Return to Video

ทิโมธี เพรสเทโร่ (Timothy Prestero): จงออกแบบเพื่อผู้คน ไม่ใช่เพื่อชัยชนะ

  • 0:00 - 0:03
    ผมเพิ่งได้รับไอเดียที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้มา
  • 0:03 - 0:04
    มันสุดยอดมาก สุดยอดจนคุณต้องอึ้งไปเลยล่ะ
  • 0:04 - 0:07
    และสิ่งนี้ก็คือ ลูกที่แสนน่ารักของผมเองครับ
  • 0:07 - 0:09
    ประเด็นก็คือ ทุกๆ คนก็ชอบเด็กน่ารัก
  • 0:09 - 0:11
    คือจริงๆ แล้ว ผมก็เคยเป็นเด็กน่ารักมาก่อน
  • 0:11 - 0:13
    นี่คือ ผม และพ่อของผม ซึ่งตอนนั้นผมมีอายุแค่ 2 วันเท่านั้น
  • 0:13 - 0:15
    และนี่แหละคือโลกของการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • 0:15 - 0:18
    เด็กน่ารักๆ ก็เหมือนกับรถต้นแบบ
  • 0:18 - 0:19
    มันจะน๊อคคุณให้ลงไปกองได้เลย
  • 0:19 - 0:22
    เมื่อคุณเห็นมัน คุณก็ต้องคิดว่า "พระเจ้า ผมต้องซื้อมันให้ได้"
  • 0:22 - 0:25
    และนั่นเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมรถรุ่นใหม่ที่ออกปีนี้
  • 0:25 - 0:28
    ถึงดูแทบไม่ต่างจากรุ่นที่ออกในปีที่แล้วเลย
  • 0:28 - 0:30
    (หัวเราะ)
  • 0:30 - 0:33
    ระหว่างสตูดิโอออกแบบ กับโรงงานผลิต มันมีปัญหาอะไรกันแน่
  • 0:33 - 0:35
    วันนี้ผมไม่ได้ต้องการจะพูดเรื่องเด็กน่ารัก
  • 0:35 - 0:38
    ผมอยากจะพูดถึงกระบวนการออกแบบที่มันยังวัยรุ่น
  • 0:38 - 0:42
    ณ ห้วงเวลาของวันวานแห่งความเขลา
  • 0:42 - 0:46
    เป็นช่วงที่คุณรู้สึกแสนจะสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับโลกใบนี้
  • 0:46 - 0:50
    ผมจะเริ่มจากตัวอย่างของผลงานบางส่วนที่พวกเราได้ทำไว้สำหรับดูแลทารกเกิดใหม่
  • 0:50 - 0:52
    ปัญหาก็คือ
  • 0:52 - 0:54
    เด็กทารกสี่ล้านคนทั่วโลก
  • 0:54 - 0:56
    ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา
  • 0:56 - 0:58
    ในทุกๆ ปี จะมีเด็กทารกที่ตายโดยที่ยังมีอายุไม่ถึงปี
  • 0:58 - 1:00
    หรือบางครั้งก็เสียชีวิตตั้งแต่เดือนแรก
  • 1:00 - 1:04
    ในความเป็นจริงแล้ว กว่าครึ่งของเด็กทารกเหล่านั้น
    หรือประมาณ 1.8 ล้านคนทั่วโลก
  • 1:04 - 1:06
    จะรอดชีวิตได้ถ้าคุณให้ความอบอุ่นแก่พวกเขา
  • 1:06 - 1:10
    ในช่วงสามวันแรก หรืออาจจะสัปดาห์แรก
  • 1:10 - 1:13
    นี่คือหน่วยงานที่คอยดูแลทารกแรกเกิดในกรุงกาฐมาณฑุ
    ประเทศเนปาล
  • 1:13 - 1:16
    เด็กทั้งหมดนี้จะอยู่ใต้ผ้าห่มในลักษณะคล้ายๆ แบบนี้
    ภายในเครื่องอบทารก
  • 1:16 - 1:21
    และนี่ก็คือเครื่องอบทารกรุ่นอะตอม
