WEBVTT 00:00:00.760 --> 00:00:03.240 การสนใจจดจ่อกับอะไรซักอย่าง 00:00:03.280 --> 00:00:04.520 มันไม่ง่ายเลย ใช่ไหมครับ 00:00:04.720 --> 00:00:10.536 นั่นเป็นเพราะ มีหลายสิ่งที่ดึงความสนใจของเราอยู่ด้วย 00:00:10.560 --> 00:00:15.200 ถ้าเราสามารถจดจ่อกับมันได้จริง ๆ มันจะน่าประทับใจมาก NOTE Paragraph 00:00:16.360 --> 00:00:20.416 หลายคนคิดว่าความจดจ่อนั้นเกี่ยวกับ อะไรสักอย่างที่เราจดจ่ออยู่เท่านั้น 00:00:20.440 --> 00:00:25.870 แต่จริง ๆ มันรวมถึง การที่สมองมีการกรองข้อมูลออกด้วย NOTE Paragraph 00:00:26.320 --> 00:00:29.040 ความสนใจนั้นมีอยู่ 2 แบบ 00:00:29.600 --> 00:00:31.160 แบบแรกคือ ความสนใจเปิดเผย 00:00:31.640 --> 00:00:35.776 ความสนใจเปิดเผย คือ การที่คุณย้ายสายตาไปจ้องที่บางอย่าง 00:00:35.800 --> 00:00:37.360 เพื่อเพ่งความสนใจไปที่สิ่งนั้น 00:00:38.360 --> 00:00:40.336 อีกแบบหนึ่งคือ ความสนใจแฝง 00:00:40.360 --> 00:00:44.376 ความสนใจแฝง คือ การที่คุณให้ความสนใจกับบางอย่าง 00:00:44.400 --> 00:00:45.960 แต่ไม่ได้จ้องตาม 00:00:47.040 --> 00:00:48.680 ลองคิดถึงการขับรถยนต์ก็ได้ครับ 00:00:50.960 --> 00:00:53.976 ความสนใจแบบเปิดเผยของคุณ คือทิศทางที่ตาคุณจ้องไปหา 00:00:54.000 --> 00:00:55.656 ก็คือจ้องตรงไปข้างหน้า 00:00:55.680 --> 00:00:57.456 แต่ความสนใจแฝงของคุณ 00:00:57.480 --> 00:01:00.560 คือการที่คุณต้องระวัง สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวไปด้วย 00:01:01.600 --> 00:01:03.480 แต่คุณไม่ได้หันไปจ้องตรง ๆ NOTE Paragraph 00:01:05.519 --> 00:01:07.456 ผมเป็นนักประสาทวิทยาคอมพิวเตอร์ 00:01:07.480 --> 00:01:10.576 ทำงานเกี่ยวกับ ส่วนแสดงผล การรับรู้ของสมองผ่านคอมพิวเตอร์ 00:01:10.600 --> 00:01:13.640 หรือพูดอีกอย่างคือ เอาสมองกับคอมพิวเตอร์มารวมกัน 00:01:14.720 --> 00:01:16.320 ผมชอบรูปแบบของสมอง 00:01:16.720 --> 00:01:18.416 รูปแบบของสมองสำคัญกับพวกเรามาก 00:01:18.440 --> 00:01:21.936 เพราะเราเอาพื้นฐานจากพวกมัน มาทำเป็นแบบจำลองในคอมพิวเตอร์ได้ 00:01:21.960 --> 00:01:23.376 และค่อยใช้แบบจำลองเหล่านั้น 00:01:23.400 --> 00:01:27.616 ช่วยให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ ว่าสมองเราทำงานได้ดีแค่ไหน 00:01:27.640 --> 00:01:29.240 และถ้ามันทำงานได้ไม่ดีแล้ว 00:01:30.080 --> 00:01:34.000 เราก็ใช้คอมพิวเตอร์พวกนี้ เป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือ 00:01:34.760 --> 00:01:35.960 เพื่อการรักษา 00:01:36.480 --> 00:01:38.120 แต่นั่นก็หมายความว่า 00:01:39.360 --> 00:01:41.856 ถ้าเราเลือกรูปแบบมาผิด 00:01:41.880 --> 00:01:43.776 มันก็จะให้แบบจำลองที่ผิด 00:01:43.800 --> 00:01:45.456 และกลายเป็นวิธีรักษาที่ผิด 00:01:45.480 --> 00:01:46.680 ถูกไหมครับ 00:01:47.640 --> 00:01:49.296 ในกรณีของความสนใจ 00:01:49.320 --> 00:01:50.600 ความจริงที่ว่า 00:01:51.800 --> 00:01:55.296 เราสามารถเปลี่ยนจุดสนใจ ไม่ใช่แค่ใช้ตา 00:01:55.320 --> 00:01:56.640 แต่โดยใช้การคิด-- 00:01:57.440 --> 00:02:01.520 นี่เป็นสิ่งที่ทำให้ความสนใจแฝง น่าสนใจสำหรับใช้กับแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ NOTE Paragraph 00:02:02.280 --> 00:02:05.736 ผมจึงต้องการรู้ว่า รูปแบบของคลื่นสมองเป็นอย่างไร 00:02:05.760 --> 00:02:09.440 เมื่อคุณจ้องแบบเปิดเผย หรือเมื่อคุณมองแบบแฝง 00:02:10.440 --> 00:02:12.200 ผมทำการทดลองขึ้นสำหรับเรื่องนี้ 00:02:12.960 --> 00:02:15.696 ในการทดลองนี้ จะมีรูปสี่เหลี่ยมกระพริบสองรูป 00:02:15.720 --> 00:02:19.080 อันหนึ่งจะกระพริบช้ากว่าอีกอันหนึ่ง 00:02:20.600 --> 00:02:24.416 ขึ้นอยู่กับว่า คุณเพ่งความสนใจไปที่อันไหน 00:02:24.440 --> 00:02:28.400 สมองส่วนที่เกี่ยวข้อง จะสะท้อนการทำงานในจังหวะเดียวกัน 00:02:29.200 --> 00:02:30.640 กับอัตราการกระพริบที่คุณสนใจ 00:02:32.000 --> 00:02:34.936 ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์สัญญาณจากสมองของคุณ 00:02:34.960 --> 00:02:38.000 เราจะรู้ได้ทันทีว่าคุณกำลังจ้องอันไหน 00:02:38.760 --> 00:02:40.320 หรือคุณกำลังสนใจอันไหนอยู่ NOTE Paragraph 00:02:43.000 --> 00:02:47.216 ดังนั้น เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับสมอง เมื่อคุณใช้ความสนใจแบบเปิดเผย 00:02:47.240 --> 00:02:50.496 ผมจึงให้ผู้ทดลองมองไปที่ จตุรัสอันใดอันหนึ่งตรง ๆ 00:02:50.520 --> 00:02:51.800 และเพ่งความสนใจไปที่มัน 00:02:52.760 --> 00:02:58.056 ในการทดลองนี้ เป็นตามคาดครับ คือเราจะเห็นจตุรัสเหล่านี้ 00:02:58.080 --> 00:03:00.016 ปรากฏตรงกันกับสัญญาณของสมอง 00:03:00.040 --> 00:03:02.400 ซึ่งส่งมาจากส่วนหลังของศีรษะ 00:03:03.560 --> 00:03:06.960 ซึ่งเป็นสมองส่วนที่รับผิดชอบประมวลผล ข้อมูลจากการมองเห็น 00:03:08.280 --> 00:03:10.616 แต่ที่ผมสนใจมากกว่า 00:03:10.640 --> 00:03:13.800 คือผมอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับสมอง เมื่อคุณมีความสนใจแบบแฝง 00:03:14.480 --> 00:03:18.376 ผมจึงขอให้ผู้ทดลองมองตรงไปตรงกึ่งกลางจอ 00:03:18.400 --> 00:03:20.280 และไม่ขยับสายตา 00:03:21.120 --> 00:03:23.840 เพื่อเพ่งความสนใจไปยังจตุรัสอันใดอันหนึ่ง 00:03:25.120 --> 00:03:26.736 เมื่อเราทำแบบนั้น 00:03:26.760 --> 00:03:30.696 เราพบว่ามีอัตราการกระพริบทั้งสองแบบ อยู่ในสัญญาณจากสมอง 00:03:30.720 --> 00:03:31.920 แต่ที่น่าสนใจคือ 00:03:32.640 --> 00:03:36.176 มีเพียงหนึ่งอัน ที่เราเพ่งความสนใจอยู่ 00:03:36.200 --> 00:03:37.856 จะส่งสัญญาณที่แรงกว่า 00:03:37.880 --> 00:03:40.136 ดังนั้นมีบางอย่างในสมอง 00:03:40.160 --> 00:03:42.696 ที่จัดการกับข้อมูลลักษณะนี้ 00:03:42.720 --> 00:03:48.920 ซึ่งโดยปกติแล้ว มันคือ การกระตุ้นของสมองส่วนหน้า 00:03:50.440 --> 00:03:53.416 สมองส่วนหน้าของคุณจะรับผิดชอบ 00:03:53.440 --> 00:03:56.320 กระบวนการรับรู้ระดับสูงของมนุษย์ 00:03:57.160 --> 00:04:01.600 สมองส่วนหน้า มันทำงานเหมือนกับเป็นตัวกรอง 00:04:02.640 --> 00:04:07.016 มันจะยอมให้ข้อมูล จากด้านขวาของจอเข้ามาสู่สมอง 00:04:07.040 --> 00:04:08.680 ซึ่งคืออันที่คุณให้ความสนใจ 