Return to Video

จะไปฝึกแพทย์ของโลกที่ไหนหรือ? ก็ที่คิวบาไง

  • 0:01 - 0:02
    ดิฉันต้องการจะบอกคุณว่า
  • 0:02 - 0:07
    คนหนุ่มสาวที่โดดเด่น 20,000 คน
  • 0:07 - 0:09
    จากกว่า 100 ประเทศ
  • 0:09 - 0:11
    ท้ายที่สุดไปอยู่ในคิวบา
  • 0:11 - 0:14
    และขณะนี้ กำลังไปปฏิรูปสุขอนามัย
    ในชุมชนของเขา
  • 0:14 - 0:16
    เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของพวกเขา
  • 0:16 - 0:18
    จะไม่จากบ้านเกิดไปไหนเลย
  • 0:18 - 0:21
    ถ้าไม่ใช่เพราะทุนการศึกษา
    เพื่อไปเรียนแพทย์ ในคิวบา
  • 0:21 - 0:23
    และความมุ่งมั่น ฃที่จะกลับไป
  • 0:23 - 0:27
    ยังสถานที่ซึ่งเหมือนกับบ้าน
    ที่พวกเขาจากมา--
  • 0:27 - 0:30
    ได้แก่ ทุ่งนาที่ห่างไกล ป่าเขา
    บริเวณสลัม--
  • 0:30 - 0:34
    เพื่อมาเป็นแพทย์รักษาคนที่เหมือน ๆ กับพวกเขา
  • 0:34 - 0:36
    เพื่อทำให้ได้อย่างที่พูด
  • 0:36 - 0:38
    โรงเรียนแพทย์ลาตินอเมริกาแห่งฮาวานา
  • 0:38 - 0:41
    เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • 0:41 - 0:44
    ผลิตแพทย์หนุ่มสาวออกไปแล้ว 23,000 คน
  • 0:44 - 0:47
    ตั้งแต่เปิดเรียนเป็นครั้งแรกในปีค.ศ.2005
  • 0:47 - 0:51
    รวมกับอีกเกือบ 10,000 คนที่กำลังศึกษาอยู่
  • 0:51 - 0:54
    ภาระกิจของโรงเรียนคือ ฝึกแพทย์ให้กับผู้คน
  • 0:54 - 0:56
    ที่ต้องการแพทย์มากที่สุดได้แก่
  • 0:56 - 0:58
    คนกว่าหนึ่งพันล้านคน
  • 0:58 - 1:01
    ที่ไม่เคยไปหาแพทย์มาก่อนเลย
  • 1:01 - 1:05
    ผู้คนที่มีชีวิตอยู่แล้วก็ตายไป
  • 1:05 - 1:08
    ใต้เส้นแบ่งความยากจนที่สร้างกันขึ้นมา
  • 1:08 - 1:10
    นักศึกษาเหล่านี้ท้าทายบรรทัดฐานทั้งหมด
  • 1:10 - 1:13
    เป็นความเสี่ยงใหญ่ที่สุดของโรงเรียนแพทย์นี้
  • 1:13 - 1:15
    และยังเป็นการต่อรองที่ดีที่สุดอีกด้วย
  • 1:15 - 1:18
    พวกเขาถูกรับเข้ามาเรียนจากสถานที่ยากจนที่สุด
  • 1:18 - 1:20
    บ้านแตกสาแหรกขาดที่สุดในโลกของเรา
  • 1:20 - 1:22
    โดยโรงเรียนที่เชื่อว่าพวกเขาจะเป็น
  • 1:22 - 1:24
    ไม่ใช่เป็นแพทย์ที่ดีเท่านั้น
  • 1:24 - 1:26
    แต่จะเป็นแพทย์ที่ดีเยี่ยมอีกด้วย
  • 1:26 - 1:29
    ที่ชุมชนของพวกเขาต้องการอย่างยิ่ง
  • 1:29 - 1:32
    ที่พวกเขาจะไปทำงานในสถานที่
    ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่จะไม่ไป
  • 1:32 - 1:35
    ในสถานที่ซึ่งไม่เพียงแต่ยากจน
  • 1:35 - 1:37
    แต่บ่อยครั้งยังมีอันตรายอีกด้วย
  • 1:37 - 1:40
    นำยาเซรุ่มแก้พิษงูไว้ในกระเป๋าเป้สะพายหลัง
  • 1:40 - 1:43
    หรือไม่ก็เข้าไปในย่านที่อยู่
  • 1:43 - 1:46
    ที่เต็มไปด้วยยาเสพติด อันธพาล และกระสุนปืน
  • 1:46 - 1:49
    ถิ่นที่อยู่ของพวกเขา
  • 1:49 - 1:50
    ความหวังก็คือพวกเขาจะช่วย
  • 1:50 - 1:53
    ปฏิรูปการเข้าถึงการรักษาพยาบาล
  • 1:53 - 1:55
    ภาวะสุขอนามัยในเขตที่ยากจน
  • 1:55 - 1:57
    และแม้กระทั่งวิธีปฏิบัติที่การแพทย์เอง
  • 1:57 - 2:00
    ได้รับการสอนและถือปฏิบัติมา
