Return to Video

ทำไมเราต้องคิดทบทวนระบบทุนนิยม

  • 0:02 - 0:05
    เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "ทุนนิยม"
  • 0:05 - 0:07
    มันเป็นระบบที่ผมรัก
  • 0:07 - 0:11
    เพราะความสำเร็จและโอกาส
    ที่มันให้กับผมและผู้คนอีกนับล้าน
  • 0:12 - 0:18
    ผมเริ่มช่วงอายุ 20 เทรดสินค้าโภคภัณฑ์
    ค้าฝ้ายเป็นหลัก อยู่ในคอก
  • 0:18 - 0:22
    ถ้าจะมีตลาดเสรี ที่เสรีไปทุกอย่าง ที่นี่แหละ
  • 0:22 - 0:25
    ที่ซึ่งคนใส่สูท แต่ทำตัวกันอย่างกับ
    นักรบแกลดิเอเตอร์
  • 0:25 - 0:29
    สู้กันทั้งทางตัวหนังสือ และกายภาพ เพื่อผลกำไร
  • 0:29 - 0:32
    โชคดีที่ผมเก่งพอตัว นั่นคือผมในช่วงอายุ 30
  • 0:32 - 0:36
    ผมสามารถผลักดันตัวเองไปอยู่ชั้นบน
    ของโลกแห่งการบริหารเงิน
  • 0:36 - 0:40
    ที่ซึ่งผมใช้เวลาอีก 30 ปีต่อมา
    เป็นนักค้ามหภาคระดับโลก
  • 0:40 - 0:43
    ในช่วงเวลานั้น ผมได้เห็น
    สิ่งที่บ้าคลั่งมากมายในตลาด
  • 0:43 - 0:48
    และผมเองก็ค้าขายอย่างบ้าคลั่งด้วยเช่นกัน
  • 0:48 - 0:50
    โชคไม่ดี
  • 0:50 - 0:53
    ผมเสียใจที่จะต้องบอกพวกคุณว่า
    ตอนนี้เราอาจจะติดอยู่กับ
  • 0:53 - 0:57
    หนึ่งในหายนะ โดยเฉพาะในอาชีพของผม
  • 0:57 - 1:00
    และจุดจบที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ
    ความบ้าคลั่งไม่เคยจบลงด้วยดี
  • 1:01 - 1:04
    กว่า 50 ปีที่ผ่านมา
  • 1:04 - 1:09
    เราในฐานะสังคม เริ่มที่จะมีมุมมองต่อ
    บริษัทของเรา องค์กรของเรา
  • 1:09 - 1:14
    ด้วยรูปแบบมุมมองที่แคบมากๆ
  • 1:15 - 1:18
    ว่าเราจะให้มูลค่าต่อสิ่งต่างๆ อย่างไร
  • 1:18 - 1:22
    เรามุ่งเน้นไปที่ผลกำไร
  • 1:22 - 1:25
    รายได้ระยะสั้นรายไตรมาส และราคาหุ้น
  • 1:25 - 1:28
    นอกเหนือจากสิ่งอื่นใด
  • 1:28 - 1:32
    มันเหมือนกับเราได้กำจัดความเป็นมนุษย์
    ทิ้งออกไปจากบริษัทของเรา
  • 1:32 - 1:36
    แต่ตอนนี้ เราไม่ทำอย่างนั้น -
    ลดค่าบางสิ่งบางอย่างอย่างง่ายดาย
  • 1:36 - 1:40
    ไปเป็นกลุ่มตัวเลขที่คุณสามารถเล่นได้
    เหมือนเล่นตัวต่อเลโก้
  • 1:40 - 1:42
    เราไม่ทำอย่างนั้นในชีวิตของเรา
  • 1:42 - 1:45
    เราไม่ปฎิบัติต่อผู้คนหรือให้ค่าเขา
  • 1:45 - 1:49
    โดยขึ้นกับรายได้ต่อเดือน
    หรือคะแนนความน่าเชื่อถือของเขา
  • 1:49 - 1:51
    แต่เรามีสองมาตรฐานนี้
  • 1:51 - 1:54
    เมื่อมันเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจ
  • 1:54 - 1:55
    คุณรู้อะไรมั้ย
  • 1:55 - 1:58
    สิ่งเหล่านี้คุกคามรากฐานของสังคมเรา
  • 1:58 - 2:00
    และคุณจะได้เห็นสิ่งนี้
  • 2:00 - 2:04
    แผนภาพนี้ คือส่วนต่างผลกำไรของบริษัท
    ย้อนหลัง 40 ปี
  • 2:04 - 2:06
    เป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้
  • 2:06 - 2:11
    คุณจะเห็นว่า เรากำลังอยู่ที่จุดสูงสุด
    ในรอบ 40 ปี ที่ 12.5%
