Return to Video

ดิว แบรี่ (Drew Berry): แอนิเมชั่นของชีววิทยาที่มองไม่เห็น

  • 0:00 - 0:02
    สิ่งที่ผมกำลังจะแสดงให้คุณชม
  • 0:02 - 0:06
    คือเครื่องจักรขนาดโมเลกุลที่น่าอัศจรรย์
  • 0:06 - 0:09
    ที่ถักทอโครงร่างชีวิตของร่างกายคุณ
  • 0:09 - 0:12
    โมเลกุลเหล่านี้มันเล็กมากๆ
  • 0:12 - 0:14
    และเมื่อผมบอกว่าเล็ก
  • 0:14 - 0:16
    ผมหมายความว่าอย่างนั้นจริงๆ
  • 0:16 - 0:18
    พวกมันเล็กว่าช่วงความยาวคลื่นแสง
  • 0:18 - 0:21
    ฉะนั้นเราไม่มีทางที่จะสำรวจมันโดยตรงได้(ด้วยตาเปล่า)
  • 0:21 - 0:23
    แต่ด้วยวิทยาศาสาตร์ เรามีความรู้พอสมควร
  • 0:23 - 0:26
    ว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้างในระดับโมเลกุล
  • 0:26 - 0:29
    ดังนั้น สิ่งที่เราจะทำก็คือ บอกเล่าเกี่ยวกับโมเลกุลให้คุณฟัง
  • 0:29 - 0:32
    แต่เราไม่มีวิธีการที่จะแสดงให้คุณเห็นโมเลกุลได้ตรงๆ
  • 0:32 - 0:35
    ทางออกวิธีหนึ่งก็คือใช้การวาดภาพ
  • 0:35 - 0:37
    และความคิดนี้จริงๆ ไม่ใช่อะไรที่ใหม่เลย
  • 0:37 - 0:39
    นักวิทยาศาสตร์วาดภาพเสมอ
  • 0:39 - 0:42
    มันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคิดและการค้นพบของพวกเขา
  • 0:42 - 0:45
    พวกเขาวาดภาพสิ่งที่พวกเขาเห็นเมื่อทำการสำรวจด้วยตาเปล่า
  • 0:45 - 0:47
    ด้วยเทคโนโลยีดั่งเช่นกล้องโทรทัศน์และกล้องจุลทรรศน์
  • 0:47 - 0:50
    และสิ่งที่พวกเขาคิดอยู่ในสมองด้วย
  • 0:50 - 0:52
    ผมเลือกตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักดีมาสองอัน
  • 0:52 - 0:55
    เพราะว่าพวกเขาเป็นที่รู้จักดี
    ในแง่การบอกเล่าวิทยาศาสตร์ผ่านงานศิลปะ
  • 0:55 - 0:57
    ผมขอเริ่มจากกาลิเลโอ
  • 0:57 - 0:59
    เขาใช้กล้องโทรทัศน์ตัวแรกของโลก
  • 0:59 - 1:01
    ส่องดูดวงจันทร์
  • 1:01 - 1:03
    และเขาได้เปลี่ยนความเข้าใจของเรา
    ที่มีต่อดวงจันทร์
  • 1:03 - 1:05
    แนวความคิดในช่วงยุคศตวรรษที่ 17 มีอยู่ว่า
  • 1:05 - 1:07
    ดวงจันทร์นั้นเป็นทรงกลมราบเรียบสมบูรณ์แบบ
  • 1:07 - 1:10
    แต่สิ่งที่กาลิเลโอเห็น คิอ พื้นผิวขุรขระกันดารเต็มไปด้วยหิน
  • 1:10 - 1:13
    ซึ่งเขาได้ถ่ายทอดผ่านภาพเขียนสีน้ำของเขา
  • 1:13 - 1:15
    นักวิทยาศาสตร์อีกคนที่มีความคิดอันยิ่งใหญ่
  • 1:15 - 1:18
    ดาราแห่งวงการชีววิทยา ชาร์ล ดาวิน
  • 1:18 - 1:20
    ในบทความที่โด่งดังอันหนึ่งในสมุดบันทึกของเขา
  • 1:20 - 1:23
