1 00:00:00,760 --> 00:00:03,765 เวลาที่คุณเงยหน้ามองดาวในยามค่ำคืน 2 00:00:03,765 --> 00:00:05,256 สิ่งที่คุณเห็นมันสุดยอดมาก 3 00:00:05,256 --> 00:00:06,736 มันสวยงามมาก 4 00:00:06,736 --> 00:00:09,866 แต่สิ่งที่สุดยอดกว่านั้นคือ สิ่งที่คุณมองไม่เห็น 5 00:00:09,866 --> 00:00:11,246 เพราะตอนนี้เรารู้แล้วว่า 6 00:00:11,246 --> 00:00:14,646 สิ่งที่รายล้อมดาวทุกดวง หรือเกือบจะทุกดวงนั้น 7 00:00:14,646 --> 00:00:15,936 คือดาวเคราะห์ 1 ดวง 8 00:00:15,936 --> 00:00:17,120 หรืออาจจะ 2-3 ดวง 9 00:00:18,120 --> 00:00:20,220 สิ่งที่ภาพนี้ไม่ได้แสดงให้คุณเห็น 10 00:00:20,220 --> 00:00:22,396 คือดาวเคราะห์ทุกดวงที่เรารู้จัก 11 00:00:22,396 --> 00:00:23,800 ที่อยู่ในอวกาศ 12 00:00:24,280 --> 00:00:27,470 เมื่อเราคิดถึงดาวเคราะห์ เรามักจะคิดถึงสิ่งที่อยู่ไกลออกไป 13 00:00:27,470 --> 00:00:29,360 ดาวที่มีความแตกต่างกับเราอย่างมาก 14 00:00:29,360 --> 00:00:31,790 แต่ว่าตอนนี้เราก็อยู่บนดาวเคราะห์ 15 00:00:31,790 --> 00:00:35,110 แล้วโลกเราก็มีเรื่องที่น่าทึ่ง อยู่หลายเรื่องเลยค่ะ 16 00:00:35,110 --> 00:00:39,320 เราพยายามค้นหาทั่วทุกทิศ เพื่อหาดาวเคราะห์ที่คล้ายคลึงกับโลก 17 00:00:39,320 --> 00:00:42,840 และยิ่งเราค้นหา เราก็ยิ่งค้นพบความน่าทึ่ง 18 00:00:42,840 --> 00:00:47,070 แต่ฉันอยากจะบอกคุณเกี่ยวกับ เรื่องน่าทึ่งอย่างหนึ่งบนโลกของเรา 19 00:00:47,070 --> 00:00:49,850 นั่นคือในทุก ๆ หนึ่งนาที 20 00:00:49,850 --> 00:00:52,290 ไฮโดรเจน 400 ปอนด์ 21 00:00:52,290 --> 00:00:54,920 กับฮีเลียมเกือบ 7 ปอนด์ 22 00:00:54,920 --> 00:00:57,800 หลุดจากโลกไปยังอวกาศ 23 00:00:58,800 --> 00:01:02,760 ก๊าซเหล่านี้ หลุดออกไป และจะไม่กลับมา 24 00:01:03,440 --> 00:01:06,440 ไฮโดรเจน ฮีเลียม และสิ่งอื่น ๆ อีกหลายสิ่ง 25 00:01:06,440 --> 00:01:09,320 สร้างสิ่งที่เราเรียกว่าชั้นบรรยากาศ 26 00:01:09,320 --> 00:01:14,040 ชั้นบรรยากาศมีแต่ก๊าซพวกนี้ ที่เป็นเส้นสีฟ้าบาง ๆ 27 00:01:14,040 --> 00:01:16,410 มองเห็นได้จากสถานีอวกาศนานาชาติ 28 00:01:16,410 --> 00:01:18,680 นี่คือภาพที่นักบินอวกาศบางคนถ่ายมา 29 00:01:19,200 --> 00:01:22,570 และเส้นบาง ๆ ที่อยู่รอบโลกเรานี้เอง 30 00:01:22,570 --> 00:01:24,920 ที่ทำให้โลกอุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิต 31 00:01:24,920 --> 00:01:27,800 มันปกป้องโลกของเรา จากการปะทะของอุกกาบาต 32 00:01:27,800 --> 00:01:29,850 และสิ่งต่าง ๆ มาอย่างมากมาย 33 00:01:29,850 --> 00:01:33,650 มันเป็นปรากฏการณ์ที่น่าอัศจรรย์มาก 34 00:01:33,650 --> 00:01:36,470 และความจริงที่ว่ามันกำลังค่อย ๆ หายไป 35 00:01:36,470 --> 00:01:39,320 