WEBVTT 00:00:06.999 --> 00:00:09.034 อะไรคือสติสัมปชัญญะ 00:00:09.034 --> 00:00:11.828 เครื่องจักรกลสามารที่จะคิดได้หรือเปล่า 00:00:11.828 --> 00:00:15.114 ความคิดของเราเป็นแค่การรวมกัน ของเส้นประสาทในสมองหรือเปล่า 00:00:15.114 --> 00:00:18.757 หรือมันมีอะไรบางอย่างที่ยากต่อการอธิบาย ซ่อนอยู่ในหัวใจสำคัญของมัน 00:00:18.757 --> 00:00:21.325 สำหรับใครหลาย ๆ คน นี่เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจารณา 00:00:21.325 --> 00:00:24.352 เพื่ออนาคตของจักรกลอัฉริยะ 00:00:24.352 --> 00:00:29.539 แต่นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ อลัน ทัวริง ตัดสินใจที่จะเพิกเฉยต่อคำถามเหล่านี้ 00:00:29.539 --> 00:00:31.850 เพื่อคำถามที่ง่ายกว่าคือ 00:00:31.850 --> 00:00:35.269 คอมพิวเตอร์สามารถพูดได้อย่างมนุษย์หรือเปล่า 00:00:35.269 --> 00:00:39.265 คำถามนั้นนำไปสู่แนวคิดเพื่อการวัด จักรกลอัฉริยะ 00:00:39.265 --> 00:00:43.316 ที่ต่อมาเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ว่า การทดสอบแบบทัวริง 00:00:43.316 --> 00:00:47.341 ในเอกสารทางวิทยาศาสตร์ปี ค.ศ. 1950 "เครื่องกลคอมพิวเตอร์และอัฉริยภาพ" 00:00:47.341 --> 00:00:49.814 ทัวริงเสนอเกมส์ดังต่อไปนี้ 00:00:49.814 --> 00:00:53.906 กรรมการมนุษย์มีการสื่อสารทางข้อความ กับผู้เล่นที่มองไม่เห็น 00:00:53.906 --> 00:00:56.382 และประเมินการตอบสนองของผู้เล่นนั้น 00:00:56.382 --> 00:01:00.409 เพื่อที่จะผ่านการทดสอบ คอมพิวเตอร์ จะต้องสามารถแทนที่ผู้เล่นสักคนหนึ่ง 00:01:00.409 --> 00:01:03.857 โดยไม่ทำให้เกิดผลลัพท์ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ 00:01:03.857 --> 00:01:06.816 หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ คอมพิวเตอร์จะถูกพิจารณาว่ามีอัฉริยภาพ 00:01:06.816 --> 00:01:12.513 ถ้าหากการสนทนาของมัน ไม่สามารถถูกบ่งบอกได้โดยง่ายโดยมนุษย์ 00:01:12.513 --> 00:01:14.667 ทัวริงคาดว่าพอถึงปี ค.ศ. 2000 00:01:14.667 --> 00:01:20.622 เครื่องจักรที่มีหน่วยความจำ 100 เมกะไบต์ จะสามารถผ่านการทดสอบนี้ได้โดยง่าย 00:01:20.622 --> 00:01:22.786 แต่เขาอาจจะคิดล่วงหน้าไกลไปสักหน่อย 00:01:22.786 --> 00:01:25.840 แม้ว่าคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้ จะมีความจำมากกว่านั้นมาก 00:01:25.840 --> 00:01:27.643 ก็มีเป็นส่วนน้อยเท่านั้นที่ผ่านการทดสอบ 00:01:27.643 --> 00:01:29.438 และพวกที่ทำได้ดี 00:01:29.438 --> 00:01:33.208 ก็มุ่งความสนใจไปยังวิธีการที่ชาญฉลาด ในการหลอกกรรมการ 00:01:33.208 --> 00:01:36.174 มากไปกว่าจะใช้ความสามารถอันทรงพลัง ของคอมพิวเตอร์ 00:01:36.174 --> 00:01:39.096 แม้ว่ามันจะไม่เคยถูกทดสอบจริง ๆ 00:01:39.096 --> 00:01:43.865 โปรแกรมแรกที่มีการกล่าวอ้างว่า ประสบความสำเร็จ มีชื่อว่า อิไลซา (ELIZA) 00:01:43.865 --> 00:01:46.412 ด้วยข้อความที่ค่อนข้างสั้นและง่าย 00:01:46.412 --> 00:01:50.434 มันสามารถที่จะทำให้คนหลายคนเข้าใจผิด โดยเลียนแบบนักจิตวิทยา 00:01:50.434 --> 00:01:52.395 คือทำให้พวกเขาพูดมากขึ้น 00:01:52.395 --> 00:01:55.905 และสะท้อนคำถามของพวกเขา ให้ย้อนกับไปหาตัวพวกเขา 00:01:55.905 --> 00:01:59.412 อีกหนึ่งข้อความ PARRY ใช้วิธีการที่ตรงข้ามกัน 00:01:59.412 --> 00:02:02.213 โดยเลียนแบบผู้ป่วยจิตเภทที่หวาดระแวง 00:02:02.213 --> 00:02:07.939 ผู้ที่คอยกำกับการสนทนา ให้กลับมายังหัวข้อที่เขาหมกมุ่น 00:02:07.939 --> 00:02:12.803 ความสำเร็จของพวกมันในการหลอกคน บ่งบอกถึงจุดอ่อนหนึ่งที่สำคัญของการทดสอบนี้ 00:02:12.803 --> 00:02:17.433 