    ซึ่งได้รับบริจาคมาจากญี่ปุ่น
  • 1:21 - 1:23
    ที่เราค้นพบใน หน่วยดูแลเด็กแรกเกิดอย่างใกล้ชิด
    ณ กรุงกาฐมาณฑุ
  • 1:23 - 1:25
    นี่คือสิ่งที่เราต้องการ
  • 1:25 - 1:28
    ซึ่งเราคิดว่าบางทีอาจจะเป็นเพราะโรงพยาบาลในญี่ปุ่น
    ได้เครื่องมือทางการแพทย์ให้ใหม่กว่าเดิม
  • 1:28 - 1:32
    จึงได้บริจาคของเก่ามาที่เนปาล
  • 1:32 - 1:35
    ปัญหาก็คือ การที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ และอะไหล่เตรียมไว้
  • 1:35 - 1:39
    ของบริจาคเหล่านี้ก็จะกลายเป็นขยะไปอย่างรวดเร็ว
  • 1:39 - 1:42
    พวกเราคิดว่าควรจะทำอะไรบางอย่างกับปัญหาที่เกิดขึ้นนี้
  • 1:42 - 1:44
    ก็ในเมื่อการให้ความอบอุ่นแก่ทารกตลอดสัปดาห์
  • 1:44 - 1:46
    มันไม่ใช่วิทยาศาสตร์ที่ล้ำยุคอะไรมากมาย
  • 1:46 - 1:48
    พวกเราจึงเริ่มงานกัน
  • 1:48 - 1:51
    พวกเราร่วมมือกับศูนย์วิจัยทางการแพทย์ในบอสตัน
  • 1:51 - 1:55
    พวกเราใช้เวลาเป็นเดือนๆ ในการวิจัยกลุ่มผู้ใช้งานต่างชาติ
  • 1:55 - 1:58
    พยายามที่จะคิดให้เหมือนกับนักออกแบบที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง
  • 1:58 - 2:01
    เพื่อจะค้นหาว่ามนุษย์ต้องการอะไร
  • 2:01 - 2:03
    พวกเราผลาญกระดาษโน้ต 'โพสอิท" ไปเป็นพันๆ แผ่น
  • 2:03 - 2:05
    สร้างต้นแบบเป็นโหลๆ เพื่อจะเข้าใจมัน
  • 2:05 - 2:09
    และนี่คือ เครื่องอบทารกรุ่น NeoNurture
  • 2:09 - 2:13
    มีของเจ๋งๆ ในตัวมันอยู่เพียบเลย และเราก็ภูมิใจมันมาก
  • 2:13 - 2:15
    พวกเราคิดอย่างนี้ว่า
  • 2:15 - 2:17
    พวกเราต้องการการรวมตัวกันของความสวยงาม
  • 2:17 - 2:19
    และสิ่งที่ทำงานได้จริง ซึ่งต่างไปจากรถต้นแบบ
  • 2:19 - 2:21
    และพวกเรายังคิดต่อไปอีกว่า
    ด้วยการออกแบบนี้
  • 2:21 - 2:25
    จะกระตุ้นให้ผู้ผลิต หรือผู้มีอำนาจ
  • 2:25 - 2:28
    เล็งเห็นความสำคัญของมัน
    และผลิตมันออกมาเพื่อใช้งานจริง
  • 2:28 - 2:31
    แต่ข่าวร้ายก็คือ
  • 2:31 - 2:35
    มีเพียงเด็กทารกคนเดียว
    ที่ถูกนำไปวางไว้ในเครื่องอบทารก NeoNurture
  • 2:35 - 2:38
    ก็คือเด็กที่ต้องนำมาถ่ายภาพคู่กับเครื่อง ตอนลงปกไทม์
  • 2:38 - 2:41
    แน่นอน ชื่อเสียง และการยอมรับเป็นอะไรที่น่าปลื้มใจ
  • 2:41 - 2:44
    พวกเราต้องการให้การออกแบบของเราได้ออกไปสู่สายตาคนทั่วไป
  • 2:44 - 2:45
    มันได้รับรางวัลมากมาย
  • 2:45 - 2:47
    แต่มันก็เหมือนกับรางวัลบู้บี้
  • 2:47 - 2:54
    พวกเราเพียงต้องการสร้างสิ่งสวยงาม