    เขาเริ่มต้นจากมุมซ้ายบนด้วยคำว่า "ผมคิดว่า"
  • 1:23 - 1:26
    และจากนั้น ร่างภาพของต้นไม้แห่งชีวิต
  • 1:26 - 1:28
    ซึ่งมันเป็นแนวคิดของเขา
  • 1:28 - 1:30
    ว่าสิ่งมีชีวิตทุกสปีชีส์ที่อยู่บนโลกใบนี้
  • 1:30 - 1:33
    เชื่อมโยงกันผ่านทางวิวัฒนาการในอดีต
  • 1:33 - 1:35
    จากจุดเริ่มต้นของสปีชีส์ผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
  • 1:35 - 1:38
    และการแปรเปลี่ยนไปจากบรรพบุรุษ
  • 1:38 - 1:40
    ในฐานะนักวิทยาศาสตร์
  • 1:40 - 1:42
    ผมเคยไปฟังการบรรยายโดยนักอนูชีววิทยา
  • 1:42 - 1:45
    และพบว่ามันไม่สามารถเข้าใจได้เลย
  • 1:45 - 1:47
    มันเต็มไปด้วยศัพท์แสงที่สวยหรูและคำเฉพาะทาง
  • 1:47 - 1:49
    ที่พวกเขาใช้ในการพรรณนางานของพวกเขา
  • 1:49 - 1:52
    จนกระทั่งผมได้พบกับงานศิลป์ของเดวิด กู๊ดเซล
  • 1:52 - 1:55
    ซึ่งเป็นนักอนูชีววิทยา ณ สถาบันสคริปส์
  • 1:55 - 1:57
    และภาพของเขา
  • 1:57 - 1:59
    ทุกๆอย่างแม่นยำและสมส่วน
  • 1:59 - 2:02
    และผลงานของเขาก็ชี้ทางสว่างให้ผม
  • 2:02 - 2:04
    เข้าใจว่าโลกแห่งโมเลกุลภายในตัวเรานั้นเป็นเช่นไร
  • 2:04 - 2:07
    นี่คือภาพตัดขวางของเลือด
  • 2:07 - 2:09
    ที่มุมซ้ายบน คุณจะเห็นบริเวณที่เป็นสีออกเหลืองอมเขียว
  • 2:09 - 2:12
    บริเวณเหลืองอมเขียวนี้คือสารเหลวของเลือด
    ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำ
  • 2:12 - 2:14
    แต่มันก็ยังมี แอนติบอดี้ น้ำตาล
  • 2:14 - 2:16
    ฮอร์โมน และอะไรพวกนี้
  • 2:16 - 2:18
    และบริเวณสีแดงคือเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ถูกผ่าออก
  • 2:18 - 2:20
    และโมเลกุลสีแดงเหล่านั้นก็คือฮีโมโกบิล
  • 2:20 - 2:22
    พวกมันจริงๆแล้วก็สีแดง
    ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ทำให้เลือดเราเป็นสีนั้น
  • 2:22 - 2:24
    และฮีโมโกบิลก็ทำหน้าที่เหมือนกับฟองน้ำ
  • 2:24 - 2:26
    ที่ดูดซับออกซิเจนในปอดของคุณ
  • 2:26 - 2:28
    และนำมันไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย
  • 2:28 - 2:31
    เมื่อหลายปีก่อน, ผมได้รับแรงบันดาลใจเป็นอย่างมากจากภาพนี้
  • 2:31 - 2:33
    และผมอยากรู้ว่า เราจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิก
  • 2:33 - 2:35
    เพื่อแสดงโลกแห่งโมเลกุลได้หรือไม่
  • 2:35 - 2:37
    มันจะมีหน้าตาอย่างไร
  • 2:37 - 2:40
    และนั่นคือการเริ่มต้นของผม ฉะนั้นมาเริ่มดูกันเลย