  • 2:00 - 2:04
    และก็หวังว่าพวกเขาจะเป็นผู้บุกเบิก
    การเอื้อมไปถึงระดับโลกของเรา
  • 2:04 - 2:07
    ที่คุ้มครองด้านสุขภาพสากล
  • 2:07 - 2:09
    ซึ่งแน่นอนเป็นคำร้องขอที่ยากจะสำเร็จ
  • 2:09 - 2:14
    พายุใหญ่สองลูกและแนวคิด
    "ทำให้ได้อย่างที่พูด"
  • 2:14 - 2:18
    กระตุ้นให้เกิดอีแลม (ELAM) ขึ้นมา
    ย้อนไปในปี 1998
  • 2:18 - 2:21
    พายุเฮอร์ริเคนจอร์จส์ และมิทช์
  • 2:21 - 2:22
    ได้พัดผ่านทำลายคาริบเบียน
  • 2:22 - 2:24
    และอเมริกากลาง
  • 2:24 - 2:27
    ทิ้งคนตายไว้ 30,000 คน
  • 2:27 - 2:30
    และคนไร้ที่อยู่ 2.5 ล้านคน
  • 2:30 - 2:33
    แพทย์คิวบาหลายร้อยคน
    อาสาไปที่ภัยภิบัติที่นั้น
  • 2:33 - 2:35
    แต่เมื่อพวกเขาไปถึงที่นั่น
  • 2:35 - 2:37
    ก็พบภัยภิบัติที่ยิ่งใหญ่กว่า
  • 2:37 - 2:40
    กล่าวคือทั่วทั้งชุมชนไม่มี
    การให้การรักษาพยาบาล
  • 2:40 - 2:43
    ประตูโรงพยาบาลถูกใส่กลอนในเขตทุรกันดาร
  • 2:43 - 2:45
    เพราะขาดเจ้าหน้าที่ทำงาน
  • 2:45 - 2:47
    และเด็กทารกมากมายเหลือเกินก็กำลังจะตาย
  • 2:47 - 2:50
    ก่อนที่อายุจะครบปี
  • 2:50 - 2:54
    อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อแพทย์คิวบาเหล่านี้จากไป
  • 2:54 - 2:57
    ต้องมีแพทย์ชุดใหม่อยู่เพื่อดูแลรักษาต่อไป
  • 2:57 - 2:58
    แต่พวกเขาจะมาจากที่ไหนเล่า
  • 2:58 - 3:01
    พวกเขาจะได้รับการฝึกจากที่ไหน
  • 3:01 - 3:05
    ในกรุงฮาวานา บริเวณโรงเรียนทหารเรือเก่า
  • 3:05 - 3:08
    ถูกโอนมาเป็นของกระทรวงสาธารณสุขคิวบา
  • 3:08 - 3:12
    เพื่อมาเป็นโรงเรียนแพทย์ลาตินอเมริกา
  • 3:12 - 3:14
    หรือ อีแลม (ELAM)
  • 3:14 - 3:16
    ค่าเล่าเรียน ห้องพักและอาหาร
    และเงินยังชีพเล็กน้อย
  • 3:16 - 3:18
    ถูกมอบให้กับนักศึกษาหลายร้อยคน
  • 3:18 - 3:21
    จากประเทศที่ถูกพายุทำลายอย่างหนักที่สุด
  • 3:21 - 3:23
    ในฐานะที่เป็นนักหนังสือพิมพ์ในกรุงฮาวานา
  • 3:23 - 3:26
    ดิฉันมองดูชาวนิคารากัว 95 คนแรกที่มาถึง
  • 3:26 - 3:29
    ในเดือนมีนาคม 1999
  • 3:29 - 3:31
    เข้าอยู่ในหอพักที่แทบไม่ได้ตกแต่งอะไรใหม่
  • 3:31 - 3:35
    และช่วยอาจารย์ของเขาไม่ใช่แค่กวาดห้องเรียน
  • 3:35 - 3:40
    แต่ยังช่วยย้ายโต๊ะเก้าอี้และกล้องจุลทรรศน์
  • 3:40 - 3:42
    ตลอดสองสามปีต่อมา
  • 3:42 - 3:43
    รัฐบาลทั่วทั้งทวีปอเมริกา
  • 3:43 - 3:47
    ได้ขอทุนการศึกษาเพื่อให้นักเรียนของตน
  • 3:47 - 3:49
    มูลนิธิคองเกรสชันนัลแบล็กคอคัส
  • 3:49 - 3:52
    ก็ได้ขอทุนและก็ได้รับทุนหลายร้อยทุน
  • 3:52 - 3:55
    ให้กับคนหนุ่มสาวจากสหรัฐอเมริกา
  • 3:55 - 3:59
    ปัจจุบันในจำนวน 23,000 คน
  • 3:59 - 4:02
    เป็นแพทย์ถึง 83 ประเทศ
  • 4:02 - 4:05
    ในทวีปอเมริกา อัฟริกา และเอเซีย
  • 4:05 - 4:10
    และการสมัครเข้าเรียนเพิ่มขึ้นถึง 123 ประเทศ
  • 4:10 - 4:13
    กว่าครึ่งหนึ่งของนักศึกษาเป็นหญิงสาว
  • 4:13 - 4:14
    มาจาก 100 กลุ่มชาติพันธุ์
  • 4:14 - 4:16
