0:00:07.315,0:00:13.196 ตอนนี้ตี 4 แล้ว[br]การสอบใหญ่จะเริ่มในอีก 8 ชม. 0:00:13.196,0:00:16.117 ต่อด้วยการแสดงเดี่ยวเปียโน 0:00:16.117,0:00:21.888 คุณอ่านตำราและฝึกซ้อมดนตรีมาทั้งวัน[br]แต่ยังรู้สีกว่าคุณยังไม่พร้อม 0:00:21.888,0:00:23.321 แล้วคุณจะทำอย่างไรดี? 0:00:23.321,0:00:25.320 อืม คุณอาจจะดื่มกาแฟอีกสักแก้ว 0:00:25.320,0:00:28.078 แล้วใช้เวลาอีกสัก 2-3 ชั่วโมง[br]คร่ำเคร่งกับตำราและการฝึกซ้อม 0:00:28.078,0:00:30.004 แต่เชื่อหรือไม่ว่า 0:00:30.004,0:00:33.482 จะเป็นการดีกว่าถ้าคุณวางหนังสือลง[br]ละมือจากแป้นเปียโน 0:00:33.482,0:00:35.817 แล้วก็ไปนอน 0:00:35.817,0:00:38.176 การนอน กินเวลาถึง 1 ใน 3 ของชีวิตเรา 0:00:38.176,0:00:43.151 แต่น่าตกใจที่หลายๆ คน[br]ไม่ค่อยให้ความสนใจ 0:00:43.151,0:00:46.730 ซึ่งบ่อยครั้งเป็นผลมาจาก[br]ความเข้าใจผิดสำคัญ 0:00:46.730,0:00:48.639 การนอนไม่ใช่การเสียเวลาไปเปล่าๆ 0:00:48.639,0:00:52.329 หรือเป็นแค่การพักผ่อน [br]หลังจากการทำงานหนัก 0:00:52.329,0:00:54.337 จริงๆ แล้ว มันทำหน้าที่สำคัญ 0:00:54.337,0:00:58.757 ระหว่างที่ร่างกายคุณทำการรักษาสมดุล[br]และควบคุมการทำงานระบบอวัยวะสำคัญ 0:00:58.757,0:01:00.350 ที่ส่งผลต่อระบบการหายใจ 0:01:00.350,0:01:05.435 และการควบคุมทุกอย่าง ตั้งแต่ระบบไหลเวียน[br]โลหิตถึงการเติบโตและระบบภูมิคุ้มกัน 0:01:05.435,0:01:10.818 เยี่ยมไปเลย แต่คุณค่อยมากังวล[br]กับเรื่องนั้นหลังจากสอบก็ได้จริงไหม? 0:01:10.818,0:01:12.436 เดี๋ยวก่อน หยุดความคิดนั้นไว้ก่อน 0:01:12.436,0:01:15.473 มีการพบว่าการนอนหลับนั้น[br]สำคัญต่อสมองมาก 0:01:15.473,0:01:18.173 ซึ่งเลือดกว่า 1 ใน 5 ของ[br]ระบบไหลเวียนโลหิต 0:01:18.173,0:01:20.853 ได้ไปหล่อเลี้ยงสมองด้วยระหว่างที่คุณหลับ 0:01:20.853,0:01:23.460 และสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองของคุณ[br]ระหว่างที่คุณหลับ 0:01:23.460,0:01:26.541 คือ ช่วงเวลาของการจัด[br]โครงสร้างใหม่อย่างเข้มข้น 0:01:26.541,0:01:29.359 ที่สำคัญต่อการทำงานของระบบความจำมาก 0:01:29.359,0:01:30.356 มองเผินๆ 0:01:30.356,0:01:34.255 ความสามารถของเราในการจดจำสิ่งต่างๆ[br]ดูไม่ได้น่าประทับใจมากนัก 0:01:34.255,0:01:37.038 ในศตวรรษที่ 19 [br]นักจิตวิทยาชื่อ Herman Ebbinghaus 0:01:37.038,0:01:40.913 สาธิตให้เห็นว่าปกติเราจะลืม[br]ข้อมูลใหม่ที่ได้รับไปกว่า 40% 0:01:40.913,0:01:43.394 ภายใน 20 นาทีแรก 0:01:43.394,0:01:47.134 ปรากฎการณ์ที่รู้จักกันในชื่อ[br]เส้นโค้งการลืม (Forgetting curve) 0:01:47.134,0:01:50.735 แต่การลืมนี้สามารถป้องกันได้[br]ด้วยกระบวนการจดจำ (memory consolidation) 0:01:50.735,0:01:53.289 โดยอาศัยการที่ข้อมูลถูกเคลื่อนย้าย 0:01:53.289,0:01:58.903 จากระบบความจำระยะสั้นชั่วคราว[br]ไปยังระบบความจำระยะยาว 0:01:58.903,0:02:02.623 กระบวนการสร้างการจดจำนี้[br]ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากสมองส่วนหนึ่ง 0:02:02.623,0:02:05.340 ที่ชื่อว่า ฮิปโปแคมปัส 0:02:05.340,0:02:07.360 ซึ่งหน้าที่ในการสร้างความจำระยะยาวของมัน 0:02:07.360,0:02:11.368 ได้ถูกสาธิตโดย เบรนดา มิลเนอร์[br]ในทศวรรษที่ 1950 0:02:11.368,0:02:14.656 ในงานวิจัยของเธอ [br]กับผู้ป่วยที่มีโค้ดเนมว่า เอชเอ็ม 0:02:14.656,0:02:16.955 หลังจากที่ฮิปโปแคมปัสของเขา[br]ถูกผ่าตัดออกไป 0:02:16.955,0:02:21.323 ความสามารถของ เอชเอ็ม [br]ในการสร้างความจำระยะสั้นใหม่ๆ ได้เสียไป 0:02:21.323,0:02:25.888 แต่เขายังสามารถเรียนรู้งานทางกาย[br]ได้จากการทำมันซ้ำๆ 0:02:25.888,0:02:27.719 จากการที่เขาไม่มีฮิปโปแคมปัส 0:02:27.719,0:02:32.294 คามสามารถของ เอชเอ็ม[br]เกี่ยวกับความจำระยะยาวก็ได้เสียไปเช่นกัน 0:02:32.294,0:02:34.437 สิ่งที่กรณีศึกษานี้แสดงให้เห็น 0:02:34.437,0:02:37.359 ก็คือว่า ฮิปโปแคมปัสนั้น[br]มีหน้าที่เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ 0:02:37.359,0:02:42.062 การสร้างความจำระยะยาวแบบระลึกรู้ได้[br](long-term declarative memory) 0:02:42.062,0:02:45.316 เช่น ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ[br]ที่คุณต้องท่องจำเพื่อไปทำข้อสอบ 0:02:45.316,0:02:47.125 มากกว่าเป็นความทรงจำแบบฝึกปฏิบัติ[br](procedural memory) 0:02:47.125,0:02:51.728 เช่น การเคลื่อนไหวนิ้วมือในการเล่นเปียโน[br]คุณจำเป็นต้องฝึกจนชำนาญ 0:02:51.728,0:02:55.394 การค้นพบของ มิลเนอร์ รวมทั้งผลงานของ[br]อีริค แคนเดล ในทศวรรษที่ 1990 0:02:55.394,0:03:00.746 ทำให้เรามีแบบจำลองล่าสุด[br]เกี่ยวกับกระบวนการสร้างความทรงจำ 0:03:00.746,0:03:02.798 ข้อมูลการรับรู้ จะถูกแปลงในขั้นแรก 0:03:02.798,0:03:07.071 และถูกบันทึกในระบบความจำระยะสั้น[br]เป็นการจำแบบชั่วคราว 0:03:07.071,0:03:09.624 จากนั้น จะถูกส่งไปยังฮิปโปแคมปัส 0:03:09.624,0:03:13.150 ซึ่งจะปรับปรุงและเพิ่มสมรรถนะ[br]ของเซลล์ประสาทในบริเวณนั้น 0:03:13.150,0:03:15.369 ขอบคุณความสามารถของสมอง[br]ที่ปรับตัวได้ (neuroplasticity) 0:03:15.369,0:03:20.341 การเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทรูปแบบใหม่[br]ได้ถูกสร้างขึ้น 0:03:20.341,0:03:22.184 เพิ่มสมรรถนะของเครือข่ายเซลล์ประสาท 0:03:22.184,0:03:25.934 ที่ซึ่งข้อมูลการรับรู้เหล่านั้นถูกส่งกลับ[br]ในรูปแบบความจำระยะยาว 0:03:25.934,0:03:28.801 แล้วทำไมเราถึงจำบางอย่างได้ [br]บางอย่างก็ไม่ได้? 