  • 2:40 - 2:42
    นี่คือดีเอ็นเอในโครงสร้างคลาสสิกแบบเกลียวคู่
  • 2:42 - 2:44
    ซึ่งได้มาจากการใช้เทคนิคทางผลึกศาสตร์(Crystallography)
  • 2:44 - 2:46
    ฉะนั้น มันจึงเป็นโมเดลของดีเอ็นเอที่ถูกต้อง
  • 2:46 - 2:48
    ถ้าเราคลายโครงสร้างเกลียวคู่ออก
    และแยกดีเอ็นเอทั้งสองสายออกจากกัน
  • 2:48 - 2:50
    คุณจะเห็นมันมีหน้าตาคล้ายฟัน
  • 2:50 - 2:52
    พวกมันคือตัวอักษรที่เป็นรหัสพันธุกรรม
  • 2:52 - 2:55
    คือยีนจำนวน 25,000 ยีน ที่ได้ถูกบันทึกอยู่ในดีเอ็นเอของคุณ
  • 2:55 - 2:57
    นี่คือสิ่งที่พวกเขาพูดถึงกันเป็นประจำ
  • 2:57 - 2:59
    มันคือรหัสพันธุกรรม
    นี่คือสิ่งที่พวกเขาพูดถึง
  • 2:59 - 3:01
    แต่ว่า ผมอยากที่จะพูดถึงศาสตร์ของดีเอ็นเอในมุมที่แตกต่าง
  • 3:01 - 3:04
    นั่นคือ ในมุมของลักษณะทางกายภาพของดีเอ็นเอ
  • 3:04 - 3:07
    ดีเอ็นเอสองสายนี้ วิ่งไปในทิศทางตรงกันข้าม
  • 3:07 - 3:09
    ด้วยเหตุผลที่ผมจะไม่กล่าวถึงในที่นี้
  • 3:09 - 3:11
    โดยกายภาพแล้วพวกมันวิ่งไปในทิศตรงข้ามกัน
  • 3:11 - 3:14
    ซึ่งมันได้สร้างความซับซ้อนหลายอย่างให้กับเซลล์ของคุณ
  • 3:14 - 3:16
    ซึ่งคุณกำลังจะได้เห็น
  • 3:16 - 3:19
    โดยเฉพาะขณะเมื่อดีเอ็นเอกำลังถูกคัดลอก
  • 3:19 - 3:21
    และสิ่งที่ผมกำลังจะให้คุณได้รับชม
  • 3:21 - 3:23
    เป็นการนำเสนอที่ถูกต้องแม่นยำ
  • 3:23 - 3:26
    ของกระบวนการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ
    ที่เกิดขึ้นขณะนี้ภายในร่างกายของคุณ
  • 3:26 - 3:29
    ตามความรู้ทางชีววิทยาในปี 2002
  • 3:29 - 3:32
    ดีเอ็นเอ เข้าสู่กระบวนการจากทางด้านซ้ายมือ
  • 3:32 - 3:35
    และมันก็เข้ามาเจอกับกลุ่มของเครื่องจักรกลขนาดจิ๋ว
    ทางชีวเคมี
  • 3:35 - 3:38
    ที่ดึงดีสายเอ็นเอแยกออกจากกัน
    และทำสำเนาที่เหมือนกันทุกประการ
  • 3:38 - 3:40
    ดังนั้น เมื่อดีเอ็นเอเข้ามา
  • 3:40 - 3:42
    และชนเข้ากับโครงสร้างสีฟ้าๆที่หน้าตาคล้ายโดนัท
  • 3:42 - 3:44
    และมันก็ถูกแยกออกเป็นสองสาย
  • 3:44 - 3:46
    สายหนึ่งสามารถทำการถอดแบบได้โดยตรง
  • 3:46 - 3:49
    และคุณสามารถเห็นสิ่งนี้ม้วนออกทางด้านล่าง
  • 3:49 - 3:51
    แต่เรื่องมันไม่ได้ง่ายเช่นนี้สำหรับดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง
  • 3:51 - 3:53
    เพราะว่าการถอดแบบมันต้องทำย้อนกลับ
  • 3:53 - 3:55
    ดังนั้นมันจะถูกโยนกลับเข้าไปผ่านกระบวนการวนซ้ำ
  • 3:55 - 3:57
