WEBVTT 00:00:07.248 --> 00:00:10.821 ลองจินตนาการถึงเครื่องบินโดยสาร ที่บินอยู่เหนือพื้นโลกเพียง 1 มิลลิเมตร 00:00:10.821 --> 00:00:14.029 ด้วยความเร็วที่จะบินได้รอบโลก ทุก ๆ 25 วินาที 00:00:14.029 --> 00:00:17.335 แถมต้องนับใบหญ้าทุกใบที่มันบินผ่าน 00:00:17.335 --> 00:00:20.551 ทีนี้ย่อส่วนทุกอย่างลง ให้เล็กพอที่จะอยู่ในมือของคุณ 00:00:20.551 --> 00:00:24.305 และคุณก็จะได้สิ่งที่เทียบเคียง กับฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน 00:00:24.305 --> 00:00:28.455 มันคือวัตถุที่อาจจะจุข้อมูลได้มากกว่า ห้องสมุดสาธารณะในเมืองของคุณ 00:00:28.455 --> 00:00:32.906 แล้วมันจุข้อมูลมหาศาลไว้ ภายในเนื้อที่เล็ก ๆ เช่นนี้ได้อย่างไร 00:00:32.906 --> 00:00:37.122 หัวใจสำคัญของฮาร์ดดิสก์ทุกชิ้น คือ แผ่นจานที่เรียงซ้อนกัน ที่หมุนด้วยความเร็วสูง 00:00:37.122 --> 00:00:40.525 โดยมีหัวบันทึกบินอยู่เหนือผิว แต่ละด้านของจานนั้น 00:00:40.525 --> 00:00:46.278 แผ่นจานถูกเคลือบด้วยแผ่นฟิล์มบาง ๆ ที่ก่อขึ้น จากผลึกขนาดจิ๋วของโลหะที่เป็นสารแม่เหล็ก 00:00:46.278 --> 00:00:49.591 แต่ข้อมูลของคุณนั้นไม่ได้ถูกบันทึกในฮาร์ดดิสก์ ในรูปแบบที่คุณจะมองออก 00:00:49.591 --> 00:00:52.768 มันถูกบันทึกในรูปแบบ การจัดเรียงตัวของขั้วแม่เหล็ก 00:00:52.768 --> 00:00:55.819 ของกลุ่มผลึกจิ๋วเหล่านั้น 00:00:55.819 --> 00:00:58.169 กลุ่มผลึกแต่ละกลุ่มนั้น เราเรียกมันว่าบิต (bit) 00:00:58.169 --> 00:01:01.121 ซึ่งล้วนมีขั้วแม่เหล็กหันไปในทิศทางเดียวกัน ทิศใดทิศหนึ่ง 00:01:01.121 --> 00:01:03.596 จากที่ทิศเป็นไปได้ 2 ทิศ 00:01:03.596 --> 00:01:06.805 ซึ่งนั่นก็หมายถึงบิต 0 หรือ 1 นั่นเอง 00:01:06.805 --> 00:01:08.668 ข้อมูลถูกเขียนลงไปบนจานแม่เหล็ก 00:01:08.668 --> 00:01:12.577 โดยการแปลงชุดข้อมูลบิตที่ต่อเนื่องกัน ให้เป็นกระแสไฟฟ้า 00:01:12.577 --> 00:01:14.994 แล้วป้อนเข้าสู่แม่เหล็กไฟฟ้า 00:01:14.994 --> 00:01:18.613 แม่เหล็กไฟฟ้าชิ้นนี้จะสร้างสนามแม่เหล็ก ที่แรงพอที่จะเปลี่ยนทิศทาง 00:01:18.613 --> 00:01:21.145 ขั้วแม่เหล็กของเหล่าผลึกโลหะ 00:01:21.145 --> 00:01:24.102 เมื่อข้อมูลเหล่านี้ถูกเขียนลง บนแผ่นจานแม่เหล็ก 00:01:24.102 --> 00:01:28.843 ฮาร์ดดิสก์ก็จะใช้เซนเซอร์ตรวจสนามแม่เหล็ก แปลงมันกลับมาให้อยู่ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ 00:01:28.843 --> 00:01:33.468 เช่นเดียวกับที่เข็มของเครื่องเล่นแผ่นเสียง แปลงร่องขรุขระบนแผ่นเสียงให้เป็นเสียงเพลง 00:01:33.468 --> 00:01:37.634 แต่เราได้ข้อมูลมหาศาลจาก แค่ตัวเลขหนึ่งและศูนย์ได้อย่างไร 00:01:37.634 --> 00:01:40.300 ก็เอามันมาเรียงกันเยอะ ๆ น่ะสิ 00:01:40.300 --> 