WEBVTT 00:00:07.255 --> 00:00:10.812 หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก เป็นหนึ่งในไม่กี่แนวคิด 00:00:10.812 --> 00:00:14.686 ของควอนตัมฟิสิกส์ ที่ได้ขยายไปสู่วัฒนธรรมสมัยนิยม 00:00:14.686 --> 00:00:20.462 มันบอกว่าเราไม่สามารถที่จะทราบตำแหน่ง และความเร็วที่แน่นอนของวัตถุ ในเวลาเดียวกันได้ 00:00:20.462 --> 00:00:22.893 มันไปโผล่ในฐานะอุปลักษณ์ในทุกๆ เรื่อง 00:00:22.893 --> 00:00:26.409 ตั้งแต่การวิจารณ์วรรณกรรม ไปจนถึงเรื่องกีฬา 00:00:26.409 --> 00:00:29.429 ความไม่แน่นอนมักถูกอธิบายว่า เป็นผลที่เกิดจากขั้นตอนการวัด 00:00:29.429 --> 00:00:34.561 การลงมือวัดตำแหน่งของวัตถุได้เปลี่ยนความเร็วของมัน หรือ เช่นกันในทางตรงข้าม 00:00:34.561 --> 00:00:38.378 จุดกำเนิดของหลักการนี้ ลึกซึ้งและน่าทึ่งกว่านี้มาก 00:00:38.378 --> 00:00:41.759 หลักความไม่แน่นอนดำรงอยู่ เพราะว่าทุกสิ่งในเอกภพ 00:00:41.759 --> 00:00:46.318 ประพฤติตัวเสมือนเป็นอนุภาคและคลื่น ในเวลาเดียวกัน 00:00:46.318 --> 00:00:50.458 ในกลศาสตร์ควอนตัม ตำแหน่งที่แน่นอน และความเร็วที่แน่นอนของวัตถุ 00:00:50.458 --> 00:00:51.896 ไม่มีความหมายใดๆ 00:00:51.896 --> 00:00:53.147 เพื่อที่จะเข้าใจเรื่องนี้ 00:00:53.147 --> 00:00:57.053 เราจำเป็นต้องคิดว่าการประพฤติตัวเหมือนอนุภาค หรือคลื่น นั้นหมายถึงอะไร 00:00:57.053 --> 00:01:01.857 โดยนิยามแล้วอนุภาค จะอยู่ในสถานที่หนึ่ง ณ เวลาหนึ่ง 00:01:01.857 --> 00:01:06.356 เราสามารถแสดงให้เห็นโดยใช้กราฟ บอกความน่าจะเป็นในการพบวัตถุ 00:01:06.356 --> 00:01:09.030 ที่ตำแหน่งหนึ่งๆ ซึ่งกราฟจะมีลักษณะเป็นยอดแหลมอันเดียว 00:01:09.030 --> 00:01:13.707 โดยมีโอกาสพบวัตถุ 100% ที่ตำแหน่งหนึ่ง และเป็นศูนย์ในตำแหน่งที่เหลือ 00:01:13.707 --> 00:01:17.621 ในทางกลับกัน คลื่น คือ การเคลื่อนที่ของการรบกวนแผ่ไปยังที่ว่าง 00:01:17.621 --> 00:01:20.338 เหมือนคลื่นที่แผ่ปกคลุมผิวน้ำในบ่อ 00:01:20.338 --> 00:01:23.767 เราสามารถบ่งบอกคุณสมบัติต่างๆ ของคลื่นได้ในภาพรวม 00:01:23.767 --> 00:01:25.933 อันที่สำคัญสุด ได้แก่ ความยาวคลื่น 00:01:25.933 --> 00:01:28.640 ที่เป็นระยะห่างระหว่างสันคลื่นที่อยู่ติดกัน 00:01:28.640 --> 00:01:30.459 หรือ ระยะห่างของท้องคลื่นที่อยู่ติดกัน 00:01:30.459 --> 00:01:33.017 แต่เราไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนของมันได้ 00:01:33.017 --> 00:01:36.282 มันมีโอกาสที่จะเจอคลื่นในหลายๆ ตำแหน่ง 00:01:36.282 --> 00:01:39.099 ความยาวคลื่นมีความสำคัญในควอนตัมฟิสิกส์ 