1 00:00:06,931 --> 00:00:10,076 อาจเป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ตอนนี้ 2 00:00:10,076 --> 00:00:14,703 มีผู้หญิงถึง 300 ล้านคนทั่วโลก กำลังประสบกับสิ่งเดียวกันอยู่ 3 00:00:14,703 --> 00:00:16,287 นั่นก็คือ ประจำเดือน 4 00:00:16,287 --> 00:00:18,797 รอบเดือนที่มาเป็นวัฎจักร และทำให้เกิดประจำเดือน 5 00:00:18,797 --> 00:00:22,884 คือเรื่องจริงที่ผู้หญิงส่วนใหญ่บนโลก จะต้องเผชิญกับมันในชั่วชีวิตหนึ่ง 6 00:00:22,884 --> 00:00:25,458 แต่ทำไมวัฎจักรเช่นนี้จึงถือเป็นเรื่องปกติ 7 00:00:25,458 --> 00:00:28,210 และอะไรที่ทำให้มันถึงต้องเป็นวัฏจักร 8 00:00:28,210 --> 00:00:32,102 ช่วงรอบเดือน จะมีช่วงอยู่ระหว่างสองถึงเจ็ดวัน 9 00:00:32,102 --> 00:00:35,659 โดยเกิดเป็นรอบครั้งหนึ่งทุก ๆ 28 วัน 10 00:00:35,659 --> 00:00:37,784 ระบบทั้งหมดนี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ 11 00:00:37,784 --> 00:00:42,665 ประมาณ 450 ครั้ง ชั่วทั้งชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่ง 12 00:00:42,665 --> 00:00:45,442 สาเหตุเบื้องหลังนั้น คือการควบคุมด้วยฮอร์โมน 13 00:00:45,442 --> 00:00:48,174 ที่ปรับการทำงานภายในร่างกายของเรา อย่างละเอียด 14 00:00:48,174 --> 00:00:53,050 ในการทำให้ประจำเดือนมาหรือหยุด ภายใน 28 วันนั้น 15 00:00:53,050 --> 00:00:55,368 กลไกภายในร่ายกายนี้รวมถึงรังไข่ทั้งสองข้าง 16 00:00:55,368 --> 00:00:58,354 ซึ่งเป็นที่เก็บถุงไข่ขนาดเล็กเป็นพัน ๆ ถุง เรียกว่า ฟอลลิเคิล 17 00:00:58,354 --> 00:01:02,564 แต่ละฟอลิเคิลนั้นจะมีโอโอไซต์หนึ่งเซลล์ ซึ่งคือเซลล์ไข่ที่ยังไม่ได้รับการปฏิสนธิ 18 00:01:02,564 --> 00:01:06,483 เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ รังไข่จะมีเซลล์ไข่ อยู่มากกว่า 400 เซลล์ 19 00:01:06,483 --> 00:01:08,926 แต่จะถูกปล่อยออกมา ได้เพียงเดือนละเซลล์เท่านั้น 20 00:01:08,926 --> 00:01:12,459 ซึ่งจะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ หรือประจำเดือน 21 00:01:12,459 --> 00:01:15,124 ต่อไปนี้คือวัฎจักรของการมีประจำเดือน 22 00:01:15,124 --> 00:01:16,960 ในแต่ละเดือนเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ 23 00:01:16,960 --> 00:01:19,624 ต่อมใต้สมองที่ผลิตฮอร์โมน 24 00:01:19,624 --> 00:01:22,545 จะเริ่มปล่อยฮอร์โมนสองชนิด เข้าสู่กระแสเลือด 25 00:01:22,545 --> 00:01:26,115 ได้แก่ ฮอร์โมนกระตุ้นฟอลลิเคิล (FSH) และฮอร์โมนลูติไนซิง (LH) 26 00:01:26,115 --> 00:01:27,677 เมื่อฮอร์โมนเหล่านี้เข้าไปถึงรังไข่ 27 00:01:27,677 --> 00:01:31,341 พวกมันจะกระตุ้นภายในเซลล์ไข่ ให้เจริญเติบโตจนสมบูรณ์ 28 00:01:31,341 --> 00:01:34,329 ฟอลลิเคิลจะตอบสนอง โดยการผลิตเอสโตรเจนออกมา 29 00:01:34,329 --> 00:01:37,668 เซลล์ไข่จะเติบโต และระดับเอสโตรเจนจะเพิ่มสูงสุด 30 00:01:37,668 --> 00:01:40,077 ซึ่งจะยับยั้งการผลิต FSH 31 00:01:40,077 --> 00:01:43,799 และบอกให้ต่อมใต้สมอง หลั่ง LH ให้ออกมามากขึ้น 32 00:01:43,799 --> 00:01:47,301 นั่นทำให้เซลล์ไข่ที่เจริญจนสมบูรณ์ที่สุด จากรังไข่ข้างหนึ่ง 33 00:01:47,301 --> 00:01:50,874 หลุดออกจากฟอลลิเคิล และปะทุผ่านผนังรังไข่ออกมา 34 00:01:50,874 --> 00:01:52,242 ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การตกไข่ 35 00:01:52,242 --> 00:01:56,511 และมันมักจะเกิดขึ้นในช่วง สิบถึงสิบหกวันก่อนเริ่มมีประจำเดือน 36 00:01:56,511 --> 00:01:59,566 เซลล์ไข่ขนาดเล็กนี้จะเคลื่อนที่ ไปตามท่อนำไข่ 37 00:01:59,566 --> 00:02:04,100 การตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ไข่ได้รับการปฏิสนธิโดยเซลล์สเปิร์ม 38 00:02:04,100 --> 00:02:06,542 ภายใน 24 ชั่วโมงต่อมา 39 00:02:06,542 --> 00:02:08,565 ไม่เช่นนั้นแล้ว เซลล์ไข่ก็จะหลุดออก ไปยังปลายทางอีกข้างหนึ่ง 40 00:02:08,565 --> 00:02:12,059 และในเดือนนั้น โอกาสการตั้งครรภ์ก็จะหมดลง 41 00:02:12,059 --> 00:02:16,011 ในขณะเดียวกัน ฟอลลิเคิลที่ตอนนี้ว่างอยู่ ก็จะเริ่มปลดปล่อยฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน 42 00:02:16,011 --> 00:02:18,264 ซึ่งเป็นฮอร์โมนอีกชนิด ที่บอกให้ชั้นผนังของมดลูก 43 00:02:18,264 --> 00:02:20,771 สูบฉีดเลือดและสารอาหาร 44 00:02:20,771 --> 00:02:25,195 เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเซลล์ไข่ที่ได้รับ การปฏิสนธิซึ่งอาจฝังตัวและเจริญเติบโต 45 00:02:25,195 --> 00:02:26,576 แต่ถ้าเซลล์ไข่ไม่ฝังตัว 46 00:02:26,576 --> 00:02:30,660 สองสามวันถัดมา ระดับโปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจนในร่างกายก็จะลดลง 47 00:02:30,660 --> 00:02:34,827 ซึ่งหมายความว่า เยื่อบุโพรงมดลูก หยุดเจริญและเริ่มที่จะสลายตัว 48 00:02:34,827 --> 00:02:37,269 จนในที่สุดจะหลุดลอกออกไป 49 00:02:37,269 --> 00:02:41,280 เลือดและเนื้อเยื่อที่ออกมาจากตัวเรา จะกลายเป็นประจำเดือนนั่นเอง 50 00:02:41,280 --> 00:02:45,841 อาจใช้เวลาถึงหนึ่งสัปดาห์ เยื่อบุมดลูกจึงจะถูกกำจัดออกไปหมด 51 00:02:45,841 --> 00:02:48,280 หลังจากนั้นวัฏจักรรอบเดือนก็จะเริ่มขึ้นอีกครั้ง 52 00:02:48,280 --> 00:02:51,590 ไม่นานหลังจากนั้น รังไข่ก็เริ่มผลิตฮอร์โมนแอสโตรเจนอีกครั้ง 53 00:02:51,590 --> 00:02:53,287 และผนังมดลูกก็เริ่มหนาตัวขึ้น 54 00:02:53,287 --> 00:02:55,987 เตรียมพร้อมที่จะรับเซลล์ไข่ ที่ได้รับการปฏิสนธิ 55 00:02:55,987 --> 00:02:58,211 หรือหลุดลอกออกไป 56 00:02:58,211 --> 00:03:00,545 ฮอร์โมนควบคุมกิจกรรมเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง 57 00:03:00,545 --> 00:03:05,467 โดยการหมุนเวียนในปริมาณที่พอดิบพอดี และถูกส่งออกมาในในเวลาที่เหมาะสม 58 00:03:05,467 --> 00:03:06,810 วัฏจักรนี้ที่หมุนไปเรื่อย ๆ 59 00:03:06,810 --> 00:03:11,084 เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวันและ แต่ละสัปดาห์ตามกำหนดของมัน 60 00:03:11,084 --> 00:03:13,418 ไปสู่ภาวะการตั้งครรภ์หรือการมีประจำเดือน 61 00:03:13,418 --> 00:03:15,834 ถึงแม้จะดูเหมือนว่าวัฏจักรนี้ จะเป็นไปตามกำหนดเวลา 62 00:03:15,834 --> 00:03:18,139 แต่มันก็อาจมีโอกาสที่จะแตกต่างไปจากนี้ได้ 63 00:03:18,139 --> 00:03:20,485 ผู้หญิงและร่างกายของพวกเธอนั้น มีความเป็นเอกลักษณ์ 64 00:03:20,485 --> 00:03:23,894 วัฏจักร ของการมีประจำเดือนเกิดขึ้น ในเวลาที่แตกต่างกันของแต่ละเดือน 65 00:03:23,894 --> 00:03:26,878 การตกไข่เกิดขึ้น ณ จุดในวัฏจักร การมีประจำเดือนที่แตกต่างกัน 66 00:03:26,878 --> 00:03:30,369 และการมีรอบเดือนบางครั้ง อาจยาวนานกว่าครั้งอื่น ๆ 67 00:03:30,369 --> 00:03:33,491 การเริ่มมีและหมดประจำเดือน ก็เกิดขึ้นในช่วงอายุที่แตกต่างกัน 68 00:03:33,491 --> 00:03:35,707 ของผู้หญิงแต่ละคนได้เช่นกัน 69 00:03:35,707 --> 00:03:39,396 ในอีกแง่หนึ่ง ความแตกต่างของการมีรอบเดือน ถือเป็นเรื่องปกติ 70 00:03:39,396 --> 00:03:42,804 การพยายามเข้าใจในความแตกต่าง และการเรียนรู้ถึงวัฏจักรรอบเดือนนี้ 71 00:03:42,804 --> 00:03:44,569 จะช่วยส่งเสริมสนับสนุนผู้หญิง 72 00:03:44,569 --> 00:03:48,585 เป็นการให้เครื่องมือในการทำความเข้าใจ และรู้จักดูแลร่างกายของพวกเธอเอง 73 00:03:48,585 --> 00:03:51,770 ด้วยวิธีการนี้ พวกเธอจะสามารถใช้วัฏจักรเล็ก ๆ นี้ 74 00:03:51,770 --> 00:03:54,495 เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตต่อไป