  • 2:11 - 2:14
    ไชโย!! ถ้าคุณเป็นผู้ถือหุ้น
  • 2:14 - 2:19
    แต่ถ้าคุณอยู่อีกฟากหนึ่งหละ
    และถ้าคุณคือผู้ใช้แรงงานอเมริกันทั่วไปหละ
  • 2:19 - 2:22
    คุณจะเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องดีเลย
  • 2:22 - 2:25
    ["ส่วนแบ่งของรายได้ที่ไปสู่แรงงาน เทียบกับ
    อัตราส่วนผลตอบแทนระหว่างผู้บริหารกับคนงาน]
  • 2:25 - 2:29
    ส่วนต่างผลกำไรที่สูงขึ้น
    ไม่ได้เพิ่มความมั่งคั่งทางสังคม
  • 2:29 - 2:34
    แต่สิ่งที่มันทำคือ
    ทำให้ความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ เลวร้ายยิ่งขึ้น
  • 2:34 - 2:36
    ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องดีเลย
  • 2:36 - 2:39
    แต่จริงๆ แล้วมันสมเหตุสมผลมั้ย?
  • 2:39 - 2:42
    เพราะว่า ถ้าครอบครัวอเมริกัน 10%
  • 2:42 - 2:45
    เป็นเจ้าของหุ้น 90%
  • 2:45 - 2:48
    ดังนั้น พวกเขาก็จะได้
    ส่วนแบ่งส่วนใหญ่ของกำไรบริษัท
  • 2:48 - 2:52
    จากนั้น ความมั่งคั่งส่วนน้อย
    ค่อยเหลือตกอยู่แก่คนที่เหลือของสังคม
  • 2:52 - 2:54
    อีกครั้ง ความไม่เท่าเทียมทางรายได้ไม่ใช่เรื่องดี
  • 2:54 - 2:57
    แผนภาพถัดไปนี้ ทำโดย
    กองทุนความเท่าเทียม
  • 2:57 - 3:02
    แสดงข้อมูล 21 ประเทศ จากออสเตรีย
    ไปถึงญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์
  • 3:02 - 3:05
    ในแกนแนวนอน คือความไม่เท่าเทียมทางรายได้
  • 3:05 - 3:08
    ยิ่งไปทางขวามากเท่าไหร่
    ความไม่เท่าเทียมทางรายได้ยิ่งมากขึ้น
  • 3:08 - 3:11
    ในแกนแนวตั้ง
    คือมาตรวัดทางด้านสังคมและสุขภาพ 9 ปัจจัย
  • 3:11 - 3:14
    ยิ่งไปข้างบนมากเท่าไหร่ ปัญหายิ่งแย่ยิ่งขึ้น
  • 3:14 - 3:19
    มาตรวัดเหล่านั้นรวมไปถึง ความคาดหวังในชีวิต
    การตั้งท้องในวัยรุ่น การอ่านออกเขียนได้
  • 3:19 - 3:22
    การเคลื่อนย้ายทางสังคม เป็นต้น
  • 3:22 - 3:25
    คราวนี้ พวกคุณที่เป็นผู้ฟังชาวอเมริกันอาจแปลกใจ
  • 3:25 - 3:28
    แล้วอันดับของสหรัฐฯอยู่ไหนหละ
  • 3:28 - 3:30
    มันอยู่ตรงไหนบนแผนภาพนั่น
  • 3:30 - 3:31
    รู้มั้ย
  • 3:31 - 3:33
    เราหลุดโผจากแผนภาพนั้น
  • 3:34 - 3:36
    ใช่ นั่นแหละพวกเรา
  • 3:36 - 3:38
    ด้วยความไม่เท่าเทียมทางรายได้ที่กว้างมาก
  • 3:38 - 3:42
    ด้วยปัญหาทางสังคมที่ใหญ่มาก
    ตามมาตรวัดเหล่านั้น
  • 3:42 - 3:45
    แหละนี่คือการพยากรณ์ภาพรวม
    ซึ่งทำได้ง่ายมาก
  • 3:45 - 3:48
    ซึ่งก็คือ
    ช่องว่างระหว่างคนที่รวยที่สุดกับคนที่จนที่สุด
  • 3:48 - 3:50
    จะถูกปิดลง
  • 3:50 - 3:52
    ประวัติศาสตร์เป็นอย่างนั้นเสมอ
  • 3:52 - 3:54
    สิ่งที่มักจะเกิดหนึ่งในสามทางก็คือ
  • 3:54 - 4:01
    ด้วยการปฎิวัติ เรียกเก็บภาษีสูงขึ้น หรือสงคราม
  • 4:01 - 4:03
    สิ่งเหล่านั้นไม่อยู่ในรายการก่อนตายของผม
  • 4:03 - 4:04