อย่างน้อยก็ควรสร้างความหวาดกลัวให้กับคุณ 36 00:01:40,160 --> 00:01:43,430 ดังนั้น ฉันจึงศึกษา เกี่ยวกับกระบวนการนี้ 37 00:01:43,430 --> 00:01:45,720 และเรียกมันว่าการหลุดของชั้นบรรยากาศ 38 00:01:46,680 --> 00:01:51,240 การหลุดของชั้นบรรยากาศ ไม่ได้เกิดขึ้นกับโลกของเราเพียงอย่างเดียว 39 00:01:51,240 --> 00:01:55,000 มันเป็นสิ่งที่ทำให้ดาวดวงนั้น ถูกเรียกว่าดาวเคราะห์เลยค่ะ 40 00:01:55,000 --> 00:01:59,360 เพราะว่าดาวเคราะห์ ไม่เพียงแต่โลก แต่รวมถึงทุกดวงในจักรวาล 41 00:01:59,360 --> 00:02:01,960 สามารถเกิดการหลุดของชั้นบรรยากาศขึ้นได้ 42 00:02:01,960 --> 00:02:07,400 และสิ่งที่เกิดขึ้นก็ได้บอกเรา เกี่ยวกับดาวดวงนั้น ๆ เอง 43 00:02:07,920 --> 00:02:10,560 เพราะว่าหากคุณนึกถึงระบบสุริยะ 44 00:02:10,560 --> 00:02:12,640 คุณอาจจะคิดถึงรูปนี้ 45 00:02:13,800 --> 00:02:17,200 คุณอาจจะบอกว่า มีดาวเคราะห์แปดดวง หรืออาจจะเก้า 46 00:02:17,200 --> 00:02:19,710 ถ้าหากพวกคุณบางคน จะคิดมากกับภาพนี้นะคะ 47 00:02:19,710 --> 00:02:21,130 ฉันจะเพิ่มบางคนเข้าไปให้ 48 00:02:21,130 --> 00:02:22,360 (เสียงหัวเราะ) 49 00:02:22,360 --> 00:02:25,280 เพื่อให้เกียรติยานนิวฮอไรซอน เราจะนับดาวพลูโตด้วยแล้วกัน 50 00:02:26,160 --> 00:02:27,370 สิ่งที่คุณกำลังเห็น 51 00:02:27,370 --> 00:02:30,130 คือเป้าหมายของการบรรยายนี้ และการหลุดของชั้นบรรยากาศ 52 00:02:30,130 --> 00:02:32,160 สำหรับฉัน พลูโตเป็นดาวเคราะห์นะคะ 53 00:02:32,160 --> 00:02:36,100 ในทางเดียวกัน ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ แม้เราจะมองไม่เห็น 54 00:02:36,100 --> 00:02:37,930 ก็นับเป็นดาวเคราะห์ 55 00:02:37,930 --> 00:02:40,620 ซึ่งลักษณะพื้นฐานของดาวเคราะห์ 56 00:02:40,620 --> 00:02:43,690 ประกอบด้วย ความจริงที่ว่ามันมีรูปทรง 57 00:02:43,690 --> 00:02:45,530 ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยแรงโน้มถ่วง 58 00:02:45,530 --> 00:02:48,050 วัตถุมากมายถูกดึงเข้ามารวมกัน 59 00:02:48,050 --> 00:02:49,680 ด้วยแรงดึงดูดนี้เอง 60 00:02:50,240 --> 00:02:53,080 หากรูปทรงนี้ใหญ่มาก ก็แปลว่ามีแรงโน้มถ่วงมาก 61 00:02:53,080 --> 00:02:54,390 นี่คือสาเหตุที่มันกลม 62 00:02:54,390 --> 00:02:56,050 ดังนั้น เมื่อคุณดูภาพนี้ 63 00:02:56,050 --> 00:02:57,290 รวมถึงดาวพลูโตด้วย 64 00:02:57,290 --> 00:02:58,520 พวกมันกลม 65 00:02:59,000 --> 00:03:01,710 ดังนั้น คุณจะเห็นบทบาท ของแรงโน้มถ่วงในภาพนี้ด้วย 66 00:03:01,710 --> 00:03:05,040 แต่ลักษณะพื้นฐานของ ดาวเคราะห์อีกอย่างหนึ่ง 67 00:03:05,040 --> 00:03:06,800 คือสิ่งที่คุณไม่เห็นในภาพนี้ 68 00:03:06,800 --> 00:03:09,400 และนี่คือดาวฤกษ์ค่ะ คือดวงอาทิตย์ 69 