00:04:09.400 --> 00:04:13.360 และขณะเดียวกันก็พยายามขัดขวาง ข้อมูลที่มาจากจออีกด้าน ซึ่งเราไม่สนใจ NOTE Paragraph 00:04:15.400 --> 00:04:20.696 ความสามารถในการกรองข้อมูลของสมองนี้ เป็นกุญแจหลักที่ไขปัญหาเกี่ยวกับความสนใจ 00:04:20.720 --> 00:04:23.496 ซึ่งคนหลายคนขาดอยู่ 00:04:23.520 --> 00:04:26.000 ตัวอย่างเช่น คนที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) 00:04:26.640 --> 00:04:31.656 ซึ่งผู้เป็นโรคสมาธิสั้น สมองจะไม่สามารถกรองสิ่งรบกวนพวกนี้ได้ 00:04:31.680 --> 00:04:36.440 และนั่นทำให้พวกเขาไม่สามารถจดจ่อ อยู่กับงานใดงานหนึ่งได้นาน 00:04:37.600 --> 00:04:39.136 แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราให้เขา 00:04:39.160 --> 00:04:42.696 เล่นเกมคอมพิวเตอร์แบบพิเศษ 00:04:42.720 --> 00:04:45.600 เพื่อให้สมองของเขาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ 00:04:46.440 --> 00:04:48.560 และฝึกให้สมองของเขา 00:04:49.360 --> 00:04:51.800 ตัดสิ่งรบกวนอื่น ๆ ออกไป NOTE Paragraph 00:04:53.680 --> 00:04:56.160 ซึ่งคนที่เป็นสมาธิสั้นเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่ง 00:04:57.200 --> 00:05:00.456 เรายังสามารถปรับใช้ส่วนแสดงผล การรับรู้ของสมองผ่านคอมพิวเตอร์นี้ 00:05:00.480 --> 00:05:02.680 กับการรับรู้ในแบบอื่น ๆ ได้อีก 00:05:03.760 --> 00:05:05.536 เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา 00:05:05.560 --> 00:05:11.280 คุณตาของผมมีอาการหลอดเลือดในสมองแตก และสูญเสียความสามารถในการพูด 00:05:12.640 --> 00:05:15.976 เขาเข้าใจทุกอย่างที่คนอื่นพูด แต่ไม่สามารถตอบกลับได้ 00:05:16.000 --> 00:05:18.480 จะเขียนออกมาก็ไม่ได้เพราะท่านไม่รู้หนังสือ 00:05:20.000 --> 00:05:22.520 ท่านจึงจากไปอย่างเงียบ ๆ 00:05:24.800 --> 00:05:27.136 ผมจำได้ว่าตอนนั้นผมคิดว่า 00:05:27.160 --> 00:05:31.056 แล้วถ้ามีคอมพิวเตอร์ 00:05:31.080 --> 00:05:32.440 ที่สามารถพูดแทนท่านได้ล่ะ 00:05:33.840 --> 00:05:36.056 ตอนนี้ ซึ่งผมใช้เวลาหลายปีในวงการนี้ 00:05:36.080 --> 00:05:38.400 ผมเริ่มเห็นความเป็นไปได้แล้วครับ 00:05:40.240 --> 00:05:43.096 ลองจินตการว่าถ้าเราจับรูปแบบของคลื่นสมอง 00:05:43.120 --> 00:05:46.560 เวลาที่เราคิดเป็นภาพ หรือแม้กระทั่งเป็นตัวหนังสือ 00:05:47.720 --> 00:05:50.656 อย่างเช่น คิดถึงตัว ก ได้รูปแบบคลื่นแบบหนึ่ง 00:05:50.680 --> 00:05:52.400 ตัว ข เป็นอีกแบบหนึ่ง ไปเรื่อย ๆ 00:05:52.960 --> 00:05:56.640 ซักวันหนึ่ง คอมพิวเตอร์จะสามารถ สื่อสารแทนคนที่พูดไม่ได้ได้หรือไม่ 00:05:57.640 --> 00:05:59.080 หรือถ้าคอมพิวเตอร์ 00:05:59.960 --> 00:06:04.520 จะช่วยให้เราเข้าใจ ความคิดของคนที่อยู่ในภาวะโคม่าล่ะ 00:06:05.840 --> 00:06:07.456 เรายังเดินไปไม่ถึงจุดนั้นครับ 00:06:07.480 --> 00:06:10.216 แต่ขอให้จับตาดูให้ดีครับ 00:06:10.240 --> 00:06:11.936 เราจะไปถึงจุดนั้นได้ในอีกไม่นาน NOTE Paragraph 00:06:11.960 --> 00:06:13.456 ขอบคุณครับ NOTE Paragraph 00:06:13.480 --> 00:06:19.112 (เสียงปรบมือ)