    และถอดแบบแค่ส่วนหนึ่งในแต่ละครั้ง
  • 3:57 - 4:00
    เกิดการสร้างดีเอ็นเอสองโมเลกุล
  • 4:00 - 4:03
    ทีนี้ คุณมีเครื่องจักรกลนี้เป็นพันล้าน
  • 4:03 - 4:05
    กำลังทำงานอยู่ภายในร่างกายคุณในขณะนี้
  • 4:05 - 4:07
    ถอดแบบดีเอ็นเอของคุณ
    อย่างความแม่นยำที่สุด
  • 4:07 - 4:09
    นี่คือการนำเสนอที่ถูกต้อง
  • 4:09 - 4:12
    และมีความเร็วที่สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตัวคุณ
  • 4:12 - 4:15
    ผมไม่ได้แก้ไขข้อผิดพลาดและสิ่งอื่นๆในนี้
  • 4:17 - 4:19
    มันเป็นงานที่ทำเมื่อหลายปีมาแล้วครับ
  • 4:19 - 4:21
    (เสียงผู้ชมปรบมือ)
    ขอบคุณครับ
  • 4:21 - 4:24
    งานนี้มาจากสิ่งที่เราทำเมื่อหลายปีก่อน
  • 4:24 - 4:27
    แต่สิ่งที่ผมจะนำเสนอคุณต่อไปนั้น เป็นงานวิทยาศาสตร์ใหม่
    มันเป็นเทคโนโลยีล่าสุด
  • 4:27 - 4:29
    เช่นเคย พวกเราเริ่มต้นด้วยดีเอ็นเอ
  • 4:29 - 4:32
    มันสั่นๆ เขย่าไปมาเพราะว่า
    มันถูกล้อมรอบด้วยกลุ่มของโมเลกุล
  • 4:32 - 4:34
    ซึ่งถูกผมเอาออกไป เพื่อให้คุณได้เห็นอะไรบางอย่าง
  • 4:34 - 4:36
    ดีเอ็นเอมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 นาโนเมตร
  • 4:36 - 4:38
    ซึ่งที่จริงแล้วมันเล็กมากๆ
  • 4:38 - 4:40
    แต่ในแต่ละเซลล์ของคุณ
  • 4:40 - 4:44
    แต่ละเส้นสายของดีเอ็นเอนั้นมีความยาวประมาณ
    30 ถึง 40 ล้านนาโนเมตร
  • 4:44 - 4:47
    ดังนั้น เพื่อที่จะจัดเก็บดีเอ็นเอ
    และควบคุมการเข้าถึงรหัสพันธุกรรม
  • 4:47 - 4:49
    มันจะถูกพันรอบโปรตีนสีม่วงเหล่านี้
  • 4:49 - 4:51
    หรือที่ผมทำให้มันเป็นสีม่วงในที่นี้
  • 4:51 - 4:53
    มันอัดตัวและพันตัวเข้า
  • 4:53 - 4:56
    ภาพทั้งหมดที่เห็นนี้เป็นดีเอ็นเอหนึ่งสาย
  • 4:56 - 4:59
    กลุ่มขนาดใหญ่ของดีเอ็นเอนี้เรียกว่า โครโมโซม
  • 4:59 - 5:02
    เราจะกลับมาพูดถึงมันในอีกสักครู่
  • 5:02 - 5:04
    ตอนนี้พวกเราจะถอยออกมา ถอยห่างออกมา
  • 5:04 - 5:06
    ออกมาผ่านรูนิวเคลียส
  • 5:06 - 5:09
    ซี่งเป็นประตูสู่ห้องที่บรรจุดีเอ็นเอทั้งหมดไว้
  • 5:09 - 5:11
    ที่เรียกว่านิวเคลียส
  • 5:11 - 5:13
    ทั้งหมดที่เห็นในภาพ
  • 5:13 - 5:16
    ประมาณเท่ากับการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาเป็นเทอม
    และผมมีเวลาแค่เจ็ดนาที
  • 5:16 - 5:19
    ดังนั้น ผมคงจะไม่สามารถที่จะอธิบายมันทั้งหมดในวันนี้
  • 5:19 - 5:22
    ไม่... มีคนบอกผมว่า "อย่าทำ"
