Return to Video

ประวัติศาสตร์โดยย่อของพวกกอธ (Goth) - แดน อดัมส์ (Dan Adams)

  • 0:08 - 0:12
    สาวกคอเพลงแนว
    "atmospheric post-punk music"
  • 0:12 - 0:16
    มีสิ่งใดที่เหมือนกับชาวบาบาเรียนโบราณกันนะ
  • 0:16 - 0:17
    ก็ไม่มีอะไรมากนี่นา
  • 0:17 - 0:20
    แล้วทำไมทั้งสองฝ่าย
    จึงได้ชื่อว่าเป็นพวก"กอธ (Goth)" ล่ะ
  • 0:20 - 0:22
    นี่มันเป็นความบังเอิญสุดแปลก
  • 0:22 - 0:26
    หรือเป็นความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง
    ที่ข้ามผ่านกาลเวลานับร้อยปีกันแน่
  • 0:26 - 0:29
    เรื่องราวนี้เริ่มต้นในกรุงโรมโบราณ
  • 0:29 - 0:33
    ขณะที่จักรวรรดิโรมันขยายแสนยานุภาพ
    ก็ต้องผจญกับการซุ่มโจมตีและการรุกราน
  • 0:33 - 0:37
    จากชนเผ่ากึ่งร่อนเร่ (semi-nomadic)
    ตามแนวแถบชายแดน
  • 0:37 - 0:42
    ในบรรดากลุ่มที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด ก็คือ
    กลุ่มชนเชื้อสายเจอร์มานิคที่ชื่อว่า พวกกอธ
  • 0:42 - 0:44
    เป็นกลุ่มชนที่ประกอบไปด้วย 2 ชนเผ่า
  • 0:44 - 0:45
    คือ "วิสิกอธ (Visigoths)"
  • 0:45 - 0:47
    และ "ออสโตรกอธ (Ostrogoths)"
  • 0:47 - 0:50
    ขณะที่บางกลุ่มในกลุ่มชนเชื้อสายเจอร์มานิค
    ยังคงตั้งตนเป็นศัตรูต่อกรุงโรม
  • 0:50 - 0:56
    จักรวรรดิก็รวบรวมกลุ่มชนอื่น ๆ
    ให้เข้าร่วมกองทัพหลวง
  • 0:56 - 0:58
    เมื่อจักรวรรดิโรมันแตกออกเป็นสองฝ่าย
  • 0:58 - 1:02
    กองกำลังกลุ่มชนเหล่านี้
    กลับมีบทบาทสำคัญกว่าในการป้องกัน
  • 1:02 - 1:04
    และการต่อสู้แย่งชิงอำนาจภายใน
  • 1:04 - 1:09
    ในศตวรรษที่ 5 การก่อกบฏทหารรับจ้าง
    นำโดยทหารนายหนึ่งนาม "โอโดเอเซอร์"
  • 1:09 - 1:13
    ได้เข้าบุกยึดกรุงโรม
    และถอดพระอิสริยยศของจักรพรรดิโรมันตะวันตก
  • 1:13 - 1:16
    โอโดเอเซอร์
    และ "ธีโอเดริค" รัชทายาทแห่งออสโตรกอธ
  • 1:16 - 1:19
    ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว ยังคงอยู่ภายใต้
    ร่มบัญชาการของจักรพรรดิโรมันตะวันออก
  • 1:19 - 1:22
    และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีโรมัน
  • 1:22 - 1:26
    ทว่า จักรวรรดิโรมันตะวันตก
    จะไม่มีวันได้รวมกันเป็นปึกแผ่นอีกต่อไป
  • 1:26 - 1:29
    อธิปไตยของจักรวรรดิแตกออกเป็น
    อาณาจักรที่ถูกปกครองโดยชาวกอธ
  • 1:29 - 1:31
    และกลุ่มชนเชื้อสายเจอร์มานิคอื่น ๆ
  • 1:31 - 1:34
    ที่ถูกกลืนเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นไป
  • 1:34 - 1:38
    แม้นว่าหลายนามของกลุ่มชนเหล่านั้น
    จะยังคงจารึกอยู่ในแผนที่ก็ตาม
  • 1:38 - 1:41
    ทว่านี่คือจุดจบของยุคคลาสสิก
  • 1:41 - 1:44
    และเป็นจุดเริ่มต้น
    ที่ใครหลายคนขนานนามว่า ยุคมืด
  • 1:44 - 1:47
    ถึงแม้ว่าวัฒนธรรมโรมัน
    จะไม่เคยจางหายไปโดยสิ้นเชิง
  • 1:47 - 1:51
    แต่อิทธิพลก็อ่อนกำลังลงไป
    และศิลปะรูปแบบใหม่ก็ถือกำเนิดขึ้น
  • 1:51 - 1:54
    โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญลักษณ์
    และตัวแทนทางศาสนา
  • 1:54 - 1:57
    มากกว่าจะเน้นด้านสัดส่วน
    หรือศิลปะสัจนิยม (realism)
  • 1:57 - 1:59
    การเปลี่ยนแปลงนี้ขยับขยายไปเป็นสถาปัตยกรรม
  • 1:59 - 2:04
    จากการก่อสร้างวิหารแซ็ง เดอนี
    ที่ฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1137
  • 2:04 - 2:08
    ด้วยหลังคาทรงโค้งแหลม, ครีบยันลอย,
    และหน้าต่างบานใหญ่
  • 2:08 - 2:11
    ทำให้มีโครงสร้างแลดูเพรียวบาง
    และตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามยิ่งขึ้น
  • 2:11 - 2:14
    สิ่งนี้เน้นให้เห็นถึงโครงสร้างภายในตัวอาคาร
    ที่เปิดโล่งและระยิบระยับจับตา
  • 2:14 - 2:20
    มากกว่าจะเป็นกำแพงสูงตระหง่าน
    และแนวเสาของสิ่งก่อสร้างยุคคลาสสิก
  • 2:20 - 2:21
    เมื่อสองสามร้อยปีถัดมา
  • 2:21 - 2:25
    มันได้กลายเป็นต้นแบบของมหาวิหารไปทั่วยุโรป
  • 2:25 - 2:26
    แต่ความนิยมตามยุคสมัยนั้นเปลี่ยนไป
  • 2:26 - 2:31
    ครั้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแห่งอิตาลี
    ด้วยความชื่นชมในศิลปะกรีก-โรมันโบราณ
  • 2:31 - 2:37
    รูปแบบสถาปัตยกรรมที่แล้วมาก็ยิ่งดูจืดชืด
    และเทียบกันไม่ติด
  • 2:37 - 2:40
    จากงานเขียนในปี ค.ศ. 1550
    ที่มีชื่อว่า "ชีวประวัติบรรดาศิลปิน"
  • 2:40 - 2:45
    จอร์จิโอ วาซารี เป็นคนแรกที่เรียกรูปแบบ
    สถาปัตยกรรมดังกล่าวว่า "กอธิก (Gothic)"
  • 2:45 - 2:48
    โดยเป็นการกล่าวถึงชาวบาบาเรียน
    ในเชิงดูหมิ่น
  • 2:48 - 2:51
    ซึ่งถูกมองว่า
    เป็นตัวบ่อนทำลายอารยธรรมยุคคลาสสิก
  • 2:51 - 2:55
    ชื่อดังกล่าวเป็นที่จดจำขึ้นใจ จนพัฒนา
    มาเป็นคำที่ใช้พูดถึงยุคกลางโดยทั่วกัน
  • 2:55 - 3:01
    จากความเกี่ยวข้องกับความมืดมน
    ความเชื่อในสิ่งลี้ลับ และความงมงาย
  • 3:01 - 3:06
    แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป
    เฉกเช่นสิ่งที่เห็นต้องกันว่ามีความล้ำสมัย
  • 3:06 - 3:09
    ทศวรรษที่ 1700 ช่วงเวลาที่ขนานนามว่า
    "ยุคเรืองปัญญา" ก็เริ่มต้นขึ้น
  • 3:09 - 3:13
    ซึ่งให้คุณค่าแก่เหตุผลทางวิทยาศาสตร์
    เหนือสิ่งอื่นใด
  • 3:13 - 3:17
    เพื่อเป็นการตอบโต้ นักประพันธ์สังกัด
    กลุ่มโรแมนติก เช่น เกอเธ่ และไบรอน
  • 3:17 - 3:21
    ได้จรรโลงภาพอุดมคติที่สื่อให้เห็นถึง
    ภาพทิวทัศน์ธรรมชาติในอดีต
  • 3:21 - 3:24
    และพลังอำนาจทางจิตวิญญาณอันลี้ลับ
  • 3:24 - 3:28
    ณ จุดนี้ คำว่า "กอธิก"
    ก็ถูกเปลี่ยนจุดประสงค์ไปจากเดิมอีกครั้ง
  • 3:28 - 3:33
    มาเป็นใช้บรรยายถึงประเภทของวรรณคดี
    ที่ส่อให้เห็นด้านมืดของกลุ่มโรแมนติก
  • 3:33 - 3:36
    คำศัพท์ได้ถูกนำมาประยุกต์เป็นครั้งแรก
    โดยฮอเรส วัลโปล (Horace Walpole)
  • 3:36 - 3:40
    ในนวนิยายแห่งปี ค.ศ. 1764
    ชื่อ "ปราสาทแห่งออตรันโต"
  • 3:40 - 3:44
    เป็นคำที่กล่าวถึงโครงเรื่อง
    และบรรยากาศองค์รวม
  • 3:44 - 3:47
    หลากหลายองค์ประกอบของนวนิยาย
    ได้กลายมาเป็นประเภทพื้นฐาน
  • 3:47 - 3:52
    ที่จุดประกายฝันให้กลุ่มคลาสสิก
    และภาพยนตร์ที่พวกเขาฟูมฟักมานับไม่ถ้วน
  • 3:52 - 3:57
    สัญลักษณ์กอธิกได้ปรากฏอยู่
    ในวรรณกรรมและภาพยนตร์จนถึงยุค 1970
  • 3:57 - 4:00
    เมื่อฉากเพลงอันเป็นสิ่งใหม่เข้ามามีบทบาท
  • 4:00 - 4:03
    จึงทำตามแบบอย่างของศิลปินเช่น "เดอะดอร์ส"
    และ "เดอะเวลวิทอันเดอร์กราวน์"
  • 4:03 - 4:05
    วงโพสต์พังก์สัญชาติอังกฤษ
  • 4:05 - 4:06
    อาทิ จอย ดิวิชัน
  • 4:06 - 4:07
    บาวเฮาส์
  • 4:07 - 4:08
    และ เดอะ เคียวร์
  • 4:08 - 4:10
    ผสมผสานเนื้อเพลงอันหดหู่เข้ากับ
    เสียงประสานที่ขัดกันของพังก์
  • 4:10 - 4:14
    ด้วยจินตนาการที่ได้รับแรงบันดาลใจ
    จากยุคสมัยวิกตอเรีย
  • 4:14 - 4:15
    วรรณกรรมสยองขวัญยุคคลาสสิก,
  • 4:15 - 4:18
    และแฟชันแกลม (glam)
    ที่แต่งโฉมอย่างไม่แบ่งหญิงแบ่งชาย
  • 4:18 - 4:22
    ครั้นถึงยุค 1980 ตอนต้น
    วงดนตรีที่เหมือนกัน ก็ได้รับกล่าวขาน
  • 4:22 - 4:24
    จากสื่อสำนักสายดนตรีมาอย่างต่อเนื่อง
    ว่า "กอธิกร็อก"
  • 4:24 - 4:28
    และความนิยมชมชอบในสไตล์
    ก็ทำให้มีชมรมขอบตาดำเกิดขึ้นมา
  • 4:28 - 4:31
    ให้เป็นสัญลักษณ์หลักและเอ็มทีวี
  • 4:31 - 4:36
    และทุกวันนี้ นอกจากความสนใจแง่ลบ
    ของสื่อนาน ๆ ครั้ง และการเหมารวมแล้ว
  • 4:36 - 4:41
    ดนตรีและแฟชันกอธิกยังคงเป็น
    ปรากฏการณ์ใต้ดินอันแข็งแกร่งเรื่อยมา
  • 4:41 - 4:43
    และยังแตกแขนงออกเป็นแนวย่อย ๆ อีก
  • 4:43 - 4:44
    อย่างเช่น ไซเบอร์กอธ
  • 4:44 - 4:45
    กอธาบิลลี
  • 4:45 - 4:46
    กอธิก เมทัล
  • 4:46 - 4:49
    หรือแม้แต่สตีมพังก์
  • 4:49 - 4:51
    ประวัติศาสตร์ของคำว่า กอธิก ได้ถูกจารึกถึง
  • 4:51 - 4:55
    คุณค่าแห่งขบวนการปฏิปักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม
    มาเป็นพัน ๆ ปี
  • 4:55 - 4:58
    นับจากคนนอกผู้รุกรานที่ก้าวขึ้นมาเป็นกษัตริย์
  • 4:58 - 5:01
    ไปสู่ยอดแหลมสูงเสียดฟ้ามาแทนที่เสาแข็งทื่อ
  • 5:01 - 5:05
    ไปสู่ศิลปินผู้ค้นพบความงดงามในความมืดมน
  • 5:05 - 5:07
    ในทุกย่างก้าวจะเห็นความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่
    ที่ไม่ค่อยจะใช่สักเท่าไร
  • 5:07 - 5:13
    และแนวโน้มของอารยธรรม
    ที่จะสัมผัสอดีตเพื่อพลิกโฉมหน้าใหม่ให้ปัจจุบัน
Title:
ประวัติศาสตร์โดยย่อของพวกกอธ (Goth) - แดน อดัมส์ (Dan Adams)
Speaker:
Dan Adams
Description:

ชมบทเรียนฉบับเต็มได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/a-brief-history-of-goths-dan-adams

สาวกคอเพลงแนว "atmospheric post-punk music" มีสิ่งใดที่เหมือนกับชาวบาบาเรียนโบราณกันนะ ก็ไม่มีอะไรมากนี่นา... แล้วทำไมทั้งสองฝ่ายจึงได้ชื่อว่า "กอธ (Goth)" กันล่ะ มันเป็นความบังเอิญสุดแปลก หรือเป็นความสัมพันธ์ลึกซึ้งยิ่งกว่า ที่ข้ามผ่านกาลเวลานับร้อยปีกันแน่ แดน อดัมส์ จะไปเจาะลึกถึงความเป็นมา

บทเรียนโดย Dan Adams แอนิเมชันโดย Globizco

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:31
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for A brief history of goths
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A brief history of goths
Rawee Ma accepted Thai subtitles for A brief history of goths
Retired user edited Thai subtitles for A brief history of goths
Retired user edited Thai subtitles for A brief history of goths
Rawee Ma declined Thai subtitles for A brief history of goths
Rawee Ma edited Thai subtitles for A brief history of goths
Retired user edited Thai subtitles for A brief history of goths
Show all

Thai subtitles

Revisions