Return to Video

รู้จักวิกฤตเครดิตด้วยภาพ - HD

  • 0:00 - 0:05
    รู้จัก “วิกฤตเครดิต” ด้วยภาพ
  • 0:09 - 0:10
    “วิกฤตเครดิต” คืออะไร?
  • 0:10 - 0:17
    มันคือความเหลวแหลกของภาคการเงินทั่วโลก เต็มไปด้วยคำที่คุณไม่เคยได้ยินอย่าง “สินเชื่อที่อยู่อาศัยซับไพรม์”
  • 0:17 - 0:23
    “หลักทรัพย์อิงสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือ ซีดีโอ” “ตลาดสินเชื่อแช่แข็ง” และ “ประกันผิดนัดชำระหนี้ หรือ ซีดีเอส”
  • 0:23 - 0:26
    ใครถูกกระทบบ้างล่ะ? ทุกคนเลย
  • 0:26 - 0:28
    มันเกิดขึ้นอย่างไร มาดูกัน
  • 0:28 - 0:31
    วิกฤตซับไพรม์ชักจูงคนสองกลุ่มให้มาเจอกัน
  • 0:31 - 0:33
    เจ้าของบ้าน กับนักลงทุน
  • 0:34 - 0:39
    เจ้าของบ้านผ่อนสินเชื่อที่อยู่อาศัย นักลงทุนก็เอาเงินมา
  • 0:39 - 0:44
    สิ่งที่อยู่ใต้สินเชื่อที่อยู่อาศัยก็คือบ้าน ส่วนสิ่งที่อยู่เบื้องหลังเงินทุนก็คือสถาบันใหญ่ๆ
  • 0:44 - 0:50
    อย่างเช่นกองทุนบำนาญ บริษัทประกัน กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนรวม และอื่นๆ
  • 0:50 - 0:57
    สองกลุ่มนี้มาเจอกันผ่านระบบการเงิน – กลุ่มธนาคารและนายหน้าค้าหลักทรัพย์ที่เราเรียกว่า ภาคการเงิน
  • 0:57 - 1:04
    อาจดูไม่เหมือน แต่ธนาคารเหล่านี้ใกล้ชิดกับบ้านเรือนกว่าที่เราคิด
  • 1:04 - 1:07
    เพื่อความเข้าใจ มาเริ่มกันที่จุดตั้งต้นดีกว่า
  • 1:07 - 1:11
    หลายปีก่อน นักลงทุนนั่งทับเงินมหาศาล
  • 1:11 - 1:15
    มองหาโอกาสการลงทุนดีๆ จะได้มีเงินมากขึ้น
  • 1:15 - 1:22
    ปกติพวกเขาไปที่ธนาคารกลาง ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุด
  • 1:22 - 1:26
    แต่หลังจากที่ฟองสบู่ดอทคอมแตก เกิดโศกนาฏกรรม 9/11
  • 1:26 - 1:33
    อลัน กรีนสแปน ประธานธนาคารกลาง ก็ลดดอกเบี้ยลงเหลือแค่ร้อยละ 1 เพื่อพยุงเศรษฐกิจ
  • 1:33 - 1:39
    ร้อยละ 1 นี่ถือว่าเป็นผลตอบแทนการลงทุนที่ต่ำมาก นักลงทุนเลยไม่เอา
  • 1:39 - 1:46
    แต่ในแง่บวก มันแปลว่าธนาคารกู้เงินจากธนาคารกลางได้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 เท่านั้นเอง
  • 1:46 - 1:51
    นอกจากนั้นยังมีเงินไหลเข้าจากญี่ปุ่น จีน ตะวันออกกลาง
  • 1:51 - 1:54
    มีเงินเหลือเฟือให้กู้
  • 1:54 - 2:00
    ทำให้ธนาคารกู้เงินง่ายมาก พวกเขาก็เลยรีบ.... กู้เงินมาลงทุน
