Return to Video

หนึ่งในคำที่แปลยากที่สุดในโลก ... - คริสเตียน อะพาร์ทา (Krystian Aparta)

  • 0:09 - 0:13
    อะไรคือคำที่แปลยากที่สุดในประโยคนี้
  • 0:14 - 0:15
    "รู้" เป็นคำที่แปลง่าย
  • 0:16 - 0:20
    "ประชุมอุ่นเครื่อง" ไม่มีคำที่แปลได้ตรง ๆ
    ในหลาย ๆ ภาษาและวัฒนธรรม
  • 0:20 - 0:22
    แต่เราก็สามารถหาคำใกล้เคียงได้
  • 0:22 - 0:26
    อันที่จริงคำที่แปลยากที่สุด
    ก็คือคำที่สั้นที่สุด นั่นคือคำว่า "คุณ"
  • 0:27 - 0:28
    ก็ดูเหมือนว่ามันจะง่าย
  • 0:28 - 0:31
    แต่บ่อยครั้งที่มันเป็นไปไม่ได้เลย
    ที่จะแปลคำว่า "คุณ"
  • 0:31 - 0:35
    ได้อย่างถูกต้องชัดเจน โดยไม่รู้มาก่อน
    ถึงสถานการณ์แวดล้อมที่คำนี้ถูกใช้อ้างอิง
  • 0:36 - 0:40
    ประการแรกเลย คุณคุ้นเคย
    กับบุคคลที่กำลังพูดด้วยแค่ไหน
  • 0:41 - 0:44
    หลาย ๆ วัฒนธรรมมีระดับความเป็นทางการ
    ที่แตกต่างกันไป
  • 0:44 - 0:45
    เพื่อนสนิท
  • 0:45 - 0:47
    ใครบางคนที่อายุมากกว่า หรือน้อยกว่า
  • 0:47 - 0:48
    คนแปลกหน้า
  • 0:48 - 0:50
    เจ้านาย
  • 0:50 - 0:52
    "คุณ" ที่ใช้แทนพวกเขาเหล่านี้
    อาจต่างกันออกไป
  • 0:53 - 0:56
    ในหลาย ๆ ภาษา
    สรรพนามสะท้อนความแตกต่างเหล่านี้
  • 0:56 - 0:59
    ผ่านสิ่งที่เรียกว่า
    ความแตกต่างระหว่าง T-V
  • 1:00 - 1:01
    ยกตัวอย่างเช่นในภาษาฝรั่งเศส
  • 1:01 - 1:05
    คุณพูดว่า "tu" [เธอ]
    เมื่อพูดกับเพื่อนของคุณที่โรงเรียน
  • 1:05 - 1:07
    แต่ใช้คำว่า "vous"[คุณ]
    เมื่อพูดกับคุณครูของคุณ
  • 1:07 - 1:10
    แม้แต่ในภาษาอังกฤษ
    มันก็เคยมีอะไรคล้าย ๆ กันแบบนี้
  • 1:10 - 1:12
    จำคำศัพท์โบราณอย่างคำว่า "thou" ได้ไหม
  • 1:12 - 1:15
    ก็ตลกดีที่จริง ๆ แล้วมันเป็น
    สรรพนามที่ใช้อย่างไม่เป็นทางการ
  • 1:15 - 1:17
    สำหรับคนที่คุณรู้จักมักคุ้นดี
  • 1:17 - 1:20
    ในขณะที่ "you" เป็นคำที่เป็นทางการ
    และเป็นคำที่สุภาพ
  • 1:20 - 1:22
    ความแตกต่างนั้นหายไป
  • 1:22 - 1:24
    เมื่อชาวอังกฤษ
    ตัดสินใจที่จะสุภาพกันตลอดเวลา
  • 1:25 - 1:28
    แต่ความยากในการแปลคำว่า "คุณ"
    ก็ไม่ได้จบลงตรงนั้น
  • 1:28 - 1:31
    ในภาษาอย่างเฮาเซา หรือโครานา
  • 1:31 - 1:34
    คำว่า "คุณ" ขึ้นอยู่กับเพศของผู้ฟัง
  • 1:34 - 1:38
    ในอีกหลาย ๆ ภาษา มันขึ้นอยู่กับว่า
    คูณที่ว่ามีคนเดียวหรือหลายคน
  • 1:38 - 1:40
    อย่างเช่นในภาษาเยอรมัน
    "Du" [คุณ] หรือ "ihr" [พวกคุณ]
  • 1:41 - 1:42
    แม้แต่ในภาษาอังกฤษ
  • 1:42 - 1:46
    บางภาษาถิ่นใช้คำอย่างเช่น
    "y'all" หรือ "youse" ในลักษณะเดียวกัน
  • 1:47 - 1:50
    รูปแบบคำพหูพจน์ อย่างเช่นคำว่า
    "vous" ในภาษาฝรั่งเศส
  • 1:50 - 1:51
    และ "Вы" ในภาษารัสเซีย
  • 1:51 - 1:53
    ยังถูกใช้เรียกบุคคลเพียงคนเดียว
  • 1:53 - 1:57
    เพื่อแสดงว่าคนที่ถูกกล่าวถึง
    เป็นคนที่มีความสำคัญ
  • 1:57 - 1:58
    คล้ายกับที่เราใช้คำว่า "we" [เรา]
  • 1:58 - 2:01
    และบางภาษายังมีรูปแบบจำเพาะ
  • 2:01 - 2:04
    สำหรับใช้เรียกคนสองคน
  • 2:04 - 2:06
    เช่นคำว่า "vidva" ในภาษาสโลวีเนีย
  • 2:06 - 2:08
    ถ้านั่นยังซับซ้อนไม่พอล่ะก็
  • 2:08 - 2:13
    ความเป็นทางการ จำนวน และเพศ
    เข้ามามีบทบาทในเวลาเดียวกันได้
  • 2:14 - 2:17
    ในภาษาสเปน "tu" เป็นเอกพจน์
    ไม่เป็นทางการ ใช้กับเพศใดก็ได้
  • 2:17 - 2:20
    "usted" เป็นเอกพจน์ เป็นทางการ
    ใช้กับเพศใดก็ได้
  • 2:20 - 2:23
    "vosotros" เป็นพหูพจน์ ไม่เป็นทางการ
    ใช้กับเพศชาย
  • 2:23 - 2:27
    "vosotras" เป็นพหูพจน์ ไม่เป็นทางการ
    ใช้กับเพศหญิง
  • 2:27 - 2:30
    และ "ustedes" เป็นพหูพจน์
    เป็นทางการ ใช้กับเพศใดก็ได้
  • 2:30 - 2:32
    เฮ้อ!
  • 2:32 - 2:33
    จากทั้งหมดทั้งมวลนี้
  • 2:33 - 2:34
    คุณคงจะสบายใจเมื่อรู้ว่า
  • 2:34 - 2:37
    บางภาษามักจะละสรรพนามบุรุษที่สอง
  • 2:38 - 2:40
    เช่นอย่างในภาษาโรมาเนีย และโปรตุเกส
  • 2:40 - 2:43
    สรรพนามสามารถถูกละออกจากประโยคได้
  • 2:43 - 2:46
    เพราะว่าเราสามารถบอกได้อย่างชัดเจน
    จากรูปแบบการผันของคำกริยา
  • 2:47 - 2:50
    และตัวอย่างเช่นในภาษาเกาหลี
    ไทย และจีน
  • 2:50 - 2:53
    สรรพนามสามารถถูกละได้
    โดยปราศจากการบอกใบ้ทางไวยากรณ์
  • 2:54 - 2:55
    ผู้พูดมักจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ฟัง
  • 2:55 - 2:58
    เดาว่าสรรพนามนั้นคืออะไรจากบริบทนั้น ๆ
  • 2:58 - 3:02
    มากกว่าที่จะใช้สรรพนามผิด
    ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกมองว่าไม่สุภาพ
  • 3:02 - 3:05
    ฉะนั้น ถ้าคุณทำงานเป็นนักแปล
  • 3:05 - 3:08
    และเจอเข้ากับประโยคนี้
    โดยที่ไม่มีบริบทอื่น ๆ ประกอบ
  • 3:08 - 3:09
    "คุณและคุณ ไม่ ไม่ใช่คุณ
  • 3:09 - 3:13
    คุณ งานของคุณก็คือการแปล
    'คุณ' ด้วยตัวของคุณเอง" ...
  • 3:13 - 3:14
    ขอให้โชคดีก็แล้วกันนะครับ
  • 3:15 - 3:18
    และสำหรับนักแปลอาสากลุ่มนี้
    ที่กำลังแปลวีดีโอของผม
  • 3:18 - 3:19
    เป็นภาษาต่าง ๆ อยู่นั้น
  • 3:20 - 3:22
    ขอโทษด้วยนะครับ
Title:
หนึ่งในคำที่แปลยากที่สุดในโลก ... - คริสเตียน อะพาร์ทา (Krystian Aparta)
Speaker:
Krystian Aparta
Description:

ชมบทเรียนเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/one-of-the-most-difficult-words-to-translate-krystian-aparta

ก็ดูเหมือนว่ามันจะง่าย แต่บ่อยครั้งที่มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแปลคำว่า "คุณ" ได้อย่างถูกต้องชัดเจน โดยไม่รู้มาก่อนว่าคำนี้ถูกใช้อ้างอิงถึงอะไร คริสเตรียม อะพาร์ทา อธิบายเหตุผลจำเพาะว่าทำไมมันถึงยากนัก โดยยกตัวอย่างจากหลาย ๆ ภาษา

บทเรียนโดย Krystian Aparta, แอนิเมชันโดย Avi Ofer

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:00

Thai subtitles

Revisions Compare revisions