  • 5:22 - 5:25
    นี่เป็นลักษณะของเซลล์ทีมีชีวิต
    เมื่อเรามองผ่านกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
  • 5:25 - 5:28
    และมันถูกถ่ายทำด้วยเทคนิคแบบเร่งเวลา(time-lapse)
    ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณเห็นมันเคลื่อนไหว
  • 5:28 - 5:30
    เยื่อหุ้มนิวเคลียสแตกออก
  • 5:30 - 5:33
    สิ่งที่มีลักษณะคล้ายกับไส้กรอกเหล่านี้คือโครโมโซม
    และพวกเราก็มุ่งความสนใจไปยังพวกมัน
  • 5:33 - 5:35
    พวกมันผ่านกระบวนการเคลื่อนไหวที่น่าทึ่ง
  • 5:35 - 5:38
    ซึ่งมีจุดหลักอยู่ที่จุดแดงเล็กๆเหล่านี้
  • 5:38 - 5:41
    เมื่อเซลล์รู้สึกว่ามันพร้อมแล้ว
  • 5:41 - 5:43
    มันก็แยกโครโมโซมออกจากกัน
  • 5:43 - 5:45
    ชุดหนึ่งของดีเอ็นเอไปทางหนึ่ง
  • 5:45 - 5:47
    ส่วนอีกข้างหนึ่งก็ได้อีกชุดหนึ่งของดีเอ็นเอ
  • 5:47 - 5:49
    เป็นสำเนาดีเอ็นเอที่เหมือนกัน
  • 5:49 - 5:51
    และจากนั้นเซลล์ก็แบ่งตัวออกจากตรงกลาง
  • 5:51 - 5:53
    คุณมีเซลล์อยู่เป็นหลายพันล้านเซลล์เช่นกัน
  • 5:53 - 5:56
    ที่กำลังอยู่ในกระบวนการนี้ภายในตัวคุณ ณ ขณะนี้
  • 5:56 - 5:59
    ทีนี้ เราจะย้อนกลับมาดูกันอีกครั้ง สังเกตเฉพาะที่โครโมโซม
  • 5:59 - 6:01
    ดูโครงสร้างของมัน และอธิบายมัน
  • 6:01 - 6:04
    ตอนนี้ เรากลับมาอยู่ ณ วินาที
    ที่มันอยู่ที่จุดศูนย์กลาง
  • 6:04 - 6:06
    โครโมโซมเรียงตัวกัน
  • 6:06 - 6:08
    และถ้าพวกเราแยกแค่หนึ่งโครโมโซมออกมา
  • 6:08 - 6:10
    เราก็กำลังที่จะดึงมันออกมาและมองดูโครงสร้างของมัน
  • 6:10 - 6:13
    นี่คือโครงสร้างโมเลกุลที่ใหญ่ที่สุดในตัวเรา
  • 6:13 - 6:17
    ที่เรารู้จักภายในตัวเรา
  • 6:17 - 6:19
    นี่คือโครโมโซมเดี่ยว
  • 6:19 - 6:22
    และคุณมีดีเอ็นเอสองสายในทุกโครโมโซม
  • 6:22 - 6:24
    ดีเอ็นเอสายหนึ่งจะพันกันเป็นไส้กรอกอันหนึ่ง
  • 6:24 - 6:26
    อีกสายหนึ่งก็จะพันเกลียวกันเป็นไส้กรอกอีกอัน
  • 6:26 - 6:29
    สิ่งที่รูปร่างคล้ายหนวดแมวที่ยื่นออกมาจากทั้งสองข้าง
  • 6:29 - 6:32
    เป็นโครงสร้างที่เปลี่ยนรูปได้ของเซลล์
  • 6:32 - 6:34
    พวกมันเรียกว่า ไมโครทูบูล(microtubules)
    ชื่อมันไม่สำคัญเท่าไรนัก
  • 6:34 - 6:37
    แต่ว่า สิ่งที่เราจะให้ความสนใจก็คือ
    บริเวณที่ผมทำให้มันเป็นสีแดงนี้
  • 6:37 - 6:39
    มันคือพื้นที่เชื่อมต่อ
  • 6:39 - 6:42
    ระหว่างโครงสร้างที่เปลี่ยนรูปได้
    และโครโมโซม