  • 2:01 - 2:07
    การกู้เงินมาลงทุน คือการกู้เงินมาทำให้ผลลัพธ์ทวีคูณ
  • 2:07 - 2:15
    มันทำงานอย่างนี้: ในดีลปกติ คนที่มีเงิน $10,000 ซื้อกล่องในราคา $10,000
  • 2:16 - 2:20
    แล้วเอาไปขายคนอื่นในราคา $11,000
  • 2:22 - 2:25
    ทำกำไร $1,000 ไม่เลวเลย
  • 2:25 - 2:33
    แต่ถ้าเป็นการใช้เงินกู้มาลงทุน คนที่มี $10,000 จะไปกู้เงินมาอีก 990,000 เหรียญสหรัฐ
  • 2:37 - 2:40
    ทำให้เขามีเงินในมือ $1,000,000
  • 2:40 - 2:47
    เสร็จแล้วก็เอา $1,000,000 ไปซื้อกล่องมา 100 กล่อง
  • 2:47 - 2:53
    ขายให้คนอื่นในราคา $1,100,000
  • 2:55 - 3:01
    เสร็จแล้วก็จ่ายคืนเงินกู้ $990,000 บวกดอกเบี้ยอีก $10,000
  • 3:02 - 3:09
    ดังนั้นจากเงินตัวเอง $10,000 เขาได้กำไรถึง $90,000 เทียบกับกำไร $1,000 ของคนที่ไม่ได้กู้มาลงทุน
  • 3:09 - 3:16
    การกู้เงินมาลงทุนแปลงดีลโอเคให้เป็นดีลเจ๋งมาก นี่เป็นวิธีหากำไรหลักของธนาคาร
  • 3:16 - 3:24
    ภาคการเงินเลยไปกู้เงินมหาศาลมาทำดีเจ๋งมาก แล้วก็ร่ำรวยมหาศาล
  • 3:25 - 3:26
    แล้วก็ใช้หนี้
  • 3:28 - 3:34
    นักลงทุนเห็นภาพแบบนี้ อยากมีเอี่ยวด้วย ภาคการเงินเลยปิ๊งไอเดีย
  • 3:34 - 3:40
    เชื่อมนักลงทุนกับเจ้าของบ้านผ่านสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้
  • 3:43 - 3:45
    มันทำงานแบบนี้
  • 3:45 - 3:51
    ครอบครัวอยากได้บ้าน ออมเงินพอจ่ายเงินดาวน์ แล้วไปติดต่อนายหน้าขายบ้าน
  • 3:51 - 3:57
    นายหน้าแนะนำครอบครัวให้กับธนาคาร ธนาคารปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้
  • 3:57 - 3:59
    นายหน้าได้ค่านายหน้างามๆ
  • 4:00 - 4:03
    ครอบครัวนี้ซื้อบ้าน กลายเป็นเจ้าของบ้าน
  • 4:03 - 4:10
    ดีกับพวกเขามาก เพราะราคาบ้านมีแต่ขึ้นไม่เคยลงเท่าที่เคยเห็น ทุกอย่างลงตัวสวยงาม
  • 4:11 - 4:16
    วันหนึ่ง เจ้าหนี้ได้รับโทรศัพท์จากวาณิชธนกรที่อยากซื้อสินเชื่อที่อยู่อาศัย
  • 4:16 - 4:19
    เจ้าหนี้ขายให้แลกกับค่าธรรมเนียมงามๆ
  • 4:20 - 4:27
    เสร็จแล้ววาณิชธนกรก็ไปยืมเงินมาหลายล้านเหรียญ ซื้อสินเชื่อที่อยู่อาศัยมาอีกหลายพันสัญญา
  • 4:27 - 4:29
    แล้วใส่มันลงไปในกล่องสวยๆ
  • 4:30 - 4:35
    นั่นแปลว่าทุกเดือนเขาจะได้เงินค่างวดจากเจ้าของบ้าน ซึ่งเป็นลูกหนี้สินเชื่อทั้งหมดที่อยู่ในกล่อง
  • 4:37 - 4:41
    เขาสั่งให้พ่อมดการเงินมาเสกคาถา
  • 4:42 - 4:45
    คือหั่นมันออกเป็นเสี้ยวๆ
  • 4:45 - 4:49
    "ปลอดภัย โอเค กับ เสี่ยงสูง"
  • 4:49 - 4:56
    พวกเขาอัดเสี้ยวต่างๆ เข้าไปในกล่องใหม่ เรียกมันว่า หลักทรัพย์อิงสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือ ซีดีโอ
  • 4:56 - 5:00
    ซีอีโอทำงานเหมือนถาดสามชั้นที่เรียงกันเป็นทอด
  • 5:00 - 5:08
    พอเงินไหลเข้า ถาดบนสุดจะเต็มก่อน แล้วค่อยล้นออกมาใส่ถาดที่สอง อะไรก็ตามที่ยังเหลือจะไหลไปใบสุดท้าย
  • 5:08 - 5:11
    เงินไหลมาจากเงินค่างวด จากเจ้าของบ้านที่ผ่อนสินเชื่อ
  • 5:12 - 5:15
    ถ้าเจ้าของบ้านผ่อนไม่ได้ ผิดนัดชำระหนี้
  • 5:15 - 5:19
    เงินก็ไหลเข้าน้อยลง ถาดใบล่างสุดอาจไม่เต็ม
  • 5:19 - 5:23
    แปลว่าถาดใบล่างสุดเสี่ยงสูงกว่า ถาดใบบนสุดปลอดภัยกว่า
  • 5:24 - 5:26
    ถาดใบล่างสุดได้รับค่าตอบแทนความเสี่ยงที่สูงกว่า
  • 5:26 - 5:33
    ด้วยการได้ผลตอบแทนดีกว่าถาดใบบนสุด ซึ่งได้ผลตอบแทนน้อยกว่าแต่ก็ยังดูดี
  • 5:33 - 5:40
    ธนาคารทำให้ถาดบนสุดปลอดภัยกว่านั้นอีกด้วยการขายประกันการผิดนัดชำระหนี้ให้ เรียกว่า ซีดีเอส
  • 5:41 - 5:49
    ธนาคารทำแบบนี้เพื่อให้สถาบันจัดอันดับเครดิตแปะป้ายถาดบนสุดว่า การลงทุนที่ปลอดภัย คืออันดับ AAA
  • 5:49 - 5:51
    ซึ่งเป็นระดับการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุด
  • 5:52 - 5:57
    ถาดใบกลาง เสี้ยวโอเค ได้อันดับ BBB ซึ่งก็ยังโอเคอยู่ พวกเขาไม่เสียเวลาจัดอันดับถาดใบล่างสุด
  • 5:58 - 6:06
    อันดับ AAA ทำให้วาณิชธนกรสามารถขายเสี้ยวปลอดภัยให้กับนักลงทุนที่อยากได้แต่การลงทุนที่ปลอดภัย
  • 6:07 - 6:13
    เขาขายเสี้ยว "โอเค" ให้กับธนาคารอื่น และขายเสี้ยวเสี้ยงสูงให้กับกองทุนเฮดจ์ฟันด์และคนอื่นที่อยากเสี่ยง
  • 6:14 - 6:17
    วาณิชธนกรทำเงินได้หลายล้าน
  • 6:18 - 6:20
    แล้วก็จ่ายหนี้คืน
  • 6:21 - 6:27
    สุดท้ายนักลงทุนก็พบการลงทุนที่ดี ดีกว่าพันธบัตรรัฐบาล 1% มาก
  • 6:27 - 6:30
    พวกเขาดีใจมากจนอยากได้เสี้ยวซีดีโออีก
  • 6:30 - 6:35
    วาณิชธนกรจึงโทรฯ หาเจ้าหนี้ บอกว่าอยากได้สินเชื่อที่อยู่อาศัยอีก
  • 6:35 - 6:38
    เจ้าหนี้โทรหานายหน้า บอกให้หาเจ้าของบ้านมาอีก
  • 6:39 - 6:41
    แต่นายหน้าหาเจ้าของบ้านไม่เจอแล้ว
  • 6:41 - 6:45
    ทุกคนที่ผ่านเกณฑ์สินเชื่อตอนนี้มีบ้านกันหมดแล้ว
  • 6:45 - 6:47
    แต่พวกเขามีไอเดีย
  • 6:51 - 6:58
    พอเจ้าของบ้านผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ยึดบ้าน แต่บ้านนั้นราคาสูงขึ้นตลอด
  • 6:59 - 7:01
    ในเมื่อเจ้าหนี้ขายบ้านได้คุ้มยอดสินเชื่อที่หายไป
  • 7:02 - 7:07
    พวกเขาจึงเพิ่มความเสี่ยงให้กับสินเชื่อใหม่ๆ ได้ เริ่มจากบอกให้คนไม่ต้องดาวน์
  • 7:07 - 7:10
    ไม่ต้องพิสูจน์ว่ามีรายได้ ไม่ต้องมีเอกสารอะไรเลย!
  • 7:11 - 7:13
    นั่นคือสิ่งที่พวกเขาทำ
  • 7:13 - 7:18
    แทนที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับเจ้าของบ้านที่รับผิดชอบ เรียกว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับลูกค้าชั้นดี (prime)
  • 7:18 - 7:23
    พวกเขาก็เริ่มปล่อยให้กับคนที่ เอ่อ ไม่ค่อยรับผิดชอบเท่าไร
  • 7:23 - 7:25
    นั่นคือสินเชื่อซับไพรม์ (subprime)
  • 7:26 - 7:28
    นั่นคือจุดเปลี่ยน
  • 7:31 - 7:37
    เหมือนกับทุกครั้ง นายหน้าสินเชื่อเชื่อมครอบครัวให้กับเจ้าหนี้
  • 7:37 - 7:39
    ได้ค่านายหน้าไป
  • 7:39 - 7:41
    ครอบครัวซื้อบ้านหลังใหญ่
  • 7:42 - 7:45
    เจ้าหนี้ขายสินเชื่อที่อยู่อาศัยต่อไปให้กับวาณิชธนกร
  • 7:47 - 7:49
    ซึ่งแปลงมันเป็นซีดีโอ
  • 7:50 - 7:53
    แล้วก็เอาเสี้ยวต่างๆ ไปขายให้นักลงทุนและคนอื่น
  • 7:53 - 7:58
    ดีลนี้เจ๋งสำหรับทุกคน พวกเขาร่ำรวยกันถ้วนหน้า
  • 7:59 - 8:04
    ไม่มีใครกังวลใจ เพราะทันทีที่ขายสินเชื่อไปให้กับคนต่อไป มันก็ไม่ใช่ปัญหาของเขาแล้ว
  • 8:05 - 8:08
    ถ้าเจ้าของบ้านเริ่มผิดนัดชำระหนี้ พวกเขาก็ไม่สน
  • 8:08 - 8:12
    เพราะกำลังขายความเสี่ยงต่อไปอีกทอด ทำเงินได้หลายล้าน
  • 8:12 - 8:15
    มันเหมือนเล่นเกมโมราเรียกชื่อ แต่ใช้ระเบิดเวลาแทน
  • 8:16 - 8:22
    ไม่น่าแปลกใจ ไม่นานเจ้าของบ้านก็ผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งตอนนี้เป็นของเจ้าหนี้ธนาคาร
  • 8:22 - 8:28
    แปลว่าธนาคารไปยึดบ้าน เงินค่างวดหนึ่งเดือนกลายเป็นบ้าน
  • 8:28 - 8:31
    เรื่องกล้วยๆ เขาเอาบ้านไปขาย
  • 8:33 - 8:37
    แต่เงินค่างวดกลายเป็นบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 8:39 - 8:46
    ตอนนี้ในตลาดมีบ้านประกาศขายมากมาย มีอุปทานมากกว่าอุปสงค์
  • 8:46 - 8:50