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:04 - 4:06
    ยังมีทางอื่นที่ทำได้
  • 4:06 - 4:10
    นั่นคือการเพิ่มถูกต้องเที่ยงธรรม
    เข้าไปในพฤติกรรมองค์กร
  • 4:10 - 4:13
    แต่วิธีการที่เรากำลังปฎิบัติอยู่ปัจจุบันนี้
  • 4:13 - 4:17
    ต้องการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมหาศาล
  • 4:17 - 4:21
    และเหมือนการเสพติด
    ในการเริ่มต้นแก้ไขนิสัย
  • 4:21 - 4:24
    ขั้นแรกคือการยอมรับว่าคุณมีปัญหา
  • 4:24 - 4:28
    ผมอยากจะบอกว่า
    ความคลั่งไคล้ในการทำกำไรที่พวกเราเป็นอยู่
  • 4:28 - 4:31
    มันฝังรากลึกมาก
  • 4:31 - 4:33
    จนเราไม่เคยตระหนักว่า เราทำร้ายสังคมอยู่
  • 4:33 - 4:37
    นี่คือตัวอย่างเล็กๆ
    แต่น่าประหลาดใจถึงสิ่งที่เรากำลังทำ
  • 4:37 - 4:40
    แผนภาพนี้แสดงการให้ของบริษัท
  • 4:40 - 4:46
    เป็นเปอร์เซ็นต์ของกำไร ไม่ใช่รายได้
    ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา
  • 4:46 - 4:51
    เทียบกับแผนภาพก่อนหน้านี้
    ที่เป็นส่วนต่างกำไรของบริษัท
  • 4:51 - 4:56
    ผมอยากจะถามพวกคุณว่า มันดูแล้วถูกต้องไหม?
  • 4:57 - 5:00
    อย่างตรงไปตรงมา
    ตอนผมเริ่มเขียนสิ่งนี้ ผมคิดว่า
  • 5:00 - 5:02
    "ว้าววว... แล้วบริษัทของผม - ทูดอร์ (Tudor) -
    ทำอะไรลงไปบ้างเนี่ย"
  • 5:02 - 5:08
    แล้วผมได้รับรู้ว่า เรามอบ 1% ของกำไรบริษัท
  • 5:08 - 5:09
    ให้กับการกุศลทุกๆ ปี
  • 5:09 - 5:13
    แล้วผมคิดว่าผมเป็น ผู้ช่วยเหลือสังคม
  • 5:13 - 5:20
    พอผมรับรู้สิ่งนี้ ผมแทบจะอาเจียนออกมา
  • 5:20 - 5:22
    แต่ประเด็นคือ ความบ้าคลั่งนี้มันฝังรากลึก
  • 5:22 - 5:27
    จนแม้แต่คนที่มีความตั้งใจที่ดีอย่างผม
    ก็ไม่เคยตระหนักว่าเราก็เป็นส่วนหนึ่งของมัน
  • 5:28 - 5:30
    จริง ๆ แล้ว เราไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมองค์กร
  • 5:30 - 5:36
    โดยแค่เพิ่มการช่วยเหลือของบริษัท
    หรือเพิ่มยอดบริจาค
  • 5:36 - 5:39
    อ้อ... อย่างไรก็ตาม เราได้เพิ่มมันไปสี่เท่า
  • 5:39 - 5:43
    แต่ -- (เสียงปรบมือ) --
  • 5:43 - 5:47
    แต่เราสามารถทำมันได้มากกว่านี้
    ด้วยการผลักดันพฤติกรรมที่เที่ยงธรรมให้มากยิ่งขึ้น
  • 5:47 - 5:50
    โดยทางหนึ่งที่จะทำมันก็คือ
  • 5:50 - 5:52
    การเชื่อใจในระบบ
    ที่ทำให้เรามาอยู่จุดนี้แต่แรก
  • 5:52 - 5:54
    และนั่นคือระบบตลาดเสรี
  • 5:54 - 5:57
    เมื่อปีที่แล้ว เพื่อนผมหลายคนและตัวผมเอง
  • 5:57 - 6:00
    ได้เริ่มองค์กรไม่แสวงหากำไร
    ชื่อ "Just Capital"
  • 6:00 - 6:01
    เป้าหมายของมันนั้นง่ายมาก
  • 6:01 - 6:04
    นั่นคือการช่วยบริษัทและองค์กรต่างๆ
  • 6:04 - 6:09
    เรียนรู้ในการดำเนินธุรกิจ
    ในรูปแบบที่มีคุณธรรมยิ่งขึ้น โดยใช้ข้อมูลสาธารณะ
  • 6:09 - 6:16
    ในการนิยามว่าอะไรคือเกณฑ์
    สำหรับพฤติกรรมองค์กรที่มีคุณธรรม