00:01:45.246 ตัวอย่างเช่น หนึ่งตัวอักษรนั้น นับเป็นข้อมูล 1 ไบต์ ซึ่งเท่ากับ 8 บิต 00:01:45.246 --> 00:01:47.879 และรูปภาพทั่ว ๆ ไปของคุณ ก็กินเนื้อที่หลายเมกะไบต์ 00:01:47.879 --> 00:01:50.865 แต่ละเมกะไบต์ก็คือ 8 ล้านบิต 00:01:50.865 --> 00:01:54.779 และเนื่องจากแต่ละบิตนั้นกินเนื้อที่ บนผิวของจานแม่เหล็กเมื่อมันถูกเขียนลงไป 00:01:54.779 --> 00:01:58.833 เราจึงต้องพยายามที่จะหาหนทางเพื่อที่ จะเพิ่ม ความหนาแน่นเชิงพื้นที่ (areal density) 00:01:58.833 --> 00:02:03.572 ซึ่งวัดกันโดย จำนวนบิตที่สามารถ บันทึกลงไปในพื้นที่หนึ่งตารางนิ้ว 00:02:03.572 --> 00:02:08.907 ความหนาแน่นเชิงพื้นที่ของฮาร์ดดิส์ในปัจจุบัน คือประมาณ 600 กิกะบิตต่อตารางนิ้ว 00:02:08.907 --> 00:02:15.524 300 ล้านเท่าของฮาร์ดดิส์ตัวแรก ที่ IBM สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1957 00:02:15.524 --> 00:02:17.929 การเพิ่มขึ้นอย่างมหัศจรรย์ ของความจุของฮาร์ดดิสก์ 00:02:17.929 --> 00:02:20.732 ไม่ใช่แค่การลดขนาดทุกอย่างให้เล็กลง 00:02:20.732 --> 00:02:22.914 แต่มันเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมหลาย ๆ อย่าง 00:02:22.914 --> 00:02:26.153 เทคนิคที่เรียกว่ากระบวนการพิมพ์ลายด้วยแสง 00:02:26.153 --> 00:02:29.847 ช่วยให้วิศวกรย่อขนาดหัวอ่านและหัวเขียนได้ 00:02:29.847 --> 00:02:32.767 และแม้ด้วยขนาดที่เล็กลง เซนเซอร์ในหัวอ่านนั้นก็ยังมีความไวสูงขึ้น 00:02:32.767 --> 00:02:39.090 โดยการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติทางแม่เหล็ก และทางควอนตัม ของวัสดุต่าง ๆ 00:02:39.090 --> 00:02:43.384 แถมบิตก็ยังถูกบันทึกให้ชิดกันมากขึ้น ซึ่งต้องขอบคุณวิธีทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ 00:02:43.384 --> 00:02:46.600 ที่ช่วยกรองเอาสัญญาณรบกวน และการบิดเบือนของสัญญาณออกไป 00:02:46.600 --> 00:02:51.474 แถมยังสามารถทำนายชุดข้อมูลบิตที่น่าจะเป็นไปได้ มากที่สุดจากสัญญาณที่อ่านขึ้นมาจากจานแม่เหล็ก 00:02:51.474 --> 00:02:54.465 และการควบคุมการขยายตัวทางความร้อนของหัวเขียน 00:02:54.465 --> 00:02:57.548 โดยอาศัยขดลวดความร้อนที่ฝังไว้ใต้หัวเขียน 00:02:57.548 --> 00:03:02.675 ทำให้มันบินใกล้แผ่นจาน ได้ใกล้กว่า 5 นาโนเมตร 00:03:02.675 --> 00:03:06.661 นั่นเทียบเท่ากับ DNA เพียงแค่สองสาย 00:03:06.661 --> 00:03:08.417 หลายทศวรรษที่ผ่านมา 00:03:08.417 --> 00:03:12.564 การเติบโตอย่างทวีคูณของความจุ และพลังการคำนวณของคอมพิวเตอร์นั้น 00:03:12.564 --> 00:03:15.816 เป็นไปตามรูปแบบที่รู้จักกัน ในชื่อว่ากฎของมัวร์ 00:03:15.816 --> 00:03:23.099 ซึ่งในปี ค.