  • 6:42 - 6:45
    เห็นได้ชัดว่า มันคือศูนย์กลาง
    สำหรับการเคลื่อนไหวของโครโมโซม
  • 6:45 - 6:48
    พวกเราไม่รู้เลยจริงๆว่า
    มันสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างไร
  • 6:48 - 6:50
    กำลังมีการศึกษาสิ่งนี้อยู่
    พวกเขาเรียกมันว่า ไคนีโตคอร์ (kinetochore)
  • 6:50 - 6:52
    แม้จะศึกษาอย่างจริงจังมากกว่าหนึ่งร้อยปี
  • 6:52 - 6:55
    เราก็ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการค้นพบเกี่ยวกับมัน
  • 6:55 - 6:58
    มันประกอบขึ้นจากโปรตีนชนิดต่างๆประมาณ 200 ชนิด
  • 6:58 - 7:01
    โดยรวมแล้ว มีโปรตีนเป็นพันๆ
  • 7:01 - 7:04
    มันเป็นระบบส่งสัญญาณ
  • 7:04 - 7:06
    มันส่งสัญญาณด้วยสัญญาณทางเคมี
  • 7:06 - 7:09
    บอกส่วนอื่นๆ ของเซลล์ เมื่อมันพร้อม
  • 7:09 - 7:12
    เมื่อมันรู้สึกว่าทุกสิ่งมาเรียงตัวกันเรียบร้อย
    และพร้อมที่จะเข้าสู่ขั้นตอน
  • 7:12 - 7:14
    สำหรับการแยกโครโมโซม
  • 7:14 - 7:17
    มันสามารถที่จะจับเข้ากับไมโครทูบูลที่กำลัง
    ขยายตัวและหดตัวลง
  • 7:17 - 7:20
    มันมีส่วนร่วมในการสร้างไมโครทูบูล
  • 7:20 - 7:23
    และมันสามารถที่จะเข้าจับกับไมโครทูบูลชั่วคราวได้
  • 7:23 - 7:25
    มันยังเป็นระบบที่ตรวจจับความสนใจ
  • 7:25 - 7:27
    มันสามารถที่จะรู้สึกได้ว่า เมื่อไรที่เซลล์พร้อม
  • 7:27 - 7:29
    เมื่อโครโมโซมอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
  • 7:29 - 7:31
    มันจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว
  • 7:31 - 7:33
    เพราะว่ามันรู้สึกว่า ทุกๆอย่างมันเหมาะสม
  • 7:33 - 7:35
    และคุณจะเห็นว่า มันมีส่วนที่เหลือเล็กๆส่วนหนึ่ง
  • 7:35 - 7:37
    ที่ยังคงเป็นสีแดง
  • 7:37 - 7:40
    และมันเดินลงไปตามไมโครทูบูล
  • 7:41 - 7:44
    นั่นคือระบบการส่งสัญญาณ
    ที่ส่งสัญญาณออกไปว่าให้หยุด
  • 7:44 - 7:47
    และมันเดินออกไป ผมหมายความว่า มันเป็นกลไก
  • 7:47 - 7:49
    มันเป็นนาฬิการะดับโมเลกุล
  • 7:49 - 7:52
    นี่คือวิธีที่มันทำงานในระดับโมเลกุล
  • 7:52 - 7:55
    ดังนั้น ด้วยสิ่งเล็กๆระดับโมเลกุลสีลูกกวาดน่ายลพวกนี้
  • 7:55 - 7:58
    เรามีไคเนส(kinesins) ที่เห็นสีส้มๆ นั่น
  • 7:58 - 8:00
    พวกมันคือนักขนส่งเล็กๆ ระดับโมเลกุล
    ที่เดินทางเดียว
  • 8:00 - 8:03
    และนี่คือ ไดนีอิน (dynein)
    พวกมันรับผิดชอบระบบการส่งสัญญาณนั้น
  • 8:03 - 8:06
    และพวกมันมีขายาวๆ เพื่อให้พวกมัน
