จะคิดอย่างไรถ้าผมบอกว่า มีแบคทีเรียเล็กๆ หลายล้านล้าน อยู่รอบตัวคุณ มันจริงนะ จุลชีพที่เรียกว่าแบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตแรกๆ ที่ปรากฏตัวขึ้นบนโลก แม้ว่าพวกมันจะมีแค่เซลล์เดียว ชีวมวลรวมของพวกมันมากกว่า ของพืชและสัตว์รวมกัน และพวกมันก็อาศัยอยู่ทุกหนทุกแห่ง บนพื้นดิน ในน้ำ บนโต๊ะในครัวของคุณ บนผิวหนังของคุณ แม้แต่ในตัวคุณ อย่าเพิ่งกดปุ่มตกใจ แม้คุณจะมีแบคทีเรียในตัวมากเป็น 10 เท่า ของเซลล์ร่างกายของคุณ ส่วนมากแบคทีเรียพวกนี้ไม่มีพิษภัย และยังเป็นประโยชน์ ช่วยย่อยอาหารและให้ภูมิคุ้มกัน แต่ก็มีพวกแย่ๆ เหมือนกัน สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่เป็นอันตราย ตั้งแต่อาการไม่สบายเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงโรคระบาดที่น่าสะพรึงกลัว โชคดี มียาที่น่าทึ่งซึ่งถูกออกแบบมา เพื่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรีย สกัดจากสารเคมีหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่นในเชื้อรา ยาปฏิชีวนะเหล่านี้ฆ่าหรือล้างพิษแบคทีเรีย โดยยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ หรือขัดขวางกระบวนการที่สำคัญ อย่างการสังเคราะห์โปรตีน โดยไม่ทำอันตรายให้กับเซลล์มนุษย์ การพัฒนาของยาปฏิชีวนะ ตลอดศตวรรษที่ 20 ได้ทำให้โรคร้ายแรงมากมายก่อนหน้านี้ ถูกรักษาได้อย่างง่ายดาย แต่ปัจจุบัน ยาปฏิชีวนะของเรา มีมากมายหลายชนิด กำลังลดประสิทธิภาพลง มีอะไรผิดปกติที่ทำให้มันหยุดทำงานงั้นหรือ ปัญหาไม่ได้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ แต่เป็นแบคทีเรียที่พวกมันต่อสู้ด้วย และเหตุผลก็ตั้งอยู่บนทฤษฎี การคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วิน เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ แบคทีเรียตัวหนึ่งสามารกลายพันธุ์ได้อย่างสุ่ม การกลายพันธุ์หลายอย่าง เป็นอันตรายและไร้ประโยชน์ แต่บางครั้งบางที ก็มีแบบที่ทำให้สิ่งมีชีวิตนั้น มีโอกาสที่จะอยู่รอด และสำหรับแบคทีเรีย การกลายพันธุ์ที่ทำให้มันสามารถดื้อต่อ ยาปฏิชีวนะบางอย่าง ค่อนข้างจะให้โอกาสพวกมัน ในขณะที่แบคทีเรียที่ไม่ดื้อยาถูกฆ่าไป ซึ่งเกิดขึ้นค่อนข้างเร็วในสภาพแวดล้อม ที่มียาปฏิชีวนะอยู่มาก เช่นในโรงพยาบาล ทำให้มีพื้นที่และแหล่งอาหารมากกว่า สำหรับแบคทีเรียดื้อยาที่จะเติบโต และส่งต่อแต่พันธุกรรมที่กลายพันธุ์นั้น ที่ช่วยพวกมัน การสืบพันธุ์ไม่ใช่ทางเดียวที่จะทำสิ่งนี้ บางชนิดสามารถปล่อยดีเอ็นเอเมื่อพวกมันตาย ให้แบคทีเรียตัวอื่นเก็บไป ในขณะที่ชนิดอื่นอาจใช้วิธีที่เรียกว่า คอนจูเกชั่น (conjugation) เชื่อมต่อผ่านพิไล (pili) เพื่อแลกยีนของพวกมัน เมื่อเวลาผ่านไป ยีนดื้อยาก็เพิ่มจำนวนขึ้น สร้างสายพันธ์ุที่มีความดื้อยายิ่งยวด แล้ว เรามีเวลาแค่ไหนก่อนที่แบคทีเรีย เหล่านี้จะเข้าครอบครอง อืม มันเกิดขึ้นแล้วในแบคทีเรียบางชนิด ยกตัวอย่างเช่น สเตรฟิโลค๊อกคัส ออรูรัส บางสายพันธุ์ ที่ทำให้เกิดทุกอย่างตั้งแต่ผิวหนังติดเชื้อ จนถึงปอดบวมและติดเชื้อในกระแสโลหิต ได้พัฒนาไปเป็น MRSA ที่สามารถดื้อยาปฏิชีวนะ บีต้า-แลคแทม เช่นเพนนิซิลิน เมทิซิลิน และออกซาซิลิน ต้องขอบคุณยีนที่แทนที่โปรตีนบีต้า-แลคแทม ที่ปกติคือเป้าหมาย และที่เข้าจับ MRSA ทำให้ผนังเซลล์ของมัน ไม่สามารถถูกขัดขวางได้ แบคทีเรียดื้อยาอื่นๆ อย่าง ซาโมเนลา บางทีก็ผลิตเอนไซม์อย่าง บีต้า-แลคแทม ที่สลายยาปฏิชีวนะที่บุกเข้ามา ก่อนที่จะทำอะไรมันได้ และ อีโคไล ซึ่งเป็นแบคทีเรีย กลุ่มที่มีความหลากหลาย ที่มีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคท้องเสียและไตวาย สามารถยับยั้งการทำงานของยาปฏิชีวนะ เช่น ควิโนโลนส์ โดยสะกัดกั้นผู้บุกรุกใดๆ ที่หมายจะเข้ามาในเซลล์ แต่ยังมีข่าวดี นักวิทยาศาสตร์กำลังหาทาง ที่จะก้าวล้ำแบคทีเรียพวกนี้ไปหนึ่งก้าว และแม้ว่าการพัฒนายาปฏิชีวนะตัวใหม่ ค่อนข้างล่าช้าในหลายปีที่ผ่านมา องค์กรอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญ ในการพัฒนาการบำบัดรักษาแบบใหม่ นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ กำลังทำการสำรวจทางเลือกอื่นๆ เช่นการบำบัดรักษาโดยฟาร์จ หรือการใช้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ที่สำคัญที่สุด การควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะ ที่มากเกินไปหรือไม่จำเป็น สำหรับการติดเชื้อเล็กน้อย ที่สามารถหายได้เอง หรือการเปลี่ยนวิธีการทางการแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล อาจมีผลกระทบที่สำคัญ ในการทำให้แบคทีเรียที่ไม่ดื้อยามีชีวิตอยู่ เป็นคู่แข่งของสายพันธุ์ที่ดื้อยา ในสงครามต้านแบคทีเรียดื้อยา การลดจำนวนลงอาจได้ผลมากกว่า พัฒนาการแข่งขันด้านอาวุธ