    ที่จะทำให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้น
  • 2:54 - 2:57
    แต่ผมไม่คิดว่าเด็กคนนี้จะอยู่ในเครื่องได้นานพอที่จะรู้สึกอบอุ่น
  • 2:57 - 3:00
    มันเหมือนกับว่าการออกแบบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจนี้
  • 3:00 - 3:03
    มันไม่ค่อยจะ --
  • 3:03 - 3:06
    ผมจะพูดยังไงดีล่ะว่า
    สำหรับพวกเรา และสำหรับสิ่งที่ผมต้องการแล้ว
  • 3:06 - 3:10
    ทั้งหมดมันช้าเกินไป หรือไม่ก็ใช้งานไม่ได้จริง
    มันก็ไร้ประสิทธิภาพ
  • 3:10 - 3:13
    ดังนั้น ผมจึงต้องมาออกแบบเพื่อผลลัพธ์
  • 3:13 - 3:14
    ไม่ใช่แค่ความสวยงาม
  • 3:14 - 3:16
    ผมต้องการทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
  • 3:16 - 3:19
    นั่นจึงทำให้ในช่วงเวลาที่เรากำลังออกแบบ NeoNurture อยู่นั้น
  • 3:19 - 3:21
    เราจะพุ่งความสนใจไปที่ผู้คนที่จะกลายมาเป็นผู้ใช้งาน
  • 3:21 - 3:24
    อย่างพวกครอบครัวยากจน แพทย์ในถิ่นทุรกันดาร
  • 3:24 - 3:28
    พยาบาลที่มีงานล้นมือ หรือแม้แต่ช่างซ่อมเครื่อง
  • 3:28 - 3:30
    พวกเราหลงคิดไปว่า เราออกแบบไว้ครอบคลุมแล้ว
    เราทำทุกอย่างถูกต้องแล้ว
  • 3:30 - 3:33
    แต่มันกลับกลายเป็นว่า ทุกๆ คนในกลุ่มทั้งหมด
  • 3:33 - 3:36
    ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้มันประสบความสำเร็จ
    ทั้งในเรื่อง
  • 3:36 - 3:39
    การผลิต การเงิน การกระจายสินค้า และควบคุม
  • 3:39 - 3:44
    ไมเคิล ฟรี แห่ง PATH ได้พูดไว้ว่า
    คุณต้องหาให้ได้ว่าใครกันที่จะ "เลือก ใช้งาน และซื้อ
  • 3:44 - 3:46
    สินค้าแบบนี้"
  • 3:46 - 3:48
    และผมก็อยากจะถามว่า
  • 3:48 - 3:51
    ผู้ให้ทุนมันจะถามว่า
    "คุณทำธุรกิจอะไร และใครคือลูกค้าของคุณครับ"
  • 3:51 - 3:54
    ใครคือลูกค้าของเราเหรอ อืม... ผมมีตัวอย่าง
  • 3:54 - 3:57
    นี่คือผอ. ของโรงพยาบาลในบังคลาเทศ
    ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่นอกพื้นที่ทำงานของเขา
  • 3:57 - 4:00
    เขาไม่ซื้อเครื่องมือทางการแพทย์อะไรเลย
  • 4:00 - 4:03
    นั่นเพราะทุกอย่างๆ จะถูกตัดสินจากกระทรวงสาธารณสุข
  • 4:03 - 4:05
    หรือผู้บริจาคจากต่างประเทศ
  • 4:05 - 4:06
    มันก็เลยเหมือนกับเขาแค่มาโชว์ตัวเท่านั้น
  • 4:06 - 4:09
    และที่คล้ายกันก็คือ
    โรงงานผู้ผลิตเครื่องมือทางการแพทย์นานาชาติ
  • 4:09 - 4:12
    โรงงงานนี้เหมือนกำลังตกปลาในบ่อที่มีปลาอยู่ชุกชุม
  • 4:12 - 4:16
    เพราะในกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของพวกเขาคือ
  • 4:16 - 4:19
    ครอบครัวชนชั้นกลางที่กำลังเพิ่มขึ้นในประเทศเหล่านี้
  • 4:19 - 4:22
    ที่เป็นโรคคนรวยเช่น เป็นโรคหัวใจ หรือภาวะมีบุตรยาก
    ค่อนข้างมาก
  • 4:22 - 4:27
    ซึ่งก็ส่งผลต่อหลักการออกแบบเพื่อผลลัพธ์ในแง่หนึ่งว่า
  • 4:27 - 4:30
    หมายถึงการออกแบบเพื่อการผลิต และการจัดจำหน่าย
  • 4:30 - 4:32
    โอเค และนั่นก็คือบทเรียนที่สำคัญ
  • 4:32 - 4:37
    ข้อที่สอง พวกเราได้นำบทเรียนนี้มาใช้ในโครงการต่อไป
  • 4:37 - 4:40
    ดังนั้น พวกเราจึงเริ่มต้นโดยการค้นหาผู้ผลิต
  • 4:40 - 4:41
    ซึ่งก็คือ MTTs จากเวียดนาม
  • 4:41 - 4:45
    ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเทคโนโลยีสำหรับดูแลทารกแรกเกิด
    จากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
  • 4:45 - 4:47
    ผู้ร่วมงานอีกรายของเราก็คือ East Meet West
  • 4:47 - 4:50
    เป็นองค์กรจากอเมริกาที่เผยแพร่เทคโนโลยีดังกล่าว
  • 4:50 - 4:53
    สู่โรงพยาบาลที่ยากจนในอาณาเขตใกล้เคียง
  • 4:53 - 4:55
    เราเริ่มจากการพูดว่า "คุณอยากได้อะไรครับ
  • 4:55 - 4:57
    มีปัญหาอะไรที่คุณอยากจะแก้บ้าง"
  • 4:57 - 4:59
    แล้วพวกเขาก็บอกว่า
    "ดีเลย เริ่มจากโรคดีซ่านในเด็กเกิดใหม่เลยละกัน"
  • 4:59 - 5:03
    และนี่ก็คืออีกหนึ่งปัญหาหนักอกระดับโลก
  • 5:03 - 5:07
    เพราะโรคดีซ่านนั้นส่งผลกระทบต่อเด็กเกิดใหม่ถึง 2 ใน 3
  • 5:07 - 5:12
    ของทารกเกิดใหม่ทั่วโลกเลยทีเดียว
    ประมาณทุกๆ1ใน10 คน
  • 5:12 - 5:14
    โรคนี้จะมีอาการหนักขึ้น ถ้าไม่ได้รับการรักษา
  • 5:14 - 5:17
    นำไปสู่ภาวะพิการ
  • 5:17 - 5:19
    หรือก็อาจจะเสียชีวิตได้
  • 5:19 - 5:22
    วิธีเดียวที่จะรักษาโรคดีซ่าน
  • 5:22 - 5:24
    คือการใช้วิธีที่เรียกว่า การเปลี่ยนถ่ายเลือด
  • 5:24 - 5:27
    ค่าใช้จ่าย และความอันตรายของวิธีนี้ คุณน่าจะจินตนาการออกนะครับ
  • 5:27 - 5:30
    ยังมีวิธีการรักษาอีกหนึ่งอย่าง
  • 5:30 - 5:35
    มันเป็นอะไรที่แบบว่าล้ำยุค ซับซ้อน และน่ากลัวซะหน่อย
  • 5:35 - 5:38
    เพราะเราต้องฉายแสงสีฟ้าให้เด็ก --
  • 5:38 - 5:42
    ให้คลุมผิวหนังของเด็กให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
  • 5:42 - 5:45
    แล้วปัญหานี้มันแก้ยากตรงไหน
  • 5:45 - 5:48
    ผมเลยไปที่ MIT
  • 5:48 - 5:51
    โอเค เป็นไงเป็นกัน (หัวเราะ)
  • 5:51 - 5:54
    นี่คือตัวอย่าง เป็นเครื่องฉายแสงบำบัดครอบศีรษะ
  • 5:54 - 5:57
    ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในโรงพยาบาลในอเมริกา
  • 5:57 - 6:00
    มันใช้งานอย่างนี้
  • 6:00 - 6:03
    มันต้องฉายอยู่เหนือคนไข้ทารกเพียงคนเดียวเท่านั้น
  • 6:03 - 6:05
    เมื่อมันเดินทางออกจากอเมริกา
  • 6:05 - 6:07
    ข้ามน้ำข้ามทะเลมาสู่ดินแดนที่ผู้คนคับคั่งอย่างเอเซีย
  • 6:07 - 6:09
    เพื่อนำมาใช้งานแบบนี้
  • 6:09 - 6:12
    ประสิทธิภาพของการฉายแสงจะขึ้นอยู่กับความเข้มแสง
  • 6:12 - 6:15
    ดังนั้น ภายในกรอบสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินเข้มที่แสดงให้คุณดู
    เป็นบริเวณที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
  • 6:15 - 6:18
    แต่นี่คือภาพที่เกิดขึ้นจากการใช้งานจริง
  • 6:18 - 6:19
    เด็กพวกนั้นที่อยู่ตรงกรอบแสง
  • 6:19 - 6:22
    จะได้รับการฉายแสงที่มีประสิทธิภาพ
  • 6:22 - 6:25
    แต่เพราะปราศจากการอบรม และเครื่องวัดแสง
  • 6:25 - 6:27
    แล้วคุณจะไปตรัสรู้ได้ยังไงล่ะครับ
  • 6:27 - 6:29
    พวกเราเห็นตัวอย่างของปัญหาเหล่านี้
  • 6:29 - 6:30
    และนี่คือหน่วยอภิบาลผู้ป่วยแรกเกิด
  • 6:30 - 6:33
    ซึ่งเป็นที่ แม่สามารถมาเยี่ยมลูกๆ ของเธอได้
  • 6:33 - 6:35
    และโปรดระลึกไว้ว่า คุณแม่คนนั้นอาจจะคลอดโดยการผ่าท้อง
  • 6:35 - 6:37
    ซึ่งก็เป็นอะไรที่มันกดดันมากๆ อยู่แล้ว
  • 6:37 - 6:39
    แม่มาเยี่ยมลูก
  • 6:39 - 6:42
    เธอเห็นเขาเปลือยเปล่า นอนอยู่ใต้แสงสีฟ้า
  • 6:42 - 6:44
    ช่างดูบอบบางเหลือเกิน
  • 6:44 - 6:47
    การที่แม่จะเอาผ้าห่มมาห่มเด็กไว้นั้น ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้
  • 6:47 - 6:51
    จากจุดยืนของศาสตร์การบำบัดด้วยแสงนั้น
    นั่นไม่ใช่วิธีที่ดีเลย
  • 6:51 - 6:54
    คือจริงๆ แล้วมันเป็นวิธีที่โง่เลยล่ะ
  • 6:54 - 6:56
    แต่จากสิ่งที่พวกเราเคยร่ำเรียนมาว่า
  • 6:56 - 7:00
    มันไม่เคยมีหรอกผู้ใช้โง่ๆ น่ะ เพราะจากสิ่งที่เราเคยเรียนมาบอกไว้ว่า
  • 7:00 - 7:02
    มันมีแต่ผลิตภัณฑ์โง่ๆ มากกว่า
  • 7:02 - 7:03
    พวกเราต้องคิดให้เหมือนนักอัตถิภาวะนิยม
  • 7:03 - 7:05
    ที่ว่า ภาพที่เราเคยคิดจะวาดนั้น
  • 7:05 - 7:07
    มันไม่สำคัญเท่ากับภาพที่เราวาดไปแล้วจริงๆ หรอก
  • 7:07 - 7:10
    ความหมายก็คือ-- จงออกแบบเพื่อนำไปใช้งานได้จริง
  • 7:10 - 7:11
    ผู้คนจะใช้งานมันอย่างไร
  • 7:11 - 7:16
    เมื่อพวกเราคิดถึง MTTs ซึ่งเป็นผู้ร่วมงานของเรานั้น
  • 7:16 - 7:19
    พวกเขาได้สร้างสรรค์เทคโนโลยีอันน่าทึ่งในการดูแลอาการเจ็บป่วยของทารกแรกเกิด
