    ที่จะมีโครงสร้างพื้นฐานของชีวิตอยู่
  • 0:50 - 0:53
    หรือกระทั่งอารยธรรม
    ของสิ่งมีชีวิตที่มีลมหายใจ
  • 0:53 - 0:58
    คำถามที่ว่า "เราอาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว
    ในจักรวาลหรือไม่" กำลังจะได้รับคำตอบใช่ไหม
  • 0:58 - 0:59
    แต่เดี๋ยวก่อน
  • 0:59 - 1:03
    บางทีอันดับแรก
    เราควรจะถามคำถามที่แตกต่างไป
  • 1:03 - 1:06
    พวกเราควรจะค้นหา
    สิ่งมีชีวิตอื่นในจักรวาลนี้หรือไม่
  • 1:06 - 1:09
    ถ้าหากเราค้นพบร่องรอยของสิ่งมีชีวิต
  • 1:09 - 1:12
    บนโลกที่ห่างไกลออกไปสักแห่งหนึ่ง
  • 1:12 - 1:15
    เราควรหาทางติดต่อสิ่งมีชีวิต
    ที่อาจอาศัยอยู่บนโลกนั้นหรือไม่
  • 1:15 - 1:17
    มันเป็นความคิดที่ฉลาดไหมนะ
  • 1:17 - 1:21
    สามทศวรรษก่อน องค์การนาซ่าตัดสินใจว่า
    คำตอบนั้นคือ ใช่
  • 1:21 - 1:25
    ยานวอยเอจเจอร์ 1 และ 2
    จึงถูกปล่อยสู่อวกาศในปี ค.ศ. 1977
  • 1:25 - 1:28
    เพื่อสำรวจดาวเคราะห์ขนาดใหญ่
    ในระบบสุริยะ
  • 1:28 - 1:32
    แต่ละยานนั้นนำแผ่นบันทึกทองคำ
    ไปพร้อมกับพวกมันด้วย
  • 1:32 - 1:35
    ซึ่งเป็นแคปซูลเวลา
    ที่บรรจุเบาะแสและข้อความเอาไว้
  • 1:35 - 1:39
    เพื่อเป็นการถ่ายทอดเรื่องราว
    เกี่ยวกับอารยธรรมมนุษย์
  • 1:39 - 1:43
    เนื้อหาภายในแผ่นดิสก์ทองแดง
    ที่เคลือบด้วยทองคำนี้ ได้รับเลือกโดยกรรมการ
  • 1:43 - 1:47
    ที่มีคาร์ล เซแกน นักดาราศาสตร์และนักเขียน
    ชาวอเมริกัน เป็นประธาน
  • 1:47 - 1:49
    พวกเขารวบรวมภาพมากกว่า 100 ภาพ
  • 1:49 - 1:52
    และเสียงต่าง ๆ จากธรรมชาติบนโลก
  • 1:52 - 1:53
    ไม่ว่าจะเป็นเสียงคลื่นมหาสมุทร
  • 1:53 - 1:54
    เสียงฟ้าร้อง
  • 1:54 - 1:55
    เสียงนกร้องขับขาน
  • 1:55 - 1:57
    และเสียงวาฬ
  • 1:57 - 2:01
    บันทึกยังรวบรวมเสียงดนตรี
    จากหลากหลายช่วงเวลาและวัฒนธรรม
  • 2:01 - 2:03
    การพูดทักทายใน 55 ภาษา
  • 2:03 - 2:06
    และข้อความจากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
  • 2:06 - 2:08
    และเลขาธิการองค์กรสหประชาชาติ
  • 2:08 - 2:11
    พวกเขายังใส่แผนที่ลงไปด้วย
  • 2:11 - 2:15
    แผ่นทองคำแต่ละแผ่นแสดง
    ตำแหน่งที่ตั้งของระบบสุริยะของเรา
  • 2:15 - 2:17
    โดยอ้างอิงเทียบกับสิบสี่พัลซาร์
  • 2:17 - 2:20
    ความถี่ที่แม่นยำและเป็นเอกลักษณ์
    ถูกระบุเอาไว้
  • 2:20 - 2:23
    เพื่อสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาจากนอกโลก
  • 2:23 - 2:26
    จะสามารถใช้ในการค้นหาดาวโลกได้
  • 2:26 - 2:30
    หลายปีถัดมา นักฟิสิกส์ที่มีชือเสียง
    สตีเฟน ฮอว์คิง กล่าวว่า
  • 2:30 - 2:34
    มันเป็นความผิดพลาดที่เรามอบแผนที่สู่โลก
    ให้แก่เผ่าพันธุ์จากต่างดาว
  • 2:34 - 2:38
    ฮอร์คิงเกรงว่าสิ่งมีชีวิตนอกโลกใดก็ตาม
  • 2:38 - 2:41
    อาจจะยังไม่ซ้บซ้อนไปมากไปกว่าจุลินทรีย์
  • 2:41 - 2:45
    แต่เขาก็เตือนว่า หากสิ่งมีชีวิตต่างดาว
    ที่มีพัฒนาการสูงมาเยือนโลกแล้วล่ะก็
  • 2:45 - 2:49
    มันอาจเป็นหายนะได้เช่นเดียวกับ
    ที่การมาเยือนของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
  • 2:49 - 2:51
    มีผลต่อกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน
  • 2:51 - 2:54
    ในขณะเดียวกัน แผ่นบันทึกทองคำ
    ก็ยังคงเดินทางของมันต่อไป
  • 2:54 - 3:00