    ราคาบ้านก็ไม่พุ่งสูงอีกแล้ว ที่จริงมันดิ่งเหวเลย
  • 8:52 - 8:57
    ทำให้เกิดปัญหาที่น่าสนใจสำหรับเจ้าของบ้านที่ยังผ่อนอยู่
  • 8:57 - 9:03
    พอบ้านในละแวกของเขาทยอยถูกประกาศขายไปทีละหลัง มูลค่าบ้านของพวกเขาก็ลดลง
  • 9:03 - 9:08
    พวกเขาเริ่มข้องใจว่าผ่อนสินเชื่อ $300,000 อยู่ทำไม
  • 9:08 - 9:12
    ในเมื่อตอนนี้บ้านมีมูลค่า $90,000 เท่านั้นเอง
  • 9:12 - 9:17
    พวกเขาตัดสินใจว่าไม่คุ้มที่จะผ่อนต่อ แม้ว่าจะมีกำลังผ่อน
  • 9:17 - 9:22
    พวกเขาเดินหนีออกจากบ้าน กระแสอัตราการผิดนัดพุ่งทั่วประเทศ ราคาดิ่งเหว
  • 9:23 - 9:27
    ตอนนี้วาณิชธนกรเท่ากับถือกล่องที่เต็มไปด้วยบ้านไร้ค่า
  • 9:27 - 9:35
    เขาโทรฯ หาเพื่อนนักลงทุน พยายามขายซีดีโอ แต่นักลงทุนไม่โง่ บอกว่าไม่เอาแล้ว ขอบคุณ
  • 9:35 - 9:39
    เขารู้ดีว่าเงินหยุดไหล ไม่มีแม้แต่หนึ่งหยด
  • 9:39 - 9:43
    วาณิชธนกรพยายามขายให้ทุกคน แต่ไม่มีใครอยากซื้อระเบิดเวลา
  • 9:44 - 9:49
    เขากำลังประสาทกินเพราะกู้เงินมาหลายล้าน บางทีหลายพันล้าน เพื่อมาซื้อระเบิดเวลา
  • 9:49 - 9:54
    ตอนนี้เขาชำระหนี้ไม่ได้ ไม่ว่าจะพยายามอย่างไรก็กำจัดระเบิดนี่ไม่ได้
  • 9:57 - 9:58
    แต่เขาไม่ใช่คนเดียว
  • 9:59 - 10:03
    นักลงทุนที่ซื้อระเบิดเวลาไปแล้วหลายพันลูก
  • 10:04 - 10:11
    เจ้าหนี้พยายามขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย แต่วาณิชธนกรไม่เอา นายหน้าก็ตกงาน
  • 10:11 - 10:16
    ระบบการเงินทั้งระบบถูกแช่แข็ง ทุกอย่างดับมืด...
  • 10:22 - 10:24
    ทุกคนเริ่มล้มละลาย
  • 10:27 - 10:28
    แต่ยังไม่จบ
  • 10:29 - 10:35
    นักลงทุนโทรฯ บอกเจ้าของบ้านว่า ที่เขาลงทุนไปน่ะไร้ค่า
  • 10:35 - 10:39
    คุณคงเริ่มเห็นแล้วว่าวิกฤตนี้ไหลเป็นวงจรอุบาทว์อย่างไร
  • 10:40 - 10:43
    ขอต้อนรับสู่วิกฤตเครดิต
Title:
รู้จักวิกฤตเครดิตด้วยภาพ - HD
Description:

เรื่องราวสั้นๆ และเรียบง่ายของวิกฤตเครดิต เวอร์ชันเต็ม

โดย โจนาธาน จาร์วิส

Crisisofcredit.com

เป้าหมายของการใช้ภาพมาอธิบายสถานการณ์ที่ซับซ้อนอย่างวิกฤตเครดิต คือการสรุปแก่นสารของสถานการณ์นี้ให้กับคนที่ไม่คุ้นเคยภายในเวลาสั้นๆ

นี่คือเวอร์ชันฉบับเต็มดั้งเดิม

more » « less
Video Language:
English
Duration:
11:10
sarinee added a translation

Thai subtitles

Revisions