Return to Video

ถึงเวลาที่พวกเราเริ่มจะเอาชนะสงครามกับมะเร็งได้แล้ว

  • 0:01 - 0:03
    เรากำลังประกาศสงครามกับโรคมะเร็ง
  • 0:03 - 0:05
    และเราจะชนะสงครามนี้ภายใน ค.ศ. 2015
  • 0:06 - 0:10
    นี่คือสิ่งที่รัฐสภาของสหรัฐอเมริกา
    และสถาบันมะเร็งแห่งชาติประกาศ
  • 0:10 - 0:13
    เมื่อไม่นานมานี้ในปี ค.ศ. 2003
  • 0:14 - 0:17
    ตอนนี้ ผมไม่รู้ว่าพวกคุณคิดยังไง
    แต่ตัวผมเองนั้นไม่เชื่อเรื่องนี้
  • 0:17 - 0:19
    ผมไม่คิดว่าเราชนะสงครามนี้ได้แล้ว
  • 0:19 - 0:21
    และผมไม่คิดว่า จะมีใครที่นี่
    สงสัยเรื่องนั้น
  • 0:22 - 0:24
    ทีนี้ผมจะบอกถึงเหตุผลหลัก
  • 0:24 - 0:26
    ที่เราไม่สามารถเอาชนะสงครามกับโรคมะเร็งได้
  • 0:26 - 0:29
    นั่นก็เพราะเรากำลังต่อสู้อย่างมืดบอด
  • 0:29 - 0:32
    ผมจะเริ่มด้วยการแบ่งปันเรื่องราว
    ของเพื่อนสนิทคนหนึ่งของผม
  • 0:32 - 0:34
    เขาชื่อ เอฮุด ครับ
  • 0:34 - 0:37
    เมื่อไม่กี่ปีก่อน เอฮุดได้รับ
    การวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งสมอง
  • 0:37 - 0:39
    แล้วก็ไม่ใช่แค่มะเร็งสมองทั่ว ๆ ไปนะครับ
  • 0:39 - 0:42
    แต่เป็นมะเร็งสมองชนิดร้ายแรงที่สุด
  • 0:42 - 0:43
    อันที่จริง มันร้ายแรงถึงขั้นที่
  • 0:43 - 0:46
    คุณหมอบอกเขาว่า เขามีเวลาเพียงแค่ 12 เดือน
  • 0:46 - 0:49
    และในระยะเวลา 12 เดือนนั้น
    พวกเขาต้องหาวิธีรักษา
  • 0:49 - 0:51
    พวกเขาต้องหายารักษา
  • 0:51 - 0:53
    และหากพวกเขาไม่สามารถ
    หาทางรักษามันได้ เขาจะตาย
  • 0:54 - 0:55
    ข่าวดีก็คือ คุณหมอบอกว่า
  • 0:55 - 0:58
    มีแนวทางในการรักษาให้เลือกมากมาย
  • 0:58 - 0:59
    แต่ข่าวร้ายก็คือ
  • 0:59 - 1:03
    การที่จะบอกได้ว่าการรักษานั้นได้ผลหรือไม่
  • 1:03 - 1:06
    จำเป็นต้องใช้เวลาประมาณสามเดือน
  • 1:06 - 1:08
    ดังนั้นพวกเขาก็ไม่มีเวลามากพอ
    ที่จะลองทุกวิธีที่มี
  • 1:08 - 1:11
    ครับ แล้วเอฮุดก็เข้ารับการรักษาครั้งแรก
  • 1:11 - 1:14
    ในระหว่างการรักษาครั้งแรกนั้น
    ไม่กี่วันหลังจากเริ่มการรักษา
  • 1:14 - 1:18
    ผมได้พบเอฮุด และเขาบอกกับผมว่า
    "อดัม ผมคิดว่าการรักษาได้ผลนะ
  • 1:18 - 1:21
    ผมคิดว่าผมโชคดีมาก ๆ เลยล่ะ
    เพราะว่าบางอย่างกำลังเกิดขึ้น"
  • 1:21 - 1:23
    ผมเลยถามเขาต่อว่า "จริงหรอ
    ว่าแต่ว่าทำไมถึงคิดแบบนั้นล่ะ เอฮุด"
  • 1:23 - 1:25
    เขาตอบผมว่า "ก็ตอนนี้ผมรู้สึกแย่มาก ๆ อยู่ข้างใน"
  • 1:25 - 1:27
    "ผมว่ามันต้องมีอะไรบางอย่างได้ผลอยู่แน่ๆ"
  • 1:27 - 1:28
    "ต้องใช่แน่นอน"
  • 1:28 - 1:33
    ครับ แต่โชคร้ายที่สามเดือนหลังจากนั้น
    เราได้รู้ว่ามันไม่ได้ผล
  • 1:34 - 1:36
    และเอฮุดก็เข้ารับการรักษาครั้งที่สอง
  • 1:36 - 1:37
    เป็นอีกครั้งที่ผลออกมาเหมือนเดิม
  • 1:37 - 1:40
    "ผมรู้สึกแย่มากเลย
    ต้องมีอะไรเกิดขึ้นอยู่ข้างในแน่ ๆ"
  • 1:40 - 1:43
    แต่อีกสามเดือนต่อมา
    ก็เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่เราได้รับข่าวร้าย
  • 1:43 - 1:47
    จากนั้นเอฮุดก็เข้ารับการรักษา
    ครั้งที่สาม แล้วก็ครั้งที่สี่
  • 1:47 - 1:49
    แล้วก็เป็นไปตามที่คาดไว้
    เอฮุดเสียชีวิตในท้ายที่สุด
  • 1:50 - 1:54
    ทีนี้ เมื่อใครสักคนหนึ่งคุณสนิทด้วยมาก ๆ
    ต้องผ่านการฝ่าฟันอย่างหนัก
  • 1:54 - 1:56
    คุณก็จะท่วมท้นไปด้วยอารมณ์มากมาย
  • 1:56 - 1:58
    หลายสิ่งหลายอย่างจะ
    ผ่านเข้ามาในความคิดของคุณ
  • 1:58 - 2:00
    สำหรับผมแล้ว
    ผมรู้สึกเจ็บแค้นเป็นส่วนใหญ่
  • 2:00 - 2:05
    ผมเจ็บแค้นที่ว่า
    เราทำได้ดีที่สุดแค่นี้เองหรอ
  • 2:05 - 2:07
    แล้วผมก็เริ่มมองเข้าไปให้ลึกขึ้น
  • 2:07 - 2:10
    จากนั้นผมจึงพบว่าสิ่งที่หมอเสนอ
    ให้เอฮุดนั้นไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด
  • 2:10 - 2:14
    และสิ่งที่หมอเสนอก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด
    สำหรับผู้ป่วยมะเร็งสมองคนอื่น ๆ ด้วย
  • 2:14 - 2:17
    จริง ๆ แล้ว เรายังรับมือกับโรคมะเร็ง
    ได้ไม่รอบด้านนัก
  • 2:18 - 2:20
    ผมขอยกสถิติหนึ่งขึ้นมา
  • 2:20 - 2:23
    ผมมั่นใจว่าพวกคุณบางคน
    คงได้เห็นมันมาก่อนแล้ว
  • 2:23 - 2:26
    สถิตินี้จะบอกพวกคุณว่ามีผู้ป่วยมะเร็ง
    เสียชีวิตจากมะเร็งจริง ๆ กี่คน
  • 2:26 - 2:28
    ในกรณีนี้ คือ ผู้หญิงในสหรัฐอเมริกา
  • 2:28 - 2:30
    ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930
  • 2:30 - 2:33
    คุณจะเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ
    ไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมเยอะเลย
  • 2:33 - 2:34
    มะเร็งยังคงเป็นปัญหาใหญ่
  • 2:34 - 2:36
    แต่คุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง
  • 2:36 - 2:39
    คุณจะเห็นว่ามีคนเป็นมะเร็งปอดเพิ่มมากขึ้น
  • 2:39 - 2:40
    ซึ่งต้องขอบคุณบุหรี่ทั้งหลาย
  • 2:40 - 2:43
    แล้วคุณก็จะได้เห็นด้วยว่า
    มะเร็งกระเพาะอาหารนั้น
  • 2:43 - 2:46
    ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้คน
    ไปมากที่สุดในบรรดามะเร็งทุกชนิด
  • 2:46 - 2:48
    ถูกกำจัดไป
  • 2:48 - 2:51
    ทีนี้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้นล่ะ
    มีใครรู้บ้างไหม
  • 2:51 - 2:54
    ทำไมมนุษยชาติถึงไม่โดนจู่โจม
    ด้วยมะเร็งกระเพาะอีกแล้ว
  • 2:54 - 2:59
    ความก้าวหน้าทางการแพทย์
    ครั้งยิ่งใหญ่อะไรกัน
  • 2:59 - 3:02
    ที่ช่วยให้มนุษยชาติรอดพ้น
    จากมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • 3:03 - 3:07
    ใช่ยาชนิดใหม่
    หรือการวินิจฉัยโรคที่ดีขึ้นหรือเปล่า
  • 3:07 - 3:08
    พวกคุณเข้าใจถูกแล้ว
  • 3:08 - 3:11
    มันเป็นเพราะการเกิดขึ้นของตู้เย็นยังไงล่ะ
  • 3:11 - 3:14
    ที่ทำให้เราไม่ต้องกินเนื้อบูด ๆ อีกต่อไป
  • 3:14 - 3:16
    กลับกลายเป็นว่า
    สิ่งที่ดีที่สุดที่เราคิดค้นมาได้
  • 3:16 - 3:18
    จากสังเวียนของงานวิจัยด้านมะเร็ง
  • 3:18 - 3:20
    คือการที่ตู้เย็นถูกสร้างขึ้นมา
  • 3:20 - 3:21
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:21 - 3:23
    ผมก็รู้สึกแบบคุณนั่นล่ะ
  • 3:23 - 3:24
    เราทำกันได้ไม่ดีสักเท่าไร
  • 3:24 - 3:26
    ผมไม่ได้จะลดทอนความก้าวหน้า
  • 3:26 - 3:30
    รวมถึงทุกอย่างที่ได้ทำมาทั้งหมด
    ในงานวิจัยด้านมะเร็งนะครับ
  • 3:30 - 3:33
    ลองดูสิว่า เรามีงานวิจัยเกี่ยวกับ
    มะเร็งที่ดีมาราว ๆ 50 กว่าปี
  • 3:33 - 3:37
    ที่ทำให้เราค้นพบสิ่งที่สำคัญ ๆ
    ที่สอนเราเกี่ยวกับมะเร็ง
  • 3:37 - 3:38
    แต่ถึงจะพูดแบบนั้นก็ตาม
  • 3:39 - 3:41
    เรายังมีงานหนักอีกมากมาย
    ที่ยังต้องทำอยู่ข้างหน้า
  • 3:43 - 3:46
    ผมขอโต้แย้งอีกครั้งว่า
    เหตุผลหลักที่ทำไมมันถึงยังเป็นแบบนี้อยู่
  • 3:46 - 3:48
    เหตุที่ว่าทำไมเราถึงยังทำมาได้ไม่ดีพอนั้น
  • 3:48 - 3:50
    ก็เพราะว่าเรากำลังต่อสู้กับมะเร็งอย่างมืดบอด
  • 3:50 - 3:52
    และจุดนี้เองที่การฉายภาพทางการแพทย์
    จะเข้ามาเกี่ยวข้อง
  • 3:52 - 3:54
    และเป็นจุดที่งานของผมเองเข้ามาเกี่ยวข้อง
  • 3:54 - 3:57
    และเพื่อจะทำให้คุณเข้าใจ
    การฉายภาพทางการแพทย์ได้ดีที่สุด
  • 3:57 - 4:00
    ซึ่งใช้กับผู้ป่วยมะเร็งสมองทุกวันนี้
  • 4:00 - 4:02
    รวมถึงใช้กับ
    ผู้ป่วยมะเร็งชนิดอื่น ๆ ด้วย
  • 4:02 - 4:04
    ผมจะให้คุณดูเพทสแกน (PET Scan) อันนี้
  • 4:04 - 4:05
    เรามาดูพร้อมกันเถอะ
  • 4:06 - 4:07
    นี่คือเพท ซีทีสแกน (PET/CT Scan)
  • 4:07 - 4:10
    และสิ่งที่คุณเห็นข้างใน เพท ซีทีสแกน นั้น
  • 4:10 - 4:13
    คือซีทีสแกนที่แสดงให้คุณเห็นว่า
    กระดูกอยู่ตรงไหน
  • 4:13 - 4:15
    และเพทสแกนที่จะบอกคุณว่า
    เนื้องอกนั้นอยู่ที่ไหน
  • 4:16 - 4:18
    ทีนี้ สิ่งที่คุณเห็นได้ในตอนนี้
  • 4:18 - 4:21
    ส่วนใหญ่แล้วเป็นโมเลกุลน้ำตาล
  • 4:21 - 4:22
    ที่ถูกติดป้ายเล็ก ๆ เข้าไป
  • 4:22 - 4:25
    ที่กำลังส่งสัญญาณออกมา
    ภายนอกร่างกายมายังเรา
  • 4:25 - 4:26
    "เฮ้ ฉันอยู่นี่"
  • 4:26 - 4:30
    โมเลกุลน้ำตาลพวกนี้นับพันล้านโมเลกุล
    จะถูกฉีดเข้าไปในร่างกายของคนไข้
  • 4:30 - 4:31
    แล้วก็จะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย
  • 4:31 - 4:34
    คอยหาเซลล์ที่หิวโหยน้ำตาล
  • 4:34 - 4:37
    ตัวอย่างเช่น
    คุณจะเห็นว่าหัวใจส่องสว่างอยู่ตรงนั้น
  • 4:37 - 4:39
    นั่นก็เพราะว่าหัวใจนั้นต้องการน้ำตาลมาก
  • 4:39 - 4:42
    และคุณก็จะเห็นว่า
    กระเพาะปัสสาวะก็ส่องสว่างเช่นกัน
  • 4:42 - 4:44
    ซึ่งก็เพราะว่า
    กระเพาะปัสสาวะคืออวัยวะที่กำจัด
  • 4:44 - 4:46
    น้ำตาลออกไปจากร่างกายของเรา
  • 4:46 - 4:48
    แล้วคุณก็จะเห็นจุดสว่างอื่น ๆ อีกเช่นกัน
  • 4:48 - 4:50
    ซึ่งจุดพวกนี้เองที่เป็นเนื้องอก
  • 4:50 - 4:52
    เทคโนโลยีนี้เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมาก
  • 4:52 - 4:55
    เป็นครั้งแรกที่มันทำให้เราสามารถมองเข้าไป
    ในร่างกายของใครสักคนได้
  • 4:55 - 4:57
    โดยที่ไม่ต้องเอาเซลล์พวกนั้นทั้งหมดออกมา
  • 4:57 - 4:59
    แล้ววางไว้ใต้กล้องจุลทรรศน์
  • 4:59 - 5:02
    และด้วยวิธีที่ไม่รุกรานแบบนี้ ทำให้เรา
    สามารถมองเข้าไปในร่างกายของใครสักคน
  • 5:02 - 5:05
    แล้วถามว่า "เห้ย
    มะเร็งแพร่กระจายแล้วหรือยัง
  • 5:05 - 5:06
    มันอยู่ไหนน่ะ"
  • 5:06 - 5:08
    ซึ่งเพทสแกนนั้น กำลังแสดง
    ให้คุณเห็นอย่างชัดเจนมาก
  • 5:08 - 5:11
    ว่าจุดสว่าง ๆ พวกนี้อยู่ตรงไหน
    และเนื้องอกอยู่ตรงไหน
  • 5:11 - 5:15
    แต่ถึงแม้ว่ามันจะดูน่าอัศจรรย์สักเท่าไรก็ตาม
  • 5:15 - 5:18
    ก็ยังมีความโชคร้ายว่า
    มันก็ไม่ได้ดีเยี่ยมขนาดนั้น
  • 5:18 - 5:20
    คุณเห็นไหม จุดสว่างเล็ก ๆ ตรงนั้นน่ะ
  • 5:21 - 5:25
    มีใครเดาได้ไหมว่าในเนื้องอกแต่ละก้อน
    มีเซลล์มะเร็งกี่เซลล์
  • 5:27 - 5:29
    ประมาณ 100 ล้านเซลล์ยังไงล่ะ
  • 5:29 - 5:32
    และเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจตัวเลขนี้
  • 5:32 - 5:34
    ผมจะบอกว่า ในจุดสว่างเล็ก ๆ ทุกจุดพวกนี้
  • 5:34 - 5:36
    ที่คุณเห็นอยู่ในรูปนั้น
  • 5:36 - 5:40
    จำเป็นจะต้องมีเซลล์มะเร็ง
    อย่างน้อย 100 ล้านเซลล์
  • 5:40 - 5:41
    ถึงจะทำให้เครื่องนี้ตรวจพบได้
  • 5:41 - 5:44
    ทีนี้ ถ้าพวกคุณคิดว่ามันเป็นตัวเลขที่มาก
  • 5:44 - 5:45
    ถูกต้องแล้ว มันคือตัวเลขที่มาก
  • 5:47 - 5:49
    จริง ๆ แล้ว มันคือตัวเลขมหาศาลเลยล่ะ
  • 5:49 - 5:51
    เพราะสิ่งที่เราต้องทำ
    เพื่อให้เอาออกมาให้เร็วพอ
  • 5:51 - 5:54
    เพื่อที่จะทำอะไรกับมันได้
    เพื่อที่จะทำอะไรที่ก่อให้เกิดผลที่ดีนั้น
  • 5:54 - 5:57
    คือเราต้องเอาเนื้องอก
    ที่มีขนาดแค่หนึ่งพันเซลล์ออก
  • 5:57 - 6:00
    หรือถ้าเป็นไปได้ ก็คือเซลล์
    แค่หยิบมือเดียวเท่านั้น
  • 6:00 - 6:02
    นั่นหมายความว่าเรายังอยู่ห่างจากจุดนั้นมาก
  • 6:02 - 6:05
    ดังนั้นเราจะทำการทดลองเล็ก ๆ ที่นี่
  • 6:05 - 6:07
    ตอนนี้ ผมจะให้พวกคุณแต่ละคน
    เล่นเกมและจินตนาการว่า
  • 6:07 - 6:09
    คุณเป็นหมอผ่าตัดสมอง
  • 6:09 - 6:13
    แล้วตอนนี้คุณก็กำลังอยู่ในห้องผ่าตัด
  • 6:13 - 6:15
    และมีคนไข้คนหนึ่งนอนอยู่ข้างหน้าคุณ
  • 6:15 - 6:19
    งานของคุณคือ คุณต้องทำให้แน่ใจว่า
    เนื้องอกนั้นถูกเอาออกไปแล้ว
  • 6:19 - 6:21
    ตอนนี้คุณกำลังมองไปที่คนไข้ของคุณ
  • 6:21 - 6:25
    และเมื่อคุณมองลงไปนั้น
    ผิวหนังและกะโหลกของคนไข้ก็ถูกเปิดออกแล้ว
  • 6:25 - 6:27
    ตอนนี้คุณกำลังมองไปที่สมอง
  • 6:27 - 6:28
    และสิ่งที่คุณรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับคนไข้คนนี้
  • 6:28 - 6:31
    คือคนไข้มีก้อนเนื้องอกขนาดประมาณลูกกอล์ฟ
  • 6:31 - 6:34
    ในสมองกลีบหน้าด้านขวาของเขา
  • 6:34 - 6:35
    เท่านั้นล่ะที่คุณรู้
  • 6:35 - 6:39
    คุณเลยมองลงไป แต่โชคไม่ดีที่
    ทุกอย่างกลับดูเหมือนกันไปหมด
  • 6:39 - 6:42
    เพราะว่าเนื้อเยื่อมะเร็งและ
    เนื้อเยื่อปกติของสมองนั้น
  • 6:42 - 6:43
    แท้จริงแล้วดูเหมือนกัน
  • 6:43 - 6:45
    คุณเลยยื่นนิ้วโป้งของคุณลงไป
  • 6:45 - 6:48
    แล้วเริ่มกดที่สมองสักจุดหนึ่ง
  • 6:48 - 6:50
    เพราะว่าเนื้องอกมักจะแข็งและกระด้างกว่า
  • 6:50 - 6:53
    คุณเลยยื่นนิ้วเข้าไปแล้วทำแบบนั้น
    แล้วก็พูดว่า
  • 6:53 - 6:55
    "ดูเหมือนว่าเนื้องอกจะอยู่ตรงนี้นะ"
  • 6:55 - 6:57
    แล้วคุณก็เอามีดออกมาแล้วผ่าเนื้องอกนั้นออก
  • 6:57 - 6:59
    ทีละชิ้น ทีละชิ้น
  • 6:59 - 7:00
    และในขณะที่คุณกำลังเอาเนื้องอกออกมา
  • 7:00 - 7:03
    ก็จะมาถึงจุดที่คุณคิดว่า
  • 7:03 - 7:05
    "โอเคล่ะ เสร็จแล้ว
    ฉันเอาทุกอย่างออกมาหมดแล้ว"
  • 7:05 - 7:06
    และในขั้นนี้
  • 7:06 - 7:09
    ขั้นที่ทุกอย่างดูเหมือนไม่เข้าท่าไปหมด
  • 7:09 - 7:13
    คุณจะได้พบกับการตัดสินใจที่
    ท้าทายที่สุดในชีวิตของคุณ
  • 7:13 - 7:14
    เพราะในตอนนี้คุณต้องตัดสินใจแล้วว่า
  • 7:14 - 7:17
    คุณจะหยุดแต่เพียงเท่านี้
    แล้วปล่อยคนไข้ไป
  • 7:17 - 7:20
    และในขณะเดียวกัน ก็ต้องเสี่ยงว่า
    อาจมีเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่
  • 7:20 - 7:22
    ที่คุณมองไม่เห็น
  • 7:22 - 7:25
    หรือว่าจะเอาขอบ ๆ ออกเพิ่มสักเล็กน้อย
  • 7:25 - 7:27
    ประมาณหนึ่งนิ้วรอบ ๆ เนื้องอก
  • 7:28 - 7:30
    เพื่อให้แน่ใจว่าเอาทุกอย่างออกหมดแล้วจริง ๆ
  • 7:31 - 7:35
    มันไม่ใช่การตัดสินใจที่ง่ายเลย
  • 7:36 - 7:38
    แต่โชคร้ายที่การตัดสินใจแบบนี้นั้น
  • 7:38 - 7:41
    คือสิ่งที่หมอผ่าตัดสมอง
    ต้องตัดสินใจอยู่ทุกวัน
  • 7:41 - 7:43
    ขณะที่ต้องพบกับคนไข้
  • 7:43 - 7:46
    ผมจำได้ว่าผมคุย
    กับเพื่อนสองสามคนในห้องทดลอง
  • 7:46 - 7:49
    เราพูดกันว่า
    "พวก มันต้องมีวิธีที่ดีกว่านี้"
  • 7:49 - 7:52
    แต่ไม่ใช่แค่การพูดกับเพื่อนว่า
    ต้องมีวิธีที่ดีกว่านี้
  • 7:52 - 7:54
    แต่มันจะต้องมีวิธีที่ดีกว่านี้ที่นี่
  • 7:54 - 7:56
    ซึ่งมันดูเป็นไปไม่ได้เลย
  • 7:56 - 7:57
    แล้วพวกเราจึงมองย้อนกลับไป
  • 7:57 - 8:00
    จำเครื่องเพทสแกนที่ผมบอกคุณได้ไหม
    ทั้งเรื่องน้ำตาลและเรื่องอื่น ๆ
  • 8:00 - 8:03
    เราพูดกันว่า เห้ย
    แทนที่เราจะใช้โมเลกุลน้ำตาล
  • 8:03 - 8:06
    เรามาลองใช้อนุภาคทองคำ
    ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ แทนไหม
  • 8:06 - 8:10
    แล้วตั้งโปรแกรมมันด้วย
    คุณสมบัติทางเคมีที่น่าทึ่งของมัน
  • 8:10 - 8:12
    โดยเรามาตั้งโปรแกรม
    เพื่อให้พวกมันหาเซลล์มะเร็งกัน
  • 8:12 - 8:14
    จากนั้นเราก็จะฉีดอนุภาคทองคำเหล่านี้เข้าไป
  • 8:14 - 8:17
    ในร่างกายของคนไข้นับพันล้านอนุภาคอีกครั้ง
  • 8:17 - 8:19
    แล้วเราปล่อยให้มันแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย
  • 8:19 - 8:21
    เหมือนกับสายลับ
  • 8:21 - 8:24
    ที่เดินและแวะไปหาเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย
  • 8:24 - 8:25
    แล้วเคาะประตูของเซลล์นั้น ๆ
  • 8:25 - 8:28
    แล้วถามว่า
    "คุณเป็นเซลล์มะเร็ง หรือเซลล์ปกติ"
  • 8:28 - 8:30
    ถ้าคุณเป็นเซลล์ปกติ เราจะปล่อยผ่านไป
  • 8:30 - 8:33
    แต่ถ้าคุณเป็นเซลล์มะเร็ง
    เราจะเข้าไป และเปล่งแสงออกมา
  • 8:33 - 8:35
    แล้วรายงานกับเราว่า
    "นี่ ดูนี่สิ ฉันอยู่นี่"
  • 8:35 - 8:37
    และเราจะเห็นมัน
    ผ่านกล้องพิเศษบางตัว
  • 8:37 - 8:39
    ที่เราสร้างขึ้นในห้องทดลอง
  • 8:39 - 8:42
    และเมื่อเราเห็นมัน
    เราอาจจะนำทางหมอผ่าตัดสมอง
  • 8:42 - 8:45
    มุ่งไปยังเนื้องอกเท่านั้น
    แล้วปล่อยสมองส่วนที่ปกติไว้
  • 8:46 - 8:49
    เราได้ทดลองมันแล้ว
    แล้วมันก็ทำงานได้ดี
  • 8:49 - 8:51
    ดังนั้นตอนนี้ผมจะแสดงตัวอย่างให้คุณดู
  • 8:51 - 8:53
    สิ่งที่คุณกำลังดูอยู่นั้น
  • 8:53 - 8:57
    คือภาพสมองของหนู
  • 8:57 - 9:00
    เราได้ปลูกถ่ายเนื้องอกก้อนเล็ก ๆ
  • 9:00 - 9:01
    เข้าไปในสมองของหนูตัวนี้
  • 9:01 - 9:04
    ในตอนนี้ เนื้องอกก้อนนี้
    กำลังขยายใหญ่ในสมองของหนูตัวนี้
  • 9:04 - 9:06
    จากนั้นเราก็ตามหมอมา
    แล้วขอให้หมอ
  • 9:06 - 9:09
    ช่วยผ่าตัดหนูตัวนี้
    ราวกับว่ามันเป็นคนไข้คนหนึ่ง
  • 9:09 - 9:12
    และเอาชิ้นเนื้องอกออกทีละชิ้น ๆ
  • 9:12 - 9:13
    และในขณะที่เขากำลังผ่าตัดอยู่นั้น
  • 9:13 - 9:16
    เราจะถ่ายภาพเพื่อดูว่า
    อนุภาคทองคำนั้นอยู่ที่ไหน
  • 9:16 - 9:18
    โดยเราจะเริ่มขั้นแรก
  • 9:18 - 9:20
    โดยการฉีดอนุภาคทองคำพวกนี้
    เข้าไปในหนูตัวนี้
  • 9:20 - 9:23
    เราจะมาดูทางซ้ายสุดนี้
  • 9:23 - 9:25
    รูปด้านล่างนั้น
  • 9:25 - 9:27
    คือรูปที่แสดงให้เห็นว่า
    อนุภาคทองคำอยู่ตรงไหน
  • 9:27 - 9:29
    ข้อดีก็คือ
    อนุภาคทองคำพวกนี้นั้น
  • 9:29 - 9:31
    สามารถเดินทางไปถึงก้อนเนื้องอกได้ทั้งหมด
  • 9:31 - 9:35
    แล้วพวกมันก็ส่องแสงออกมา เพื่อบอกเราว่า
    "นี่ พวกเราอยู่ที่นี่ เนื้องอกอยู่ตรงนี้"
  • 9:35 - 9:36
    ในตอนนี้เราก็สามารถมองเห็นเนื้องอกได้
  • 9:36 - 9:39
    แต่เราจะยังไม่เอาไปให้หมอดูทันที
  • 9:39 - 9:42
    เราบอกหมอว่า รบกวนหมอผ่าเอาเนื้องอกออกไปที
  • 9:42 - 9:45
    คุณจะเห็นว่า
    หมอได้เอาก้อนเนื้องอกออกไปหนึ่งในสี่แล้ว
  • 9:45 - 9:47
    และคุณจะเห็นว่า
    เนื้องอกส่วนหนึ่งได้หายไปแล้ว
  • 9:47 - 9:50
    จากนั้น หมอก็เอาเนื้องอก
    ส่วนที่สอง ส่วนที่สามออก
  • 9:50 - 9:52
    และตอนนี้ดูเหมือนว่า
    จะเอาออกไปจนหมดแล้ว
  • 9:52 - 9:54
    และในขั้น ๆ นี้ หมอกลับมาหาเราและบอกว่า
  • 9:54 - 9:57
    "ผมทำเสร็จแล้ว
    คุณอยากให้ผมทำอะไรอีกหรือเปล่า
  • 9:57 - 9:58
    ผมควรปล่อยไว้แบบนี้
  • 9:58 - 10:01
    หรือคุณอยากให้ผมเอาบริเวณรอบ ๆ นั้น
    ออกเพิ่มอีกสักหน่อย"
  • 10:01 - 10:02
    เราเลยบอกหมอว่า "เดี๋ยวก่อนครับ"
  • 10:02 - 10:05
    เราบอกเขาว่า "คุณยังไม่ได้เอาสองจุดนั้นออก
  • 10:05 - 10:07
    ดังนั้นแทนที่จะเอาขอบ ๆ ที่มีขนาดใหญ่ออก
  • 10:07 - 10:09
    หมอแค่เอาจุดเล็ก ๆ พวกนั้นออกก็พอ
  • 10:09 - 10:11
    เอามันออกมา แล้วมาดูกัน"
  • 10:11 - 10:14
    หมอจึงเอามันออก
    และไม่น่าเชื่อเลย
  • 10:14 - 10:16
    มะเร็งทั้งหมดหายไปแล้ว
  • 10:16 - 10:17
    แต่สิ่งสำคัญ
  • 10:17 - 10:20
    ไม่ใช่เพียงแค่มะเร็งนั้นหายไปจนหมด
  • 10:20 - 10:21
    จากสมองของคนคนนี้
  • 10:21 - 10:23
    หรือจากหนูตัวนี้
  • 10:23 - 10:24
    แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ
  • 10:24 - 10:27
    เราไม่ต้องผ่าเอาเซลล์สมองปกติออกไปมากมาย
  • 10:27 - 10:29
    ระหว่างการผ่าเนื้องอกนั้น
  • 10:29 - 10:31
    ดังนั้น ในตอนนี้ เราสามารถจินตนาการถึงโลก
  • 10:31 - 10:35
    ที่หมอและหมอผ่าตัด รู้อย่างแน่ชัดว่า
    จะต้องเอาส่วนไหนออกมา
  • 10:35 - 10:36
    ขณะผ่าเอาเนื้องอกออก
  • 10:36 - 10:40
    โดยที่ไม่ต้องคาดเดาด้วยนิ้วโป้งอีกต่อไป
  • 10:40 - 10:43
    ทีนี้ นี่คือสาเหตุว่าทำไม การเอาเนื้องอกเล็ก ๆ
    ที่เหลืออยู่นั้นออก จึงสำคัญอย่างมาก
  • 10:43 - 10:46
    เนื้องอกที่หลงเหลืออยู่นั้น
    ถึงแม้ว่าจะมีเซลล์เพียงแค่หยิบมือเดียว

  • 10:46 - 10:49
    จะเติบโตและก่อให้เกิดเนื้องอกขึ้น
  • 10:49 - 10:51
    และนำเนื้องอกกลับมาใหม่
  • 10:51 - 10:53
    จริง ๆ แล้วนี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมหมอผ่าตัดสมอง
  • 10:53 - 10:55
    ร้อยละ 80 ถึง 90 ถึงล้มเหลวในท้ายที่สุด
  • 10:55 - 10:59
    นั่นก็เพราะขอบเล็ก ๆ พวกนั้น
    ที่เป็นเนื้องอกที่ถูกปล่อยทิ้งไว้
  • 10:59 - 11:02
    เพราะเนื้องอกเล็ก ๆ น้อยนิด
    ที่ถูกทิ้งอยู่ในนั้น
  • 11:03 - 11:06
    ดังนั้น นี่จึงเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ
  • 11:06 - 11:10
    แต่สิ่งที่ผมอยากจะแบ่งปันกับพวกคุณจริง ๆ
    คือ จุดหมายที่เรากำลังมุ่งไปข้างหน้า

  • 11:10 - 11:12
    ในห้องทดลองที่สแตนฟอร์ดของผมนั้น
  • 11:12 - 11:18
    นักศึกษากับผมถามว่า
    ตอนนี้สิ่งที่เราควรจะทำคืออะไร
  • 11:18 - 11:20
    ผมคิดว่าจุดหมายที่เทคโนโลยีฉายภาพ
    กำลังมุ่งไปหานั้น
  • 11:20 - 11:23
    คือศักยภาพในการส่องเข้าไปในร่างกายคน
  • 11:23 - 11:27
    และสามารถมองเห็น
    เซลล์แต่ละเซลล์แยกกัน
  • 11:27 - 11:29
    ศักยภาพนี้ จะทำให้เรา

  • 11:29 - 11:32
    สามารถที่จะเอาเนื้องอกออกได้นาน
  • 11:32 - 11:36
    ก่อนที่จะมีเซลล์ 100 ล้านเซลล์ข้างใน
    ซึ่งจะทำให้เราจัดการกับมันได้จริง ๆ
  • 11:36 - 11:40
    ศักยภาพในการมองเห็นเซลล์แต่ละเซลล์
    แยกกันนี้ ยังอาจทำให้เรา
  • 11:40 - 11:41
    ได้ถามคำถามที่ล้ำลึกมากมาย
  • 11:41 - 11:43
    ดังนั้นในห้องทดลองตอนนี้
    เรากำลังไปถึงจุด
  • 11:43 - 11:46
    ที่เราสามารถเริ่มถามคำถามกับ
    เซลล์มะเร็งพวกนี้ได้มากมายอย่างแท้จริง
  • 11:46 - 11:50
    เช่น ถามมันว่า มันกำลังตอบสนอง
    ต่อการรักษาแบบที่เราใช้หรือเปล่า
  • 11:50 - 11:53
    หากมันไม่ตอบสนอง เราจะได้หยุด
    วิธีการรักษาแบบเดิมทันที
  • 11:53 - 11:56
    โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน
    และไม่ต้องรอถึงสามเดือน
  • 11:56 - 11:59
    ซึ่งทำให้คนไข้แบบเอฮุด
  • 11:59 - 12:03
    ที่กำลังจะต้องผ่านขั้นตอน
    การทำคีโมที่เลวร้ายนั้น
  • 12:03 - 12:04
    ไม่ต้องทรมาน
  • 12:04 - 12:07
    จากผลข้างเคียงที่น่ากลัวของยานั้นอีกต่อไป
  • 12:07 - 12:10
    ทั้งที่จริง ๆ แล้วยาพวกนั้น
    ไม่ได้ช่วยอะไรพวกเขาเลย
  • 12:10 - 12:13
    ถ้าจะให้ผมพูดตรง ๆ
  • 12:13 - 12:16
    จริง ๆ แล้ว เรายังห่างไกลจากชัยชนะ
    ในการทำสงครามกับมะเร็ง
  • 12:16 - 12:18
    ถ้ามองบนพื้นฐานความเป็นจริง
  • 12:18 - 12:20
    แต่อย่างน้อยที่สุดผมก็มีความหวัง
  • 12:20 - 12:24
    ว่าเราจะสามารถต่อสู้ในสงครามนี้ได้
    ด้วยเทคนิคทางการแพทย์ที่ดีขึ้น
  • 12:24 - 12:26
    ด้วยวิธีที่ไม่มืดบอดอีกต่อไป
  • 12:26 - 12:27
    ขอบคุณครับ
  • 12:27 - 12:29
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ถึงเวลาที่พวกเราเริ่มจะเอาชนะสงครามกับมะเร็งได้แล้ว
Speaker:
อดัม เดอลา เซอลา (Adam de la Zerda)
Description:

เรียนรู้ความก้าวหน้าทางการแพทย์ล่าสุดในการต่อสู้กับมะเร็งจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด อดัม เดอลา เซอลา ผู้พัฒนาวิธีการในการจัดการกับเซลล์มะเร็งแบบใหม่ของเขาเอง โดยการใช้เทคโนโลยีฉายภาพที่ให้แสงสว่างด้วยอนุภาคทองคำ ซึ่งจะถูกฉีดเข้าไปในร่างกาย และคอยเสาะหาเซลล์มะเร็ง อดัม เดอลา เซอลา มีความหวังว่าห้องทดลองของเขาจะเป็นแสงที่นำทางให้ศัลยแพทย์สมองสามารถนำก้อนเนื้องอกที่ร้ายแรง ที่แม้ว่าจะมีขนาดเล็กมากที่สุดออกไปได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
12:42

Thai subtitles

Revisions Compare revisions