00:01:39.099 --> 00:01:42.419 เพราะว่า ความยาวคลื่นของวัตถุ สัมพันธ์กับโมเมนตัมของมัน 00:01:42.419 --> 00:01:44.024 ซึ่งคือ มวลคูณกับความเร็ววัตถุ 00:01:44.024 --> 00:01:46.909 วัตถุที่เคลื่อนที่เร็วจะมีโมเมนตัมมาก 00:01:46.909 --> 00:01:50.019 ซึ่งส่งผลให้มันมีความยาวคลื่นที่สั้นมาก 00:01:50.019 --> 00:01:54.179 วัตถุที่มีมวลมากจะมีโมเมนตัมมาก ถึงแม้ว่ามันจะเคลื่อนที่ไม่เร็ว 00:01:54.179 --> 00:01:56.966 ซึ่งทำให้มันมีความยาวคลื่นที่สั้นมากเช่นเดียวกัน 00:01:56.966 --> 00:02:00.837 นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ไม่สังเกตเห็นความเป็นคลื่น ของวัตถุต่างๆ ในชีวิตประจำวัน 00:02:00.837 --> 00:02:02.644 ถ้าคุณขว้างลูกเบสบอลขึ้นไปบนฟ้า 00:02:02.644 --> 00:02:07.029 ความยาวคลื่นของมันจะเท่ากับ 1/10 ยกกำลัง 33 เมตร 00:02:07.029 --> 00:02:09.364 เล็กมากเกินกว่าจะสังเกตเห็น 00:02:09.364 --> 00:02:12.324 วัตถุเล็กๆ เช่น อะตอม หรือ อิเล็คตรอน 00:02:12.324 --> 00:02:16.142 มีความยาวคลื่นมากพอที่จะวัดได้ จากการทดลองทางฟิสิกส์ 00:02:16.142 --> 00:02:20.735 ถ้าเรามีคลื่นหนึ่ง เราจะสามารถวัดความยาวคลื่น และโมเมนตัมของมันได้ 00:02:20.735 --> 00:02:23.101 แต่จะไม่สามารถวัดตำแหน่งของมันได้ 00:02:23.101 --> 00:02:25.248 เราสามารถทราบตำแหน่งของอนุภาคได้เป็นอย่างดี 00:02:25.248 --> 00:02:28.489 แต่มันไม่มีความยาวคลื่น ดังนั้นเราจึงไม่ทราบโมเมนตัมของมัน 00:02:28.489 --> 00:02:31.600 การจะทราบทั้งตำแหน่งและโมเมนตัมของอนุภาค 00:02:31.600 --> 00:02:33.760 เราจำเป็นต้องรวมภาพสองภาพเข้าด้วยกัน 00:02:33.760 --> 00:02:37.163 เพื่อสร้างกราฟที่มีคลื่น แต่จำกัดให้อยู่เฉพาะในพื้นที่เล็กๆ 00:02:37.163 --> 00:02:38.800 จะทำมันได้อย่างไร 00:02:38.800 --> 00:02:41.554 ก็โดยการรวมคลื่น ที่มีความยาวคลื่นต่างๆ เข้าด้วยกัน 00:02:41.554 --> 00:02:46.528 ซึ่งทำให้อนุภาคควอนตัม มีโอกาสมีค่าโมเมนตัมได้หลายค่า 00:02:46.528 --> 00:02:49.282 เมื่อเรารวมคลื่น 2 อันเข้าด้วยกัน เราพบว่ามันมีบริเวณ 00:02:49.282 --> 00:02:52.055 ที่สันคลื่นเรียงกันทำให้เป็นคลื่นที่ใหญ่ขึ้น 00:02:52.055 --> 00:02:55.821 และบริเวณที่สันคลื่นหนึ่ง ไปซ้อนทับท้องคลื่นอีกอันหนึ่ง 00:02:55.821 --> 00:02:58.279 ผลก็คือ เราจะได้บริเวณที่เราพบคลื่น 00:02:58.279 --> 00:03:01.106 คั่นด้วยบริเวณที่ราบเรียบไม่มีคลื่น 00:03:01.106 --> 00:03:02.590 ถ้าเราเพิ่มคลื่นอันที่ 3 เข้าไป 00:03:02.590 --> 00:03:05.709 