  • 7:19 - 7:21
    และนี่ก็คือเครื่องฉายความร้อนเหนือศีรษะ และ CPAP
  • 7:21 - 7:24
    ซึ่งมีราคาไม่แพง และงานค่อนข้างหยาบ
  • 7:24 - 7:27
    พวกเขานำเทคโนโลยีนี้ไปใช้รักษาเด็กเวียดนามได้ถึง 50,000 คน
  • 7:27 - 7:28
    แต่มันก็ยังมีปัญหา
  • 7:28 - 7:30
    คุณหมอ และผู้บริหารโรงพยาบาลทุกๆ คนในโลกนี้
  • 7:30 - 7:35
    เคยดู E.R. กันทั้งนั้น และก็ติดภาพบางอย่างมา
  • 7:35 - 7:40
    ว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกอย่างควรจะดูเหมือนในซีรีย์เรื่องนี้
  • 7:40 - 7:43
    พวกเขาต้องการเพียง บัค โรเจอร์ ไม่ได้ต้องการประสิทธิภาพ
  • 7:43 - 7:46
    มันฟังดูบ้า และงี่เง่า
  • 7:46 - 7:48
    แต่ในความเป็นจริงนั้น
    มีโรงพยาบาลบางแห่งที่ยอมไม่มีอุปกรณ์ซะยังดีกว่า
  • 7:48 - 7:51
    ที่จะมีอะไรที่มันดูไม่ดี และราคาถูก
  • 7:51 - 7:54
    ถ้าพวกเราต้องการให้ผู้คนเชื่อถืออุปกรณ์
  • 7:54 - 7:56
    พวกมันต้องดูน่าเชื่อถือ
  • 7:56 - 7:57
    ดังนั้น เมื่อการคิดถึงผลลัพธ์
  • 7:57 - 8:00
    จะมีผลต่อภาพลักษณ์
  • 8:00 - 8:02
    พวกเราจึงนำข้อมูลทั้งหมดที่เราได้รับมา
  • 8:02 - 8:04
    และครั้งนี้ พวกเราพยายามที่จะทำให้มันไปถูกทาง
  • 8:04 - 8:06
    และนี่คือสิ่งที่พวกเราพัฒนา
  • 8:06 - 8:08
    และนี่คืออุปกรณ์ฉายแสงบำบัดรุ่น "หิ่งห้อย"
  • 8:08 - 8:11
    โดยครั้งนี้เราไม่ได้หยุดอยู่แค่รถต้นแบบ
  • 8:11 - 8:15
    เพราะพวกเราเริ่มต้นโดยการไปคุยกับผู้ผลิตจริงๆ
  • 8:15 - 8:18
    เป้าหมายของพวกเราคือผลิตภัณฑ์เต็มไปด้วยศาสตร์และศิลป์
  • 8:18 - 8:20
    ที่ MTTs จะสามารถผลิตมันออกมาได้
  • 8:20 - 8:24
    เป้าหมายของพวกเราคือศึกษาให้รู้อย่างถ่องแท้ว่ามันทำงานอย่างไร ต้องใช้ทรัพยากรเท่าไหร่
  • 8:24 - 8:27
    จึงจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ตัวนี้ออกมาได้
  • 8:27 - 8:30
    ดังนั้น นี่จึงเป็นที่มาของการออกแบบเพื่อต้องโจทย์ของผู้ผลิต
  • 8:30 - 8:31
    เมื่อพวกเราคิดถึงการใช้งานจริง
  • 8:31 - 8:34
    คุณคงสังเกตเห็นว่า เครื่องหิ่งห้อยนี้เป็นเปลเดี่ยว
  • 8:34 - 8:36
    ที่มีที่พอให้เด็กทารกนอนได้คนเดียว
  • 8:36 - 8:40
    เมื่อคุณเห็นมันคุณจะรู้วิธีใช้งานมันทันที
  • 8:40 - 8:42
    ถ้าคุณพยายามวางเด็กลงไปมากกว่าหนึ่งคน
  • 8:42 - 8:43
    คุณต้องวางคนที่สองทับคนแรก
  • 8:43 - 8:44
    (หัวเราะ)
  • 8:44 - 8:49
    แนวความคิดในที่นี้ก็คือ คุณจะใช้งานมันผิดวิธีได้ยากมาก
  • 8:49 - 8:51