โดยทั่วไปคนมักจะให้คุณสมบัติของอัฉริยภาพ กับสิ่งต่าง ๆ มากมาย 00:02:17.433 --> 00:02:21.076 ที่อันที่จริงแล้วไม่ได้มีอัฉริยภาพ 00:02:21.076 --> 00:02:24.289 ไม่ว่าอย่างไรก็ดี การแข่งขันประจำปี อย่าง ลอบเนอร์ ไพรซ์ (Loebner Prize) 00:02:24.289 --> 00:02:26.009 ได้ทำให้การทดสอบเป็นทางการมากขึ้น 00:02:26.009 --> 00:02:28.155 โดยทำให้กรรมการรู้ตัวก่อนการทดสอบ 00:02:28.155 --> 00:02:32.019 ว่าคู่สนทนาบางคนของพวกเขา เป็นจักรกล 00:02:32.019 --> 00:02:33.920 แต่ในขณะที่คุณภาพได้รับการปรับปรุงพัฒนา 00:02:33.920 --> 00:02:39.096 โปรแกรมหุ่นยนต์สนทนาบางโปรแกรม ได้ใช้แนวทางเดียวกับ ELIZA และ PARRY 00:02:39.096 --> 00:02:41.132 แคทรีน ผู้ชนะประจำปี ค.ศ. 1997 00:02:41.132 --> 00:02:45.213 สามารถมีสมาธิจดจ่อได้อย่างน่าทึ่ง และมีการสนทนาที่มีอัฉริยภาพ 00:02:45.213 --> 00:02:49.175 แต่ส่วนใหญ่จะเป็นตอนที่ กรรมการพูดเรื่องบิล คลินตัน 00:02:49.175 --> 00:02:51.813 และผู้ชนะล่าสุด ยูจีน กอสแมน 00:02:51.813 --> 00:02:55.549 ได้ให้บุคลิกของเด็กชายชาวยูเครน อายุ 13 ปี 00:02:55.549 --> 00:02:59.570 กรรมการก็เลยตีความคำพูดที่ไม่มีเหตุผล และไวยากรณ์ที่ตะกุกตะกัก 00:02:59.570 --> 00:03:02.916 ว่าเป็นอุปสรรคทางภาษาและวัฒนธรรม 00:03:02.916 --> 00:03:07.135 ในขณะเดียวกัน โปรแกรมอื่น ๆ อย่าง เคลเวอร์บอท ได้ใช้วิธีการอื่น 00:03:07.135 --> 00:03:11.740 โดยวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในเชิงสถิติ ของการสนทนาจริง ๆ 00:03:11.740 --> 00:03:14.281 เพื่อกำหนดการตอบสนองที่ดีที่สุด 00:03:14.281 --> 00:03:17.530 บางโปรแกรมยังเก็บความทรงจำ ของการสนทนาครั้งก่อน ๆ เอาไว้ 00:03:17.530 --> 00:03:20.915 เพื่อที่จะพัฒนาปรับปรุงมันในครั้งต่อไป 00:03:20.915 --> 00:03:25.066 แต่ในขณะที่แต่ละตัวคำตอบของเคลเวอร์บอท ฟังดูคล้ายมนุษย์มาก 00:03:25.066 --> 00:03:27.092 มันขาดบุคลิกที่มีความสม่ำเสมอ 00:03:27.092 --> 00:03:30.245 และการที่มันไม่สามารถ จะประมวลผลเรื่องใหม่ ๆ ได้ 00:03:30.245 --> 00:03:32.858 เป็นการเผยไต๋หมดเปลือก 00:03:32.858 --> 00:03:36.112 ใครก็ตามที่อยู่ในช่วงเวลาของทัวริง จะไปคาดว่าคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้ 00:03:36.112 --> 00:03:38.201 จะสามารถควบคุมยานอวกาศ 00:03:38.201 --> 00:03:40.518 ทำการผ่าตัดที่ซับซ้อน 00:03:40.518 --> 00:03:42.807 และแก้ไขสมการได้มากมาย 00:03:42.807 --> 00:03:46.310 แต่แค่คุยเรื่องง่าย ๆ ก็ยังตะกุกตะกัก 00:03:46.310 --> 00:03:49.819 กลายเป็นว่าภาษาของมนุษย์ เป็นปรากฏการณ์ซับซ้อนที่น่าทึ่ง 00:03:49.819 --> 00:03:53.524 ที่ไม่สามารถจัดเก็บได้ โดยพจนานุกรมที่ใหญ่ที่สุด 00:03:53.524 --> 00:03:57.993 โปรแกรมหุ่นยนต์สนทนาอาจจนด้วยเกล้า ด้วยคำใช้เอื้อนเอ่ยอย่าง "อืม" 00:03:57.993 --> 00:04:00.415 หรือคำถามที่ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง 00:04:00.415 --> 00:04:02.315 และประโยคสนทนาธรรมดา ๆ 00:04:02.315 --> 00:04:05.595 อย่าง "ฉันเอาน้ำผลไม้ออกมาจากตู้เย็น แล้วให้กับเขาไป 00:04:05.595 --> 00:04:07.406 แต่ลืมตรวจสอบวันที่" 00:04:07.406 --> 00:04:12.872 ต้องการความรู้พื้นฐานค่อนข้างมาก และไหวพริบในการตีความ 00:04:12.872 --> 00:04:15.503 กลายเป็นว่าการจำลองการสนทนาของมนุษย์ 00:04:15.503 --> 00:04:19.112 ต้องใช้มากกว่าการเพิ่มความจำ และประสิทธิภาพในการประมวลผล 00:04:19.112 --> 00:04:21.623 และเมื่อเรายิ่งเข้าใกล้กับเป้าหมายของทัวริง 00:04:21.623 --> 00:04:26.483 เราอาจจะต้องเผชิญหน้ากับคำถามสำคัญ เกี่ยวกับสติสัมปชัญญะในท้ายที่สุด