  • 6:16 - 6:18
    ทุกวันนี้ ยังไม่มีมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
  • 6:18 - 6:22
    ให้บริษัทหรือองค์กรต่างๆ สามารถดำเนินตาม
    และนั่นคือสิ่งที่ "Just Capital" จะเข้ามาทำ
  • 6:22 - 6:28
    โดยในต้นปีนี้ และทุกๆ ปีต่อไป
    เราจะจัดการสำรวจทั่วประเทศ
  • 6:28 - 6:32
    โดยกลุ่มตัวอย่างของคนอเมริกัน 20,000 คน
  • 6:32 - 6:35
    เพื่อหาว่าพวกเขาคิดว่าอะไร
  • 6:35 - 6:39
    คือเกณฑ์สำหรับความถูกต้องเที่ยงธรรม
    ในพฤติกรรมองค์กร
  • 6:39 - 6:42
    นี่คือรูปแบบที่กำลังจะเริ่มในสหรัฐฯ
  • 6:42 - 6:44
    ซึ่งสามารถขยายไปที่ไหนก็ได้ทั่วโลก
  • 6:44 - 6:46
    และเราอาจจะค้นพบว่า
  • 6:46 - 6:49
    สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับสาธารณะ
  • 6:49 - 6:54
    ก็คือเราได้สร้างงานที่พอยังชีพ
    หรือสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
  • 6:54 - 6:58
    หรือช่วย ไม่ใช่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม
  • 6:58 - 7:02
    ที่ "Just Capital" เราไม่รู้
    และมันก็ไม่ใช่การตัดสินใจของเรา
  • 7:02 - 7:04
    เราเป็นเพียงผู้ส่งสาร
  • 7:04 - 7:08
    แต่เรามีความเชื่อและศรัทธาเต็ม 100%
    ต่อส่วนรวมของคนอเมริกัน
  • 7:08 - 7:09
    ที่จะทำมันให้ถูกให้ควร
  • 7:10 - 7:13
    ดังนั้น เราจะเปิดเผยผลการวิจัย
    ออกมาเป็นครั้งแรก ในเดือนกันยายนนี้
  • 7:13 - 7:16
    แล้วในปีหน้า เราก็จะทำการสำรวจอีก
  • 7:16 - 7:18
    และเราจะเพิ่มขั้นตอนเข้าไปในครั้งหน้านี้
  • 7:18 - 7:21
    ด้วยการจัดอันดับ
    1,000 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา
  • 7:21 - 7:26
    จากอันดับที่ 1 ถึงอันดับที่ 1,000
    และทุกๆ อันดับที่อยู่ในนั้น
  • 7:26 - 7:29
    เราเรียกมันว่า ดัชนีความเที่ยงธรรม
  • 7:29 - 7:34
    และโปรดจำไว้ว่า
    เราเป็นองค์กรอิสระไม่แสวงหากำไร ปราศจากอคติ
  • 7:34 - 7:39
    และเราจะเป็นกระบอกเสียง
    ให้กับส่วนรวมของคนอเมริกัน
  • 7:39 - 7:43
    และเมื่อเวลานั้นมาถึง เราอาจจะพบว่า
    ผู้คนสามารถที่จะรู้ได้ว่า
  • 7:43 - 7:45
    บริษัทไหนมีความเที่ยงธรรมมาก
  • 7:45 - 7:49
    ผู้คนและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ
    จะสามารถเคลื่อนเข้าหาบริษัทเหล่านั้น
  • 7:49 - 7:51
    และบริษัทเหล่านั้นก็จะเจริญยิ่งขึ้น
  • 7:51 - 7:54
    และช่วยประเทศของเราให้เจริญยิ่งขึ้น
  • 7:55 - 7:59
    ทุนนิยมได้รับผิดชอบต่อทุกๆ นวัตกรรมหลัก
  • 7:59 - 8:04
    ที่ทำให้โลกนี้น่าหลงใหล และเป็นที่ที่น่าอยู่
  • 8:05 - 8:07
    ทุนนิยมควรจะตั้งอยู่บนความยุติธรรม
  • 8:07 - 8:10
    มันควรจะต้องเป็น มากกว่าที่เคยเป็นมา
  • 8:10 - 8:13
    ในขณะที่ภาคส่วนเศรษฐกิจได้ขยายตัวมากขึ้นทุกวัน
  • 8:13 - 8:16
    มีการประมาณการว่า 47% ของแรงงานอเมริกัน