    หรือพูดง่ายๆ ก็คือ คุณจะอยากใช้มันอย่างถูกวิธี
  • 8:51 - 8:53
    ซึ่งนั่นเป็นวิธีใช้ที่ง่ายที่สุดแล้ว
  • 8:53 - 8:56
    ตัวอย่างอีกอันหนึ่ง
    คุณแม่ผู้ฉลาดน้อยคนเดิม
  • 8:56 - 8:59
    คุณแม่คิดว่าลูกของเธอคงหนาวแน่ๆ เลยอยากจะห่มผ้าให้ลูกน้อย
  • 8:59 - 9:02
    และนั่นแหละจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเราจึงต้องติดไฟทั้งเหนือ และใต้เครื่องหิ่งห้อยนี้
  • 9:02 - 9:04
    ก็ถ้าแม่ห่มผ้าเด็ก
  • 9:04 - 9:07
    เด็กก็ยังจะได้รับแสงอย่างเพียงพอจากข้างล่าง
  • 9:07 - 9:09
    ยังเหลือเรื่องสุดท้ายอีกเรื่องครับ
  • 9:09 - 9:11
    ผมมีเพื่อนคนหนึ่งในอินเดีย เขาเคยบอกผมว่า
  • 9:11 - 9:14
    คุณจะไม่เคยได้ทดสอบอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์
  • 9:14 - 9:17
    ที่จัดจำหน่ายในเอเซียเลยแม้แต่ชิ้นเดียว
  • 9:17 - 9:19
    ยกเว้นแต่ว่า คุณจะสามารถฝึกแมลงสาปให้ปีนเข้าไปข้างใน
  • 9:19 - 9:21
    และฉี่รดให้ทั่วทั้งภายในอุปกรณ์นั้นเสียก่อน
  • 9:21 - 9:23
    (หัวเราะ)
  • 9:23 - 9:25
    คุณคิดว่ามันตลกสินะครับ
  • 9:25 - 9:27
    ผมเคยมีแลปท๊อปในองค์การสันติภาพ
  • 9:27 - 9:29
    หน้าจอก็เต็มไปด้วยจุดดำ
  • 9:29 - 9:31
    และวันหนึ่งผมก็ลองแกะเครื่องเพื่อดูข้างใน ผลปรากฏว่า จุดดำพวกนั้นคือศพของมด
  • 9:31 - 9:34
    พวกมันได้ไต่เข้าไปในแลปท๊อปและก็สิ้นชีพในนั้น --
  • 9:34 - 9:35
    มดที่น่าสงสาร
  • 9:35 - 9:38
    ดังนั้น สิ่งที่พวกเราทำกับเจ้าเครื่องหิ่งห้อยก็คือ --
  • 9:38 - 9:40
    ยามที่อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ร้อนขึ้นมา
  • 9:40 - 9:43
    และคุณต้องเอาไว้ที่ที่ระบายความร้อน
    หรือพัดลมเข้าไปติดตั้งข้างใน
  • 9:43 - 9:45
    ไว้สำหรับผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เพื่อให้มันเย็นลง
  • 9:45 - 9:49
    พวกเราตัดสินใจติดป้าย "ห้ามเข้า" ไว้ข้างๆ ช่องระบายความร้อน
  • 9:49 - 9:51
    พวกเราก็สามารถกำจัดแมลงพวกนั้นทั้งหมดได้
  • 9:51 - 9:53
    ดังนั้น เครื่องหิ้งห้อยก็ถูกห่อหุ้มไว้อย่างดี
  • 9:53 - 9:54
    ทั้งหมดนี้เป็นบทเรียน
  • 9:54 - 9:57
    ที่น่าอายพอๆ กับการเป็นวัยรุ่นสิ้นคิด
  • 9:57 - 9:59
    และมันก็แย่มากๆ ที่ต้องกลายมาเป็นนักออกแบบขี้โมโห
  • 9:59 - 10:02
    ผมคิดว่า ผมต้องการที่จะเปลี่ยนโลกนี้จริงๆ
  • 10:02 - 10:05
    ผมต้องพุ่งความสนใจไปที่การผลิต และจัดจำหน่าย
  • 10:05 - 10:08
