อาการเริ่มแรกของมะเร็ง มักมาด้วยการเจอก้อนเนื้องอก ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ถ้าก้อนเนื้องอกนั้นไม่ได้ถูกตัดออกไป มะเร็งก็จะสามารถแพร่ไปยังอวัยวะข้างเคียงได้ เช่นเดียวกับอวัยวะที่อยู่ไกล จากก้อนเนื้อร้าย เช่น สมอง มะเร็งสามารถกระจายไปยังที่ใหม่ๆ ได้อย่างไร ทำไมอวัยวะบางอันจึงมีโอกาสที่มะเร็ง จะกระจายไปมากกว่าอวัยวะอื่น? การแพร่กระจายมะเร็งไปส่วนต่างๆของร่างกาย เรียกว่า เมตาสแตซิส (metastasis) มันเริ่มต้นเมื่อเซลล์มะเร็งจากก้อนมะเร็งปฐมภูมิ ได้แพร่ไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ข้างเคียง ขณะที่เซลล์มะเร็งเติบโตขึ้น มี 3 วิธีที่มันใช้ในการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ได้แก่ ทางผนังเยื่อบุ ทางท่อน้ำเหลือง และ ทางหลอดเลือด กรณีที่กระจายไปตามผนังเยื่อบุ เซลล์มะเร็งจะแพร่ไปตามพื้นผิวของเยื่อบุต่างๆ ตามช่องว่างต่างๆในร่างกาย พื้นผิวเหล่านั้นรู้จักกันในชื่อ เยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) ซึ่งทำหน้าที่แบ่งช่องว่างในร่างกายออกเป็นส่วนต่างๆ ตัวอย่างเช่น มะเร็งรังไข่ เซลล์มะเร็งแพร่กระจายผ่านทางเยื่อบุช่องท้อง ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างตับกับรังไข่ ทำให้เกิดมะเร็งลุกลามขึ้นที่ผิวนอกของตับ วิธีถัดมา เซลล์มะเร็งลามเข้าสู่หลอดเลือด ทำให้เกิดการแพร่กระจายไปตามเส้นเลือด ซึ่งระบบหลอดเลือดนั้นกระจายไปเกือบทุกส่วนในร่างกาย เซลล์มะเร็งที่ลามเข้าสู่หลอดเลือด จึงกระจายไปอวัยวะที่อยู่ไกลๆ ได้ วิธีสุดท้าย การแพร่ทางท่อน้ำเหลือง เกิดขึ้นเมื่อมะเร็งลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง กระจายไปส่วนต่างๆของร่างกาย ผ่านระบบท่อน้ำเหลือง ระบบน้ำเหลืองนั้นมีอยู่ทั่วไป ในหลายๆ ส่วนของร่างกาย มันจึงเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ที่เซลล์มะเร็งใช้กระจายตัว นอกจากนี้ ท่อน้ำเหลืองยังไหลเข้าสู่ระบบหลอดเลือด ทำให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจาย ไปทางหลอดเลือดได้อีกทาง เมื่อเซลล์มะเร็งกระจายมาถึงอวัยวะใหม่ มันก็จะเริ่มเติบโต กระจายเป็นหย่อมก้อนมะเร็งขนาดเล็ก เรียกว่า ไมโครเมตาสแตซิส (micrometastases) จนเมื่อมันเติบโตจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ กระบวนการแพร่กระจายนี้ก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ เป็นที่รู้กันว่า มะเร็งแต่ละชนิดชอบ แพร่กระจายไปยังอวัยวะที่แตกต่างกัน เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มักจะกระจายไปยังกระดูก ขณะที่มะเร็งลำไส้ใหญ่ มักจะกระจายไปยังตับ มีหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบาย รูปแบบของการแพร่กระจาย ของเซลล์มะเร็งเหล่านี้ โดยมี 2 ทฤษฎีน่าสนใจ ที่ขับเคี่ยวกันมา ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ สตีเฟน พาเก็ท (Stephen Paget) เสนอทฤษฎี เมล็ดพันธ์ุและดิน (seed and soil) ทฤษฎีนี้บอกว่าเซลล์มะเร็งนั้นตายง่ายมาก ถ้าไปเติบโตผิดที่ผิดทาง ดังนั้นมันจึงแพร่กระจายไปยังที่ใหม่ ที่มีลักษณะคล้ายกับที่ที่ มันจากมา อย่างไรก็ตาม เจมส์ เออวิง (James Ewing) ศาสตราจารย์ทางพยาธิวิทยาท่านแรกจาก มหาวิทยาลัยคอร์เนล ไม่เห็นด้วยกับ ทฤษฎีเมล็ดพันธ์และดิน และได้เสนอว่า ตำแหน่งที่เซลล์มะเร็ง จะกระจายไปนั้นขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งของท่อน้ำเหลืองและหลอดเลือด ที่เชื่อมต่อกับก้อนมะเร็งปฐมภูมิ ผู้ป่วยที่มีมะเร็งปฐมภูมิ ที่เชื่อมต่อกับหลอดเลือดที่ไปยังปอด มักพบมีการกระจายของมะเร็งทุติยภูมิที่ปอด ทุกวันนี้ เรารู้ว่าทั้งสองทฤษฎีมีส่วนถูก แต่การจะอธิบายถึงการแพร่กระจาย ของมะเร็งให้คลอบคลุมทั้งหมด ยุ่งยากซับซ้อนเกินกว่าที่จะอธิบาย โดยลำพังแค่สองทฤษฏีนี้ ปัจจัย เช่น คุณลักษณะของตัวเซลล์มะเร็งเอง หรือ ประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน ในการจัดการกับเซลล์มะเร็ง มีผลต่อการที่มะเร็งนั้น จะแพร่กระจายไปหรือไม่ โชคร้ายที่ยังมีอีกหลายคำถามเกี่ยวกับ การกระจายของมะเร็งที่ยังไม่มีคำตอบ การเข้าใจกลไกที่ถูกต้องจะเป็นกุญแจสำคัญ ในการหาวิธีรักษามะเร็งระยะลุกลาม โดยการศึกษาถึงปัจจัย ทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ที่มีส่วนช่วยให้เกิดการแพร่กระจายของมะเร็ง จะทำให้เราสามารถหาวิธี ที่จะหยุดการแพร่กระจายได้อย่างตรงจุด การต่อสู้กับโรคมะเร็งนั้นยืดเยื้อ และนักวิทยาศาตร์ทำงานกันอย่างหนัก เพื่อพัฒนาวิธีใหม่ๆในการรักษามะเร็ง วิธีที่น่าสนใจเมื่อเร็วๆนี้ คือ ภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) วิธีที่อาศัยประโยชน์จาก ระบบภูมิคุ้มของร่างกาย เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจาย ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในหลายแนวทาง เช่น การทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน รู้จักกับเซลล์มะเร็งโดยใช้วัคซีน การเพิ่มจำนวนและประสิทธิภาพของ เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ด้วยการฉีดสารอินเตอร์ลิวคิน ที่สังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถูกปล่อยออกมา ตามธรรมชาติโดยเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน สองตัวอย่างนี้เป็นเพียงแค่ส่วนน้อย ของงานวิจัยทั้งหมด ด้วยงานวิจัยที่อาศัยการร่วมมือกันของรัฐบาล บริษัทเอกชน และนักวิทยาศาตร์ อาจจะค้นพบวิธีหยุดยั้ง การแพร่กระจายของมะเร็งได้อย่างถาวร