    สามารถก้าวข้ามสิ่งกีดขวางและอะไรทำนองนั้นได้
  • 8:06 - 8:08
    ทั้งหมดนี้ถูกจำลองมาจากข้อมูลวิทยาศาสตร์
  • 8:08 - 8:10
    อย่างถูกต้องแม่นยำ
  • 8:10 - 8:13
    ปัญหาก็คือ
    เราไม่สามารถนำเสนอมันให้คุณดูในทางอื่นได้
  • 8:13 - 8:15
    การสำรวจ ณ สุดพรมแดนความรู้ของวิทยาศาสตร์
  • 8:15 - 8:17
    ณ สุดขอบเขตความเข้าใจของมนุษย์
  • 8:17 - 8:20
    มันเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นมาก
  • 8:20 - 8:22
    การค้นพบสิ่งเหล่านี้
  • 8:22 - 8:25
    แน่นอนว่ามันเป็นตัวกระตุ้นที่น่าพึงพอใจ
    ในการทำงานในวงการวิทยาศาสตร์
  • 8:25 - 8:28
    แต่นักวิจัยทางการแพทย์ส่วนใหญ่
  • 8:28 - 8:30
    การค้นพบอะไรสักอย่าง
  • 8:30 - 8:33
    เป็นแค่ก้าวย่างของการเดิน ไปตามทางสู่จุดหมายที่ยิ่งใหญ่
  • 8:33 - 8:36
    ซึ่งก็คือเพื่อกำจัดโรคภัย
  • 8:36 - 8:38
    เพื่อที่จะขับไล่ความเจ็บไข้และ
    ความทรมานที่เกิดจากโรคภัย
  • 8:38 - 8:40
    และเพื่อดึงผู้คนให้พ้นจากความอยากลำบาก
  • 8:40 - 8:42
    ขอบคุณครับ
  • 8:42 - 8:46
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ดิว แบรี่ (Drew Berry): แอนิเมชั่นของชีววิทยาที่มองไม่เห็น
Speaker:
Drew Berry
Description:

เราไม่มีทางที่จะทำการสำรวจโมเลกุลและกิจกรรมของมันได้โดยตรง ณ TEDxSydney ดิว แบรี่ นำเสนอแอนิเมชั่นทางวิทยาศาสตร์ของเขาที่ถูกต้อง(แล้วยังดูสนุกสนานอีกด้วย) ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยได้เห็นกระบวนการที่ไม่สามารถเห็นได้ภายในเซลล์ของพวกเรา

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:47
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Animations of unseeable biology
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Animations of unseeable biology
Techaphon Nitisaowaphak accepted Thai subtitles for Animations of unseeable biology
Techaphon Nitisaowaphak commented on Thai subtitles for Animations of unseeable biology
Techaphon Nitisaowaphak edited Thai subtitles for Animations of unseeable biology
Techaphon Nitisaowaphak edited Thai subtitles for Animations of unseeable biology
Techaphon Nitisaowaphak edited Thai subtitles for Animations of unseeable biology
Techaphon Nitisaowaphak edited Thai subtitles for Animations of unseeable biology
Show all

Thai subtitles

Revisions