  • 8:16 - 8:20
    จะหายไปในอีก 20ปีข้างหน้า
  • 8:20 - 8:22
    ผมไม่ได้ต่อต้านความก้าวหน้า
  • 8:22 - 8:27
    ผมต้องการรถไร้คนขับ หรือชุดจรวด
    เหมือนกับคนอื่นๆ
  • 8:27 - 8:32
    แต่ผมอยากร้องขอให้รับรู้ว่า
    ความมั่งคั่งและผลกำไรที่เพิ่มขึ้น
  • 8:32 - 8:38
    ควรมาพร้อมกับความรับผิดชอบต่อสังคม
  • 8:38 - 8:44
    อดัม สมิธ - บิดาแห่งทุนนิยมกล่าวไว้ว่า
    "ถ้าความยุติธรรมถูกขจัดไป"
  • 8:44 - 8:49
    "ความยิ่งใหญ่จากการถักทอของสังคมมนุษย์
  • 8:49 - 8:54
    จะถูกบดขยี้กลายเป็นผุยผงโดยพลัน"
  • 8:54 - 8:57
    ตอนผมยังเด็ก เวลามีปัญหา
  • 8:57 - 9:02
    แม่ของผมมักจะถอนหายใจ
    และเขย่ามือเธอ แล้วพูดว่า
  • 9:02 - 9:06
    "จงมีเมตตา จงมีเมตตา"
  • 9:06 - 9:10
    ตอนนี้ ไม่ใช่เวลาของเรา
    ของพวกเราทั้งหลายที่จะมีเมตตาต่อพวกเขา
  • 9:10 - 9:13
    ตอนนี้คือเวลาสำหรับเรา
    ที่จะแสดงความเป็นธรรมต่อพวกเขา
  • 9:13 - 9:16
    และเราสามารถทำมันได้ คุณกับผม
  • 9:16 - 9:21
    โดยเริ่มจากที่ที่เราทำงาน
    ธุรกิจที่เราดำเนินกิจการ
  • 9:21 - 9:24
    และเมื่อเราให้ความเที่ยงธรรม
    เท่าเทียมกับการทำกำไร
  • 9:24 - 9:28
    เราจะได้สิ่งที่น่าทึ่งที่สุดในโลกนี้
  • 9:28 - 9:32
    เราจะได้ความเป็นมนุษย์ของเรากลับคืนมา
  • 9:32 - 9:34
    ขอบคุณ
  • 9:34 - 9:38
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมเราต้องคิดทบทวนระบบทุนนิยม
Speaker:
พอล ทูดอร์ โจนส์ (Paul Tudor Jones)
Description:

พอล ทูดอร์ โจนส์ ที่สอง หลงใหลในระบบทุนนิยม มันเป็นระบบที่สร้างความสำเร็จให้เขาอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่กระนั้น ผู้จัดการกองทุนประกันความเสี่ยงและคนใจบุญเช่นเขา กลับมองว่าการมุ่งเน้นที่กำไรเพียงอย่างเดียวกำลังบ่อนทำลายพื้นฐานทางสังคม ในปาฐกถาอันลึกซึ้งและมุ่งมั่นนี้ พอลได้บรรยายถึงแผนโต้กลับของเขา ซึ่งให้ความสำคัญกับ "ความยุติธรรม"

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
09:51
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we need to rethink capitalism
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why we need to rethink capitalism
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we need to rethink capitalism
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we need to rethink capitalism
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we need to rethink capitalism
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Why we need to rethink capitalism
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Why we need to rethink capitalism
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for Why we need to rethink capitalism
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions