WEBVTT 00:00:06.616 --> 00:00:10.513 มนุษย์หลงใหลความเร็วมาเนิ่นนานแล้ว 00:00:10.513 --> 00:00:14.746 สิ่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ความก้าวหน้าของมนุษย์ คือการเพิ่มความเร็วให้มากยิ่งขึ้น 00:00:14.746 --> 00:00:18.611 และหนึ่งในความสำเร็จที่สำคัญที่สุด ของความพยายามที่ยาวนานนี้ 00:00:18.611 --> 00:00:21.503 คือการทำลายกำแพงเสียงลงให้ได้ 00:00:21.503 --> 00:00:24.871 ไม่นานนักหลังจากการนำเครื่องบิน ขึ้นบินได้สำเร็จเป็นครั้งแรก 00:00:24.871 --> 00:00:29.983 นักบินต่างต้องการ ที่จะให้เครื่องบินบินให้เร็วขึ้นและเร็วขึ้นไปอีก 00:00:29.983 --> 00:00:32.384 แต่เมื่อทำเช่นนั้นแล้ว จะทำให้เครื่องบินสั่นมากขึ้น 00:00:32.384 --> 00:00:37.688 แรงกดมหาศาลต่อเครื่องบิน ทำให้พวกเขาเร่งความเร็วขึ้นไปอีกไม่ได้ 00:00:37.688 --> 00:00:41.647 บางคนพยายามแก้ปัญหา ด้วยการลองเสี่ยงดำลงไปในน้ำ 00:00:41.647 --> 00:00:44.085 แต่ก็มักได้ผลลัพท์ที่น่าเศร้า 00:00:44.085 --> 00:00:47.550 ในที่สุด ในปี ค.ศ. 1947 มีการออกแบบที่ดีมากยิ่งขึ้น 00:00:47.550 --> 00:00:52.302 เช่นมีที่ปรับตัวปรับสมดุลระดับแนวนอนเคลื่อนที่ได้ และหางเสือที่เคลื่อนไหวได้ทั้งหมด 00:00:52.302 --> 00:00:55.521 ทำให้ทหารอากาศชาวอเมริกันที่ชื่อว่า ชัค เยเกอร์ 00:00:55.521 --> 00:01:03.721 นำเครื่องบิน เบลล์ เอ็กซ์วัน บินที่ความเร็ว 1,127 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้สำเร็จ 00:01:03.721 --> 00:01:06.924 กลายเป็นมนุษย์คนแรก ที่ทำลายกำแพงเสียงลงได้ 00:01:06.924 --> 00:01:09.720 และเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าความเร็วเสียง 00:01:09.720 --> 00:01:13.929 เบลล์ เอ็กซ์วัน เป็นเครื่องบินเหนือเสียงลำแรก ก่อนที่จะมีรุ่นอื่น ๆ ตามมา 00:01:13.929 --> 00:01:17.913 โดยรุ่นล่าสุดทำความเร็วเหนือเสียง ไปได้มากกว่า 3 มัคแล้ว 00:01:17.913 --> 00:01:21.573 เครืองบินที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเสียง จะสร้างคลื่นกระแทกออกมา 00:01:21.573 --> 00:01:25.682 ด้วยเสียงดังราวกับฟ้าผ่า ที่รู้จักกันในชื่อว่า คลื่นโซนิคบูม 00:01:25.682 --> 00:01:29.179 ที่อาจไปรบกวนคนและสัตว์ที่อยู่ด้านล่าง 00:01:29.179 --> 00:01:31.070 หรือแม้กระทั่งสร้างความเสียหาย ให้กับบ้านเรือน 00:01:31.070 --> 00:01:32.070 ด้วยเหตุผลนี้เอง 00:01:32.111 --> 00:01:35.345 นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงสนใจคลื่นโซนิคบูมนี้ 00:01:35.345 --> 00:01:37.788 โดยพยายามทำนายเส้นทางของมันในบรรยากาศ 00:01:37.788 --> 00:01:42.191 ที่ที่มันจะตกกระทบ และระดับเสียงของมัน 00:01:42.191 --> 00:01:45.310 เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่า นักวิทยาศาสตร์ ศึกษาเรื่องของคลื่นโซนิคบูมอย่างไร 00:01:45.310 --> 00:01:48.298 เรามาเริ่มจากพื้นฐาน การกำเนิดของเสียงกันก่อน 00:01:48.298 --> 00:01:51.931 ลองคิดว่า เราโยนก้อนหินเล็ก ๆ ลงไปในบ่อน้ำที่สงบนิ่งดู 00:01:51.931 --> 00:01:53.177 เห็นอะไรไหม 00:01:53.177 --> 00:01:55.875 ก้อนหินทำให้เกิดคลื่นเดินทางไปในน้ำ 00:01:55.875 --> 00:01:58.670 ด้วยความเร็วเท่า ๆ กันในทุกทิศทาง 00:01:58.670 --> 00:02:02.887 วงกลมที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆในทุกทิศทางนี้ เรียกว่าแนวคลื่น 00:02:02.887 --> 00:02:05.904 คล้ายกัน แม้เราจะมองไม่เห็นมันก็ตาม 00:02:05.904 --> 00:02:09.306 แหล่งต้นกำเนิดเสียงของมัน ก็คล้ายกับเครื่องเสียงภายในบ้าน 00:02:09.306 --> 00:02:12.199 สร้างคลื่นเสียงที่เดินทางออกมาเรื่อย ๆ 00:02:12.199 --> 00:02:14.330 ความเร็วคลื่นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ 00:02:14.330 --> 00:02:18.110 รวมถึงระดับความสูงและอุณหภูมิของอากาศ ที่มันเคลื่อนที่ผ่านไป 00:02:18.110 --> 00:02:24.463 ที่ระดับน้ำทะเล เสียงเคลื่อนที่เร็วประมาณ 1,225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 00:02:24.463 --> 00:02:27.290 แต่แทนที่จะเป็นวงกลมบนพื้นผิวสองมิติ 00:02:27.290 --> 00:02:30.732 ตอนนี้หน้าคลื่นมีศูนย์กลางเป็นทรงกลม 00:02:30.732 --> 00:02:35.901 โดยมีเสียงที่เดินทางไปตามแนวรังสี ที่ตั้งฉากกับแนวคลื่นเหล่านี้ 00:02:35.901 --> 00:02:40.076 มาลองคิดถึงแหล่งกำเนิดเสียงที่เคลื่อนที่ อย่างนกหวีดรถไฟดู 00:02:40.076 --> 00:02:43.034 เมื่อแหล่งกำเนิดเสียงกำลังเคลื่อนที่ ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง 00:02:43.034 --> 00:02:47.566 คลื่นด้านหน้าของมันที่มีความต่อเนื่อง จะทำให้คลื่นรวมใกล้กันมากขึ้น 00:02:47.566 --> 00:02:52.636 คลื่นความถี่ที่สูงขึ้นนี้ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ที่โด่งดัง 00:02:52.636 --> 00:02:55.729 ที่ยิ่งวัตถุนั้นเข้าใกล้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมึเสียงแหลมสูงมากขึ้นเท่านั้น 00:02:55.729 --> 00:02:59.927 แต่ตราบใดที่ต้นเสียงยังเคลื่อนที่ช้ากว่า คลื่นเสียงที่มันสร้างขึ้น 00:02:59.927 --> 00:03:02.756 พวกมันจะซ้อนยู่ภายในซึ่งกันและกัน 00:03:02.756 --> 00:03:07.771 แต่เมื่อวัตถุกลายเป็นซุปเปอร์โซนิค ที่เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าเสียงที่มันสร้าง 00:03:07.771 --> 00:03:10.597 นั่นทำให้เกิดความแตกต่างขึ้นอย่างมาก 00:03:10.597 --> 00:03:13.200 ในขณะที่มันแซงหน้าคลื่นที่มันได้ปล่อยออกมา 00:03:13.200 --> 00:03:15.702 ระหว่างนั้นมันก็สร้างคลื่นขึ้นใหม่ ณ ตำแหน่งที่มันอยู่ 00:03:15.702 --> 00:03:19.820 คลื่นจะถูกอัดเข้าด้วยกันกลายเป็นกรวยหน้าคลื่นมัค (Mach cone) 00:03:19.820 --> 00:03:22.808 ผู้สังเกตุการณ์จะไม่ได้ยินเสียงใด ๆ ในขณะที่มันเข้ามาใกล้ 00:03:22.808 --> 00:03:27.888 เพราะวัตถุเคลื่อนที่เร็วกว่า เสียงที่มันสร้างขึ้นมา 00:03:27.888 --> 00:03:33.051 หลังจากวัตถุผ่านไป ผู้สังเกตุการณ์ถึงจะได้ยินเสียงโซนิคบูมนี้ 00:03:33.051 --> 00:03:37.007 เมื่อกรวยมัคกระทบกับพื้นดิน มันจะสร้างไฮเพอร์โบลาขึ้นมา 00:03:37.007 --> 00:03:41.306 ทิ้งหางที่รู้จักกันในชื่อว่าหางพรม (boom carpet) เมื่อมันเคลื่อนที่ไปข้างหน้า 00:03:41.306 --> 00:03:46.253 นี่จึงทำให้เราสามารถวัดพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบของโซนิคบูมได้ 00:03:46.253 --> 00:03:49.303 แล้วจะหาความแรง ของคลื่นโซนิคบูมได้อย่างไรล่ะ 00:03:49.303 --> 00:03:52.869 มันต้องใช้การแก้ปัญหาสมการนาเวียร์-สโตกส์ ที่มีชื่อเสียง 00:03:52.869 --> 00:03:56.265 เพื่อค้นหาความแปรผันของความกดอากาศ 00:03:56.265 --> 00:03:59.516 อันเนื่องมาจากการบินผ่าน ของเครื่องบินเหนือเสียง 00:03:59.516 --> 00:04:03.853 ผลลัพธ์ก็คือคลื่นที่เป็นเอกลักษณ์ ที่เรียกว่า เอ็นเวฟ (N-wave) 00:04:03.853 --> 00:04:05.483 รูปร่างนี้มีความหมายว่าอย่างไร 00:04:05.483 --> 00:04:09.506 โซนิคบูมเกิดขึ้น เมื่อความดันเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 00:04:09.506 --> 00:04:11.918 และเอ็นเวฟเกี่ยวข้องกับโซนิคบูมสองครั้ง 00:04:11.918 --> 00:04:15.497 ส่วนแรกคือความดันแรก ที่เพิ่มขึ้นบริเวณส่วนปลายหัวของเครื่องบิน 00:04:15.497 --> 00:04:18.349 และอีกส่วนที่หางที่ผ่านเข้ามา 00:04:18.349 --> 00:04:21.017 และความดันก็กลับไปสู่ปกติในทันที 00:04:21.017 --> 00:04:23.130 มันจึงทำให้เกิดโซนิคบูมสองครั้ง 00:04:23.130 --> 00:04:26.636 แต่หูมนุษย์มักจะได้ยินเพียงครั้งเดียวเท่านั้น 00:04:26.636 --> 00:04:29.878 ในทางปฎิบัติ ตัวอย่างจำลองในคอมพิวเตอร์ ที่ใช้หลักการเดียวกันนี้ 00:04:29.878 --> 00:04:34.023 สามารถคาดการณ์ตำแหน่ง และความเข้มของโซนิคบูมได้ 00:04:34.023 --> 00:04:37.626 ในแต่ละสภาพบรรยากาศและวิถีการบิน 00:04:37.626 --> 00:04:40.738 และก็มีการวิจัยที่กำลังศึกษา เพื่อลดผลกระทบผลของมัน 00:04:40.738 --> 00:04:45.809 ระหว่างนี้ เครื่องบินเหนือเสียง ยังคงถูกห้ามบินเหนือผืนดิน 00:04:45.809 --> 00:04:48.572 แล้วโซนิคบูมเป็นสิ่งใหม่ ที่เพิ่งถูกสร้างขึ้นใช่ไหม 00:04:48.572 --> 00:04:50.088 ก็ไม่ใช่เสียทีเดียว 00:04:50.088 --> 00:04:52.516 ในขณะที่เรากำลังพยายามหาทาง ทำให้มันเงียบลงอยู่นั้น 00:04:52.516 --> 00:04:56.045 สัตว์บางชนิดใช้คลื่นเหนือเสียงนี้ ให้เป็นประโยชน์ 00:04:56.045 --> 00:05:00.954 ไดโนเสาร์ ไดพลอโดคัส อาจสามารถสะบัดหางของมัน 00:05:00.998 --> 00:05:07.937 ด้วยความเร็วเหนือเสียงที่มากกว่า 1,200 กิโลเมตรต่อขั่วโมงเพื่อไล่นักล่า 00:05:07.937 --> 00:05:12.437 กุ้งบางชนิดสามารถสร้างสิ่งที่คล้ายกันนี้ อย่างคลื่นกระแทกใต้น้ำ 00:05:12.437 --> 00:05:16.163 ทำให้เหยื่อหยุดค้างอยู่กับที่ หรือทำให้เหยื่อตายในระยะไกล 00:05:16.163 --> 00:05:19.733 เพียงแค่ดีดก้ามใหญ่โตของมันเท่านั้น 00:05:19.733 --> 00:05:22.203 ในขณะที่มนุษย์กำลังพัฒนา สุดยอดความก้าวหน้านี้ขึ้นมา 00:05:22.203 --> 00:05:24.853 ด้วยการแสวงหาความรวดเร็วอย่างไม่หยุดยั้ง 00:05:24.853 --> 00:05:27.413 กลับกลายเป็นว่าธรรมชาติทำได้ก่อนแล้ว