    ในปี ค.ศ. 1990 ยานวอยเอจเจอร์ทั้งสอง
    เดินทางข้ามผ่านวงโคจรของดาวพลูโต
  • 3:00 - 3:04
    วอยเอจเจอร์ 1 ได้เดินทางเข้าสู่
    อวกาศระหว่างดาวฤกษ์ ในปี ค.ศ. 2012
  • 3:04 - 3:08
    และจะเดินทางไปถึงระบบดาวที่ใกล้ที่สุด
    ในอีก 40,000 ปี
  • 3:08 - 3:12
    ถ้ายานลำใดลำหนึ่งถูกค้นพบ
    โดยสิ่งมีชีวิตจากนอกโลก
  • 3:12 - 3:16
    มันมีความเป็นไปได้ ที่พวกเขาจะสามารถ
    ถอดรหัสจากแผนบันทึกทองคำได้
  • 3:16 - 3:18
    และเดินทางมาถึงดาวเคราะห์ของเราได้ในสักวัน
  • 3:18 - 3:20
    นั่นค่อนข้างจะจริงอยู่
  • 3:20 - 3:24
    ถ้าอารยธรรมของพวกเขา
    มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงกว่าเรา
  • 3:24 - 3:26
    สิ่งมีชีวิตนั้นอาจมีจิตใจดีมีเมตตา
  • 3:26 - 3:31
    อย่างที่เราคาดหวังที่จะเป็น หากวันหนึ่ง
    มนุษย์จะเดินทางระหว่างห้วงอวกาศได้
  • 3:31 - 3:32
    หรือพวกเขาอาจไม่เป็นมิตร
  • 3:32 - 3:33
    การค้นหาดาวเคราะห์ต่าง ๆ ที่อาจมีสิ่งมีชีวิต
    หมายถึงการมาถึงของนรกขุมสุดท้าย
  • 3:35 - 3:38
    พวกเราคงจะไม่มีหนทางรู้ได้อย่างแน่ชัด
    ถึงขั้นของวิวัฒนาการ
  • 3:41 - 3:43
    การรับความรู้สึก
  • 3:43 - 3:44
    บุคลิกลักษณะนิสัย
  • 3:44 - 3:47
    หรือความตั้งใจของสิ่งมีชีวิตนอกโลกกลุ่มแรก
    ที่เราจะได้พบเจอ
  • 3:47 - 3:50
    ดังนั้น มันจึงเป็นการเสี่ยง
    ที่เราจะมองออกไปเพื่อค้นหา
  • 3:50 - 3:52
    เราเอาวิถีชีวิตของเราไปเสี่ยง
  • 3:52 - 3:56
    แต่มันอาจจะเสี่ยงยิ่งกว่ามาก
    หากว่าเราไม่เสี่ยงที่จะออกไปค้นหา
  • 3:56 - 4:01
    ที่จะปฏิเสธจิตวิญญาณความเป็นนักบุกเบิก
    ที่ช่วยทำให้มนุษย์พัฒนามาจนถึงจุดนี้
  • 4:01 - 4:04
    พวกเราต่างก็เกิดมา
    พร้อมกับความสงสัยใคร่รู้ต่อโลกและจักรวาล
  • 4:04 - 4:09
    การไขว่คว้าตามความสงสัยใคร่รู้นี้
    เป็นหนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ
  • 4:09 - 4:12
    บางที มันอาจยังมีพื้นที่ที่จะสามารถผลักดัน
    พรมแดนวิทยาศาสตร์ให้ไกลออกไป
  • 4:12 - 4:15
    หากว่าเราโอบอุ้มอีกสิ่งหนึ่ง ที่เป็น
    อีกคุณสมบัติหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ
  • 4:15 - 4:18
    ไปพร้อมกับความรู้สึกอันแรงกล้าของเรา
  • 4:18 - 4:20
    ความหวัง
Title:
เราควรมองหาสิ่งมีชีวิตในที่อื่น ๆ ในจักรวาลหรือไม่ - โอมาวา ชิลด์ส (Aomawa Shields)
Description:

รับชมวิดิโอแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/should-we-be-looking-for-life-elsewhere-in-the-universe-aomawa-shields

เมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์ "ที่อาจมีศักยภาพต่อการดำรงชีพ" เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดูเหมือนว่าเรากำลังเข้าใกล้คำตอบของคำถามที่ว่า "เราอยู่อย่างโดดเดี่ยวในจักรวาลนี้หรือไม่" มากขึ้นทุกขณะ แต่กระนั้น เราควรที่จะค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกจริงหรือ ถ้าหากเราสามารถค้นพบสิ่งมีชีวิตบนโลกเหล่านั้นจริง เราควรหาทางติดต่อสิ่งชีวิตที่อาจอาศัยบนดาวดวงนั้นไหม มันเป็นความคิดที่ฉลาดไหมนะ Aomawa Shields นำเราผ่านม่านน้ำขุ่นแห่งการไขว่คว้าตามความสงสัยใคร่รู้นี้

บทเรียนโดย Aomawa Shields, แอนิเมชันโดย Boniato Studio

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:36

Thai subtitles

Revisions