คุณจะจ่ายเท่าไรสำหรับดอกทิวลิปหนึ่งช่อ สองสามดอลลาร์เอาไหม หรือจะหนึ่งร้อยดอลลาร์ดี แล้วถ้าหนึ่งล้านดอลลาร์ล่ะ คงจะไม่ล่ะ แล้วคุณจะจ่ายเงินเท่าไรดี? สำหรับบ้านหลังนี้ หรือการได้เป็นหุ้นส่วนธุรกิจ ขายอุปกรณ์สัตว์เลี้ยงออนไลน์ ในแต่ละยุค ไม่ว่าจะ ดอกทิวลิป อสังหาฯ หรือหุ้นของเว็บไซต์ pets.com ได้ถูกซื้อขายในราคาที่เกินมูลค่าที่แท้จริง แต่ละตัวอย่างนี้ ราคาถูกปั่นขึ้นไปรอบแล้วรอบเล่า แต่สุดท้ายก็ดิ่งเหวตกลงมา นักเศรษฐศาสตร์เรียกมันว่า ฟองสบู่ (bubble) จริงๆ แล้วมันเกิดอะไรขึ้นกับฟองสบู่นี้กันแน่ มาเริ่มกันที่ฟองสบู่ทิวลิป เพื่อจะได้เข้าใจง่ายขึ้น ศตวรรษที่ 17 ถือเป็นยุคทองของเนเธอร์แลนด์ ในทศวรรษที่ 1630 กรุงอัมสเตอร์ดัม เป็นทั้งเมืองท่าสำคัญและศูนย์กลางการค้า เรือสินค้าของชาวดัตช์ นำเข้าเครื่องเทศจากเอเชียจำนวนมาก เพื่อมาขายทำกำไรในยุโรป กรุงอัมสเตอร์ดัมจึงเต็มไปด้วย เหล่าพ่อค้าที่เชี่ยวชาญและร่ำรวย ผู้คนแสดงออกถึงความมั่งคั่งนั้น ด้วยการพักอาศัยในคฤหาสน์ ที่ล้อมรอบไปด้วยสวนดอกไม้ และก็มีดอกไม้ชนิดหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมมากเป็นพิเศษ นั่นก็คือ ดอกทิวลิป ดอกทิวลิปถูกนำเข้ามาในยุโรป โดยการค้าทางเรือ ซึ่งแล่นมาจากเอเชีย และเนื่องจากว่ามันเป็นดอกไม้ต่างถิ่น มันก็เลยปลูกได้ยาก ซึ่งอาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะผลิดอก ในทศวรรษที่ 1630 เกิดโรคระบาดของดอกทิวลิป ซิ่งเชื้อไวรัสกลับทำให้ดอกทิวลิปนั้นสวยยิ่งขึ้นกว่าเดิม เกิดเป็นลวดลายหลากสีคล้ายเปลวเพลิงบนกลีบดอก ทิวลิปชนิดนี้หาได้ยากยิ่งกว่าทิวลิปทั่วไป ผลคือ ราคาจึงพุ่งสูงขึ้น นำมาซึ่งความนิยมดอกทิวลิป ไม่นานจากนั้นก็กลายเป็นกระแสไปทั่วประเทศ ความคลั่งไคล้ทิวลิปจึงได้เกิดขึ้น ความคลั่งไคล้เกิดขึ้นเมื่อราคามันพุ่งขึ้นเรื่อยๆ บวกกับความเต็มใจที่จะสู้ราคาแบบไม่อั้น เพื่อซื้อสิ่งที่แพงเกินค่ามูลค่าที่แท้จริงไปมาก ตัวอย่างไม่นานนี้ก็เช่น ฟองสบู่ดอทคอม ในทศวรรษที่ 1990 หุ้นของเว็บไซต์ใหม่ๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ก็คล้ายๆ กับดอกทิวลิปในศตวรรษที่ 17 ทุกคนต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับมัน ยิ่งมีคนต้องการทิวลิปมากเท่าไร ราคาก็ยิ่งพุ่งสูงขึ้นไปเท่านั้น ถึงจุดนึง ทิวลิปหนึ่งดอก มีราคามากกว่าสิบเท่าของค่าแรงรายปีของช่างฝีมือ ในตลาดหุ้น ราคาหุ้นขึ้นกับอุปสงค์และอุปทานของนักลงทุน ราคาหุ้นจะเป็นขาขึ้น ถ้าบริษัทมีแนวโน้มว่ากำไรจะโตขึ้นในอนาคต นักลงทุนจึงอาจพากันมาซื้อหุ้นของบริษัท ทำให้ราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้น จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนี่อาจทำให้เกิดวงจรย้อนกลับ เมื่อนักลงทุนยิ่งแห่กันซื้อหุ้นตามกระแส ก็ยิ่งดันราคาหุ้นให้สูงเกินมูลค่าที่ แท้จริง เกิดเป็นฟองสบู่ขึ้นมา กระแสคลั่งไคล้จะซาลงหรือฟองสบู่จะแตก ก็ต่อเมื่อ ผู้คนเริ่มตระหนักว่าราคาหุ้น หรือราคาดอกทิวลิป นั้นสูงเกินมูลค่าที่แท้จริงไปมาก และนั่นก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับ วิกฤตฟองสบู่ทั้งสองแบบ อุปสงค์ที่อยู่ๆ ก็หดตัว ราคาที่ดิ่งลงน่าใจหาย โป๊ะ! ฟองสบู่แตก ตลาดก็พังครืนลงมา ทุกวันนี้ นักวิชาการยังคงพยายามที่จะคาดการณ์ ว่าอะไรเป็นสาเหตุของฟองสบู่ และวิธีที่จะหลีกเลี่ยงมัน กระแสคลั่งไคล้ดอกทิวลิป เป็นตัวอย่างที่ดี ที่สาธิตให้เห็นถึงกลไกที่อยู่เบื้องหลังการเกิดฟองสบู่ และช่วยให้เราเข้าใจ ถึงวิกฤติครั้งล่าสุด อย่างฟองสบู่อสังหาฯ ในช่วงปลายทศวรรษที่ 2000 เศรษฐกิจก็จะยังคงเปลี่ยนผ่าน เข้าสู่ภาวะที่ร้อนแรงและซบเซา ดังนั้นระหว่างที่เรารอกระแสคลั่งไคล้ครั้งใหม่ ฟองสบู่ลูกต่อไปที่จะแตก รับดอกทิวลิปซักช่อสักหน่อยไหม แล้วก็ดีใจที่เราไม่ได้ซื้อมันมาแพงเกินไป