บริเวณที่ไม่มีคลื่นก็จะกว้างขึ้นไปอีก 00:03:05.709 --> 00:03:09.891 เพิ่มคลื่นอันที่ 4 มันก็จะกว้างขึ้นไปอีก พร้อมกับส่วนที่มีคลื่นจะแคบลงเรื่อยๆ 00:03:09.891 --> 00:03:13.089 ถ้าเราเพิ่มคลื่นเข้าไปเรื่อยๆ เราก็จะได้กลุ่มคลื่นเล็กๆ อันหนึ่ง 00:03:13.089 --> 00:03:16.168 ที่มีควาวยาวคลื่นชัดเจน อยู่ในบริเวณแคบๆ 00:03:16.168 --> 00:03:20.224 มันคือ วัตถุควอนตัม ที่มีคุณสมบัติเป็นทั้งคลื่นและอนุภาค 00:03:20.224 --> 00:03:23.311 การจะได้คุณสมบัตินี้มา เราต้องแลกกับความแน่นอน 00:03:23.311 --> 00:03:25.805 เกี่ยวกับตำแหน่งและโมเมตัม 00:03:25.805 --> 00:03:28.223 ตำแหน่งจะไม่ได้จำกัดอยู่ที่จุดเดียวอีกต่อไป 00:03:28.223 --> 00:03:30.918 มันมีโอกาสที่จะพบอนุภาคที่ตำแหน่งต่างๆ 00:03:30.918 --> 00:03:32.837 รอบๆ ศูนย์กลางของกลุ่มคลื่นนั้น 00:03:32.837 --> 00:03:35.586 ซึ่งกลุ่มคลื่นนั้นเกิดจากการรวมกันของคลื่นมากมาย 00:03:35.586 --> 00:03:38.012 ซึ่งความว่า มันมีโอกาสที่จะพบอนุภาค 00:03:38.012 --> 00:03:41.291 โดยมันจะมีโมเมนตัมเป็นของคลื่นย่อยอันไหนก็ได้ 00:03:41.291 --> 00:03:44.740 ตอนนี้ทั้งโมเมนตัมและตำแหน่ง มีความไม่แน่นอน 00:03:44.740 --> 00:03:46.816 และความไม่แน่นอนนั้นเกี่ยวโยงกัน 00:03:46.816 --> 00:03:49.209 ถ้าคุณต้องการลดความไม่แน่นอนของตำแหน่ง 00:03:49.209 --> 00:03:52.628 โดยการทำให้กลุ่มคลื่นมีขนาดเล็กลง ซึ่งจำเป็นต้องเพิ่มคลื่นเข้าไปอีก 00:03:52.628 --> 00:03:54.865 ซึ่งทำให้ความไม่แน่นอนของโมเมนตัม มากขึ้นไปด้วย 00:03:54.865 --> 00:03:58.047 แต่ถ้าคุณต้องการค่าโมเมนตัมที่ชัดเจนขึ้น ก็จำเป็นต้องทำให้กลุ่มคลื่นมีขนาดใหญ่ขึ้นไปด้วย 00:03:58.047 --> 00:04:01.012 ซึ่งทำให้ความไม่แน่นอนของตำแหน่งมีมากขึ้น 00:04:01.012 --> 00:04:03.221 นี่ก็คือ หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก 00:04:03.221 --> 00:04:08.207 ถูกกล่าวถึงครั้งแรก โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แวร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg) ในค.ศ. 1927 00:04:08.207 --> 00:04:12.589 ความไม่แน่นอนที่มี ไม่ได้เป็นผลมากจากวิธีการวัด 00:04:12.589 --> 00:04:17.107 แต่เป็นผลที่เลี่ยงไม่ได้จากธรรมชาติ ที่มีร่วมกันของอนุภาคและคลื่น 00:04:17.107 --> 00:04:20.663 หลักความไม่แน่นอนไม่เพียงแต่ เป็นข้อจำกัดของการวัดในทางปฏิบัติ 00:04:20.663 --> 00:04:23.733 แต่มันยังไปจำกัด ถึงคุณสมบัติใดก็ตามที่วัตถุสามารถมีได้ 00:04:23.737 --> 00:04:27.777 ซึ่งเป็นไปตามโครงสร้างที่เป็นรากฐานของเอกภพ