00:03:09,400 --> 00:03:12,560 ซึ่งดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะ กำลังโคจรอยู่รอบ ๆ 70 00:03:13,200 --> 00:03:16,920 และยังเป็นปัจจัยหลัก ที่ทำให้เกิดการหลุดของชั้นบรรยากาศ 71 00:03:17,760 --> 00:03:23,090 เหตุผลที่ดาวฤกษ์ทำให้ชั้นบรรยากาศ หลุดออกไปจากดาวเคราะห์ 72 00:03:23,090 --> 00:03:28,480 ก็เพราะดาวฤกษ์ให้อนุภาค และแสง และความร้อนแก่ดาวเคราะห์ 73 00:03:28,480 --> 00:03:31,600 ซึ่งเป็นสาเหตุให้ชั้นบรรยากาศ หลุดหายออกไปด้วย 74 00:03:31,600 --> 00:03:33,450 คุณลองนึกถึงบอลลูนลมร้อน 75 00:03:33,450 --> 00:03:37,610 หรือไม่ก็ดูภาพนี้ค่ะ นี่คือเทศกาลลอยโคมในประเทศไทย 76 00:03:37,610 --> 00:03:41,120 คุณจะเห็นว่าอากาศร้อน จะขับเคลื่อนให้ก๊าซลอยขึ้นด้านบน 77 00:03:41,120 --> 00:03:43,410 หากคุณมีพลังงาน และความร้อนมากเพียงพอ 78 00:03:43,410 --> 00:03:44,756 ซึ่งดวงอาทิตย์ของเรามี 79 00:03:44,756 --> 00:03:48,670 ก๊าซเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เบา และถูกดึงเข้าไว้ด้วยแรงโน้มถ่วง 80 00:03:48,670 --> 00:03:50,480 ก็จะสามารถหลุดลอยออกไปได้ 81 00:03:51,600 --> 00:03:55,520 นี่คือสาเหตุที่ทำให้เกิด การหลุดของชั้นบรรยากาศ 82 00:03:55,520 --> 00:03:58,230 ทั้งบนโลกของเรา และบนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ 83 00:03:58,230 --> 00:04:00,940 มันคืออิทธิพลระหว่าง ความร้อนจากดาวฤกษ์ 84 00:04:00,940 --> 00:04:04,320 กับพลังในการยื้อยุด ของแรงโน้มถ่วงบนดาวเคราะห์ 85 00:04:05,000 --> 00:04:06,710 ตามที่ฉันบอกว่ามันเกิดขึ้นแล้ว 86 00:04:06,710 --> 00:04:10,080 ในอัตราของไฮโดรเจน 400 ปอนด์ต่อนาที 87 00:04:10,080 --> 00:04:12,200 และฮีเลียมเกือบ 7 ปอนด์ต่อนาที 88 00:04:13,040 --> 00:04:14,670 แล้วมันเป็นอย่างไรล่ะ 89 00:04:14,670 --> 00:04:16,530 ย้อนกลับไปในยุค '80 90 00:04:16,530 --> 00:04:18,280 พวกเราได้ถ่ายภาพโลก 91 00:04:18,280 --> 00:04:19,760 ในรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต 92 00:04:19,760 --> 00:04:22,690 ด้วยยานไดนามิคเอ็กพลอเรอร์ของนาซ่า 93 00:04:22,690 --> 00:04:24,520 และภาพของโลกสองภาพนี้ 94 00:04:24,520 --> 00:04:28,290 แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้น ของการหลุดหายไปของไฮโดรเจน 95 00:04:28,290 --> 00:04:29,560 ด้วยสีแดง 96 00:04:29,560 --> 00:04:33,216 และเรายังเห็นสิ่งอื่น ๆ อย่างเช่น ออกซิเจน หรือ ไนโตรเจน 97 00:04:33,220 --> 00:04:34,690 ตรงรัศมีสีขาว 98 00:04:34,690 --> 00:04:37,056 ในวงกลมนี้แสดงให้เห็นถึงแสงออโรร่า 99 00:04:37,060 --> 00:04:39,960 และเห็นเป็นปอย ๆ แถว ๆ เขตร้อน 100 00:04:39,960 --> 00:04:43,016 สรุปแล้ว