    ผมต้องให้ความสำคัญกับเรื่องที่ว่า ผู้คนนั้นใช้งานอุปกรณ์ของผมอย่างไรในการใช้งานจริง
  • 10:08 - 10:13
    ผมต้องตั้งใจจริง เพราะไม่มีคำแก้ตัวสำหรับความผิดพลาด
  • 10:13 - 10:14
    ผมต้องคิดแบบนักอัตถิภาวะนิยม
  • 10:14 - 10:16
    ผมต้องยอมรับว่าไม่มีหรอก ผู้ใช้โง่ๆ
  • 10:16 - 10:18
    จะมีก็แต่ผลิตภัณฑ์ห่วยๆ เท่านั้นแหละ
  • 10:18 - 10:20
    พวกเราต้องถามปัญหาหนักๆ กับตัวเอง
  • 10:20 - 10:23
    ว่าพวกเรากำลังออกแบบเพื่อโลกที่เราอยากเห็นหรือเปล่า
  • 10:23 - 10:25
    ว่าพวกเรากำลังออกแบบเพื่อโลกที่เรากำลังอาศัยอยู่หรือเปล่า
  • 10:25 - 10:27
    ว่าพวกเรากำลังออกแบบเพื่อโลกที่กำลังจะมาถึง
  • 10:27 - 10:29
    และพวกเราพร้อมหรือยัง
  • 10:29 - 10:32
    ผมเข้าสู่ธุรกิจการออกแบบผลิตภัณฑ์นี้
  • 10:32 - 10:36
    และผมได้เรียนรู้ว่า ถ้าคุณต้องการที่จะสร้างโลกที่แตกต่างอย่างจริงจัง
  • 10:36 - 10:38
    คุณต้องออกแบบเพื่อผลลัพธ์
  • 10:38 - 10:39
    และนั้นจึงจะเป็นการออกแบบที่มีผลกับโลก
  • 10:39 - 10:41
    ขอบคุณครับ
  • 10:41 - 10:44
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทิโมธี เพรสเทโร่ (Timothy Prestero): จงออกแบบเพื่อผู้คน ไม่ใช่เพื่อชัยชนะ
Speaker:
Timothy Prestero
Description:

ทิโมธี เพรสเทโร่ เคยคิดว่าเขาได้ออกแบบเครื่องอภิบาลทารกแรกเกิดที่สมบูรณ์แบบ สำหรับใช้งานในประเทศกำลังพัฒนา -- แต่แล้วทีมงานของเขาก็ได้ค้นพบด้วยความเจ็บปวดว่า มันไม่สามารถนำไปผลิตจริงได้ ต่อไปนี้คือคำแถลงการณ์ว่าด้วยความสำคัญของการออกแบบเพื่อการนำไปใช้งานจริง มากกว่าชื่อเสียง และคำชม (บันทึกเทปที่ TEDxBoston)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:05
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Design for people, not awards
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Design for people, not awards
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Design for people, not awards
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Design for people, not awards
Unnawut Leepaisalsuwanna commented on Thai subtitles for Design for people, not awards
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Design for people, not awards
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Design for people, not awards
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Design for people, not awards
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions