Return to Video

การเหยียดเชื้อชาติทำให้เราป่วยได้อย่างไร

  • 0:01 - 0:05
    บทความจากนิตยสารศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเยล
  • 0:05 - 0:08
    เล่าถึงเรื่องราวของ ไคลด์ เมอร์ฟีย์
  • 0:08 - 0:13
    ชายผิวดำซึ่งเป็นสมาชิกของชั้นเรียนในปี 1970
  • 0:13 - 0:16
    ไคลด์มีชีวิตที่ประสบความสำเร็จ
  • 0:16 - 0:19
    หลังจากสำเร็จการศึกษาจากเยล
    และปริญญาทางกฎหมายจากโคลอมเบีย
  • 0:20 - 0:22
    ไคลด์ได้ใช้เวลากว่า 30 ปี
  • 0:22 - 0:26
    ในฐานะหนึ่งในทนายความชั้นนำ
    ด้านสิทธิพลเมืองในอเมริกา
  • 0:26 - 0:29
    เขาเป็นทั้งสามีและพ่อที่ยอดเยี่ยม
  • 0:30 - 0:33
    แต่ตรงกันข้ามกับความสำเร็จของเขา
  • 0:33 - 0:35
    ทั้งในด้านชีวิตส่วนตัวและอาชีพการงาน
  • 0:36 - 0:39
    เรื่องราวของไคลด์มีจุดจบที่น่าเศร้า
  • 0:39 - 0:41
    ในปี 2010
  • 0:42 - 0:44
    ด้วยอายุ 62 ปี
  • 0:45 - 0:48
    ไคลด์เสียชิวิตจากโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด
  • 0:50 - 0:54
    สิ่งที่เกิดขึ้นกับไคลด์
    ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร
  • 0:55 - 0:58
    คนผิวดำมากมายซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชั้น
    ของเขาที่มหาวิทยาลัยเยล
  • 0:58 - 0:59
    ล้วนเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย
  • 1:00 - 1:03
    ความจริงแล้วบทความในนิตยสารได้ระบุว่า
  • 1:04 - 1:08
    หลังจากสำเร็จการศึกษาจากเยลได้ 41ปี
  • 1:08 - 1:11
    คนผิวดำซึ่งเป็นสมาชิกของชั้นเรียนในปี 1970
  • 1:11 - 1:14
    มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงมากกว่า 3 เท่า
  • 1:15 - 1:17
    เมื่อเทียบกับสมาชิกคนอื่นๆในชั้นเรียน
  • 1:19 - 1:20
    นี่เป็นสิ่งทีน่าประหลาดใจ
  • 1:21 - 1:24
    ไม่นานมานี้ประเทศอเมริกาได้ตระหนัก
  • 1:25 - 1:27
    อย่างต่อเนื่อง
  • 1:27 - 1:31
    ถึงเหตุการณ์ที่ชายผิวดำไร้อาวุธ
    ถูกยิงโดยตำรวจ
  • 1:32 - 1:36
    สิ่งที่เป็นเรื่องใหญ่ยิ่งกว่านั้น
  • 1:37 - 1:39
    คือทุกๆ 7 นาที
  • 1:40 - 1:44
    มีวัยรุ่นผิวดำเสียชีวิต
    ในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • 1:44 - 1:48
    นั่นแปลว่ามีคนผิวดำมากกว่า 200 คน
  • 1:48 - 1:50
    เสียชีวิตในแต่ละวัน
  • 1:50 - 1:56
    ซึ่งคนเหล่านี้จะไม่เสียชีวิตหากสุขภาพ
    ของคนผิวดำและผิวขาวนั้นเท่าเทียมกัน
  • 1:58 - 2:00
    ใน 25 ปีที่ผ่านมา
  • 2:01 - 2:03
    ผมได้ปฏิบัติภารกิจ
  • 2:03 - 2:06
    เพิ่อที่จะทำความเข้าใจว่าทำไมเชื้อชาติ
  • 2:06 - 2:09
    ถึงสำคัญต่อสุขภาพอย่างลึกซึ้ง
  • 2:10 - 2:12
    ในตอนที่ผมได้เริ่มทำอาชีพของผม
  • 2:12 - 2:16
    ผู้คนมากมายเชื่อว่าเป็นเพียงแค่
    ความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ
  • 2:16 - 2:18
    ในเรื่องของรายได้และการศึกษา
  • 2:18 - 2:23
    ผมได้ค้นพบว่าในขณะที่สถานะทาง
    เศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
  • 2:24 - 2:26
    มันยังมีเรื่องราวที่มากยิ่งกว่านั้น
  • 2:26 - 2:31
    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราลองดูที่
    ช่วงอายุขัยของคนอายุ 25 ปี
  • 2:32 - 2:37
    ที่อายุ 25 ปี มีช่องว่าง 5 ปี
    ระหว่างคนผิวดำและคนผิวขาว
  • 2:37 - 2:41
    และช่องว่างที่เกิดจากการศึกษา
    ในคนผิวดำและคนผิวขาว
  • 2:41 - 2:45
    ใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับช่องว่างทางเชื้อชาติ
  • 2:45 - 2:50
    ในขณะเดียวกัน ที่ทุกๆระดับ
    ของการศึกษา
  • 2:50 - 2:52
    คนผิวขาวนั้นอยู่ได้นานกว่าคนผิวดำ
  • 2:53 - 2:55
    ดังนั้นคนผิวขาวซึ่งออกจาก
    โรงเรียนมัธยมปลาย
  • 2:55 - 2:59
    อยู่ได้ยาวนานกว่าคนผิวดำ
    ที่ออกเหมือนกัน 3.4 ปี
  • 2:59 - 3:01
    และช่องว่างนี้ยิ่งกว้างมากขึ้น
  • 3:02 - 3:03
    ระหว่างผู้ที่จบมหาวิทยาลัย
  • 3:04 - 3:07
    สิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดคือ
  • 3:07 - 3:11
    คนผิวขาวซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย
  • 3:11 - 3:14
    อยู่ได้นานกว่าคนผิวดำที่ได้ปริญญา
  • 3:14 - 3:16
    หรือจบการศึกษาระดับสูงกว่า
  • 3:17 - 3:20
    แล้วทำไมเชื้อชาติถึงส่งผลกระทบ
    อย่างลึกซึ้งต่อสุขภาพ?
  • 3:21 - 3:25
    ยังมีอะไรอีกนอกเหนือจากการศึกษาและรายได้
  • 3:25 - 3:27
    ที่อาจส่งผลกระทบ?
  • 3:28 - 3:30
    ในช่วงต้นยุค 1990
  • 3:31 - 3:33
    ผมถูกขอให้ตรวจสอบหนังสือใหม่
  • 3:34 - 3:36
    ในเรื่องสุขภาพของ
    ชาวอเมริกันผิวดำ
  • 3:36 - 3:39
    ผมตกตะลึงที่เกือบทุกบท
  • 3:39 - 3:42
    ของทั้งหมด 25 บทนั้น
  • 3:42 - 3:43
    กล่าวว่าการเหยียดชนชาติ
  • 3:43 - 3:46
    เป็นปัจจัยที่ทำลายสุขภาพของคนผิวดำ
  • 3:47 - 3:49
    นักวิจัยทุกคน
  • 3:50 - 3:55
    ได้ระบุว่าการเหยียดเชื้อชาติส่งผลกระทบ
    อย่างร้ายแรงต่อคนผิวดำ
  • 3:56 - 3:58
    แต่พวกเขาไม่ได้ให้หลักฐานเลย
  • 3:59 - 4:01
    สำหรับผมแล้วนั่นยังไม่ดีพอ
  • 4:02 - 4:04
    หลายเดือนหลังจากนั้น
  • 4:04 - 4:07
    ขณะที่ผมกำลังพูดอยู่ใน
    งานสัมนาที่วอชิงตัน ดีซี
  • 4:07 - 4:10
    ผมพูดถึงหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุด
    สำหรับงานวิจัย
  • 4:10 - 4:14
    คือการบันทึกว่าการเหยียดเชื้อชาติ
    ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้อย่างไร
  • 4:15 - 4:17
    สุภาพบุรุษผิวขาวลุกขึ้นยืนท่ามกลางผู้ฟัง
  • 4:17 - 4:21
    พร้อมกับพูดว่าเค้าเห็นด้วยกับผมว่า
    เรื่องการเหยียดผิวเป็นเรื่องใหญ่
  • 4:22 - 4:24
    เราไม่สามารถ
    วัดการเหยียดผิวได้
  • 4:25 - 4:27
    ผมจึงพูดว่า "เราวัดที่ความมั่นใจในตัวเอง"
  • 4:28 - 4:30
    มันไม่มีเหตุผลเลย
  • 4:30 - 4:33
    ที่เราจะวัดการเหยียดผิวไม่ได้
    หากเราใส่ใจจริงๆ
  • 4:34 - 4:36
    ดังนั้นผมได้ใส่ความใส่ใจของผมลงไป
  • 4:36 - 4:38
    และพัฒนามาตราวัด 3 ระดับขึ้นมา
  • 4:38 - 4:42
    อันแรกตรวจจับเหตุการณ์
    เลือกปฏิบัติที่รุนแรง
  • 4:42 - 4:46
    เช่น การถูกไล่ออกและถูก
    ตำรวจเรียกอย่างไม่เป็นธรรม
  • 4:47 - 4:52
    แต่การเลือกปฏิบัติสามารกเกิดขึ้นได้
    ในกรณีที่เล็กน้อยและลึกซึ้งกว่านั้น
  • 4:52 - 4:55
    ฉะนั้นในระดับที่ 2 เรียกว่า
    ระดับการเลือกปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
  • 4:56 - 4:58
    ในระดับนี้ตรวจจับ 9 สิ่ง
  • 4:58 - 4:59
    ที่ตรวจจับประสบการณ์
  • 4:59 - 5:02
    เช่น คุณถูกปฏิบัติอย่างไม่สุภาพ
    เมื่อเทียบกับคนอื่นๆ
  • 5:02 - 5:06
    คุณได้รับการบริการที่แย่กว่าคนอื่น
    ในร้านอาหารหรือร้านค้า
  • 5:06 - 5:09
    หรือผู้คนแสดงท่าทางเหมือนกลัวคุณ
  • 5:09 - 5:12
    มาตราวัดนี้ตรวจจับ
  • 5:12 - 5:16
    ถึงวิธีที่ศักดิ์ศรีและความเคารพ
  • 5:16 - 5:19
    ของผู้คนซึ่งสังคมไม่ได้ให้ความสำคัญ
  • 5:19 - 5:21
    ได้ถูกทำลายลงในชีวิตประจำวัน
  • 5:22 - 5:24
    งานวิจัยได้ค้นพบว่า
  • 5:25 - 5:28
    ระดับการเลือกปฏิบัติที่สูงขึ้นนั้น
  • 5:28 - 5:34
    สัมพันธ์กันกับความเสี่ยงที่จะ
    ทำให้เกิดโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น
  • 5:34 - 5:37
    ตั้งแต่โรคความดันโลหิตสูง
    โรคอ้วนลงพุง
  • 5:37 - 5:40
    โรคมะเร็งเต้านมไป
    จนถึงโรคหัวใจ
  • 5:40 - 5:42
    ถึงขนาดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
  • 5:44 - 5:49
    ยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบบางส่วน
    สามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่อายุยังน้อยมาก
  • 5:49 - 5:53
    ยกตัวอย่างเช่น ผลการศึกษาวัยรุ่นชาวผิวดำ
  • 5:54 - 6:00
    พบว่าผู้ที่แจ้งว่าโดน
    เลือกปฏิบัติสูงในสมัยวัยรุ่น
  • 6:01 - 6:04
    มีระดับฮอร์โมนความเครียดที่สูงกว่า
  • 6:06 - 6:07
    รวมทั้งความดันเลือด
  • 6:07 - 6:10
    และน้ำหนักที่อายุ 20 ปี
  • 6:12 - 6:14
    อย่างไรก็ตาม
  • 6:16 - 6:18
    ความเครียดจากการเลือกปฏิบัติ
  • 6:18 - 6:20
    เป็นเพียงด้านหนึ่งเท่านั้น
  • 6:20 - 6:23
    การเลือกปฏิบัติและการเหยียดผิว
  • 6:23 - 6:27
    ยังส่งผลอย่างลึกซึ้งใน
    ด้านต่างๆ ของสุขภาพอีกด้วย
  • 6:27 - 6:31
    ยกตัวอย่างเช่น การเลือกปฏิบัติ
    ในด้านการรักษาพยาบาล
  • 6:31 - 6:35
    ในปี 1999 สถาบันการแพทย์นานาชาติ
  • 6:35 - 6:37
    ได้ขอให้ผมดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ
  • 6:37 - 6:42
    ซึ่งค้นพบและสรุปตาม
    หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
  • 6:42 - 6:45
    ว่าคนผิวดำและชนกลุ่มน้อยอื่นๆ
  • 6:45 - 6:48
    ได้รับการรักษาที่คุณภาพ
    ต่ำกว่าคนผิวขาว
  • 6:48 - 6:52
    คือสิ่งที่เป็นจริงในการรักษา
    ทางการแพทย์ทุกรูปแบบ
  • 6:52 - 6:54
    จากอันที่ง่ายที่สุด
  • 6:55 - 6:58
    ไปจนถึงอันที่มีความซับซ้อน
    ทางเทคนิคมากที่สุด
  • 6:59 - 7:02
    คำอธิบายหนึ่งสำหรับ
    รูปแบบนี้
  • 7:02 - 7:06
    คือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "นัยอคติ"
  • 7:06 - 7:08
    หรือ "การเลือกปฏิบัติอย่างไม่รู้ตัว"
  • 7:08 - 7:11
    มีการศึกษามาแล้วหลายศตวรรษ
    โดยนักจิตวิทยาสังคม
  • 7:11 - 7:14
    ได้บ่งชี้ว่าถ้าคุณมีการมองเหมารวมในแง่ลบ
  • 7:14 - 7:18
    กับกลุ่มปัจจัยหนึ่งในจิตใต้สำนึกของคุณ

  • 7:18 - 7:20
    แล้วคุณได้พบกับบุคคลที่มาจากกลุ่มนั้นๆ
  • 7:20 - 7:23
    คุณจะทำการแบ่งแยกบุคคลนั้นทันที
  • 7:23 - 7:24
    คุณจะปฏิบัติต่อเขาอย่างต่างออกไป
  • 7:24 - 7:29
    มันคือกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว
    เป็นระบบที่เกิดอัตโนมัติ
  • 7:29 - 7:32
    เป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อน
    แต่ว่าเป็นเรื่องปกติ
  • 7:32 - 7:38
    และมันเกิดขึ้นแม้กระทั่งกับ
    บุคคลที่มีเจตนาดีที่สุด
  • 7:39 - 7:42
    แต่ยิ่งผมค้นคว้าข้อมูลอย่างละเอียด
    มากขึ้นเท่าไหร่
  • 7:42 - 7:45
    ในเรื่องผลกระทบของ
    การเหยียดผิวที่มีต่อสุขภาพ
  • 7:45 - 7:48
    ผลกระทบนั้นยิ่งรุนแรงและ
    ยากที่จะสังเกตเท่านั้น
  • 7:49 - 7:52
    มีการแบ่งแยกทางสถาบัน
  • 7:53 - 7:55
    ซึ่งกล่าวถึงการเลือกปฎิบัติ
  • 7:55 - 7:59
    ที่เกิดในกระบวนการของ
    สถาบันทางสังคม
  • 8:00 - 8:03
    การแบ่งแยกที่อยู่ตามเชื้อชาติ
  • 8:03 - 8:08
    นำไปสู่การที่คนผิวดำและผิวขาวอาศัย
    อยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันมาก
  • 8:08 - 8:12
    เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่พบได้บ่อย
    ของการแบ่งแยกทางสังคม
  • 8:13 - 8:17
    หนึ่งในความลับของประเทศอเมริกา
    ที่ถูกเก็บไว้อย่างดีคือ
  • 8:17 - 8:19
    วิธีที่การแบ่งแยกที่อยู่อาศัย
  • 8:19 - 8:22
    เป็นหนึ่งในความลับของที่มา
  • 8:22 - 8:26
    ที่สร้างความไม่เท่าเทียมทางเชื้อชาติ
    ในประเทศอเมริกา
  • 8:27 - 8:30
    ที่อเมริกา สถานที่ที่คุณอยู่
  • 8:30 - 8:33
    กำหนดถึงการเข้าถึงของคุณในโอกาส
  • 8:33 - 8:36
    ทางการศึกษา,การจ้างงาน
  • 8:36 - 8:40
    ในที่อยู่อาศัยและแม้กระทั่ง
    การเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์
  • 8:42 - 8:48
    หนึ่งในรายงานการศึกษา
    171 เมืองใหญ่ทั่วสหรัฐอเมริกา
  • 8:48 - 8:51
    สรุปได้ว่าไม่ใช่แค่เมืองเดียว
  • 8:51 - 8:55
    ที่คนผิวขาวและคนผิวดำอยู่ใน
    สภาพแวดล้อมที่ไม่เท่าเทียมกัน
  • 8:55 - 8:59
    และสภาพของเมืองที่แย่ที่สุด
    ที่คนผิวขาวอาศัยอยู่
  • 8:59 - 9:03
    เมื่อเทียบกับสภาพสังคมของ
    คนผิวดำเฉลี่ยแล้วถือว่าดีกว่ามาก
  • 9:04 - 9:06
    รายงานการศึกษาอีกอันได้ค้นพบว่า
  • 9:06 - 9:09
    ถ้าคุณสามารถกำจัด
  • 9:09 - 9:10
    การแยกที่อยู่อาศัยทางสถิติได้
  • 9:10 - 9:14
    คุณจะสามารถลบล้างความแตกต่างด้าน
    รายได้ของคนผิวดำและผิวขาวได้
  • 9:15 - 9:17
    รวมถึงการศึกษาและการว่างงาน
  • 9:17 - 9:20
    และลดความแตกต่างของแม่ลูกเดี่ยว
    ในคนผิวดำและผิวขาว
  • 9:20 - 9:22
    ได้ถึง 2 ใน 3
  • 9:22 - 9:24
    ทั้งหมดนั้นมีสาเหตุมาจากการแบ่งแยก
  • 9:25 - 9:27
    และผมยังได้เรียนรู้
  • 9:27 - 9:30
    ว่าทำอย่างไรการมองเหมารวมในแง่ลบ
  • 9:30 - 9:33
    และภาพลักษณ์ของคนผิวดำ
    ในวัฒนธรรมเรา
  • 9:33 - 9:36
    ถูกสร้างและทำให้คงอยู่ต่อจริงๆอย่างไร
  • 9:36 - 9:39
    ทั้งในการแบ่งแยกทางปัจเจกบุคคล
    และทางสถาบัน
  • 9:41 - 9:44
    กลุ่มนักวิจัยได้รวบรวมฐานข้อมูล
  • 9:44 - 9:47
    ประกอบไปด้วยหนังสือ
  • 9:47 - 9:50
    นิตยสารและบทความ
  • 9:50 - 9:54
    ซึ่งคนอเมริกันทั่วไปที่จบระดับมหาวิทยาลัย
    จะอ่านซ้ำในช่วงชีวิตของเค้า
  • 9:54 - 9:57
    มันช่วยให้เรามองผ่านฐานข้อมูลนี้
  • 9:57 - 10:03
    และเห็นว่าชาวอเมริกันมอง
    คำที่ถูกจับคู่กันอย่างไร
  • 10:03 - 10:05
    จากการที่พวกเค้าเติบโตมาในสังคมของพวกเค้า
  • 10:05 - 10:09
    ดังนั้นเมื่อคำว่า "ดำ" ปราฏขึ้นมา
    ในวัฒนธรรมอเมริกัน
  • 10:09 - 10:11
    อะไรจะเกิดขึ้นตามมา?
  • 10:11 - 10:13
    "ยากจน"
  • 10:13 - 10:14
    "รุนแรง"
  • 10:14 - 10:15
    "เคร่งศาสนา"
  • 10:15 - 10:17
    "ขี้เกียจ"
  • 10:17 - 10:18
    "ร่าเริง"
  • 10:18 - 10:20
    "อันตราย"
  • 10:20 - 10:21
    เมื่อคำว่า"ขาว"ปรากฏ
  • 10:21 - 10:23
    คำที่มักจะตามมาบ่อยๆ
  • 10:23 - 10:25
    คือ "ร่ำรวย"
  • 10:25 - 10:26
    "หัวก้าวหน้า"
  • 10:26 - 10:27
    "เป็นต้นแบบ"
  • 10:28 - 10:29
    "หัวแข็ง"
  • 10:29 - 10:31
    "ประสบความสำเร็จ"
  • 10:31 - 10:32
    "มีการศึกษา"
  • 10:32 - 10:35
    ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • 10:36 - 10:40
    ทำเกินกว่าเหตุเมื่อเห็นผู้ชายผิวดำไร้อาวุธ
  • 10:41 - 10:46
    และเข้าใจว่าเค้าเป็นคน
    รุนแรงและอันตราย
  • 10:46 - 10:51
    เราไม่จำเป็นที่จะต้องยุ่ง
    กับตำรวจที่แย่โดยสันดาน
  • 10:51 - 10:54
    เราอาจจะเห็น
  • 10:54 - 10:56
    คนอเมริกันทั่วไป
  • 10:56 - 11:00
    ผู้สะท้อนให้เห็นถึง
    สิ่งที่เค้าได้รับผลกระทบ
  • 11:00 - 11:02
    เป็นผลจากการที่ถูกเลี้ยงดู
  • 11:02 - 11:03
    ในสังคมนี้
  • 11:04 - 11:07
    จากประสบการณ์ของผม
  • 11:08 - 11:10
    ผมเชื่อว่าเชื้อชาติของคุณ
  • 11:10 - 11:14
    ไม่ได้เป็นตัวกำหนดโชคชะตาของคุณ
  • 11:15 - 11:17
    ผมอพยพมาที่ประเทศอเมริกา
  • 11:17 - 11:19
    จากหมู่เกาะแคริบเบียนที่เซนต์ลูเซีย
  • 11:20 - 11:22
    ในช่วงปลายยุค 70
  • 11:23 - 11:25
    เพื่อที่จะพยายามหาการศึกษาระดับสูงขึ้น
  • 11:26 - 11:28
    และในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
  • 11:28 - 11:30
    ผมทำได้ดี
  • 11:30 - 11:33
    ผมมีครอบครัวที่ให้การสนับสนุน
  • 11:33 - 11:34
    ผมทำงานหนัก
  • 11:35 - 11:36
    และผมก็ทำได้ดี
  • 11:37 - 11:40
    แต่มันใช้ความพยายามอย่างมาก
    สำหรับผมที่จะประสบความสำเร็จ
  • 11:41 - 11:45
    ผมได้รับทุนสำหรับผู้ด้อยโอกาส
    ทางสังคมจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
  • 11:45 - 11:50
    ใช่แล้ว ผมเป็นเด็กที่มองโลกในแง่ดี
  • 11:51 - 11:53
    ถ้าไม่มองโลกในแง่ดี
  • 11:53 - 11:55
    ผมคงไม่ได้มาอยู่ที่นี่
  • 11:57 - 11:59
    แต่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
  • 12:00 - 12:03
    คนอเมริกันผิวดำประสบความสำเร็จน้อยกว่าผม
  • 12:05 - 12:10
    ในปี 1978 ครอบครัวชาวผิวดำในประเทศอเมริกา
  • 12:10 - 12:14
    มีรายได้ 59 เซนต์จากรายได้
    ทุกๆหนึ่งดอลลาร์ที่คนขาวได้รับ
  • 12:15 - 12:17
    ในปี 2015
  • 12:17 - 12:22
    ครอบครัวคนผิวดำยังคงมีรายได้ 59 เซ็นต์
  • 12:22 - 12:26
    จากรายได้ทุกๆดอลล่าร์
    ที่ครอบครัวผิวขาวได้รับ
  • 12:26 - 12:30
    และความแตกต่างทางเชื้อชาติ
    ในด้านความร่ำรวยยิ่งน่าตกใจ
  • 12:31 - 12:33
    สำหรับทุกๆดอลล่าร์ของ
    ความมั่งคั่งที่คนขาวมี
  • 12:34 - 12:38
    ครอบครัวผิวดำได้หกเพนนี
    และคนลาตินได้เจ็ดเพนนี
  • 12:39 - 12:40
    ความจริงคือ
  • 12:40 - 12:42
    การเหยียดผิว
  • 12:42 - 12:47
    ทำให้เกิดระบบโกงอย่างแท้จริง
  • 12:47 - 12:52
    ซึ่งทำให้บางกลุ่มเชื้อชาติใน
    ประเทศสหรัฐอเมริกาเสียประโยชน์จากระบบ
  • 12:53 - 12:55
    ดังข้อความของเพลโต
  • 12:55 - 12:57
    ไม่มีอะไรที่ไม่ยุติธรรม
  • 12:59 - 13:02
    เท่ากับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
    ให้กับคนที่อยู่ต่างฐานะกัน
  • 13:04 - 13:06
    และนั่นคือเหตุผลที่ผมมุ่งมั่น
  • 13:06 - 13:09
    ทำงานเพื่อที่จะกำจัดการเหยียดผิว
  • 13:10 - 13:12
    ผมรู้สึกซาบซึ้งอย่างมากกับความจริง
  • 13:12 - 13:16
    ที่ว่าผมได้รับการสนับสนุน
  • 13:16 - 13:20
    ของผู้คนที่เสียสละกระทั่ง
    ชีวิตของตัวเองเพื่อเปิดประตู
  • 13:20 - 13:21
    ที่ผมได้เดินผ่าน
  • 13:22 - 13:26
    ผมต้องการที่จะทำให้แน่ใจว่า
    ประตูเหล่านั้นยังคงเปิดอยู่
  • 13:26 - 13:31
    และทุกคนสามารถเดินผ่านประตูเหล่านั้นได้
  • 13:32 - 13:35
    โรเบิร์ต เคนเนดี กล่าวไว้ว่า
  • 13:35 - 13:38
    "แต่ละครั้งที่ผู้ชาย"--
    หรือผู้หญิง ผมขอเสริม--
  • 13:38 - 13:40
    ลุกขึ้นยืนหยัดเพื่อสนับสนุนอุดมคติ
  • 13:40 - 13:43
    หรือการกระทำเพื่อพัฒนาผู้คนมากมาย
  • 13:43 - 13:46
    หรือการต่อต้านความอยุติธรรม
  • 13:46 - 13:49
    เขาได้ส่งระลอกความหวังเล็กๆ
  • 13:49 - 13:52
    และระลอกเหล่านั้นสามารถสร้างกระแส
  • 13:52 - 13:57
    ที่สามารถล้มล้างกำแพงใหญ่
    ซึ่งกดขี่และขัดขวางลงได้
  • 13:58 - 14:00
    ผมมองโลกในแง่ดีวันนี้
  • 14:00 - 14:03
    เพราะทั่วประเทศอเมริกา
  • 14:03 - 14:05
    ผมได้เห็นระลอกของความหวัง
  • 14:06 - 14:08

    ศูนย์การแพทย์บอสตัน
  • 14:08 - 14:10
    ได้เพิ่มทนายความในทีมแพทย์
  • 14:11 - 14:15
    ทำให้แพทย์สามารถพัฒนาสุขภาพของผู้ป่วยได้
  • 14:15 - 14:20
    เพราะทนายความจะดูแลความต้องการ
    ที่นอกเหนือทางการแพทย์ของผู้ป่วย
  • 14:20 - 14:24
    มหาวิทยาลัยโลมา ลินดา ได้สร้าง
    มหาวิทยาลัยที่ให้โอกาส
  • 14:24 - 14:26
    ที่ใกล้ๆ ซาน เบอร์นาดินอ
  • 14:26 - 14:29
    ดังนั้นนอกเหนือจากให้
    การรักษาทางการแพทย์
  • 14:29 - 14:32
    พวกเค้าสามารถให้ทักษะในการทำงาน
  • 14:32 - 14:34
    และการฝึกอบรมอาชีพ
  • 14:34 - 14:39
    กับคนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่ซึ่งเป็น
    สมาชิกในชุมชนที่มีรายได้น้อย
  • 14:39 - 14:43
    เพื่อที่พวกเค้าจะมีทักษะที่
    จำเป็นต่อการได้งานที่ดี
  • 14:45 - 14:47
    ที่เมืองชาเพลฮิลล์ นอร์ทแคโรไลนา
  • 14:47 - 14:51
    โครงการอะเบเซดาเรี่ยน ได้ค้นพบว่า
  • 14:51 - 14:56
    ทำอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้า
    ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ
  • 14:56 - 14:59
    สำหรับคนผิวดำในช่วงกลางอายุ 30 ปี
  • 14:59 - 15:02
    โดยจัดให้มีการดูแลประจำวันอย่างมีคุณภาพ
  • 15:03 - 15:05
    ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 5 ปี
  • 15:05 - 15:09
    ที่ศูนย์เรียนรู้หลังเลิกเรียน
    ทั่วประเทศอเมริกา
  • 15:09 - 15:11
    วินต์ลีย์ ฟิปส์และยูเอส ดรีม อะคาเดมี่
  • 15:11 - 15:14
    ได้ทำลายวิถีชีวิตที่ต้อง
    วนเวียนอยู่แต่ในห้องขัง
  • 15:14 - 15:18
    โดยการเพิ่มความสามารถทางวิชาการ
    และมีการให้คำปรึกษา
  • 15:19 - 15:21
    ให้แก่เด็กที่เป็นนักโทษ
  • 15:21 - 15:24
    และเด็กที่ไม่ได้รับ
    การศึกษาในโรงเรียน
  • 15:25 - 15:26
    ที่ฮันต์วิลล์ อลาบาม่า
  • 15:26 - 15:28
    มหาวิทยาลัยโอ็ควู้ด
  • 15:28 - 15:30
    สถาบันทางประวิติศาสตร์ของคนผิวดำ
  • 15:30 - 15:34
    แสดงให้เห็นว่าเราจะสามารถพัฒนา
    สุขภาพของผู้ใหญ่ชาวผิวดำได้อย่างไร
  • 15:34 - 15:37
    โดยเพิ่มการประเมินทางสุขภาพ
  • 15:37 - 15:41
    เป็นส่วนหนึ่งของการ
    ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่
  • 15:41 - 15:44
    และให้แนวทางที่จำเป็น
    แก่นักเรียนเหล่านั้น
  • 15:44 - 15:45
    เพื่อเลือกสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ
  • 15:45 - 15:49
    และจัดบันทึกสุขภาพประจำปีให้พวกเค้า
  • 15:49 - 15:51
    เพื่อให้พวกเค้าสามารถ
    ติดตามความคืบหน้าได้
  • 15:52 - 15:53
    และที่แอตแลนต้า, จอร์เจีย
  • 15:53 - 15:59
    วัตถุประสงค์ของการสร้างชุมชนเพื่อกำจัด
    ผลกระทบเชิงลบของการแบ่งแยก
  • 15:59 - 16:02
    โดยการเปลี่ยนแหล่งอาชญากรรม
  • 16:02 - 16:05
    แหล่งชุมชนยาเสพติด
  • 16:05 - 16:09
    สู่ชุมชนของผู้มีรายได้หลาย
    ระดับมาอาศัยอยู่ด้วยกัน
  • 16:09 - 16:11
    และมีศักยภาพทางด้านวิชาการ
  • 16:11 - 16:14
