ผู้คนหลาย ๆ รุ่นต่างรู้สึกว่า พวกเขามาถึงจุดสูงสุด ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หากลองมองกลับไป 100 ปี เทคโนโลยีที่เรามีอยู่ในวันนี้ อาจเป็นเพียงเวทย์มนต์ที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นจะมีจุดที่บอกเราได้ไหมว่า เรามาถึงข้อจำกัดทางด้านความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยี และถึงอย่างนั้น เราใกล้ถึงจุดนั้นแค่ไหน เมื่อ 50 ปีก่อน นักดาราศาสตร์ชาวรัสเซีย นิโคไล คาร์ดาเชฟ (Nikolai Kardashev) ได้ตั้งคำถามดังกล่าว เมื่อเขาหาวิธีการในการวัด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ถึงแม้เราต่างไม่มีไอเดียว่า มันจะเป็นอย่างไร ทุกสิ่งที่เราทำในอนาคตล้วนต้องใช้พลังงาน ดังนั้นมาตรของคาร์ดาเชฟ แบ่งแยกอารยธรรมที่เป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นอารยธรรมของมนุษย์ต่างดาว หรือเราเอง ออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับการใช้พลังงาน พลังงานน้อยนิดที่เราใช้ในตอนนี้ นั้นไม่สำคัญเท่ากับพลังงานที่ยังไม่ได้ใช้ อารยธรรมประเภทที่ 1 หรืออารยธรรมดาวเคราะห์ สามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานทั้งหมด ของดาวต้นกำเนิด ในกรณีของโลก พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ คือ 174,000 เทราวัตต์ ซึ่งเราเก็บเกี่ยวได้เพียง 15 เทราวัตต์ เท่านั้น ส่วนใหญ่ได้มาจากการเผาไหม้ พลังงานแสงอาทิตย์ที่เก็บอยู่ในฟอสซิล ในการที่จะเป็นอารยธรรมประเภทที่ 1 เราจะต้องเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ โดยตรงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการคลุมดาวด้วยแผงโซลาร์เซลล์ หากยึดตัวแบบซึ่งมองในแง่ดีสุด เราอาจไปถึงจุดนั้นภายใน 4 ศตวรรษ แล้วหลังจากนั้นหล่ะ โลกได้รับเพียงแถบพลังงานเล็ก ๆ จากดวงอาทิตย์ ขณะที่พลังงานอีก 400 ยอตตาวัตต์ที่เหลือ สูญเสียไปในอวกาศ แต่อารยธรรมประเภทที่ 2 หรืออารยธรรมดาวฤกษ์ สามารถใช้ประโยชน์ จากพลังงานในดาวต้นกำเนิดได้สูงสุด แทนที่จะติดตั้งแผงโซลาร์รอบ ๆ ดาว อารยธรรมประเภทที่ 2 จะติดตั้งให้มัน โคจรรอบดวงดาว สร้างรูปทรงทางทฤษฎีที่เรียกว่า ทรงกลมไดสัน และระดับสาม นั่นหรือ อารยธรรมระดับ 3 จะเก็บเกี่ยวพลังงานทั้งหมด ในกาเเล็คซี่บ้านเกิดของตน ซึ่งเราคิดในทางกลับกันได้ว่า เราไปได้เล็กแค่ไหนกัน สำหรับข้อจำกัดนั้น นักดาราศาสตร์ ชาวอังกฤษ จอห์น แบรโรว์ ได้แบ่งอารยธรรมโดยขึ้นอยู่กับขนาด ของวัตถุที่เป็นเจ้าของ มีขนาดไล่ไปตั้งแต่สิ่งก่อสร้าง ที่มีขนาดเท่าเรา ถึงสิ่งที่เป็นองค์ประกอบ ทางชีววิทยาของตัวเรา ลึกลงไปจนถึงการปลดล็อคอะตอม ปัจจุบันเราไปถึงการค้นพบระดับอะตอม ถึงแม้ว่าการควบคุมนั้นยังมีขีดจำกัด แต่เป็นไปได้ที่เราจะไปได้เล็กกว่าในอนาคต ในการทำความเข้าใจถึงขอบเขตที่แท้จริง อวกาศที่ค้นพบนั้นมีขนาดใหญ่กว่าร่างกาย มนุษย์ถึง 10 กำลัง 26 เท่า นั่นหมายความว่าถ้าคุณซูมออกไป 10 กำลัง 26 เท่า คุณจะอยู่ในมาตรของอวกาศ แต่ถ้าต้องการเข้าหาความยาวที่สั้นที่สุด ที่เรียกว่า ความยาวพลังค์ คุณคงต้องซูมเข้าไป 10 กำลัง 35 เท่า เหมือนกับที่นักฟิสิกส์ ริชาร์ด ไฟน์แมน กล่าวว่า"เรามีที่เหลืออีกมากข้างล่างนั่น" แทนที่จะเป็นไปตามมาตรใดมาตรหนึ่ง ดูเหมือนว่าอารยธรรมของเราจะถูกพัฒนาต่อไป ตามมาตรคาร์ดาเชฟและแบรโรว์ ความแม่นยำในมาตรวัดเล็ก ๆ ทำให้เรา ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และปลดล็อคแหล่งพลังงานใหม่ ๆ เช่น พลังงานนิวเคลียร์ หรือแม้กระทั่งปฏิสสาร และพลังงานที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้เรา ขยายและสร้างในขอบเขตที่ใหญ่ขึ้น การพัฒนาที่แท้จริงทางด้านอารยธรรม จากนั้น จึงเก็บเกี่ยวพลังงานทั้งจากดวงดาวและอะตอม แต่คำทำนายเหล่านี้ไม่ได้มีเพียงสำหรับ มนุษย์เท่านั้น สิ่งเหล่านี้มีความเป็นไปได้ถึงสองเท่า ในการค้นพบสิ่งมีชีวิตในอวกาศ หากเราค้นพบทรงกลมไดสัน บนดวงดาวที่อยู่ห่างออกไป นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสิ่งมีชีวิต หรือ ถ้าหากว่ามีโครงสร้างที่ดูดกลืน พลังงานจากดาว เหมือนกับต้นไม้ อารยธรรมต่างดาวสร้างขึ้น เพื่อที่จะดูดกลืนพลังงานจากดาว เหมือนกับนกฮัมมิ่งเบิร์ด ถ้าหากนั่นยังไม่น่ากลัวพอ เราค้นพบวัตถุบนท้องฟ้าที่มีขนาดหนาแน่น มีขนาดใกล้เคียงกับดวงดาว ที่ดูดกลืนพลังงานจากดาวที่ใหญ่กว่ามาก แต่ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่า นี่เป็นหลักฐานของสิ่งมีชีวิตบนอวกาศ บางทีอาจมีคำอธิบายเกี่ยวกับ การค้นพบดังกล่าว ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตต่างดาวมาเกี่ยวข้อง แต่นั่นไม่ได้หยุดเราในการตั้งคำถามว่า "แล้วถ้า"