ภาพนี้ได้แสดงให้เราเห็นว่า 101 00:04:43,020 --> 00:04:46,730 ชั้นบรรยากาศของเรา ไม่ได้ถูกดึงเอาไว้เพียงอย่างเดียว 102 00:04:46,730 --> 00:04:50,376 แต่จริง ๆ แล้ว มันกระจายออกไปยังอวกาศด้วย 103 00:04:50,380 --> 00:04:52,320 ฉันจะเพิ่มให้ว่า ในระดับที่ควรกังวล 104 00:04:53,080 --> 00:04:56,870 แต่โลกไม่ได้เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียว ที่ชั้นบรรยากาศหลุดลอยออไป 105 00:04:56,870 --> 00:05:00,360 ดาวอังคาร เพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด มีขนาดเล็กกว่าโลกมาก 106 00:05:00,360 --> 00:05:04,170 จึงมีแรงโน้มถ่วง ที่จะดึงชั้นบรรยากาศเอาไว้ได้น้อยกว่า 107 00:05:04,170 --> 00:05:06,400 ถึงอย่างนั้น ดาวอังคารก็มีชั้นบรรยากาศ 108 00:05:06,400 --> 00:05:08,650 เราจะเห็นเส้นที่บางกว่าของโลกมาก 109 00:05:08,650 --> 00:05:10,136 ลองดูที่พื้นผิวสิคะ 110 00:05:10,140 --> 00:05:13,600 เราจะเห็นหลุมบ่อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ชั้นบรรยากาศของมัน 111 00:05:13,600 --> 00:05:15,490 บางเกินกว่าจะหยุดยั้งการปะทะ 112 00:05:15,490 --> 00:05:18,280 เราจะเห็นว่านี่คือ "ดาวแดง" 113 00:05:18,280 --> 00:05:20,840 ซึ่งก็เป็นผลมาจาก การหลุดของชั้นบรรยากาศ 114 00:05:20,840 --> 00:05:22,440 ทำให้ดาวอังคารมีสีแดง 115 00:05:22,440 --> 00:05:26,040 เพราะคิดว่าในอดีต ดาวอังคารเคยมีน้ำมาก่อน 116 00:05:26,040 --> 00:05:30,650 และเมื่อน้ำมีพลังงานมากพอ มันจะกลายเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน 117 00:05:30,650 --> 00:05:34,400 ไฮโดรเจนเบาจนสามารถลอยขึ้นสู่อวกาศ 118 00:05:34,400 --> 00:05:36,360 ทิ้งไว้แต่เพียงออกซิเจน 119 00:05:36,360 --> 00:05:38,210 เผาผลาญตัวเองและตกลงสู่พื้นดิน 120 00:05:38,210 --> 00:05:41,960 ทำให้เกิดสีแดงคล้าย ๆ สนิม แบบที่เราเห็นกัน 121 00:05:42,960 --> 00:05:44,870 เราสามารถมองภาพของดาวอังคาร 122 00:05:44,870 --> 00:05:47,370 และบอกว่าอาจมีการหลุดของชั้นบรรยากาศ 123 00:05:47,370 --> 00:05:51,480 แต่นาซ่ากำลังค้นคว้า และขณะนี้ ได้ส่งดาวเทียมมาเวนไปยังดาวอังคาร 124 00:05:51,480 --> 00:05:55,050 งานของมันคือการศึกษา เกี่ยวกับการหลุดของชั้นบรรยากาศ 125 00:05:55,050 --> 00:05:59,630 และยานโวลาไทล์อีโวลูชั่น เพื่อศึกษาชั้นบรรยากาศ 126 00:05:59,630 --> 00:06:03,330 มันได้ส่งผลมาเป็นภาพ ซึ่งดูแล้วคล้ายคลึงกับ 127 00:06:03,330 --> 00:06:05,256 สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกของเรา 128 00:06:05,260 --> 00:06:07,760 เรารู้มานานแล้วว่าดาวอังคาร สูญเสียชั้นบรรยากาศ 129 00:06:07,760 --> 00:06:09,550 แต่เรามีภาพที่น่าประหลาดใจกว่า 130 00:06:09,550 --> 00:06:12,710 