ในฐานะช่างภาพหญิงอาหรับ ฉันปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะลงมือทำบางสิ่ง จากประสบการณ์ของฉัน ความกระหายใคร่รู้ในการศึกษา ที่ทำให้ฉันข้ามผ่านกำแพงต่างๆ สู่การมีชีวิตที่ดีขึ้น กระตุ้นให้ฉันคิดโครงการ I Read, I Write (ฉันอ่าน, ฉันเขียน) ขึ้น ผลักดันด้วยประสบการณ์ตรง ที่เคยถูกห้ามไม่ให้เรียนต่อในระดับสูงขึ้น ฉันตัดสินใจค้นคว้า รวบรวมเรื่องราวของ หญิงสาวคนอื่นๆ ที่เปลี่ยนชีวิตตัวเอง ด้วยการเรียนหนังสือ ไปพร้อมๆ กับต่อสู้ และตั้งคำถาม ที่ขวางกั้นพวกเธอ ฉันกำหนดหัวข้อเกี่ยวข้องกับ สตรีและการศึกษา โดยคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละประเทศ ในโลกอาหรับ ทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม หัวข้อประกอบไปด้วย การอ่านออกเขียนได้ ของเพศหญิง ซึ่งมีอัตราค่อนข้างสูง การปฏิรูปทางการศึกษา หลักสูตร การศึกษานอกโรงเรียน การรณรงค์ทางการเมืองของ นักศึกษามหาวิทยาลัย ในทีแรก มันไม่ง่ายเลยค่ะ ที่จะชวนผู้หญิงอาหรับ ให้เข้ามามีส่วนร่วม จนกระทั่งฉันอธิบายให้พวกเธอฟัง ว่าเรื่องราวของเธอ อาจเปลี่ยนแปลงชีวิต ของผู้หญิงคนอื่นๆ ได้ เธอจะกลายเป็นแบบอย่างที่ดี ให้หญิงสาวในชุมชน เมื่อได้รับความร่วมมือและผ่านการ ศึกษาอย่างถี่ถ้วน ฉันขอให้พวกเธอเขียนคำพูดและความคิด ลงบนภาพถ่ายของพวกเธอเอง ภาพเหล่านั้น จะถูกแบ่งปันและเผยแพร่ ไปยังห้องเรียนต่างๆ เป็นแรงบันดาลใจ กระตุ้นความเข้มแข็ง ให้หญิงสาวคนอื่นๆ ที่กำลังเผชิญสถานการณ์ และความลำบาก ด้านการศึกษาเหมือนพวกเธอ ไอช่า คุณครูจากเยเมน เขียนว่า "ฉันแสวงหาการศึกษา เพื่อจะเป็นอิสระ และไม่ต้องพึ่งพาผู้ชายในทุกๆ เรื่อง" หญิงสาวคนแรกของฉันคือ โอมเอลซัส จากอียิปต์ เมื่อพบครั้งแรก เธอเขียน ชื่อตัวเองได้เพียงนิดหน่อย เธอเข้าร่วมหลักสูตรการเขียนอ่าน 9 เดือน ดำเนินการโดย NGO ย่านชานเมืองของกรุงไคโร หลายเดือนถัดมา เธอเล่า ปนหัวเราะว่าสามีของเธอ ขู่จะเอาเธอออกจากห้องเรียน เพราะเค้ารู้แล้วว่าภรรยาที่อ่านหนังสือออก อ่านข้อความในโทรศัพท์มือถือเค้าได้ (หัวเราะ) โอมเอลซัสจอมซน ! แน่นอนค่ะ นั่นไม่ใช่เหตุผลหลักที่ โอมเอลซัสเข้าเรียน ฉันเห็นความปรารถนาของเธอ ที่จะดูแลชีวิตของตัวเอง ผ่านกิจวัตรธรรมดา รายละเอียดเล็กๆ ที่เราอาจมองข้ามไป การนับเงินตอนจ่ายตลาด ช่วยลูกๆ ทำการบ้าน แม้จะไม่มีเงินมากนัก ทั้งยังแย้งกับความเชื่อในสังคม ว่าการเรียนของผู้หญิงเป็นเรื่องไม่จำเป็น โอมเอลซัส และ เพื่อนร่วมชั้นชาวอียิปต์ของเธอ ก็ยังมุ่งมั่งตั้งใจอ่านและเขียนให้ได้ อัสมา จากตูนีเซีย หนึ่งในสี่ของหญิงสาวกล้าหาญที่ฉันสัมภาษณ์ นักเรียนชีววิศวกรรม ผู้มีความเคลื่อนไหว ในโซเชียลมีเดีย ประเทศของเธอยังอยู่ในภาวะอาหรับสปริง "ฉันฝันเสมอ ว่าจะค้นพบแบคทีเรียชนิดใหม่ๆ หลังการปฏิวัติ เราพบมันทุกๆ วัน" เธอกล่าว อัสมาหมายถึงการลุกฮือของ ลัทธิรากฐาน ศาสนานิยมในประเทศ ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างนึงสำหรับสิทธิสตรี ในบรรดาหญิงสาวที่ฉันพบทั้งหมด เรื่องของ เฟยซ่าจากเยเมน มีอิทธิพลต่อฉันมากที่สุด เฟยซ่าในวัย 8 ขวบ ถูกบังคับให้ออกจากโรงเรียนและแต่งงาน ชีวิตแต่งงานที่ยาวนานเพียง 1 ปี เมื่ออายุ 14 เธอกลายเป็นภรรยาคนที่ 3 ของชายอายุ 60 ปี และพออายุ 18 เธอก็กลายเป็นคุณแม่ลูกสาม ที่หย่ากับสามี แม้จะขัดสน แม้จะอยู่ในฐานะหญิงม่าย ในสังคม อนุรักษ์นิยมสุดโต่ง และแม้จะถูกคัดค้านห้ามปรามโดยพ่อและแม่ เฟยซ่ารู้ดีว่า ทางเดียวที่จะทำให้ เธอคุมชีวิตของตัวเองได้ คือการศึกษา ตอนนี้เธออายุ 26 ปีค่ะ เธอได้รับความช่วยเหลือจาก NGO สนับสนุนทุนการศึกษาให้เรียน คณะบริหารธุรกิจในมหาวิทยาลัย เป้าหมายของเธอคือการมีงานทำ มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน และนำลูกๆ กลับมาอยู่กับเธออีกครั้ง รัฐอาหรับกำลังก้าวผ่าน การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ใบหน้าของสตรีที่ต่อสู้ดิ้นรน ปรากฏขึ้นเต็มไปหมด เช่นเดียวกับบรรดาหญิงสาวที่ฉันถ่ายภาพ ฉันเองก็เจออุปสรรคมากมาย กว่าจะมาเป็นช่างภาพในวันนี้ ผู้คนระหว่างทางคอยบอกฉันว่า ฉันทำนี่ได้ ฉันทำนั่นไม่ได้อยู่เสมอ โอมเอลซัส อัสมา เฟยซ่า และผู้หญิงอีกมากมายทั่วโลกอาหรับ เป็นตัวอย่างของความเป็นไปได้ ในการก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ สู่การศึกษา พวกเธอรู้ว่า มันเป็นหนทางยอดเยี่ยมที่สุด ที่ทำให้พวกเธอมีอนาคตที่ดี ฉันขอปิดท้ายด้วยคำพูดของ ยัสมิน หนึ่งในสี่ของหญิงสาว ที่ฉันสัมภาษณ์ในตูนีเซีย ยัสมินเขียนว่า.. "ถามสัญชาติญาณของเธอเอง.. เป็น ในสิ่งที่เธออยากเป็น ไม่ใช่สิ่งที่เค้าบอกให้เธอเป็น อย่ายอมรับความกดขี่ใด เธอเป็นอิสระโดยสมบูรณ์ นับแต่เธอเกิดมา" ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)