WEBVTT 00:00:06.412 --> 00:00:10.558 หากคุณและเพื่อนติดเกาะร้าง 00:00:10.558 --> 00:00:13.610 และต้องทอยลูกเต๋าแย่งกล้วยลูกสุดท้าย 00:00:13.610 --> 00:00:15.604 กฎที่ตกลงกันคือ 00:00:15.604 --> 00:00:17.146 คุณทั้งคู่จะทอยลูกเต๋าสองลูก 00:00:17.146 --> 00:00:21.069 หากทอยแล้วออกหน้าสูงสุดเป็น 1, 2, 3, หรือ 4 00:00:21.069 --> 00:00:23.353 ผู้เล่นคนแรกจะเป็นผู้ชนะ 00:00:23.353 --> 00:00:28.326 แต่หากเลขสูงสุดที่ทอยได้เป็น 5 หรือ 6 ผู้เล่นคนที่สองจะเป็นผู้ชนะ 00:00:28.326 --> 00:00:30.154 ลองดูกันอีกสัก 2 รอบ 00:00:30.154 --> 00:00:33.247 รอบนี้ผู้เล่นคนแรกชนะ 00:00:33.247 --> 00:00:35.971 และรอบนี้ผู้เล่นคนที่สองชนะ 00:00:35.971 --> 00:00:37.741 คุณอยากเป็นผู้เล่นคนไหน 00:00:37.741 --> 00:00:42.207 หากมองเผินๆ ผู้เล่นคนแรก อาจดูได้เปรียบ 00:00:42.207 --> 00:00:46.222 เพราะจะชนะหากเลขใดเลขหนึ่ง ในเลข 4 ตัวที่เลือกมีค่าสูงสุด 00:00:46.222 --> 00:00:47.236 แต่ที่จริงแล้ว 00:00:47.236 --> 00:00:53.619 ผู้เล่นคนที่สองมีโอกาสชนะแต่ละรอบ ราวร้อยละ 56 00:00:53.619 --> 00:00:57.527 วิธีหนึ่งที่จะมองเกมนี้ให้ออก คือไล่เรียงการจัดหมู่ทุกแบบที่เป็นไปได้ 00:00:57.527 --> 00:00:59.527 จากการทอยลูกเต๋า 2 ลูก 00:00:59.527 --> 00:01:02.674 แล้วนับรูปแบบที่ผู้เล่นแต่ละคนชนะ 00:01:02.674 --> 00:01:05.308 นี่คือรูปแบบที่ลูกเต๋าสีเหลืองที่ทอยออกได้ 00:01:05.308 --> 00:01:07.784 ส่วนนี่คือรูปแบบของการทอยลูกเต๋าสีน้ำเงิน 00:01:07.784 --> 00:01:13.214 ช่องในตารางแสดงการจัดหมู่ ที่เป็นไปได้เมื่อทอยลูกเต๋า 2 ลูก 00:01:13.214 --> 00:01:15.269 หากทอยลูกเต๋าได้ 4 และ 5 00:01:15.269 --> 00:01:17.445 เราจะใส่ในช่องนี้ ว่าผู้เล่นคนที่สองชนะ 00:01:17.445 --> 00:01:22.496 ถ้าทอยได้ 3 และ 1 ผู้เล่นคนที่หนึ่งจะเป็นผู้ชนะ 00:01:22.496 --> 00:01:24.817 ทั้งหมดจัดหมู่ได้ 36 แบบ 00:01:24.817 --> 00:01:28.091 แต่ละแบบมีโอกาสเกิดเท่ากัน 00:01:28.091 --> 00:01:31.236 นักคณิตศาสตร์เรียกเหตุการณ์แบบนี้ว่า มีความน่าจะเป็นเท่ากัน 00:01:31.236 --> 00:01:34.801 เราจึงเห็นแล้วว่า ทำไมที่มองเผินๆ ทีแรกจึงผิด 00:01:34.801 --> 00:01:37.466 แม้ผู้เล่นคนแรกจะมีเลขที่ทอยแล้วชนะ ถึง 4 เลข 00:01:37.466 --> 00:01:39.560 และผู้เล่นคนที่สองมีแค่ 2 เลข 00:01:39.560 --> 00:01:43.704 แต่โอกาสที่เลขแต่ละตัวจะมีค่าสูงสุดนั้นไม่เท่ากัน 00:01:43.704 --> 00:01:48.681 นั่นคือ เลข 1 มีโอกาสเพียง 1 ใน 36 ที่จะเป็นเลขที่มีค่ามากสุด 00:01:48.681 --> 00:01:52.857 แต่เลข 6 มีโอกาส 11 ใน 36 ที่จะมีค่ามากสุด 00:01:52.857 --> 00:01:55.586 ดังนั้น หากทอยได้แบบต่อไปนี้ 00:01:55.586 --> 00:01:57.473 ผู้เล่นคนแรกจะเป็นผู้ชนะ 00:01:57.473 --> 00:01:59.668 แต่หากทอยได้แบบต่อไปนี้ 00:01:59.668 --> 00:02:01.397 ผู้เล่นคนที่สองจะเป็นผู้ชนะ 00:02:01.397 --> 00:02:03.719 จากการจัดหมู่ที่เป็นไปได้ทั้งหมด 36 แบบ 00:02:03.719 --> 00:02:09.818 16 แบบจะทำให้ผู้เล่นคนแรกชนะ และ 20 แบบจะทำให้ผู้เล่นคนที่สองชนะ 00:02:09.818 --> 00:02:12.163 หรือจะมองแบบนี้ก็ได้ 00:02:12.163 --> 00:02:14.359 ผู้เล่นคนแรกจะชนะได้ 00:02:14.359 --> 00:02:18.639 ก็ต่อเมื่อลูกเต๋าทั้งสองลูก ออกหน้าเป็นเลข 1, 2, 3, หรือ 4 00:02:18.639 --> 00:02:21.596 ถ้าออกเป็นเลข 5 หรือ 6 ผู้เล่นคนที่สองจะเป็นผู้ชนะ 00:02:21.596 --> 00:02:26.705 โอกาสที่จะทอยลูกเต๋าลูกแรก ได้ 1, 2, 3 หรือ 4 คือ 4 ใน 6 00:02:26.705 --> 00:02:30.556 ผลการทอยลูกเต๋าแต่ละลูก เป็นอิสระจากกัน 00:02:30.556 --> 00:02:33.869 เราคำนวณความน่าจะเป็นร่วม ของเหตุการณ์ที่เป็นอิสระจากกันได้ 00:02:33.869 --> 00:02:36.386 ด้วยการจับความน่าจะเป็นมาคูณกัน 00:02:36.386 --> 00:02:40.822 ดังนั้น โอกาสที่จะทอยลูกเต๋า ออกเลข 1, 2, 3 หรือ 4 ทั้ง 2 ลูก 00:02:40.822 --> 00:02:46.279 คือ 4/6 คูณ 4/6 หรือ 16/36 00:02:46.279 --> 00:02:48.467 เนื่องจากต้องมีผู้ชนะ 00:02:48.467 --> 00:02:54.502 โอกาสที่ผู้เล่นคนที่สองจะชนะคือ 36/36 ลบ 16/36 00:02:54.502 --> 00:02:57.303 หรือ 20/36 นั่นเอง 00:02:57.303 --> 00:03:01.409 ความน่าจะเป็นที่ได้จะเท่ากับที่ได้ จากตารางเมื่อสักครู่นี้ 00:03:01.409 --> 00:03:04.045 ทั้งนี้ ไม่ได้แปลว่าผู้เล่นคนที่สองจะชนะ 00:03:04.045 --> 00:03:09.413 หรือแปลว่าถ้าเราเล่นเป็นผู้เล่นคนที่สอง 36 เกมแล้วเราจะชนะ 20 เกม 00:03:09.413 --> 00:03:12.624 ด้วยเหตุนี้เราจึงเรียกเหตุการณ์ เช่น การทอยลูกเต๋า ว่าเป็นเหตุการณ์สุ่ม 00:03:12.624 --> 00:03:15.903 นั่นคือ แม้จะคำนวณ ความน่าจะเป็นทางทฤษฎี 00:03:15.903 --> 00:03:17.415 ของผลแต่ละแบบแล้ว 00:03:17.415 --> 00:03:22.070 ก็อาจไม่ได้ผลตามที่คำนวณ ถ้าสังเกตเหตุการณ์เพียงไม่กี่ครั้ง 00:03:22.070 --> 00:03:26.417 แต่ถ้าเราสุ่มเหตุการณ์นี้ซ้ำหลายครั้งมาก ๆ 00:03:26.417 --> 00:03:30.357 ความถี่ที่จะเกิดผลแบบใดแบบหนึ่ง เช่น เหตุการณ์ที่ผู้เล่นคนที่สองชนะ 00:03:30.357 --> 00:03:33.418 ก็จะเข้าใกล้ความน่าจะเป็นทางทฤษฎี 00:03:33.418 --> 00:03:36.372 หรือค่าที่เราได้ จากการไล่เรียงความเป็นไปได้ทั้งหมด 00:03:36.372 --> 00:03:39.039 แล้วนับความเป็นไปได้ของผลแต่ละแบบ 00:03:39.039 --> 00:03:42.994 ฉะนั้น หากนั่งทอยลูกเต๋าบนเกาะร้างตลอดไป 00:03:42.994 --> 00:03:46.913 ในท้ายที่สุด ผู้เล่นคนที่สองจะชนะเกมถึงร้อยละ 56 00:03:46.913 --> 00:03:49.995 ในขณะที่ผู้เล่นคนแรกจะชนะร้อยละ 44 00:03:49.995 --> 00:03:53.564 แต่ป่านนั้น กล้วยคงจะหายไปแล้วล่ะ