นี่คือตัวอย่างค่ะ คุณจะเห็นในวงกลมสีแดง 131 00:06:12,710 --> 00:06:14,240 มันคือขนาดของดาวอังคาร 132 00:06:14,240 --> 00:06:18,450 ส่วนสีน้ำเงินคือไฮโดรเจน ที่หลุดลอยออกไปยังอวกาศ 133 00:06:18,450 --> 00:06:22,000 มันมีขนาดมากกว่าสิบเท่าของดาวเคราะห์ 134 00:06:22,000 --> 00:06:24,720 หลุดออกไปไกลจนไม่สามารถ ดึงกลับมายังดาวเคราะห์ได้อีก 135 00:06:24,720 --> 00:06:26,720 มันหลุดออกในอวกาศ 136 00:06:26,720 --> 00:06:28,960 ภาพนี้ช่วยยืนยันความคิดของเรา 137 00:06:28,960 --> 00:06:31,760 ที่ว่าดาวอังคารเป็นสีแดง เพราะสูญเสียไฮโดรเจน 138 00:06:32,520 --> 00:06:35,080 แต่ไฮโดรเจน ไม่ได้เป็นก๊าซชนิดเดียวที่เสียไป 139 00:06:35,080 --> 00:06:38,290 ฉันกำลังพูดถึงฮีเลียมบนโลก ออกซิเจน และไนโตรเจน 140 00:06:38,290 --> 00:06:42,090 และภาพจากมาเวน เราจะเห็นว่าออกซิเจน ก็กำลังหลุดออกไปจากดาวอังคาร 141 00:06:42,090 --> 00:06:44,550 อย่างที่คุณเห็น เพราะว่าออกซิเจนมีน้ำหนักมากกว่า 142 00:06:44,550 --> 00:06:47,730 มันจึงหลุดออกไปได้ไม่ไกลเท่าไฮโดรเจน 143 00:06:47,730 --> 00:06:49,920 แต่ก็ยังหลุดออกไปจากดาวเคราะห์อยู่ดี 144 00:06:49,920 --> 00:06:53,040 คุณจะไม่เห็นมันรวมตัวกัน อยู่เพียงในวงกลมสีแดง 145 00:06:53,800 --> 00:06:57,800 ความจริงที่ว่าเราไม่ได้เห็นเพียง การหลุดของชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ 146 00:06:57,800 --> 00:07:01,440 แต่เรายังเห็นสิ่งอื่น ๆ และส่งยานสำรวจออกไป 147 00:07:01,440 --> 00:07:04,560 เพื่อให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับ อดีตของดาวเคราะห์ 148 00:07:04,560 --> 00:07:06,856 ลักษณะทั่วไปของดาวเคราะห์ 149 00:07:06,860 --> 00:07:08,640 และอนาคตของโลก 150 00:07:08,640 --> 00:07:11,336 ดังนั้น ทางเดียวที่จะทำให้เราเห็นอนาคต 151 00:07:11,340 --> 00:07:14,440 คือการเรียนรู้จากดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างไกลและมองไม่เห็น 152 00:07:15,440 --> 00:07:18,490 ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ฉันควรอธิบายเพิ่มสักเล็กน้อย 153 00:07:18,490 --> 00:07:20,970 ฉันไม่ได้กำลังให้คุณดูภาพแบบนี้ของพลูโต 154 00:07:20,970 --> 00:07:22,410 อาจจะผิดหวังกันนิดหน่อย 155 00:07:22,410 --> 00:07:24,450 เพราะเรายังไม่มีรูปแบบนี้ของมัน 156 00:07:24,450 --> 00:07:27,700 แต่ตอนนี้ ภารกิจของนิวฮอไรซอน ก็กำลังศึกษาการหลุดของชั้นบรรยากาศ 157 00:07:27,700 --> 00:07:29,090 ที่หายไปจากดาวพลูโต 158 00:07:29,090 --> 00:07:30,840 รอติดตามความคืบหน้ากันนะคะ 159 00:07:31,560 --> 00:07:33,680 แต่ดาวเคราะห์ที่ฉันอยากจะพูดถึง 160 00:07:33,680 --> 00:07:36,000 คือดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์ 