ศ. 1975 ได้มีการทำนายว่า ความหนาแน่นของข้อมูลจะทวีคูณขึ้นทุก ๆ 2 ปี 00:03:23.099 --> 00:03:25.993 แต่เมื่อความหนาแน่น เพิ่มถึง 100 กิกะบิตต่อตารางนิ้ว 00:03:25.993 --> 00:03:30.185 การย่อขนาดของผลึกแม่เหล็กให้เล็กลงไปอีก หรือเขียนบิตให้ใกล้กันมากขึ้น 00:03:30.185 --> 00:03:34.361 ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ซูเปอร์พาราแมกเนติก 00:03:34.361 --> 00:03:37.545 ซึ่งเมื่อผลึกแม่เหล็ก มีปริมาตรเล็กลงจนถึงจุดหนึ่ง 00:03:37.545 --> 00:03:41.476 ทิศทางของขั้วแม่เหล็กของมัน จะถูกรบกวนด้วยพลังงานความร้อน 00:03:41.476 --> 00:03:44.429 จนอาจเกิดการกลับทิศได้โดยไม่ตั้งใจ 00:03:44.429 --> 00:03:46.714 และนำไปสู่การสูญเสียข้อมูลในที่สุด 00:03:46.714 --> 00:03:50.819 เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้แก้ไข้ขีดจำกัดนี้ ด้วยวิธีที่ง่ายเหลือเชื่อ 00:03:50.819 --> 00:03:55.899 โดยการเปลี่ยนทิศขั้วแม่เหล็กจากในแนวขนาน กับระนาบของจาน เป็นแนวตั้งฉาก 00:03:55.899 --> 00:04:01.225 ทำให้ความหนาแน่นของข้อมูลเพิ่มต่อไปได้ จนเกือบถึง 1 เทราบิตต่อตารางนิ้ว 00:04:01.225 --> 00:04:04.858 ไม่นานมานี้ ขีดจำกัดด้านความหนาแน่น เชิงพื้นที่ก็ได้ถูกเพิ่มขึ้นไปอีกครั้งหนึ่ง 00:04:04.858 --> 00:04:07.682 โดยการใช้ความร้อน เพื่อช่วยในการบันทึกข้อมูลเชิงแม่เหล็ก 00:04:07.682 --> 00:04:11.451 เทคนิคนี้ใช้สื่อในการบันทึก ที่มีความเสถียรต่อการสูญเสียข้อมูลโดยความร้อน 00:04:11.451 --> 00:04:14.889 ซึ่งความเสถียรนี้จะถูกลดลงชั่วขณะ 00:04:14.889 --> 00:04:18.517 โดยใช้เลเซอร์เพื่อให้ความร้อนเป็นจุดเล็ก ๆ 00:04:18.517 --> 00:04:20.535 เพื่อให้ข้อมูลสามารถถูกเขียนลงไปได้ 00:04:20.535 --> 00:04:23.557 แม้ว่าฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ ยังอยู่ในขั้นต้นแบบ 00:04:23.557 --> 00:04:28.295 เหล่านักวิทยาศาสตร์ก็มีกลเม็ดอีกชิ้นหนึ่ง เตรียมพร้อมไว้แล้ว 00:04:28.295 --> 00:04:30.291 นั่นก็คือ แผ่นจานแม่เหล็ก ที่ทำลวดลายของบิตไว้แล้ว 00:04:30.291 --> 00:04:35.267 ซึ่งบิตแต่ละบิตจะถูกบันทึกลงในโครงสร้าง คล้ายเกาะเล็ก ๆ ระดับนาโน 00:04:35.267 --> 00:04:40.303 ซึ่งด้วยวิธีนี้คาดกันไว้ว่าจะช่วยเพิ่ม ความหนาแน่นขึ้นไปถึง 20 เทระบิต ต่อ ตารางนิ้ว 00:04:40.303 --> 00:04:41.780 หรือสูงกว่านั้น 00:04:41.780 --> 00:04:46.247 ต้องขอบคุณความพยายามของเหล่าวิศวกร 00:04:46.247 --> 00:04:48.014 นักวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุ 00:04:48.014 --> 00:04:49.976 และนักฟิสิกส์ควอนตัม หลายชั่วรุ่น 00:04:49.976 --> 00:04:53.019 ที่ช่วยทำให้อุปกรณ์อันทรงพลัง และความแม่นยำอันน่าทึ่งนี้ 00:04:53.019 --> 00:04:55.814 หมุนติ้วอยู่ในมือของคุณ