"บ้างเกิดมาเลิศเลอ บ้างได้มาซึ่งความยิ่งใหญ่ และบางคนก็ได้รับการสนับสนุนที่ดี" วิลเลียม เชคสเปียร์กล่าวไว้ หรือว่าไม่นะ บางคนตั้งข้อสงสัยว่า เชคสเปียร์ประพันธ์งานต่าง ๆ ที่จารึกชื่อของเขาเอาไว้หรือเปล่า หรือว่าเขามีตัวตนจริง ๆ หรือไม่ พวกเขาคาดว่า เชคสเปียร์ เป็นนามแฝงของนักเขียนคนอื่น หรือกลุ่มของนักเขียน บุคคลถูกคาดว่า เป็นเชคสเปียร์ตัวจริง รวมไปถึงนักประพันธ์ชื่อดัง นักการเมือง และแม้กระทั่งสตรีที่มีชื่อเสียง จะเป็นจริงหรือไม่ที่นักเขียนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ของวงการงานประพันธ์ภาษาอังกฤษ เป็นเพียงเรื่องแต่ง ไม่ต่างอะไรจากละครของเขา นักวิชาการเชคสเปียร์ส่วนใหญ่ ไม่สนใจทฤษฎีเหล่านี้ ตามประวัติศาสตร์ และหลักฐานชีวประวัติ แต่นี่เป็นอีกหนทางหนึ่ง ที่จะทดสอบว่าประโยคเด็ดของเชคสเปียร์ จริง ๆ แล้ว ถูกเขียนขึ้นโดยคนอื่นหรือเปล่า ภาษาศาสตร์ การศึกษาว่าด้วยภาษา บอกเรามากมาย เกี่ยวกับวิธีการที่เราพูดและเขียน โดยการตรวจสอบวากยสัมพันธ์, ไวยากรณ์, อรรถศาสตร์ และคำศัพท์ และในปลายยุค 1800 นักปรัชญาชาวโปแลนด์ชื่อว่า วินเซนตี้ ลูโทสลอวสกี้ สร้างวิธีการที่รู้จักกันในชื่อ สไตโลเมทรี (stylometry) ซึ่งคือการใช้ความรู้ในการสอบสวนคำถาม เกี่ยวกับผู้ประพันธ์งานเขียน แล้วสไตโลเมทรีทำงานอย่างไร แนวคิดก็คือ รูปแบบการเขียนของนักเขียนแต่ละคน มีลักษณะเฉพาะ ที่คงอยู่ค่อนข้างจะคงเส้นคงวา ในงานประพันธ์ของคนคนหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่นลักษณะต่าง ๆ ที่รวมถึง ความยาวเฉลี่ยของประโยค การเรียงคำ และแม้กระทั่งจำนวนของคำบางคำ ที่ถูกนำมาใช้ ลองมาดูการใช้คำว่า "ท่าน" และมองมันในเชิงมิติ หรือแกน งานแต่ละชิ้นของเชคสเปียร์ สามารถถูกนำมาวางบนแกน เช่นเดียวกับจุดข้อมูล ขึ้นกับจำนวน ที่คำนั้น ๆ ถูกใช้ ในเชิงสถิติ ความหนาแน่นของจุดเหล่านี้ ทำให้เราทราบถึงค่าแปรผัน ช่วงที่เราคาดคะเนได้จากข้อมูลของเรา แต่นี่เป็นเพียงลักษณะเชิงเดี่ยว ในพื้นที่หลายมิติ ด้วยอุปกรณ์การแบ่งกลุ่มที่เรียกว่า การวิเคราะห์ส่วนประกอบหลัก เราสามารถลดพื้นที่หลายมิติ ลงมาเป็นส่วนหลักพื้นฐาน ที่โดยรวมแล้ววัดค่าแปรผัน ในงานของเชคสเปียร์ จากนั้นเราสามารถทดสอบงานต่าง ๆ ที่เราสนใจศึกษา เทียบกับส่วนประกอบหลักได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีงานของฟรานซิส เบคอน มากพอ ตกอยู่ในขอบเขตค่าแปรผันของเชคสเปียร์ นั่นน่าจะเป็นหลักฐานที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือ ว่าฟรานซิส เบคอน และเชคสเปียร์ อันที่จริงแล้วคือคนคนเดียวกัน แล้วผลลัพธ์แสดงว่าอย่างไรล่ะ ผู้ที่ทำการศึกษาสไตโลเมทรีสรุปว่า เชคสเปียร์ไม่ได้เป็นใครอื่นนอกจากเชคสเปียร์ นักกวีท่านนี้ก็คือนักกวีท่านนี้ งานของผู้ที่แอบอ้าง เข้ากันไม่ได้เลย กับรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเชคสเปียร์ อย่างไรก็ดี นักสถิติผู้กล้าของเรา พบหลักฐานความร่วมมือที่น่าสนใจยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาเรื่องหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ สรุปว่า เชคสเปียร์ทำงานกับนักเขียนบทละคร คริสโตเฟอร์ มาโลว์ ในเรื่อง "เฮนรี่ที่หก" ในองค์ที่หนึ่งและสอง ตัวตนของเชคสเปียร์เป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ปัญหา ที่ผู้ศึกษาสไตโลเมทรีสามารถหาคำตอบได้ มันสามารถช่วยให้เราคาดเดาได้ ว่างานนั้นถูกเขียนขึ้นเมื่อไร ว่าข้อความโบราณเป็นของปลอมหรือเปล่า ว่านักเรียนทำการคัดลอกงานคนอื่นมาหรือเปล่า หรือว่าอีเมลที่คุณเพิ่งได้รับ จัดเป็นข้อความสำคัญหรือข้อความขยะ แล้วบทกวีที่โด่งดังเหนือกาลเวลา ของเชคสเปียร์ ขึ้นอยู่กับตัวเลขไม่กี่ตัวและค่าทางสถิติงั้นหรือ ไม่ใช่อย่างนั้นเสียทีเดียว การวิเคราะห์ทางสไตโลเมทรีอาจเผยว่าอะไรทำให้ โครงสร้างงานประพันธ์ของเชคสเปียร์โดดเด่น แต่มันไม่สามารถจับเอาความงามของอารมณ์ และความรู้สึกที่พวกมันแสดงออกมา หรือทำไมพวกมันถึงมีผลต่อเราอย่างที่มันเป็นได้ อย่างน้อย ตอนนี้ก็ยัง