    พูดภาษาที่แตกต่างกัน 50 ภาษา
  • 4:16 - 4:19
    ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก
    มาร์กาเร็ต ชาน กล่าวว่า
  • 4:19 - 4:23
    "ครั้งหนึ่ง ถ้าคุณยากจน เป็นผู้หญิง
  • 4:23 - 4:26
    หรือมาจากชนเผ่าพื้นเมือง
  • 4:26 - 4:27
    คุณมีข้อได้เปรียบที่ชัดเจน
  • 4:27 - 4:32
    มันคือจริยธรรมที่ทำให้โรงเรียนแพทย์แห่งนี้
    ไม่มีที่ใดในโลกที่ทำแบบนี้"
  • 4:32 - 4:36
    ลูเธอร์ คาสทิลลา จาก ซานเปโดรเดอโทคามาโช
  • 4:36 - 4:39
    จากชายฝั่งแอตแลนติคของฮอนดูรัส
  • 4:39 - 4:41
    ที่นั่นไม่มีนํ้าประปา
  • 4:41 - 4:43
    ไม่มีไฟฟ้า
  • 4:43 - 4:46
    และถ้าจะไปหมู่บ้านต้องเดินเท้าหลายชั่วโมง
  • 4:46 - 4:49
    หรือลองเสี่ยงไปกับรถปิคอัพเหมือนกับดิฉัน
  • 4:49 - 4:52
    เลียบไปกับคลื่นลมมหาสมุทรแอตแลนติค
  • 4:52 - 4:57
    ลูเทอร์ เป็นเด็กโทคามาโช หนึ่งใน 40 คน
  • 4:57 - 4:59
    ที่เริ่มต้นมัธยมศึกษา
  • 4:59 - 5:02
    เป็นลูกหลานของคนพื้นเมืองผิวดำกลุ่มหนึ่ง
  • 5:02 - 5:04
    ที่รู้จักในชื่อว่า การิฟูนา
  • 5:04 - 5:07
    คิดเป็น 20 % ของประชากรฮอนดูรัส
  • 5:07 - 5:12
    สถานพยาบาลใกล้สุดอยู่ไกลออกไปหลายไมล์
  • 5:12 - 5:16
    ลูเทอร์ต้องเดินเท้าสามชั่วโมงทุกวัน
  • 5:16 - 5:18
    ไปโรงเรียนมัธยมต้น
  • 5:18 - 5:20
    มีเพียง 17 คนที่เรียนต่อจนจบ
  • 5:20 - 5:22
    อีกห้าคนเรียนจบแค่มัธยมปลาย
  • 5:22 - 5:24
    และเพียงคนเดียวที่ไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย
  • 5:24 - 5:26
    คือ ลูเทอร์ ที่อีแลม
  • 5:26 - 5:30
    เป็นหนึ่งในจำนวนแพทย์จากการิฟูนารุ่นแรก
  • 5:30 - 5:33
    มีแพทย์ที่การิฟูนาแค่สองคนเท่านั้น
    ที่ทำงานอยู่ที่นั่นก่อนพวกเขา
  • 5:33 - 5:36
    ทั้งหมดนี้คือประวัติศาสตร์ชาวฮอนดูรัส
  • 5:36 - 5:42
    ปัจจุบันมี 69 คนต้องขอบคุณอีแลมค่ะ
  • 5:42 - 5:45
    ปัญหาใหญ่ต้องมีวิธีแก้ที่ใหญ่กว่า
  • 5:45 - 5:49
    จุดประกายขึ้นโดยแนวคิด จินตนาการ
    ความกล้าที่ยิ่งใหญ่
  • 5:49 - 5:52
    แต่ยังต้องเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ใช้ได้ผลด้วย
  • 5:52 - 5:55
    คณาจารย์อีแลมไม่มีข้อมูลในมือมาก่อน
  • 5:55 - 5:59
    เพื่อจะสอนชี้นำนักศึกษาได้
    จึงต้องเรียนรู้ในแบบที่ยากมาก
  • 5:59 - 6:02
    ด้วยการทำไปพลางปรับปรุงการสอนไปพลาง
  • 6:02 - 6:05
    แม้กระทั่งนักศึกษาที่ฉลาดที่สุด
  • 6:05 - 6:07
    จากชุมชนยากจนเหล่านี้
  • 6:07 - 6:08
    ก็ไม่มีพื้นฐานด้านวิชาการมาก่อน
  • 6:08 - 6:11
    หกปีของการฝึกทางการแพทย์
  • 6:11 - 6:15
    ดังนั้นทุกวิชาจึงเชื่อมต่อเข้ากับ
    ด้านวิทยาศาสตร์
  • 6:15 - 6:16
    แล้วต่อมาก็ด้านภาษา ซึ่งก็มี
  • 6:16 - 6:19
    ภาษามาพูเช คิวชูแอส กัวรานิ การิฟูนา
  • 6:19 - 6:21
    พวกชนพื้นเมือง
  • 6:21 - 6:23
    ที่เรียนภาษาสเปนเป็นภาษาที่สอง
  • 6:23 - 6:26
    หรือชาวไฮติที่พูดภาษาครีโอ
  • 6:26 - 6:28
    ดังนั้นภาษาสเปนจึงมาเป็นภาษาหลัก