    และเป็นชุมชนที่ทุกคนมีสุขภาพที่ดี
  • 16:14 - 16:15
    และทุกคนมีงานทำ
  • 16:16 - 16:18
    สุดท้ายนี้
  • 16:18 - 16:20
    มีแนวทางแก้ปัญหาของดีไวน์
  • 16:21 - 16:24
    ศาสตราจารย์แพทริเซีย ดีไวน์
  • 16:24 - 16:27
    แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
  • 16:27 - 16:31
    ได้แสดงให้เห็นถึงวิธีที่เราจะสามารถทำลาย
  • 16:31 - 16:34
    อคติที่ซ่อนอยู่ของเราอย่างซึ่งๆ หน้า
  • 16:34 - 16:36
    และทำให้มันลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 16:37 - 16:38
    พวกเราแต่ละคน
  • 16:38 - 16:41
    สามารถเป็นคลื่นเล็กๆแห่งความหวัง
  • 16:41 - 16:45
    งานชิ้นนี้ไม่มีทางที่จะง่ายตลอด
  • 16:45 - 16:48
    แต่เธอร์จู้ด มาร์แชล
    อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
  • 16:49 - 16:52
    ได้บอกพวกเราว่า "เราต้องคัดค้าน
  • 16:52 - 16:54
    เราต้องคัดค้านความไม่เอาใจใส่
  • 16:54 - 16:56
    เราต้องคัดค้านความไม่ยินดียินร้าย
  • 16:56 - 17:00
    เราต้องคัดค้านความเกลียดชัง
    และความหวาดระแวง
  • 17:00 - 17:01
    เราต้องคัดค้าน
  • 17:01 - 17:05
    เพราะประเทศอเมริกา
    สามารถทำได้ดีกว่านี้
  • 17:05 - 17:09
    เพราะประเทศอเมริกาไม่มี
    ทางเลือกอื่น นอกจากทำให้ดีขึ้นได้
  • 17:09 - 17:11
    ขอบคุณครับ
  • 17:11 - 17:14
    (ปรบมือ)
Title:
การเหยียดเชื้อชาติทำให้เราป่วยได้อย่างไร
Speaker:
เดวิด อาร์ วิลเลียมส์
Description:

ทำไมเชื้อชาติถึงมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อสุขภาพ? เดวิด อาร์ วิลเลียมส์ ได้พัฒนามาตราวัดผลกระทบของการเลือกปฏิบัติต่อการมีสุขภาพดีซึ่งอยู่นอกเหนือจากการวัดปัจจัยทั่วไปอย่างรายได้หรือการศึกษา เพื่อที่จะเปิดเผยว่าทำไมปัจจัยอย่างเช่น นัยอคติ,การแบ่งแยกที่อยู่อาศัยและการมองเหมารวมในแง่ลบได้สร้างความไม่เท่าเทียมกันมาอย่างต่อเนื่อง
ในการบรรยายเพื่อเปิดหูเปิดตานี้ วิลเลียมส์แสดงถึงหลักฐานว่าการเหยียดเชื้อชาตินำไปสู่ระบบที่ไม่เป็นธรรมได้อย่างไร นอกจากนี้เขายังเสนอตัวอย่างที่น่าคาดหวังของแผนงานทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งกำลังดำเนินการที่จะขจัดการเลือกปฏิบัติออกไป

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:27
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for How racism makes us sick
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for How racism makes us sick
Suppadej Mahapokai accepted Thai subtitles for How racism makes us sick
Suppadej Mahapokai edited Thai subtitles for How racism makes us sick
Suppadej Mahapokai declined Thai subtitles for How racism makes us sick
Suppadej Mahapokai edited Thai subtitles for How racism makes us sick
Karen Iguchi edited Thai subtitles for How racism makes us sick
Karen Iguchi edited Thai subtitles for How racism makes us sick
Show all

Thai subtitles

Revisions