Return to Video

ทำอย่างไรให้รู้ทันโลก

  • 0:01 - 0:03
    ฮานส์ โรสลิงค์: ผมจะถามพวกคุณ
  • 0:03 - 0:04
    คำถามแบบสามตัวเลือก
  • 0:04 - 0:08
    ใช้อุปกรณ์นี้ ใช้อุปกรณ์นี้เพื่อตอบคำถาม
  • 0:08 - 0:11
    คำถามแรกคือ จำนวนผู้เสียชีวิต
  • 0:11 - 0:13
    จากภัยธรรมชาติในแต่ละปี
  • 0:13 - 0:14
    อยู่ที่เท่าไหร่
  • 0:14 - 0:17
    ตัวเลขนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
    ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา
  • 0:17 - 0:18
    มันสูงขึ้นเป็นเท่าตัวหรือเปล่า
  • 0:18 - 0:21
    หรือคงอยู่ระดับเดิมตลอดมา
  • 0:21 - 0:23
    หรือลดลงเกินกว่าครึ่ง
  • 0:23 - 0:26
    โปรดตอบ A B หรือ C
  • 0:26 - 0:30
    ผมเห็นคำตอบจำนวนมาก
    เร็วกว่าที่ผมทำที่มหาวิทยาลัยซะอีก
  • 0:30 - 0:33
    พวกนั้นเชื่องช้า มัวแต่คิด คิด และคิด
  • 0:33 - 0:35
    โอ้ ดีมาก ดีจริง ๆ
  • 0:35 - 0:37
    ทีนี้เราไปสู่คำถามต่อไป
  • 0:37 - 0:39
    ในโลกนี้ ผู้หญิงอายุ 30 ปี
  • 0:39 - 0:42
    เคยเรียนในโรงเรียนเป็นเวลากี่ปี
  • 0:42 - 0:44
    7 ปี 5 ปี หรือ 3 ปี
  • 0:44 - 0:50
    A B หรือ C ตอบเลยครับ
  • 0:50 - 0:52
    มาสู่คำถามต่อไป
  • 0:52 - 0:56
    ในช่วง 20 ปีมานี้ สัดส่วนของประชากรในโลก
  • 0:56 - 0:58
    ที่ใช้ชีวิตในแบบที่ยากจนสุด ๆ
  • 0:58 - 1:00
    เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
  • 1:00 - 1:03
    คำว่ายากจนสุด ๆ หมายความว่า
    ไม่มีอาหารพอกินในแต่ละวัน
  • 1:03 - 1:05
    เพิ่มขึ้นเท่าตัว
  • 1:05 - 1:06
    ไม่เปลี่ยนแปลง
  • 1:06 - 1:08
    หรือลดลงเหลือครึ่งเดียว
  • 1:08 - 1:12
    A B หรือ C
  • 1:12 - 1:15
    ตอบเลยครับ
  • 1:15 - 1:16
    คุณจะเห็นว่า
  • 1:16 - 1:18
    การเสียชีวิตจากภัยธรรมชาติในโลกเรา
  • 1:18 - 1:20
    ซึ่งเห็นได้จากกราฟนี้
  • 1:20 - 1:22
    จากปี 1900 ถึง 2000
  • 1:22 - 1:26
    ในปี 1999 ประชากรโลกกว่าครึ่งล้านคน
  • 1:26 - 1:28
    ในแต่ละปี ต้องเสียชีวิตจากภัยธรรมชาติ
  • 1:28 - 1:33
    น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด
    และอีกหลายอย่าง รวมไปถึงความแห้งแล้ง
  • 1:33 - 1:36
    จนมาถึงตอนนี้ มันเปลี่ยนไปอย่างไร
  • 1:36 - 1:39
    Gapminder ได้สอบถามประชาชนทั่วไป
    ในสวีเดน
  • 1:39 - 1:41
    และนี่คือคำตอบจากพวกเขา
  • 1:41 - 1:43
    ประชาชนชาวสวีเดนโดยทั่วไปตอบแบบนี้
  • 1:43 - 1:44
    ร้อยละ 50 คิดว่าเพิ่มขึ้นเท่าตัว
  • 1:44 - 1:47
    ร้อยละ 38 บอกว่าไม่เปลี่ยนแปลง
  • 1:47 - 1:49
    ร้อยละ 12 บอกว่าลดลงครึ่งหนึ่ง
  • 1:49 - 1:51
    และนี่คือข้อมูลที่ดีที่สุด
    จากนักวิจัยภัยพิบัติ
  • 1:51 - 1:54
    มันขยับขึ้น ๆ ลง ๆ
  • 1:54 - 1:57
    และเข้าสู่สงครามโลกครั้งครั้งที่ 2
  • 1:57 - 2:00
    หลังจากนั้นก็เริ่มลดลงและลดลงเรื่อย ๆ
  • 2:00 - 2:02
    มันลดลงเหลือไม่ถึงครึ่ง
  • 2:02 - 2:05
    หลายสิบปีผ่านไป
  • 2:05 - 2:06
    โลกของเรา
    มีความสามารถมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • 2:06 - 2:09
    ในการปกป้องผู้คนจากหายนะเหล่านี้
    คุณควรรู้ไว้
  • 2:09 - 2:12
    ซึ่งคนสวีเดนเพียงร้อยละ 12
    รู้ความจริงข้อนี้
  • 2:12 - 2:14
    เมื่อผมไปสวนสัตว์และถามลิงชิมแปนซี
  • 2:14 - 2:24
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 2:27 - 2:31
    พวกลิงไม่ได้ดูข่าวภาคค่ำ
  • 2:31 - 2:33
    ซึ่งพวกลิง
  • 2:33 - 2:36
    เลือกแบบสุ่ม
    แต่คนสวีเดนกลับตอบได้แย่กว่าการสุ่มของลิง
  • 2:36 - 2:39
    แล้วพวกคุณล่ะ
  • 2:39 - 2:42
    พวกคุณนั่นแหละ
  • 2:42 - 2:44
    พวกลิงเอาชนะคุณได้
  • 2:44 - 2:46
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:46 - 2:49
    แต่ก็สูสีเลยทีเดียว
  • 2:49 - 2:53
    พวกคุณทำได้ดีกว่าคนสวีเดน ถึง 3 เท่า
  • 2:53 - 2:54
    แต่ก็ยังไม่พอ
  • 2:54 - 2:57
    คุณไม่ควรเทียบตัวเองกับคนสวีเดน
  • 2:57 - 3:00
    คุณควรจะมีความทะเยอทะยานสูงกว่านี้
  • 3:00 - 3:04
    มาดูคำตอบต่อไป เรื่องผู้หญิงกับโรงเรียน
  • 3:04 - 3:06
    จะเห็นว่าผู้ชายมีเวลา 8 ปีในโรงเรียน
  • 3:06 - 3:08
    แล้วผู้หญิงมีเวลาเท่าไร
  • 3:08 - 3:10
    ซึ่งเราก็ได้ถามคนสวีเดนเช่นกัน
  • 3:10 - 3:13
    พอจะเห็นภาพลาง ๆ แล้วใช่มั๊ยล่ะ
  • 3:13 - 3:15
    คำตอบที่ถูกต้อง น่าจะเป็นข้อที่
  • 3:15 - 3:18
    คนสวีเดนเลือกน้อยที่สุดใช่มั๊ยล่ะ
  • 3:18 - 3:19
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:19 - 3:22
    มาดูกัน มาดูกัน นี่ล่ะ
  • 3:22 - 3:26
    ใช่เลย ยอดเยี่ยม
    ผู้หญิงเกือบจะเทียบเท่าผู้ชาย
  • 3:26 - 3:29
    นี่คือข้อมูลทั่วไปของสหรัฐอเมิรกา
  • 3:29 - 3:33
    และนี่คือคุณ นี่แหละ
  • 3:33 - 3:37
    โอ้
  • 3:37 - 3:39
    ยินดีด้วย พวกคุณเก่งเป็นสองเท่า
    ของคนสวีเดน
  • 3:39 - 3:42
    แต่พวกคุณไม่ต้องการผม
  • 3:42 - 3:46
    ทำไมล่ะ
    ผมคิดแบบนี้
  • 3:46 - 3:49
    คิดว่าทุกคนตระหนักว่ามีประเทศ
  • 3:49 - 3:50
    และมีพื้นที่
  • 3:50 - 3:52
    ที่ซึ่งเด็กสาวต้องประสบความยากลำบาก
  • 3:52 - 3:54
    ถูกขัดขวางไม่ให้ไปโรงเรียน
  • 3:54 - 3:56
    ซึ่งมันแย่มาก
  • 3:56 - 3:58
    แต่ในภาพรวมของโลกเรานี้
  • 3:58 - 4:00
    ที่ซึ่งประชากรโลกส่วนใหญ่อาศัยอยู่
  • 4:00 - 4:03
    ในประเทศส่วนใหญ่ ผู้หญิงได้รับการศึกษา
  • 4:03 - 4:05
    เทียบได้กับผู้ชายแล้ว
  • 4:05 - 4:07
    แต่ไม่ได้หมายความว่าเราได้บรรลุ
    ความเท่าเทียมทางเพศ
  • 4:07 - 4:10
    ไม่ใช่เลย
  • 4:10 - 4:14
    ยังมีข้อจำกัดอันโหดร้ายอีกมากมาย
  • 4:14 - 4:16
    แต่ในโลกยุคนี้ เรื่องการมีโอกาสเรียน
    มันดีพอแล้ว
  • 4:16 - 4:20
    และตอนนี้ พวกเราพลาดการมองภาพรวม
  • 4:20 - 4:24
    เมื่อคุณตอบ คุณตอบโดยอิงกับที่ที่แย่ที่สุด
  • 4:24 - 4:27
    ซึ่งคุณก็ถูก แต่คุณก็พลาดภาพรวมอยู่ดี
  • 4:27 - 4:28
    แล้วความยากจนล่ะ
  • 4:28 - 4:31
    ชัดเจนว่าความยากจน
  • 4:31 - 4:33
    ลดลงไปกว่าครึ่ง
  • 4:33 - 4:34
    ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเราถามคนทั่วไป
  • 4:34 - 4:38
    เพียงร้อยละ 5 ที่ตอบถูก
  • 4:38 - 4:41
    แล้วคุณล่ะ
  • 4:41 - 4:45
    อ้า คุณเกือบสู้พวกลิงได้แล้ว
  • 4:45 - 4:48
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 4:48 - 4:53
    พวกคุณแค่ไม่กี่คนเท่านั้นแหละ
  • 4:53 - 4:57
    คุณรู้หรือไม่ ว่ามันมีแนวคิดฝังหัว
  • 4:57 - 4:59
    ในกลุ่มประเทศร่ำรวยจำนวนมาก
  • 4:59 - 5:02
    ที่ว่า เราไม่สามารถขจัดความยากจน
    อันแสนสาหัสได้
  • 5:02 - 5:04
    แน่นอนว่าพวกเขาคิดเช่นนั้น
  • 5:04 - 5:07
    เพราะพวกเราไม่รู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
  • 5:07 - 5:09
    สิ่งแรกในการคิดถึงอนาคต
  • 5:09 - 5:11
    คือการรู้ปัจจุบัน
  • 5:11 - 5:14
    คำถามเหล่านี้เป็นเพียงส่วนแรกส่วนหนึ่ง
  • 5:14 - 5:18
    ของขั้นตอนนำร่องของโครงการความเมินเฉย
    (Ignorance Project)
  • 5:18 - 5:21
    ในมูลนิธิ Gapminder ที่พวกเราดำเนินการอยู่
  • 5:21 - 5:24
    โครงการนี้เริ่มต้นเมื่อปีที่แล้ว
  • 5:24 - 5:28
    เจ้านายของผม ผู้ซึ่งเป็นลูกชายของผมด้วย
    อูล่า โรสลิงค์ (เสียงหัวเราะ)
  • 5:28 - 5:30
    เขาเป็นผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งร่วม
  • 5:30 - 5:31
    อูล่าบอกผมว่า เขาต้องการ
  • 5:31 - 5:34
    ที่จะให้พวกเราทำงานเป็นระบบมากขึ้น
  • 5:34 - 5:35
    ในการต่อสู้กับความเมินเฉยที่แสนสาหัส
  • 5:35 - 5:38
    ข้อมูลนำร่องเผยให้เห็นว่า
  • 5:38 - 5:41
    มีหลายกรณี ที่ความเห็นจากหมู่ชน
    แย่กว่าการเดาสุ่มซะอีก
  • 5:41 - 5:43
    ซึ่งเราต้องพิจารณาให้ดีเกี่ยวกับความคิดฝังหัว
  • 5:43 - 5:45
    และหนึ่งในความคิดฝังหัวที่สำคัญ
  • 5:45 - 5:47
    คือความคิดเกี่ยวกับ
    การกระจายรายได้ของประชากรโลก
  • 5:47 - 5:51
    ลองดูนี่ นี่เป็นข้อมูลเมื่อปี 1975
  • 5:51 - 5:54
    มันคือจำนวนประชากรแบ่งตามกลุ่มรายได้
  • 5:54 - 5:57
    จากวันละหนึ่งดอลลาร์
  • 5:57 - 5:59
    (เสียงปรบมือ)
  • 5:59 - 6:01
    มันมีการกระโดดขึ้นในช่วงนี้
  • 6:01 - 6:03
    แถว ๆ วันละหนึ่งดอลลาร์
  • 6:03 - 6:05
    และมีการกระโดดในอีกช่วง
  • 6:05 - 6:07
    ระหว่าง 10 ถึง 100 ดอลลาร์
  • 6:07 - 6:08
    โลกเราถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
  • 6:08 - 6:12
    มันเป็นโลกของอูฐ เหมือนกับอูฐที่มีสองหนอก
  • 6:12 - 6:14
    กลุ่มคนจนและกลุ่มคนรวย
  • 6:14 - 6:16
    พวกที่อยู่กลาง ๆ ก็มีน้อยหน่อย
  • 6:16 - 6:18
    ทีนี้มาดูว่ามันเปลี่ยนไปอย่างไร
  • 6:18 - 6:20
    ผมจะลองเดินหน้าไป สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ
  • 6:20 - 6:21
    ประชากรโลกมีมากขึ้น
  • 6:21 - 6:24
    และสองหนอกนั้นเริ่มเข้ามารวมกัน
  • 6:24 - 6:27
    หนอกที่ต่ำกว่ารวมเข้ากับหนอกที่สูงกว่า
  • 6:27 - 6:30
    และเจ้าอูฐก็ตาย แล้วเราก็กลายเป็นโลกหนอกเดียว
  • 6:30 - 6:32
    มีหนอกเดียวเท่านั้น
  • 6:32 - 6:34
    สัดส่วนของคนยากจนลดต่ำลง
  • 6:34 - 6:36
    เรายังคงรู้สึกหดหู่
  • 6:36 - 6:39
    ที่รู้ว่าคนจำนวนมากยังคงเผชิญ
    ความยากจนอย่างแสนสาหัส
  • 6:39 - 6:42
    แต่เราก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่ง
    เกือบพันล้านคน ตรงนั้น
  • 6:42 - 6:45
    ซึ่งหลุดพ้นจากความยากจนได้แล้ว
  • 6:45 - 6:47
    ความท้าทายที่เรามีในตอนนี้
  • 6:47 - 6:50
    คือการออกไปจากจุดนั้น แล้วทำความเข้าใจ
    ว่าภาพรวมอยู่ ณ จุดไหน
  • 6:50 - 6:53
    ซึ่งคำถามที่ได้ถามไป
    ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน
  • 6:53 - 6:56
    เราถามว่า สัดส่วนของเด็กอายุหนึ่งปี
  • 6:56 - 6:57
    ซึ่งได้รับวัคซีนพื้นฐาน
  • 6:57 - 7:00
    ในการป้องกันโรคที่เราเผชิญมาตลอดหลายปี
  • 7:00 - 7:01
    นั้นมีสักเท่าไร
  • 7:01 - 7:03
    ร้อยละ 20 50 หรือ 80
  • 7:03 - 7:07
    นี่คือสิ่งที่คนอเมริกันและสวีเดนโดยทั่วไปตอบ
  • 7:07 - 7:08
    ดูที่คำตอบจากคนสวีเดน
  • 7:08 - 7:10
    คุณคงรู้ล่ะ ว่าที่ถูกคืออะไร
  • 7:10 - 7:14
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:14 - 7:18
    ศาสตราจารย์ด้านสาธารณสุขสากลในประเทศนั้น
    เป็นใครกันเนี่ย
  • 7:18 - 7:19
    ผมเอง ผมเอง
  • 7:19 - 7:21
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:21 - 7:24
    มันยากมาก ยากจริง ๆ
  • 7:24 - 7:27
    (เสียงปรบมือ)
  • 7:27 - 7:30
    อย่างไรก็ตาม แนวทางของอูล่า
  • 7:30 - 7:34
    ในการตรวจวัดสิ่งที่เรารู้
    ได้กลายเป็นข่าวพาดหัว
  • 7:34 - 7:37
    CNN เผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ทางเว็บไซต์ของเขา
  • 7:37 - 7:39
    และเขาได้ตั้งคำถามไว้ที่นั่น
    ซึ่งมีคนตอบเป็นล้าน ๆ คน
  • 7:39 - 7:42
    ผมคิดว่ามีความเห็น
    เข้ามามากถึง 2,000 ความเห็น
  • 7:42 - 7:45
    และนี่คือหนึ่งในความเห็นเหล่านั้น
  • 7:45 - 7:48
    "ผมพนันเลยว่าไม่มีสื่อรายใดที่จะสอบผ่าน"
    เขาพูด
  • 7:48 - 7:51
    อูล่าบอกผมว่า "เอาอุปกรณ์นี้ไป
  • 7:51 - 7:53
    คุณได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมสื่อ
  • 7:53 - 7:55
    ให้สิ่งนั้นกับพวกเขา
    และวัดผลในสิ่งที่สื่อรู้"
  • 7:55 - 7:57
    ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษครับ
  • 7:57 - 7:59
    มันเป็นครั้งแรก สำหรับผลอย่างไม่เป็นทางการ
  • 7:59 - 8:03
    จากประชุมกับสื่ออเมริกัน
  • 8:03 - 8:08
    ตามมาด้วยสื่อสหภาพยุโรป
  • 8:08 - 8:09
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:09 - 8:12
    คุณจะเห็นว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ผู้คน
  • 8:12 - 8:14
    ไม่อ่านหรือไม่ฟังสื่อต่าง ๆ
  • 8:14 - 8:18
    ปัญหาอยู่ที่ว่า สื่อเองก็ไม่รู้
  • 8:18 - 8:19
    อูล่า เราควรทำอย่างไรดี
  • 8:19 - 8:21
    เรามีความคิดอื่น ๆ อีกมั๊ย
  • 8:21 - 8:32
    (เสียงปรบมือ)
  • 8:32 - 8:36
    อูล่า โรสลิงค์: มี ผมมีความคิดหนึ่ง แต่ก่อนอื่น
  • 8:36 - 8:40
    ผมขอแสดงความเสียใจที่พวกลิงเอาชนะคุณได้
  • 8:40 - 8:42
    แต่ก็ยังดี ที่ผมสามารถปลอบใจคุณได้
  • 8:42 - 8:47
    โดยแสดงให้เห็นว่า
    จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่ความผิดของคุณ
  • 8:47 - 8:49
    และผมจะให้กลเม็ดบางอย่างกับคุณ
  • 8:49 - 8:51
    ในการเอาชนะพวกลิงให้ได้ในอนาคต
  • 8:51 - 8:53
    นั่นคือสิ่งที่ผมจะทำ
  • 8:53 - 8:55
    ก่อนอื่น ลองมาดูกันว่า
    ทำไมพวกเราถึงช่างเมินเฉย
  • 8:55 - 8:58
    มันเริ่มจากจุดนี้
  • 8:58 - 9:02
    นี่คือฮูดิคสวาล (Hudiksvall)
    เมืองทางตอนเหนือของสวีเดน
  • 9:02 - 9:05
    ที่ที่ผมเติบโตขึ้นมา
  • 9:05 - 9:09
    เป็นที่ที่มีปัญหาใหญ่
  • 9:09 - 9:11
    ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกัน
  • 9:11 - 9:14
    กับที่มีอยู่ในทุก ๆ แห่ง
  • 9:14 - 9:15
    ที่พวกคุณเติบโตขึ้นมาเช่นกัน
  • 9:15 - 9:18
    มันไม่ได้เป็นตัวแทนที่ดี เข้าใจใช่มั๊ย
  • 9:18 - 9:20
    มันให้มุมมองที่เอียงกะเท่เร่กับผม
  • 9:20 - 9:22
    เกี่ยวกับความเป็นไปของชีวิตบนโลกใบนี้
  • 9:22 - 9:25
    นี่คือตัวต่อชิ้นแรก
    ของภาพรวมแห่งความเมินเฉย
  • 9:25 - 9:27
    พวกเรามีความลำเอียงส่วนตัว
  • 9:27 - 9:29
    ทุกคนมีประสบการณ์ต่างกัน
  • 9:29 - 9:30
    จากชุมชน จากผู้คนที่เราพบเจอ
  • 9:30 - 9:33
    และเหนือสิ่งอื่นใด เราเริ่มเข้าเรียน
  • 9:33 - 9:35
    และเราเพิ่มปัญหาชิ้นต่อไป
  • 9:35 - 9:36
    ผมชอบโรงเรียน
  • 9:36 - 9:42
    แต่พวกครูก็รังแต่จะสอนมุมมองที่ตกยุค
  • 9:42 - 9:44
    เพราะว่าพวกเขาเองก็ได้เรียนมา
    เมื่อพวกเขาอยู่ในโรงเรียน
  • 9:44 - 9:47
    และตอนนี้เขาได้บรรยายโลกในแบบของเขา
    ให้นักเรียนรับรู้
  • 9:47 - 9:49
    โดยไม่ได้มีเจตนาร้าย
  • 9:49 - 9:51
    หนังสือเหล่านั้น
  • 9:51 - 9:54
    มันล้าสมัยแล้วเมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป
  • 9:54 - 9:55
    และมันไม่มีแนวปฏิบัติ
  • 9:55 - 9:59
    ในการปัดฝุ่นเนื้อหาที่ใช้สอน
    ให้ใหม่อยู่เสมอ
  • 9:59 - 10:01
    นั่นคือสิ่งที่เรามุ่งเน้น
  • 10:01 - 10:02
    เรามีข้อเท็จจริงที่ตกยุค
  • 10:02 - 10:05
    บวกเพิ่มเข้าไปบนความลำเอียงส่วนตัว
  • 10:05 - 10:08
    สิ่งที่เกิดตามมาคือข่าว
  • 10:08 - 10:10
    นักข่าวที่ดีจะรู้ว่าควรเลือก
  • 10:10 - 10:12
    เรื่องราวไหนให้เป็นข่าวพาดหัว
  • 10:12 - 10:15
    ซึ่งผู้คนจะอ่านเพราะมันกินใจ
  • 10:15 - 10:19
    เรื่องราวพิสดารน่าสนใจกว่างั้นหรือ
    ไม่ใช่เลย
  • 10:19 - 10:21
    มันถูกแต่งเติม
  • 10:21 - 10:24
    โดยเฉพาะเรื่องที่เรากลัว
  • 10:24 - 10:27
    ข่าวฉลามทำร้ายคนสวีเดน
  • 10:27 - 10:30
    จะเป็นข่าวพาดหัวอยู่หลายสัปดาห์ในสวีเดน
  • 10:30 - 10:34
    แหล่งข้อมูลอันบิดเบี้ยวทั้ง 3 แหล่งนี้
  • 10:34 - 10:37
    เราหลีกเลี่ยงมันได้ยากจริง ๆ
  • 10:37 - 10:39
    มันถาโถมใส่เรา
  • 10:39 - 10:43
    และจับเอาความคิดแปลก ๆ มาใส่หัวเรา
  • 10:43 - 10:45
    และเหนือสิ่งอื่นใด เราถือเอาสิ่งเหล่านี้
  • 10:45 - 10:51
    ว่าเป็นสิ่งที่สร้างให้เราเป็นมนุษย์
    สัญชาติญาณแบบมนุษย์
  • 10:51 - 10:53
    มันเป็นวิวัฒนาการอย่างดี
  • 10:53 - 10:54
    มันช่วยให้เราผสมกลมกลืน
  • 10:54 - 10:56
    และกระโดดไปสู่ข้อสรุปอย่างรวดเร็วมาก ๆ
  • 10:56 - 11:00
    มันช่วยให้เราใส่สีตีข่าวสิ่งที่เรากลัว
  • 11:00 - 11:04
    เราควานหาผู้เสียชีวิตทั้งที่มันไม่มี
  • 11:04 - 11:09
    และเรามีความมั่นใจอันจอมปลอม
  • 11:09 - 11:12
    ว่าเราเป็นพวกที่ขับรถได้ดีที่สุด
  • 11:12 - 11:13
    เหนือกว่าคนโดยทั่วไป
  • 11:13 - 11:15
    ทุกคนตอบคำถามนั้น
  • 11:15 - 11:16
    "แน่นอน ผมขับรถดีกว่าคนอื่น ๆ"
  • 11:16 - 11:18
    เอาเถอะ ก็ยังดี ในเชิงวิวัฒนาการ
  • 11:18 - 11:20
    แต่เมื่อเราพูดถึงมุมมองต่อโลกทั้งใบ
  • 11:20 - 11:23
    มันคือเหตุผลตรง ๆ ที่ว่าทำไมผู้คนถึงคิด
    ผิดเพี้ยนไปได้เช่นนี้
  • 11:23 - 11:26
    แนวโน้มที่กำลังพุ่งขึ้น กลับดิ่งลง
  • 11:26 - 11:27
    ไปคนละทาง
  • 11:27 - 11:31
    และในกรณีนี้ พวกลิงใช้สัญชาติญาณของเราเอง
    มาเอาชนะเรา
  • 11:31 - 11:35
    มันกลายเป็นจุดอ่อน
    แทนที่จะเป็นจุดแข็งของพวกเรา
  • 11:35 - 11:37
    มันควรจะเป็นจุดแข็งของพวกเราไม่ใช่หรือ
  • 11:37 - 11:40
    แล้วเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่งไร
  • 11:40 - 11:41
    อย่างแรก เราต้องตรวจวัดมัน
  • 11:41 - 11:43
    และเราต้องเยียวยามัน
  • 11:43 - 11:45
    ด้วยการตรวจวัด เราสามารถเข้าใจ
  • 11:45 - 11:48
    รูปแบบของการเมินเฉย
  • 11:48 - 11:49
    เราเริ่มโครงการนำร่อง
    เมื่อปีที่แล้ว
  • 11:49 - 11:52
    และตอนนี้เราค่อนข้างมั่นใจ
    ว่าเรากำลังเผชิญกับ
  • 11:52 - 11:55
    มวลมหาความเมินเฉยทั่วโลก
  • 11:55 - 11:59
    และความคิดนี้
  • 11:59 - 12:01
    ได้ถูกขยายต่อยอดไปทุกวงการ
  • 12:01 - 12:03
    หรือในหลายมิติของการพัฒนาโลก
  • 12:03 - 12:08
    เช่น ชั้นบรรยากาศ สัตว์ใกล้สูญพันธ์
    สิทธิมนุษยชน
  • 12:08 - 12:11
    ความเท่าเทียมทางเพศ พลังงาน
    การเงิน
  • 12:11 - 12:13
    แต่ละภาคส่วนมีข้อเท็จจริงของมันเอง
  • 12:13 - 12:15
    และมีองค์กรจำนวนมาก
    ที่พยายามเผยแพร่
  • 12:15 - 12:17
    การตระหนักรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั้น
  • 12:17 - 12:21
    ผมจึงเริ่มติดต่อกับองค์กรเหล่านั้น
  • 12:21 - 12:24
    เช่น WWF และ องค์กรนิรโทษกรรมสากล
    ไปจนถึง UNICEF
  • 12:24 - 12:27
    และถามเขาว่า อะไรบ้างคือข้อเท็จจริง
    ที่คุณชื่นชอบ
  • 12:27 - 12:29
    แต่คนทั่วไปยังไม่รู้
  • 12:29 - 12:30
    และผมได้รวบรวมข้อเท็จจริงเหล่านั้น
  • 12:30 - 12:34
    ลองจินตนาการถึงบัญชีหางว่าว
    กว่า 250 เรื่อง
  • 12:34 - 12:35
    และเราได้สอบถามคนทั่วไป
  • 12:35 - 12:37
    เแล้วดูว่าเรื่องไหนที่ผู้คนให้คะแนนต่ำสุด
  • 12:37 - 12:38
    แล้วเราก็ได้รายการที่สั้นลง
  • 12:38 - 12:39
    พร้อมกับผลอันน่าสะพรึงกล้ว
  • 12:39 - 12:42
    อย่างเช่นบางตัวอย่างจากพ่อผม
  • 12:42 - 12:44
    เราไม่มีปัญหาในการค้นหา
  • 12:44 - 12:45
    ผลอันน่ากลัวเหล่านี้
  • 12:45 - 12:48
    แล้วเราจะทำอะไรกับรายการพวกนี้
  • 12:48 - 12:52
    เราได้เปลี่ยนมันเป็นใบรับรองทางความรู้
  • 12:52 - 12:54
    ใบรับรองระดับโลก
  • 12:54 - 12:57
    ซึ่งคุณสามารถนำไปใช้ได้
    ถ้าคุณเป็นองค์กรขนาดใหญ่
  • 12:57 - 13:00
    เป็นโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือเป็นสำนักข่าว
  • 13:00 - 13:04
    เพื่อที่จะรับรองตัวคุณเอง
    ว่ามีความรู้จริงในระดับโลก
  • 13:04 - 13:07
    จริง ๆ แล้ว เราไม่ได้จ้างคน
  • 13:07 - 13:09
    ที่ให้คะแนนแบบลิง
  • 13:09 - 13:12
    ซึ่งคุณไม่ควรทำแบบนั้น
  • 13:12 - 13:14
    บางที อีก 10 ปีต่อจากนี้
  • 13:14 - 13:16
    ถ้าโครงการนี้สำเร็จ
  • 13:16 - 13:18
    คุณอาจจะกำลังนั่งอยู่ในการสัมภาษณ์
  • 13:18 - 13:22
    และต้องกรอกข้อมูลความรู้ระดับโลกเหล่านี้
  • 13:22 - 13:26
    ตอนนี้เรากำลังจะพูดถึงกลเม็ดที่ใช้ได้จริง
  • 13:26 - 13:28
    คุณจะทำสำเร็จได้อย่างไร
  • 13:28 - 13:31
    มันมีอยู่ทางหนึ่ง
  • 13:31 - 13:33
    ซึ่งคือการใช้เวลาเงียบ ๆ ตอนกลางคืน
  • 13:33 - 13:35
    เรียนรู้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ด้วยใจ
  • 13:35 - 13:37
    โดยการอ่านรายงานทั้งหมดนี้
  • 13:37 - 13:39
    ซึ่งจริง ๆ แล้วมันจะไม่เกิดขึ้น
  • 13:39 - 13:42
    แม้แต่พ่อผมก็ไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้น
  • 13:42 - 13:43
    ผู้คนไม่มีเวลามากพอ
  • 13:43 - 13:46
    ผู้คนชอบทางลัด และนี่คือทางลัด
  • 13:46 - 13:49
    เราจะต้องเปลี่ยนสัญชาติญาณของเรา
    ให้เป็นความแข็งแกร่งอีกครั้ง
  • 13:49 - 13:51
    เราจะต้องมองให้เป็นกลาง
  • 13:51 - 13:53
    ผมกำลังจะแสดงกลเม็ดให้คุณดูล่ะ
  • 13:53 - 13:55
    ซึ่งความหลงผิดจะกลับกลายเป็น
  • 13:55 - 13:58
    กฎง่าย ๆ แต่ได้ใจความ
  • 13:58 - 14:00
    มาเริ่มกันที่ความหลงผิด
  • 14:00 - 14:02
    ซึ่งมันลามไปอย่างรวดเร็ว
  • 14:02 - 14:04
    ทุกสิ่งแย่ลง
  • 14:04 - 14:07
    คุณเคยได้ยินมัน และคุณคิดว่าเป็นเช่นนั้น
  • 14:07 - 14:10
    ลองคิดอีกทาง คิดว่าหลาย ๆ สิ่งมีการพัฒนา
  • 14:10 - 14:12
    เมื่อคุณกำลังเจอกันคำถามที่อยู่ตรงหน้า
  • 14:12 - 14:16
    และถ้าคุณไม่มั่นใจ
    คุณควรเดาว่า "ดีขึ้น"
  • 14:16 - 14:19
    เข้าใจนะ อย่าไปเดาว่าแย่ลง
  • 14:19 - 14:21
    นี่จะช่วยให้คุณทำคะแนนดีขึ้น
    ในแบบทดสอบของเรา
  • 14:21 - 14:22
    (เสียงปรบมือ)
  • 14:22 - 14:26
    นั่นคือข้อแรก
  • 14:26 - 14:28
    มีคนรวยและคนจน
  • 14:28 - 14:30
    และช่องว่างห่างขึ้นเรื่อย ๆ
  • 14:30 - 14:31
    มันเป็นความไม่เท่าเทียมที่โหดร้าย
  • 14:31 - 14:33
    เป็นโลกที่ไม่ยุติธรรม
  • 14:33 - 14:36
    แต่เมื่อคุณมองที่ข้อมูล
    มันกลับเป็นโลกหนอกเดียว
  • 14:36 - 14:38
    เข้าใจนะ ถ้าคุณยังไม่แน่ใจ
  • 14:38 - 14:40
    ให้ดู "คนกลุ่มใหญ่ที่อยู่ตรงกลาง"
  • 14:40 - 14:42
    มันจะช่วยให้คุณได้คำตอบที่ถูกต้อง
  • 14:42 - 14:46
    ความคิดแบบฝังหัวข้อต่อไปคือ
  • 14:46 - 14:50
    ประเทศและประชาชนชั้นนำจะต้องรวยมาก ๆ
  • 14:50 - 14:52
    หากจะมีพัฒนาการทางสังคม
  • 14:52 - 14:56
    ดังเช่นเรื่องผู้หญิงกับโรงเรียน
    และเรื่องภัยธรรมชาติ
  • 14:56 - 14:57
    ไม่ใช่เลย มันผิด
  • 14:57 - 14:59
    ลองดู หนอกขนาดใหญ่ตรงกลาง
  • 14:59 - 15:02
    ผู้หญิงได้เข้าเรียนแล้วเรียบร้อย
  • 15:02 - 15:04
    และถ้าคุณยังไม่มั่นใจ ให้ดูว่า
  • 15:04 - 15:05
    "คนส่วนใหญ่ได้รับสิ่งนี้แล้ว"
  • 15:05 - 15:09
    เช่น ไฟฟ้า หรือ ผู้หญิงที่ได้เรียนหนังสือ
  • 15:09 - 15:11
    มันเป็นกฏง่าย ๆ ที่ได้ใจความ
  • 15:11 - 15:13
    แต่กระนั้น ก็ไม่ได้ใช้ได้กับทุกเรื่อง
  • 15:13 - 15:15
    แต่คุณก็สามารถมองอย่างเป็นกลางได้
  • 15:15 - 15:17
    ทีนี้มาดูที่ข้อสุดท้าย
  • 15:17 - 15:20
    ข้อยกตัวอย่างสักอัน
  • 15:20 - 15:22
    ฉลามเป็นสัตว์อันตราย
  • 15:22 - 15:27
    ไม่ล่ะ มันไม่ได้สำคัญขนาดนั้น
  • 15:27 - 15:30
    ในสถิติระดับโลก ผมกำลังจะบอกว่า
  • 15:30 - 15:32
    จริง ๆ แล้วผมกลัวฉลามไม่น้อยเลย
  • 15:32 - 15:35
    และทันทีทันใดที่ผมเห็นคำถามเกี่ยวกับ
    สิ่งที่ผมกลัว
  • 15:35 - 15:38
    ซึ่งอาจจะเป็น แผ่นดินไหว
    หรือศาสนาที่แตกต่าง
  • 15:38 - 15:41
    ผมอาจจะกลัวผู้ก่อการร้าย หรือฉลาม
  • 15:41 - 15:42
    อะไรก็ตามที่สะกิดใจผม
  • 15:42 - 15:45
    ค่อนข้างแน่นอนว่าพวกคุณจะใส่สีตีข่าว
  • 15:45 - 15:46
    นั่นคือกฎพื้น ๆ แต่ได้ใจความ
  • 15:46 - 15:49
    แม้จะมีบางสิ่งที่อันตรายใหญ่หลวง
    อย่างฉลาม
  • 15:49 - 15:52
    แต่มันก็ทำร้ายคนแค่จำนวนหยิบมือ
    ซึ่งคุณควรคิดแบบนี้
  • 15:52 - 15:56
    ด้วยกฎง่าย ๆ แต่ได้ใจความทั้ง 4 ประการนี้
  • 15:56 - 15:59
    คุณควรตอบคำถามได้ดีกว่าพวกลิง
  • 15:59 - 16:01
    เพราะพวกลิงทำแบบนี้ไม่ได้
  • 16:01 - 16:04
    พวกมันไม่สามารถใช้กฎต่าง ๆ
    ได้อย่างเป็นกลาง
  • 16:04 - 16:08
    และหวังว่าเราจะเปลี่ยนโลกของคุณ
    ไปได้อย่างสิ้นเชิง
  • 16:08 - 16:11
    เราจะต้องเอาชนะพวกลิงให้ได้ ใช่มั๊ยล่ะ
  • 16:11 - 16:15
    (เสียงปรบมือ)
  • 16:19 - 16:21
    และมันคือแนวทางที่เป็นระบบ
  • 16:21 - 16:24
    แต่ก็มีคำถามว่า มันสำคัญขนาดนั้นหรือ
  • 16:24 - 16:27
    แน่นอน มันสำคัญที่จะต้องเข้าใจเรื่อง
    ความยากจน
  • 16:27 - 16:30
    ความยากจนแสนสาหัสและวิธีที่จะต่อกร
  • 16:30 - 16:32
    และวิธีที่จะให้เด็กหญิงได้เล่าเรียน
  • 16:32 - 16:36
    และเมื่อเรารู้ว่าจริง ๆ แล้วมันกำลังดีขึ้น
    เราก็จะเข้าใจความเป็นไป
  • 16:36 - 16:38
    แต่เรื่องนี้จะสำคัญกับคนอื่น ๆ ทั่วไปหรือไม่
  • 16:38 - 16:40
    ใครจะไปใส่ใจกับพวกคนรวยที่สุดในแผนภูมินี้
  • 16:40 - 16:42
    ผมขอบอกว่า สำคัญมาก ๆ
  • 16:42 - 16:44
    ด้วยเหตุผลเดียวกัน
  • 16:44 - 16:47
    ถ้าคุณมองโลกทุกวันนี้ไปตามความเป็นจริง
  • 16:47 - 16:49
    คุณอาจจะมีโอกาสเข้าใจ
  • 16:49 - 16:50
    สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • 16:50 - 16:53
    เรากำลังย้อนกลับไปยังโลกยุคสองหนอก
    ในปี 1975
  • 16:53 - 16:54
    ซึ่งเป็นปีที่ผมเกิด
  • 16:54 - 16:57
    และผมเลือกตะวันตก
  • 16:57 - 17:01
    ซึ่งก็คือกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป
    และอเมริกาเหนือในปัจจุบัน
  • 17:01 - 17:05
    ลองเทียบกลุ่มประเทศตะวันตก
    กับพวกอื่น ๆ ที่เหลือ
  • 17:05 - 17:07
    ในเชิงที่ว่า คุณรวยแค่ไหน
  • 17:07 - 17:09
    คนพวกนี้คือกลุ่มที่มีเงิน
  • 17:09 - 17:13
    เที่ยวต่างประเทศโดยเครื่องบินได้
  • 17:13 - 17:16
    ในปี 1975 มีเพียงร้อยละ 30 ของคนกลุ่มนี้
  • 17:16 - 17:19
    ที่อาศัยอยู่กลุ่มประเทศตะวันตก
  • 17:19 - 17:21
    แต่โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว
  • 17:21 - 17:26
    อย่างแรก เราลองมาดูความเปลี่ยนแปลง
    จนถึงปัจจุบัน คือปี 2014
  • 17:26 - 17:27
    กลายเป็น 50/50
  • 17:27 - 17:31
    การกุมอำนาจโดยชาติตะวันตกได้จบสิ้นลงแล้ว
  • 17:31 - 17:33
    ดูดีทีเดียว แล้วอะไรจะเกิดขึ้นต่อ
  • 17:33 - 17:37
    คุณเห็นหนอกใหญ่นั่นไหม
    คุณเห็นการเปลี่ยนแปลงของมันมั๊ย
  • 17:37 - 17:43
    ผมทำการทดลองเล็กน้อย ผมเข้าเว็บไซต์ IMF
  • 17:43 - 17:47
    ที่นั่นมีตัวเลขคาดการณ์ GDP ต่อประชากร
    ในอีก 5 ปีข้างหน้า
  • 17:47 - 17:50
    ซึ่งผมสามารถใช้มองไปในอนาคต
    5 ปีข้างหน้าได้
  • 17:50 - 17:53
    สมมติว่าความเหลื่อมล้ำของรายได้
    ในแต่ละประเทศ ยังคงเดิม
  • 17:53 - 17:55
    ผมลองทำดู และผมลองไปไกลกว่านั้น
  • 17:55 - 17:58
    ผมลองใช้ตัวเลข 5 ปีนั้น ต่อไปอีก 20 ปี
  • 17:58 - 18:03
    ด้วยอัตราเดียวกัน แค่ลองทดสอบดู
    สมมติว่าเป็นจริง
  • 18:03 - 18:05
    เราลองก้าวไปสู่อนาคตกัน
  • 18:05 - 18:10
    ในปี 2020
    กลุ่มที่เหลือจะมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 57
  • 18:10 - 18:13
    ในปี 2025 จะกลายเป็นร้อยละ 63
  • 18:13 - 18:22
    ในปี 2030 จะกลายเป็นร้อยละ 68
    และในปี 2035 ชาติตะวันตกจะเสียตำแหน่ง
    ตลาดที่ร่ำรวย
  • 18:22 - 18:26
    นี่เป็นเพียงแค่การคาดการณ์ GDP ต่อประชากร
    ในอนาคต
  • 18:26 - 18:28
    ร้อยละ 73 ของผู้บริโภคที่ร่ำรวย
  • 18:28 - 18:32
    จะไม่ได้อาศัยอยู่ในชาติตะวันตกอีกต่อไป
  • 18:32 - 18:36
    และแน่นอน ผมคิดว่ามันเป็นความคิดที่ดี
    หากบริษัทต่าง ๆ จะใช้ใบรับรองนี้
  • 18:36 - 18:39
    เพื่อสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคต
    บนพื้นฐานของความจริง
  • 18:39 - 18:41
    ขอบคุณมากครับ
  • 18:41 - 18:43
    (เสียงปรบมือ)
  • 18:48 - 18:50
    บรูโน จูสซานี: ฮานส์ และ อูล่า โรสลิงค์
Title:
ทำอย่างไรให้รู้ทันโลก
Speaker:
ฮานส์ และ อูล่า โรสลิงค์
Description:

คุณรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโลกนี้มากแค่ไหน ? ฮานส์ โรสลิงค์ พร้อมด้วยแผนภูมิอันโด่งดังของเขา เกี่ยวกับข้อมูลประชากร สุขภาพ และรายได้ (และไม้ชี้ที่ยาวมาก ๆ) จะแสดงให้คุณเห็นถึงโอกาสทางสถิติที่คุณจะคิดผิดในสิ่งที่คุณคิดว่ารู้ดี สนุกไปกับการร่วมตอบคำถามกับเขา พร้อมกับเรียนรู้จากอูล่า ลูกชายของฮานส์ เกี่ยวกับ 4 วิธีง่าย ๆ ในการเป็นคนไม่เมินเฉย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
20:31
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for How not to be ignorant about the world
MeMe Kassiri commented on Thai subtitles for How not to be ignorant about the world
MeMe Kassiri accepted Thai subtitles for How not to be ignorant about the world
MeMe Kassiri edited Thai subtitles for How not to be ignorant about the world
MeMe Kassiri edited Thai subtitles for How not to be ignorant about the world
MeMe Kassiri edited Thai subtitles for How not to be ignorant about the world
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for How not to be ignorant about the world
Unnawut Leepaisalsuwanna rejected Thai subtitles for How not to be ignorant about the world
Show all
  • Hello! I made some typo corrections here and there and reduced a few usage of "มัน" where I feel it makes the reading a little difficult. But I tried my best to keep the translator/reviewer's tone and language intact. Let me know what you think and feel free to send back to me whenever ready krub. Thanks so much!

  • Thanks so much ka. I agreed with having too many "มัน" and have just reduced them as many as appropriate.

Thai subtitles

Revisions