  • 6:28 - 6:32
    ของหลักสูตรเตรียมแพทย์เบื้องต้น
  • 6:32 - 6:35
    แม้กระนั้นก็ตามในคิวบา
  • 6:35 - 6:38
    เพลง อาหาร และกลิ่นอายวัฒนธรรม
  • 6:38 - 6:41
    เกือบจะทุกอย่างก็แตกต่างกัน
  • 6:41 - 6:46
    คณาจารย์จึงกลายเป็นคนในครอบครัวอีแลม
  • 6:46 - 6:49
    ศาสนามีตั้งแต่ความเชื่อชนพื้นเมือง
  • 6:49 - 6:53
    จนถึง โยรูบา มุสลิม และคริสเตียนอีแวนจะลิค
  • 6:53 - 6:57
    การหลอมรวมความแตกต่างไว้เป็นวิถีชีวิต
  • 6:57 - 6:59
    ทำไมหลายชาติมากมายนัก
  • 6:59 - 7:02
    จึงได้ขอทุนการศึกษาเหล่านี้มา
  • 7:02 - 7:05
    ประการแรกพวกเขามีแพทย์ไม่เพียงพอ
  • 7:05 - 7:07
    และถ้ามีแพทย์การกระจายของแพทย์
  • 7:07 - 7:09
    จะถูกหลีกเลี่ยงพวกคนยากจน
  • 7:09 - 7:12
    เพราะวิกฤติสุขอนามัยของโลกเรานั้น
  • 7:12 - 7:15
    ถูกฟูมฟักไปด้วยวิกฤติเรื่องทรัพยากรมนุษย์
  • 7:15 - 7:19
    เราขาดคนทำงานด้านสุขอนามัยสี่ถึงเจ็ดล้านคน
  • 7:19 - 7:21
    แค่เพียงเพื่อตอบรับความจำเป็นพื้นฐาน
  • 7:21 - 7:23
    และปัญหานั้นมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
  • 7:23 - 7:26
    แพทย์กระจุกกันอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ
  • 7:26 - 7:28
    ที่คนในโลกเพียงครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่
  • 7:28 - 7:30
    และภายในเมืองใหญ่นั้น
  • 7:30 - 7:34
    ไม่มีอยู่ในสลัมตอนใต้ของลอสแอนเจลิส
  • 7:34 - 7:36
    ที่นี่ในสหรัฐอเมริกา
  • 7:36 - 7:38
    ที่ซึ่งเรามีการปฏิรูปการรักษาพยาบาล
  • 7:38 - 7:41
    เราไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพที่ต้องการ
  • 7:41 - 7:43
    เมื่อถึงปี 2020 เราจะขาด
  • 7:43 - 7:48
    แพทย์ทั่วไป 45,000 คน
  • 7:48 - 7:50
    และเราก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาอีกด้วย
  • 7:50 - 7:52
    สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าลำดับหนึ่ง
  • 7:52 - 7:57
    แพทย์จากประเทศกำลังพัฒนา
  • 7:57 - 7:59
    เหตุผลที่สอง นักศึกษาแห่กันไปคิวบา
  • 7:59 - 8:02
    เพราะบัตรสุขภาพของเกาะทีนั้นเอง
  • 8:02 - 8:05
    มีการดูแลรักษาขั้นต้นที่เข้มข้น
  • 8:05 - 8:06
    คณะกรรมการจากนิตยสารเดอะแลนเซ็ต
  • 8:06 - 8:09
    จัดอันดับคิวบาอยู่ในกลุ่มประเทศ
    ที่มีศักยภาพดีที่สุด
  • 8:09 - 8:12
    ในด้านสุขภาพของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
  • 8:12 - 8:14
    อัตรารอดชีวิตเด็กในคิวบา
  • 8:14 - 8:18
    ดีที่สุดในลาตินอเมริกาตามมาด้วยแม่เด็ก
  • 8:18 - 8:21
    คิวบามีอายุเฉลี่ยของคนเทียบเท่าสหรัฐ
  • 8:21 - 8:25
    และการเสียชีวิตเด็กแรกเกิดตํ่ากว่าสหรัฐ
  • 8:25 - 8:27
    เพราะมีความไม่เท่าเทียมกันน้อยกว่า
  • 8:27 - 8:29
    ในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่อหัว
  • 8:29 - 8:32
    เป็นหนึ่งใน 20 ที่เราใช้ในเรื่องสุขภาพ
  • 8:32 - 8:34
    ที่นี่ในสหรัฐอเมริกา
  • 8:34 - 8:37