161 00:07:36,000 --> 00:07:39,800 ดาวเคราะห์ทุกดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ซึ่งไม่ใช่ดวงอาทิตย์ของเรา 162 00:07:39,800 --> 00:07:42,770 เราเรียกมันว่าดาวเคราะห์นอกระบบ 163 00:07:42,770 --> 00:07:45,240 และดาวเคราะห์ที่เรียกว่า ดาวเคราะโคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์ 164 00:07:45,240 --> 00:07:46,530 มีคุณสมบัติพิเศษ 165 00:07:46,530 --> 00:07:48,656 คือถ้ามองดวงดาวที่อยู่ตรงกลางนี้ 166 00:07:48,660 --> 00:07:51,050 คุณจะเห็นว่ามันกำลังกะพริบ 167 00:07:51,050 --> 00:07:52,900 และเหตุผลที่มันกะพริบ 168 00:07:52,900 --> 00:07:56,960 ก็เพราะว่ามันมีดาวเคราะห์ ที่โคจรผ่านในตอนนั้นพอดี 169 00:07:56,960 --> 00:07:59,130 และมันสอดคล้องกับการบอกว่า 170 00:07:59,130 --> 00:08:01,920 ดาวเคราะห์เหล่านี้ไปบดบังแสงจากดาวฤกษ์ 171 00:08:01,920 --> 00:08:04,240 ซึ่งทำให้เราเห็นแสงกะพริบ 172 00:08:04,960 --> 00:08:07,800 และด้วยการสำรวจดาวฤกษ์บนท้องฟ้า ตอนกลางคืน 173 00:08:07,800 --> 00:08:09,240 ด้วยจังหวะการกะพริบ 174 00:08:09,240 --> 00:08:10,930 มันก็เลยทำให้เราค้นพบดาวเคราะห์ 175 00:08:10,930 --> 00:08:15,110 นี่คือวิธีที่เราใช้ตรวจจับดาวเคราะห์ มากกว่า 5,000 ดวง 176 00:08:15,110 --> 00:08:16,370 ในกาแลกซี่ทางช้างเผือก 177 00:08:16,370 --> 00:08:19,240 และเรารู้ว่ามันยังมีมากกว่านั้น อย่างที่ฉันบอก 178 00:08:19,240 --> 00:08:22,170 ดังนั้น เมื่อเรามองไปยังแสงของ ดาวฤกษ์เหล่านี้ 179 00:08:22,170 --> 00:08:25,670 อย่างที่ฉันบอก เราไม่ได้เห็นเพียงแค่ดาวเคราะห์เท่านั้น 180 00:08:25,670 --> 00:08:27,760 จริง ๆ เรายังเห็นความสลัวของแสง 181 00:08:27,760 --> 00:08:29,450 ซึ่งเราได้ทำการบันทึกไว้ 182 00:08:29,450 --> 00:08:32,879 ดังนั้น แสงของมันลดลงเมื่อมีดาวเคราะห์ โคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์ 183 00:08:32,879 --> 00:08:35,320 และการกะพริบที่คุณได้เห็นก่อนหน้านี้ 184 00:08:35,320 --> 00:08:37,170 เราไม่ได้ตรวจจับได้เพียงดาวเคราะห์ 185 00:08:37,170 --> 00:08:40,015 แต่เรายังเห็นแสงในความยาวคลื่น ที่แตกต่างกัน 186 00:08:40,019 --> 00:08:44,129 ฉันเคยบอกว่าเรามองโลกและดาวอังคาร ผ่านแสงอัลตร้าไวโอเล็ต 187 00:08:44,129 --> 00:08:47,750 หากเรามองดาวเคราะห์โคจรผ่านดาวฤกษ์ ผ่านกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล 188 00:08:47,750 --> 00:08:49,890 เราเห็นมันในแสงอัลตร้าไวโอเล็ต 189 00:08:49,890 --> 00:08:53,550 เราจะเห็นการกะพริบที่แรงกว่า ซึ่งบดบังแสงจากดาวฤกษ์มากกว่า 190 00:08:53,550 --> 00:08:55,370 เมื่อดาวเคราะห์โคจรผ่านหน้า 191 00:08:55,370 --> 00:08:58,800 เราจึงคิดว่า เพราะมันมีชั้นบรรยากาศ ของก๊าซไฮโดรเจนที่แผ่ออกไปไกล 192 00:08:58,800 --> 00:09:00,050 ปกคลุมดาวเคราะห์นั้น 193 00:09:00,050 --> 00:09:01,560 ซึ่งทำให้มันดูพองกว่า 194 00:09:01,560 --> 00:09:03,920 ทำให้มันบดบังแสงของดาวฤกษ์ มากกว่าที่คุณเห็น 195 00:09:04,880 --> 00:09:07,770 ด้วยวิธีการนี้ เราสามารถที่จะค้นพบ 196 00:09:07,770 --> 00:09:12,050 ดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรผ่าน และกำลังสูญเสียชั้นบรรยากาศของตัวเอง 197 00:09:12,050 --> 00:09:14,860 เราเรียกดาวเคราะห์พวกนี้ "ดาวพฤหัสบดีร้อน" 198 00:09:14,860 --> 00:09:16,520 สำหรับบางอย่างที่เราค้นพบ 199 00:09:16,520 --> 00:09:19,130 พวกมันเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ เหมือนดาวพฤหัสบดี 200 00:09:19,130 --> 00:09:20,920 แต่มันอยู่ใกล้ดาวฤกษ์มาก ๆ 201 00:09:20,920 --> 00:09:23,210 ใกล้กว่าดาวพฤหัสบดีประมาณร้อยเท่า 202 00:09:23,210 --> 00:09:26,680 และพวกมันยังมีก๊าซที่มีน้ำหนักเบา ซึ่งพร้อมจะหลุดออกไป 203 00:09:26,680 --> 00:09:28,400 และด้วยความร้อนจากดาวฤกษ์ 204 00:09:28,400 --> 00:09:32,240 คุณก็จะได้อัตราความรุนแรง ของการหลุดของชั้นบรรยากาศ 205 00:09:32,240 --> 00:09:36,890 ไม่เหมือนกับที่เราสูญเสีย ไฮโดรเจน 400 ปอนด์ไปจากโลก 206 00:09:36,890 --> 00:09:38,170 ดาวเคราะห์เหล่านี้ 207 00:09:38,170 --> 00:09:42,280 สูญเสียไฮโดรเจน 1.3 พันล้านปอนด์ต่อนาที 208 00:09:43,320 --> 00:09:47,650 คุณอาจจะคิดว่า มันทำให้ดาวเคราะห์นั้น ใกล้จะดับหรือเปล่า 209 00:09:47,650 --> 00:09:49,680 นี่คือคำถามที่หลายคนสงสัย 210 00:09:49,680 --> 00:09:51,530 เมื่อพวกเรามองมายังระบบสุริยะ 211 00:09:51,530 --> 00:09:53,890 ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์หิน 212 00:09:53,890 --> 00:09:56,830 ส่วนดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลออกไป และใหญ่กว่า เป็นดาวเคราะห์ก๊าซ 213 00:09:56,830 --> 00:09:59,250 เรามาเริ่มกันที่ดาวพฤหัสบดี 214 00:09:59,250 --> 00:10:00,600 ซึ่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ 215 00:10:00,600 --> 00:10:02,600 และก๊าซกำลังหลุดหายไปหรือเปล่า 216 00:10:02,600 --> 00:10:05,690 ทีนี้ เรากลับไปคิดถึงดาวพฤหัสบดีร้อน 217 00:10:05,690 --> 00:10:08,510 ซึ่งมันจะไม่จบด้วยการเป็นโลก หรือดาวพุธ 218 00:10:08,510 --> 00:10:10,736 แต่ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยอะไรที่เล็กกว่า 219 00:10:10,740 --> 00:10:13,530 มันก็เป็นไปได้ว่าก๊าซจำนวนหนึ่ง จะหลุดหายออกไป 220 00:10:13,530 --> 00:10:15,680 ซึ่งมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ 221 00:10:15,680 --> 