เรื่องเก่าเล่าว่า นักธนูมือฉมังในตำนาน "วิลเลียม เทล" ถูกบังคับให้รับคำท้าที่แสนจะโหดร้าย จากขุนนางผู้ฉ้อฉล ลูกชายของวิลเลี่ยมจะถูกประหารชีวิต เว้นเสียแต่ว่าวิลเลียมจะสามารถยิง ลูกแอปเปิ้ลบนศีรษะลูกเขาได้ วิลเลี่ยมทำได้สำเร็จ แต่สมมุติว่า เรื่องราวนี้มีรายละเอียดได้สองแบบ ในแบบแรก ขุนนางท่านนั้นจ้างโจร มาขโมยธนูคู่ใจของวิลเลียมไป เขาจึงต้องไปขอยืมธนู คุณภาพต่ำจากชาวนา แต่อย่างไรก็ตาม ธนูที่ยืมมาก็ใช้การได้ไม่ค่อยถนัด และวิลเลียมก็พบว่าลูกธนูจากการฝึกยิง กระจายอยู่ในบริเวณที่ต่ำกว่ากลางเป้า โชคดีที่วิลเลียมนั้นยังมีเวลาปรับแก้ ก่อนมันจะสายเกินไป ในแบบที่สอง วิลเลียมเริ่มสงสัยในทักษะของเขา ก่อนที่จะถึงเวลาท้าประลอง และมือเขาเริ่มสั่น ลูกธนูจากการฝึกยิง ยังคงอยู่กลุ่มรอบ ๆ แอปเปิ้ล แต่อยู่ในรูปแบบที่ไม่แน่นอน บางครั้ง เขายิงโดนแอปเปิ้ล แต่ด้วยอาการสั่น ไม่มีอะไรจะรับประกันได้ว่าเขาจะยิงตรงเป้า จนเขาต้องแก้ปัญหามือที่สั่นนั่น และทำให้การเล็งเป้ามีความแน่นอน เพื่อที่จะช่วยลูกชายของเขา หัวใจของสองกรณีที่แตกต่างกันนี้ มีคำศัพท์ที่ใช้แทนกันได้อยู่สองคำ ความแม่นตรงและความแม่นยำ ความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ มีความสำคัญอย่างมาก สำหรับ การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์มากมาย ความแม่นตรงเกี่ยวข้องกับว่า คุณเข้าใกล้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแค่ไหน ความแม่นตรงของคุณจะเพิ่มขึ้น เมื่อใช้ อุปกรณ์ที่ถูกปรับค่ามาตรฐานมาอย่างถูกต้อง และเป็นอุปกรณ์ที่คุณมีความคุ้นเคย กับมันเป็นอย่างดี ในทางตรงกันข้ามความแม่นตรง คือความคงเส้นคงวาของผลลัพธ์ที่ได้ เมื่อใช้วิธีเดียวกัน ความแม่นตรงจะเพิ่มขึ้น เมื่อความปราณีตของเครื่องมือนั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ความต้องการ ในการประมาณค่าลดลง เรื่องเล่าของธนูที่ถูกขโมยเกี่ยวข้อง กับความแม่นยำแต่ไม่มีความแม่นตรง วิลเลียมได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดซ้ำ ๆ กัน ทุก ๆ ครั้งที่เขายิง เรื่องราวที่วิลเลียมมือสั่นคือตัวอย่าง ของความแม่นตรงที่ไม่มีความแม่นยำ ลูกธนูอยู่เป็นกลุ่มรอบ ๆ ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แต่ไม่มีความแน่นอนว่าจะเข้าเป้า สำหรับการยิงในครั้งใด ๆ ก็ตาม คุณเอาตัวรอดได้จากความแม่นตรงที่ต่ำ หรือความแม่นยำที่ต่ำ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่บ่อยครั้งเหล่าวิศวกรและนักวิจัย ต้องการความแม่นตรง ในระดับที่ละเอียดมาก และความแน่นอนว่า จะต้องถูกต้องในทุก ๆ ครั้ง โรงงานและห้องปฏิบัติการ เพิ่มความแม่นยำ ด้วยอุปกรณ์ที่ดีกว่า และขั้นตอนการที่มีรายละเอียดมากกว่า การปรับปรุงเหล่านี้อาจมีราคาสูง ดังนั้นผู้จัดการจะต้องตัดสินใจ ว่าความไม่แน่นอนที่ยอมรับได้ ของแต่ละโครงการนั้นคือเท่าไร อย่างไรก็ตาม การลงทุนในความแม่นยำนั้น สามารถพาเราไปได้ไกลได้มากกว่าที่เคย อาจไกลถึงดาวอังคาร คุณอาจแปลกใจ ที่นาซ่าไม่ได้รู้อย่างแน่ชัดว่า ยานสำรวจของเขาจะลงจอด บนดาวเคราะห์อีกดวงในตำแหน่งใด การคาดคะเนว่ามันจะลงจอดตรงไหน ต้องใช้การคำนวณมากมาย ที่ได้จากการวัด ที่ไม่ได้ให้คำตอบที่แม่นยำเสมอไป ความหนาแน่นชั้นบรรยากาศที่ดาวอังคาร เปลี่ยนแปลงที่ระดับความสูงต่าง ๆ อย่างไร ยานสำรวจจะแตะบรรยากาศ ด้วยองศาเท่าไหร่ ความเร็วของยานสำรวจตอนเริ่มเข้า สู่ชั้นบรรยากาศของดาวจะเป็นเท่าไหร่ คอมพิวเตอร์จำลองการจอด ในแบบต่าง ๆ หลายพันแบบ ผสมผสานและเทียบค่าต่าง ๆ สำหรับตัวแปรทั้งหมด ถ่วงน้ำหนักความเป็นไปได้ทั้งหมด คอมพิวเตอร์บอกพื้นที่การลงจอดที่เป็นไปได้ ในรูปแบบวงรีการลงจอด ในปี ค.ศ. 1976 วงรีการลงจอด สำหรับยานมาร์ส ไวกิง แลนเดอร์ คือ 62 x 174 ไมล์ ซึ่งมีพื้นที่ใกล้เคียงกับรัฐนิวเจอร์ซี ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ ทำให้นาซ่าจำเป็นต้องละทิ้งพื้นที่การลงจอด ที่น่าสนใจแต่มีความเสี่ยง ตั้งแต่นั้นมา ข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ช่วยปรับปรุงเทคโนโลยีอากาศยาน และการจำลองทางคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ มากขึ้น ก็ลดความไม่แน่นอนลดลงอย่างมาก ในปี ค.ศ. 2012 วงรีการลงจอด ของยานคิวริออสซิที แลนเดอร์ กว้างแค่ 4 ไมล์ และยาว 12 ไมล์ มีพื้นที่เล็กกว่าของยานไวกิงราว 200 เท่า สิ่งนี้ทำให้นาซ่าระบุตำแหน่งลงจอด ในปล่องภูเขาไฟเกลได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นจุดที่ไม่เคยลงจอดมาก่อน และน่าทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ขณะที่พวกเราพยายามความแม่นตรงสูงสุด ความแม่นยำแสดงให้เห็นถึงความแน่นอน ของการทำให้ได้มันมาอย่างน่าเชื่อถือ ด้วยหลักการทั้งสองนี้ เราสามารถมุ่งไปหาดวงดาว และมีความมั่นใจว่าจะไปถึงมันได้ในทุกครั้ง