    ในเชิงวิชาการแล้วการเรียนที่อีแลมยาก
  • 8:37 - 8:40
    แต่นักศึกษา 80%ก็เรียนจบ
  • 8:40 - 8:42
    วิชาที่เรียนก็เหมือน ๆ กัน
  • 8:42 - 8:44
    วิทยาศาสตร์และวิชาแพทย์พื้นฐาน
  • 8:44 - 8:47
    แต่มีความแตกต่างที่นัยสำคัญ
  • 8:47 - 8:50
    ข้อแรก การฝึกงานต้องลงมาจากหอคอยงาช้าง
  • 8:50 - 8:53
    ไปเรียนที่คลินิคห้องเรียนและพื้นที่รอบ ๆ
  • 8:53 - 8:57
    สถานที่แบบเดียวกันกับที่บรรดาแพทย์ส่วนใหญ่
    จะต้องไปทำงาน
  • 8:57 - 9:01
    แน่นอน มีการฟังบรรยายและหมุนเวียน
    ไปตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ด้วย
  • 9:01 - 9:06
    แต่การเรียนรู้เริ่มต้นจากชุมชนเป็นพื้นฐาน
  • 9:06 - 9:09
    ข้อที่สองนักศึกษารักษาดูแลคนไข้โดยองค์รวม
  • 9:09 - 9:11
    ทั้งด้านจิตใจและร่างกาย
  • 9:11 - 9:14
    ในบริบทของครอบครัว ชุมชนของพวกเขา
  • 9:14 - 9:16
    และวัฒนธรรมของพวกเขา
  • 9:16 - 9:19
    ข้อสาม พวกเขาเรียนรู้เรื่องสาธารณสุข
  • 9:19 - 9:22
    เพื่อประเมินสภาวะ นํ้าดื่ม ที่อยู่อาศัย
  • 9:22 - 9:25
    สังคมและเศรษฐกิจของผู้ป่วย
  • 9:25 - 9:28
    ข้อสี่ พวกเขาได้รับการสอน
  • 9:28 - 9:31
    วิธีการสอบถามผู้ป่วยอย่างดี
  • 9:31 - 9:33
    และการตรวจร่างกายอย่างละเอียด
  • 9:33 - 9:36
    ที่ให้ข้อมูลมากที่สุดสำหรับการวินิจฉัยโรค
  • 9:36 - 9:39
    ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีราคาแพง
    เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย
  • 9:39 - 9:43
    และท้ายสุดพวกเขาได้รับการสอน
    ซํ้าแล้วซํ้าเล่า
  • 9:43 - 9:45
    ในเรื่องความสำคัญของการป้องกัน
  • 9:45 - 9:47
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องโรคเรื้อรัง
  • 9:47 - 9:52
    ที่ทำให้ระบบสุขภาพทั่วโลกพิกลพิการไป
  • 9:52 - 9:55
    การเรียนรู้ไปพร้อมกับการทำงานไปเช่นนี้
  • 9:55 - 9:57
    ยังมาพร้อมกับวิธีทำงานเป็นทีม
  • 9:57 - 10:00
    พอ ๆ กับทำงานในทีมงานอย่างไร
  • 10:00 - 10:02
    วิธีเป็นผู้นำทีม
  • 10:02 - 10:04
    ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน
  • 10:04 - 10:07
    เมื่อจบการศึกษาแพทย์เหล่านี้จะถ่ายทอด
  • 10:07 - 10:10
    ความรู้พวกเขาให้ผู้ช่วยพยาบาล หมอตำแย
  • 10:10 - 10:12
    และคนงานอนามัยชุมชน
  • 10:12 - 10:14
    เพื่อช่วยให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น
  • 10:14 - 10:16
    ไม่ใช่ไปทำหน้าที่แทนพวกเขา
  • 10:16 - 10:19
    และการทำงานกับหมอผีและหมอพื้นบ้าน
  • 10:21 - 10:24
    สำหรับแพทย์ของอีแลมนั้น
  • 10:24 - 10:29
    กำลังพิสูจน์การทดลองที่กล้าหาญนี้ ใช่ไหม
  • 10:29 - 10:31
    โครงการหลายสิบโครงการเป็นพยานให้เรา
  • 10:31 - 10:33
    ในสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้
  • 10:33 - 10:35
    ดูตัวอย่างแพทย์จากการิฟูนา
  • 10:35 - 10:37
    พวกเขาไม่เพียงกลับไปทำงานที่บ้านเกิด
  • 10:37 - 10:40
    แต่ยังจัดตั้งชุมชนของพวกเขาด้วยการสร้าง
  • 10:40 - 10:43
    โรงพยาบาลคนพื้นเมืองแห่งแรกของฮอนดูรัส
  • 10:43 - 10:45
    ด้วยความช่วยเหลือของสถาปนิกคนหนึ่ง
  • 10:45 - 10:50
    ชาวบ้านช่วยกันยกมันขึ้นมาจากพื้นดิน
  • 10:50 - 10:52
    คนป่วยกลุ่มแรกเดินผ่านประตูเข้าไป
  • 10:52 - 10:54
    ในเดือนธันวาคม 2007
  • 10:54 - 10:57
    และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาโรงพยาบาลนี้ได้รับ
  • 10:57 - 11:00
    ผู้ป่วยที่เข้ามารักษาเกือบหนึ่งล้านคน
  • 11:00 - 11:02
    และรัฐบาลก็ให้การเอาใจใส่
  • 11:02 - 11:05
    ยกให้เป็นโรงพยาบาลตัวอย่าง
  • 11:05 - 11:10
    การสาธณะสุขชนบทสำหรับฮอนดูรัส
  • 11:10 - 11:13
    บัณฑิตแพทย์ของอีแลมนั้นฉลาด
  • 11:13 - 11:17
    เข้มแข็งและยังอุทิศตนอีกด้วย
  • 11:17 - 11:21
    ที่ไฮติ เดือนมกราคม 2010
  • 11:21 - 11:23
    ความเจ็บปวดที่นั้น
  • 11:23 - 11:27
    คนถูกฝังอยู่ใต้ทรากปรักหักพัง 30 ล้านตัน
  • 11:27 - 11:29
    ทุกอย่างประดังกันเข้ามา
  • 11:29 - 11:31
    แพทย์คิวบา 340 คน
  • 11:31 - 11:34
    เข้ามาในพื้นที่แล้วเพื่ออยู่ยาว
  • 11:34 - 11:36
    อีกหลายคนกำลังมา ยังต้องการมากกว่านี้อีก
  • 11:36 - 11:39
    ที่อีแลม นักศึกษาก็ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
  • 11:39 - 11:42
    เพื่อติดต่อกับแพทย์ 2,000 คน
  • 11:42 - 11:46
    ผลก็คือ หลายร้อยคนไปถึงไฮติแล้ว
  • 11:46 - 11:50
    มาจาก 27 ประเทศมั่งคั่ง จากมาลีในซาฮารา
  • 11:50 - 11:54
    จนถึง เซ็นท์ลูเซีย โบลีเวีย ชิลี และสหรัฐ
  • 11:54 - 11:58
    พวกเขาคุยกันอย่างง่ายด้วยภาษาสเปน
  • 11:58 - 12:00
    และฟังคนป่วยพูดโดยใช้ภาษาครีโอ
  • 12:00 - 12:03
    ต้องขอบคุณนักศึกษาแพทย์ชาวไฮติ
  • 12:03 - 12:05
    ที่บินมาจากอีแลมในคิวบา
  • 12:05 - 12:06
    หลายคนอยู่นานหลายเดือน
  • 12:06 - 12:09
    แม้จะมีอหิวาตกโรคระบาด
  • 12:09 - 12:12
    แพทย์ชาวไฮติหลายร้อยคน
  • 12:12 - 12:14
    ต้องปะติดปะต่อทรากชิ้นส่วน
  • 12:14 - 12:16
    เพื่อชนะหัวใจที่แหลกสลายของตนเอง
  • 12:16 - 12:18
    แล้วก็ต้องรับภาระ
  • 12:18 - 12:22
    ในการสร้างระบบสาธารณสุขใหม่ให้กับไฮติ
  • 12:22 - 12:24
    ปัจจุบัน ด้วยการช่วยเหลือของ
    องค์กรและรัฐบาลต่าง ๆ
  • 12:24 - 12:27
    จากนอร์เวย์ คิวบา จนถึง บราซิล
  • 12:27 - 12:29
    ศูนย์อนามัยใหม่ ๆ จำนวนมากได้ถูกสร้างขึ้น
  • 12:29 - 12:33
    มีคนงานประจำ และใน 35 แห่ง นำโดย
  • 12:33 - 12:36
    แพทย์อีแลม
  • 12:36 - 12:38
    แต่เรื่องราวของไฮติ
  • 12:38 - 12:40
    แค่ตัวอย่างของปัญหาที่ใหญ่กว่านี้
  • 12:40 - 12:43
    ที่เผชิญอยู่ในหลายประเทศ
  • 12:43 - 12:44
    ลองมาดูกัน
  • 12:44 - 12:50
    แพทย์ไฮติ 748 คน จบในปีค.ศ..2012
    ขณะอหิวาตกโรคระบาด
  • 12:50 - 12:54
    เกือบครึ่งทำงานในภสตสาธารณสุข
  • 12:54 - 12:56
    แต่จำนวนหนึ่งในสี่นั้นตกงาน
  • 12:56 - 13:02
    และ 110 คนไปจากไฮติเลย
  • 13:02 - 13:05
    ดังนั้น สิ่งดีที่สุดเท่าที่จะทำได้คือ
  • 13:05 - 13:07
    ให้แพทย์เหล่านี้ได้งานประจำ
  • 13:07 - 13:10
    และทำให้ระบบสาธารณสุขแข็งแกร่งขึ้น
  • 13:10 - 13:13
    ที่ซึ่งบ่อยครั้งมีแพทย์ประจำอยู่ที่นั่น
  • 13:13 - 13:16
    ในกรณีแย่ที่สุด คือไม่มีตำแหน่งงานให้ทำ
  • 13:16 - 13:18
    ในภาคสาธารณสุข
  • 13:18 - 13:20
    ที่คนยากจนส่วนมากไปรักษาพยาบาล
  • 13:20 - 13:23
    ขาดเจตนารมย์ทางการเมือง ขาดทรัพยากร
  • 13:23 - 13:25
    ขาดไปเสียทุกอย่าง--
  • 13:25 - 13:29
    แค่มีคนป่วยมากเกินไปที่ไม่ได้รับการูแล
  • 13:29 - 13:32
    แพทย์ยังเผชิญกับความกดดันจากครอบครัวด้วย
  • 13:32 - 13:34
    สิ้นหวังเพราะหาเงินได้ไม่พอกับรายจ่าย
  • 13:34 - 13:36
    ดังนั้น เมื่อไม่มีงานของหน่วยงานรัฐ
  • 13:36 - 13:39
    แพทย์จบใหม่เหล่านี้ก็หนีไปทำงานในภาคเอกชน
  • 13:39 - 13:43
    หรือไม่ก็ต่างประเทศ เพื่อส่งเงินกลับบ้าน
  • 13:43 - 13:46
    ที่แย่ที่สุด ในบางประเทศ
  • 13:46 - 13:49
    แพทยสภา มีอิทธิพลในการรับรองระบบงาน
  • 13:49 - 13:52
    ไม่ให้เกียรติยอมรับปริญญาแพทย์ศาสตร์อีแลม
  • 13:52 - 13:55
    เพราะกลัวว่าแพทย์เหล่านี้จะไปแย่งงาน
  • 13:55 - 13:58
    หรือลดภาระงานคนป่วยและรายได้ของพวกเขา
  • 13:58 - 14:01
    ไม่ใช่ปัญหาเรื่องสมรรถนะความสามารถ
  • 14:01 - 14:04
    ที่นี่ ในสหรัฐอเมริกาคณะกรรมการแพทย์
    แคลิฟอร์เนีย
  • 14:04 - 14:07
    รับรองอีแลมหลังการตรวจสอบอย่างเข้มงวด
  • 14:07 - 14:09
    และแพทย์ใหม่เหล่านั้นก็กำลังทำงานได้ดี
  • 14:09 - 14:11
    กับเดิมพันครั้งใหญ่ของคิวบา
  • 14:11 - 14:13
    ผ่านการคณะกรรมการและได้รับเข้าทำงาน
  • 14:13 - 14:16
    ในโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับอย่างสูง
  • 14:16 - 14:20
    ตั้งแต่นิวยอร์ค ชิคาโก จนถึง นิวเม็กซิโก
  • 14:20 - 14:22
    สองร้อยคนที่แข็งแกร่ง พวกเขากำลังมาถึง
  • 14:22 - 14:25
    สหรัฐอเมริกาอย่างมุ่งมั่นแข็งขัน
  • 14:25 - 14:27
    และก็ยังไม่ได้อย่างที่ตั้งใจ
  • 14:27 - 14:29
    อย่างที่แพทย์คนหนึ่งพูดว่า
  • 14:29 - 14:32
    ในคิวบา"เราถูกฝึกมาเพื่อรักษาอย่างมีคุณภาพ
  • 14:32 - 14:34
    ด้วยทรัพยากรน้อยที่สุด
  • 14:34 - 14:37
    ดังนั้นเมื่อผมเห็นทรัพยากรทั้งหมดที่เรามีที่นี่
  • 14:37 - 14:39
    และคุณบอกผมได้เลยว่ามันเป็นไปไม่ได้
  • 14:39 - 14:41
    ผมรู้ว่ามันไม่ถูกต้อง
  • 14:41 - 14:47
    ไม่เพียงแต่ว่าผมเห็นว่ามันได้ผล
    ผมต้องใช้งานมันด้วย"
  • 14:47 - 14:49
    แพทย์ของอีแลม
  • 14:49 - 14:52
    บางคนตรงมาที่นี่ในวอชิงตัน และบัลติมอร์
  • 14:52 - 14:56
    มาจากคนที่จนที่สุดในหมู่คนจน
  • 14:56 - 14:58
    เพื่อมาให้การรักษาและให้การศึกษา
  • 14:58 - 15:01
    และเป็นปากเสียงให้แก่ชุมชนของเขา
  • 15:01 - 15:03
    พวกเขาได้ยกสิ่งที่หนักอึ้งออกไปแล้ว
  • 15:03 - 15:06
    ตอนนี้ เราจำเป็นต้องทำหน้าที่ของเรา
  • 15:06 - 15:09
    เพื่อสนับสนุนแพทย์ 23,000 คนนี้
