ในสายตาของมนุษย์ โลกยามวิกาล เป็นเหมือนแผ่นผ้าใบไร้รูปทรงสีเทา ในทางตรงข้าม สัตว์กลางคืนหลายชนิด ได้ดูโลกที่หลากหลายมีอะไรมากมาย มีรายละเอียด รูปร่าง และสี อะไรกันที่ทำให้ผีเสื้อกลางคืนต่างจากมนุษย์ ผีเสื้อกลางคืนและสัตว์กลางคืนอื่น ๆ หลายชนิด มองเห็นยามค่ำคืน เพราะว่าตาของพวกมันปรับเปลี่ยนมา เพื่อให้เข้ากับบริเวณที่มีแสงน้อย ตาทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นของสัตว์กลางคืนหรือไม่ ต้องพึ่งพาตัวรับแสงในจอตา ในการตรวจจับอนุภาคแสง ที่เรียกว่า โฟตอน ตัวรับแสงนี้จะรายงานข้อมูล เกี่ยวกับโฟตอนเหล่านี้ให้กับอีกเซลล์ ในจอตาและสมอง สมองรับข้อมูลเหล่านี้ และใช้มันเพื่อสร้างภาพ ของสิ่งแวดล้อมที่ตามมองเห็น ยิ่งมีแสงมากเท่าไร โฟตอนก็ยิ่งกระทบตามากเท่านั้น ในวันที่แดดดี โฟตอนเข้ากระทบตาของเรา มากถึง 100 ล้านครั้ง มากกว่าคืนที่มีเมฆมาก และไร้แสงจันทร์ โฟตอนไม่ได้แค่มีน้อยกว่าในที่มืด แต่พวกมันยังกระทบกับตา ในแบบที่แม่นยำน้อยกว่า นั่นหมายความว่าข้อมูล ที่ตัวรับแสงเก็บรวบรวมนั้น จะแตกต่างออกไปเมื่อเวลาผ่านไป เช่นเดียวกันกับคุณภาพของภาพที่ได้ ในความมืด การพยายามตรวจจับโฟตอน ที่เข้ามาอย่างสุ่มและกระจัดกระจาย ยากเกินไปสำหรับตาของสัตว์กลางวันทั่วไป แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตกลางคืน มันเป็นเรื่องของการปรับตัว หนึ่งในการปรับตัวนั้นคือขนาด ลองดูตัวอย่างเช่น ทาร์เซียร์ ที่มีลูกตาแต่ละดวงใหญ่เท่าสมอง ทำให้มันมีตาที่ใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับขนาด ของหัวของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ถ้ามนุษย์มีอัตราส่วนสมองต่อตาเท่า ๆ กัน ตาของเราคงใหญ่เท่ากับเกรฟฟรุ๊ต ดวงตาขนาดใหญ่ของทาร์เซียร์ ไม่ได้วิวัฒนาการมาเพื่อให้ดูน่ารัก แต่เพื่อรับแสงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตาที่ใหญ่กว่าสามารถที่จะมีรูปเปิด ที่เรียกว่า พิวพิล ที่ใหญ่กว่า และเลนส์ตาที่ใหญ่กว่า ซึ่งทำให้แสงถูกโฟกัสไปที่ตัวรับแสงได้มากกว่า ในขณะที่ทาร์เซียร์มองภาพยามวิกาล ด้วยตาขนาดใหญ่ แมวใช้ตาที่แพรวพราวของมันทำในสิ่งเดียวกัน ตาของแมวได้ความเงามาจากโครงสร้าง ที่เรียกว่า เทปตัม ลูซิดัม ที่อยู่หลังตัวรับแสง โครงสร้างนี้ทำจากชั้นเซลล์ คล้ายกระจกที่มีคริสตัล ที่ส่งแสงที่เข้ามา ให้สะท้อนกลับไปยังตัวรับแสง และออกมานอกดวงตา นั่นเป็นผลให้เกิดการเรืองแสงที่ดูน่ากลัว และมันยังให้โอกาสกับตัวรับแสดงเป็นหนที่สอง ในการตรวจจับโฟตอน อันที่จริง ระบบนี้ได้ให้แรงบันดาลใจ ต่อตาจำลองของแมวซึ่งเราใช้กันบนถนน ตรงกันข้าม คางคกปรับตัวที่จะทำอะไรช้า ๆ พวกมันสามารถสร้างภาพขึ้นได้ แม้ว่าจะมีโฟตอนเดียว กระทบกับตัวรับแสงในหนึ่งวินาที พวกมันทำได้ด้วยตัวรับแสง ที่ทำงานช้ากว่าตัวรับแสงของมนุษย์ มากกว่า 25 เท่า นี่หมายความว่าคางคกสามารถเก็บโฟตอน ได้นานถึงสี่วินาที ทำให้พวกมันรวบรวมได้ มากกว่าที่ตาของเราทำได้ ในแต่ละช่วงเวลาการมองเห็น ข้อเสียก็คือ มันทำให้คางคก ตอบสนองได้ช้ามาก ๆ เพราะว่าพวกมันได้รับภาพใหม่ทุก ๆ สี่วินาที โชคดี พวกมันคุ้นเคยต่อการจับเหยื่อที่งุ่นง่าน ในขณะเดียวกัน กลางคืนยังเต็มไปด้วยแมลง เช่นผีเสื้อกลางคืนเหยี่ยว ซึ่งสามารถมองเห็นดอกไม้โปรด เป็นสี แม้ว่าในคืนที่มีแต่เพียงแสงดาว พวกมันทำเช่นนี้ได้โดยความมหัศจรรย์ - คือการกำจัดเอารายละเอียด ในการรับภาพของพวกมันออก ข้อมูลจากตัวรับแสงรอบ ๆ ถูกจัดวางเป็นกลุ่ม ในสมองของพวกมัน ฉะนั้นการจับโฟตอนในแต่ละกลุ่มจึงสูงขึ้น เมื่อเทียบกับตัวรับแสงตัวเดียว อย่างไรก็ตาม การจับกลุ่มตัวรับแสง สูญเสียรายละเอียดของภาพไป เนื่องจากรายละเอียดที่คมชัด ต้องการความคมชัดจากตัวรับแสง จากแต่ละการตรวจจับโฟตอน จากจุดเล็ก ๆ ในพื้นที่หนึ่ง เคล็ดลับก็คือเพื่อสร้างความสมดุล ความต้องการโฟตอนกับการสูญเสียรายละเอียด เพื่อยังจะสามารถหาดอกไม้ของพวกมันได้ ไม่ว่าตาจะช้า ใหญ่ แพรวพราว หรือว่าขาดรายละเอียด มันเป็นการรวมกันของการปรับตัวทางชีววิทยา ที่ทำให้สัตว์กลางคืน มีพลังการมองเห็นที่เป็นเอกลักษณ์ ลองนึกดูว่าจะเป็นอย่างไร ถ้าเราได้มองผ่านตาของมัน ดูโลกที่ตื่นขึ้นมาเมื่อดวงตะวันลับฟ้า