00:10:19,040 และก็จะเหลือเพียงสิ่งที่แตกต่างกันมาก ๆ กับจุดเริ่มต้น 222 00:10:19,040 --> 00:10:20,960 ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องปกติค่ะ 223 00:10:20,960 --> 00:10:23,530 แล้วเราก็กลับมาคิดถึงระบบสุริยะของเรา 224 00:10:23,530 --> 00:10:26,310 เราจะทำอย่างไรกับโลกของเราดี 225 00:10:26,310 --> 00:10:28,130 ในอนาคตอันไกลโพ้น 226 00:10:28,130 --> 00:10:30,260 ดวงอาทิตย์จะเริ่มสว่างขึ้น 227 00:10:30,260 --> 00:10:31,530 และการเกิดสิ่งนั้น 228 00:10:31,530 --> 00:10:34,880 ความร้อนที่ออกมาจากดวงอาทิตย์ ก็จะเข้มข้นขึ้นมาก 229 00:10:35,600 --> 00:10:39,910 ในทางเดียวกับที่คุณเห็น ก๊าซหลุดออกจากดาวพฤหัสบดีร้อน 230 00:10:39,910 --> 00:10:42,290 มันก็จะหลุดออกจากโลกแบบเดียวกัน 231 00:10:42,290 --> 00:10:44,480 ดังนั้น เมื่อเราต้องรอดู 232 00:10:44,480 --> 00:10:46,550 หรืออย่างน้อยเตรียมตัวตั้งรับ 233 00:10:46,550 --> 00:10:48,390 คือความจริงที่ว่าในอนาคตอันไกล 234 00:10:48,390 --> 00:10:51,210 โลกจะมีหน้าตาคล้ายกับดาวอังคาร 235 00:10:51,210 --> 00:10:53,960 ไฮโดรเจนที่แตกตัวออกจากน้ำ 236 00:10:53,960 --> 00:10:56,380 จะลอยหายไปในอวกาศอย่างรวดเร็ว 237 00:10:56,380 --> 00:11:00,520 เราจะเหลือแต่ดาวเคราะห์สีแดงที่แห้งแล้ง 238 00:11:00,960 --> 00:11:03,440 แต่ไม่ต้องกลัวนะคะ ไม่ใช่ 2-3 พันล้านปีนี้หรอก 239 00:11:03,440 --> 00:11:05,030 ยังมีเวลาให้เตรียมตัว 240 00:11:05,030 --> 00:11:06,110 (เสียงหัวเราะ) 241 00:11:06,110 --> 00:11:08,960 แต่ฉันอยากให้พวกคุณ ตื่นตัวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น 242 00:11:08,960 --> 00:11:10,250 ไม่ใช่เฉพาะในอนาคต 243 00:11:10,250 --> 00:11:13,496 ตอนที่เราพูดกันนี้ ก็มีชั้นบรรยากาศหลุดหายออกไป 244 00:11:13,500 --> 00:11:17,000 คุณได้ยินเรื่องเรื่องวิทยาศาสตร์น่าทึ่ง ที่เกิดขึ้นในอวกาศมามาก 245 00:11:17,000 --> 00:11:18,950 มันมีดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลออกไป 246 00:11:18,950 --> 00:11:22,200 และเรากำลังศึกษาดาวเคราะห์เหล่านั้น เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับโลก 247 00:11:22,200 --> 00:11:26,910 เหมือนกับที่เราศึกษาดาวอังคาร หรือดาวเคราะห์นอกระบบอย่างดาวพฤหัสบดีร้อน 248 00:11:26,910 --> 00:11:29,950 เราค้นพบการหลุดของชั้นบรรยากาศ 249 00:11:29,950 --> 00:11:33,720 และมันก็บอกเราหลาย ๆ อย่าง เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลก 250 00:11:33,720 --> 00:11:37,810 หากยังคิดว่าอวกาศเป็นเรื่องไกลตัว อยากให้ลองคิดใหม่นะคะ 251 00:11:37,810 --> 00:11:39,020 ขอบคุณค่ะ 252 00:11:39,020 --> 00:11:42,120 (เสียงปรบมือ)