    และที่กำลังจะเพิ่มขึ้น
  • 15:09 - 15:10
    พวกเราทุกคน--
  • 15:10 - 15:14
    มูลนิธิ ผู้อำนวยการสถานพยาบาล สื่อมวลชน
  • 15:14 - 15:17
    ผู้ประกอบการ ผู้วางโยบาย ผู้คนทั้งหลาย--
  • 15:17 - 15:19
    จำเป็นต้องก้าวออกมา
  • 15:19 - 15:21
    เราจำเป็นต้องทำให้ทั่วโลกมากกว่านี้
  • 15:21 - 15:24
    เพื่อให้โอกาสแก่แพทย์ใหม่เหล่านี้
  • 15:24 - 15:27
    ได้พิสูจน์ความสามารถในการทำงานของเขา
  • 15:27 - 15:28
    พวกเขาต้องสามารถ
  • 15:28 - 15:31
    เข้าสอบเพื่อรับใบอนุญาตในประเทศตนเองได้
  • 15:31 - 15:34
    พวกเขาต้องการได้งานในภาคสาธารณสุข
  • 15:34 - 15:36
    หรือในศูนย์สุขอนามัยที่ไม่หวังกำไร
  • 15:36 - 15:40
    เพื่อนำการฝึกฝนและความมุ่งมั่นมาทำงาน
  • 15:40 - 15:42
    พวกเขาต้องการโอกาสที่จะเป็น
  • 15:42 - 15:47
    แพทย์ที่ต้องการของผู้ป่วย
  • 15:47 - 15:49
    เพื่อที่จะเคลื่อนไปข้างหน้า
  • 15:49 - 15:52
    เราอาจจะต้องกลับไปเหมือนเดิม
  • 15:52 - 15:54
    ที่กุมารแพทย์ผู้ซึ่ง
  • 15:54 - 15:55
    เคาะประตูบ้านครอบครัวดิฉัน
  • 15:55 - 15:59
    ที่ด้านใต้ชิคาโกตอนดิฉันยังเป็นเด็ก
  • 15:59 - 16:00
    มาเยี่ยมคนป่วยตามบ้าน
  • 16:00 - 16:03
    ซึ่งเป็นข้าราชการ
  • 16:03 - 16:05
    เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่อะไรเลย
  • 16:05 - 16:08
    เป็นสิ่งที่การแพทย์ควรจะทำ
  • 16:08 - 16:10
    เรื่องใหม่ก็คือการปรับขึ้นตามสัดส่วน
  • 16:10 - 16:14
    และเกียรติภูมิของแพทย์เอง
  • 16:14 - 16:17
    นั่นคือแพทย์อีแลมนั้นน่าจะเป็นผู้หญิง
  • 16:17 - 16:19
    มากกว่าผู้ชาย
  • 16:19 - 16:22
    ในแถบอเมซอน เปรู หรือ กัวเตมาลา
  • 16:22 - 16:24
    ก็เป็นแพทย์ชาวพื้นเมือง
  • 16:24 - 16:27
    ในสหรัฐก็เป็นแพทย์ที่เป็นคนผิวสี
  • 16:27 - 16:30
    ที่พูดภาษาสเปนได้คล่องแคล่ว
  • 16:30 - 16:33
    เธอได้รับการฝึกมาอย่างดีเชื่อถือได้
  • 16:33 - 16:37
    และมีหน้าตาและวัฒนธรรมเหมือนกันกับผู้ป่วย
  • 16:37 - 16:40
    แน่นอน เธอควรได้รับการสนับสนุนจากพวกเรา
  • 16:40 - 16:45
    เพราะไม่ว่าโดยสารด้วยรถไฟใต้ดิน ด้วยลา
    หรือด้วยเรือบด
  • 16:45 - 16:48
    เธอกำลังสอนเราให้เดินหน้าต่อไป
  • 16:48 - 16:54
    ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)
Title:
จะไปฝึกแพทย์ของโลกที่ไหนหรือ? ก็ที่คิวบาไง
Speaker:
เกล รีด
Description:

ปัญหาใหญ่จำเป็นต้องมีวิธีแก้ปัญหาที่ใหญ่ ซึ่งถูกจุดประกายขึ้นจาก แนวคิด จินตนาการ และความกล้าหาญอย่างมาก ในการพูดครั้งนี้ เกล รีด ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ ได้อธิบายข้อมูลสำคัญของวิธีแก้ปัญหาที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง ที่มีค่าควรกล่าวถึง นั่นคือ โรงเรียนแพทย์ลาตินอเมริกาของกรุงฮาวานา ซึ่งได้ฝึกแพทย์ทั่วโลก เพื่อไปรับใช้ชุมชนท้องถิ่น ที่ต้องการพวกเขามากที่สุด

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:08

Thai subtitles

Revisions