0:03:28.801,0:03:30.689 มันมีวิธีไม่มากนักที่จะมีส่งผลต่อ 0:03:30.689,0:03:34.300 ช่วงเวลาและประสิทธิภาพในการจัดเก็บความจำ 0:03:34.300,0:03:38.435 ตัวอย่างเช่น ความจำที่เกิดขึ้น[br]ในช่วงที่มีอารมณ์ความรู้สึกรุนแรง 0:03:38.435,0:03:39.470 หรือในภาวะตึงเครียด 0:03:39.470,0:03:44.727 จะถูกจดจำได้ง่ายกว่าเนื่องจาก[br]ฮิปโปแคมปัสทำงานเชื่อมโยงกับอารมณ์ 0:03:44.727,0:03:48.723 แต่ปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง[br]ที่ส่งผลต่อกระบวนการจดจำ ก็คือ 0:03:48.723,0:03:49.891 ใช่ คุณเดาถูกแล้ว 0:03:49.891,0:03:51.878 การนอนหลับอย่างเพียงพอ 0:03:51.878,0:03:54.214 การนอนหลับ แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ 0:03:54.214,0:03:56.952 ระยะที่หลับลึกทื่สุด คือ [br]ระยะหลับลึก (slow-wave sleep) 0:03:56.952,0:03:59.228 และระยะอาร์อีเอ็ม(REM sleep) 0:03:59.228,0:04:02.387 เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าสมองที่วัด[br]ผู้ที่กำลังหลับอยู่ในระยะเหล่านั้น 0:04:02.387,0:04:04.377 แสดงให้เห็นคลื่นสมอง 0:04:04.377,0:04:09.686 เคลื่อนไปมาระหว่างแกนสมอง [br]ฮิปโปแคมปัส ธาลามัส และผิวสมอง 0:04:09.686,0:04:13.528 ซึ่งทำหน้าที่เสมือนสถานีส่งสัญญาณ[br]ในการสร้างความจำ 0:04:13.528,0:04:16.901 และการนอนหลับในระยะต่างๆ[br]ได้แสดงให้เห็นถึงการช่วยในการ 0:04:16.901,0:04:19.108 สร้างความจำชนิดต่างๆ 0:04:19.108,0:04:22.557 ในระยะหลับลึก (slow-wave sleep)[br]ก่อนระยะอาร์อีเอ็ม 0:04:22.557,0:04:26.125 ความจำแบบระลึกรู้ได้ (declarative memory)[br]ถูกบันทึกไว้ที่หน่วยความจำชั่วคราว 0:04:26.125,0:04:28.952 บริเวณส่วนหน้าของฮิปโปแคมปัส 0:04:28.952,0:04:32.794 เมื่อมีการส่งสัญญาณไปมาอย่างต่อเนื่อง[br]ระหว่างฮิปโปแคมปัสกับเปลือกสมอง 0:04:32.794,0:04:35.497 มันก็จะถูกกระตุ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า 0:04:35.497,0:04:40.998 แล้วค่อยๆ ถูกส่งไปยัง[br]หน่วยเก็บความจำระยะยาวที่เปลือกสมอง 0:04:40.998,0:04:44.884 ในทางกลับกัน ในระยะอาร์อีเอ็ม(REM sleep) [br]ที่แม้ว่าจะมีการกระตุ้นกิจกรรมในสมอง 0:04:44.884,0:04:48.474 แต่จะเป็นเรื่องการจดจำ[br]ความจำแบบฝึกปฏิบัติ (procedural memory) 0:04:48.474,0:04:50.305 จากผลการศึกษาวิจัย 0:04:50.305,0:04:53.533 การนอนหลับ 3 ชั่วโมงหลังจากจำสูตรคำนวน 0:04:53.533,0:04:58.515 และ 1 ชั่วโมงหลังจากฝึกไล่เสกล[br]อาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด 0:04:58.515,0:05:01.017 ทีนี้คุณคงเห็นแล้วว่าการนอนไม่พอ 0:05:01.017,0:05:03.292 ไม่เพียงส่งผลเสียต่อสุขภาพ 0:05:03.292,0:05:05.071 แต่ยังลดโอกาส 0:05:05.071,0:05:09.420 ที่คุณจะจดจำสิ่งที่เรียนรู้[br]และทักษะที่ฝึกฝนมาเมื่อคืนก่อน 0:05:09.420,0:05:13.543 เรื่องนี้ยังไปตรงกับสุภาษิตที่ว่า[br]"กลับไปนอนคิดดูก่อน" 0:05:13.543,0:05:15.637 เมื่อลองคิดดูเกี่ยวกับ[br]การปรับโครงสร้างภายใน 0:05:15.637,0:05:19.366 และการสร้างการเชื่อมโยงใหม่ๆ[br]ที่เกิดขณะที่คุณกำลังงีบอยู่ 0:05:19.366,0:05:21.284 เราสามารถพูดได้ว่าการนอนหลังที่เหมาะสม 0:05:21.284,0:05:25.093 จะทำให้คุณตื่นขึ้นมาทุกเช้า[br]พร้อมกับสมองที่สดใหม่และดีขึ้น 0:05:25.093,0:05:27.587 พร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายต่างๆ