Return to Video

วิทยาศาสตร์แห่งศิลปะมนัสปรีดิ์

  • 0:01 - 0:04
    เพราะภาพหนึ่งภาพเป็นมากกว่าคำนับพัน
  • 0:04 - 0:07
    ผมจึงอยากเริ่มการบรรยายของผม
  • 0:07 - 0:09
    โดยหยุดบรรยายแล้วให้คุณชมภาพสักสองสามภาพ
  • 0:09 - 0:12
    ที่ผมได้ถ่ายไว้เมื่อเร็วๆ นี้
  • 0:31 - 0:35
    ครับ ถึงตอนนี้
    การบรรยายของผมก็มีความยาว 6,000 คำแล้ว
  • 0:35 - 0:37
    และผมรู้สึกว่าผมควรหยุดตรงนี้แล้วล่ะ
  • 0:37 - 0:39
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:39 - 0:41
    แต่ในขณะเดียวกัน ผมอาจติดค้างคุณ
  • 0:41 - 0:42
    เรื่องการอธิบาย
  • 0:42 - 0:45
    เกี่ยวกับภาพเหล่านี้ที่คุณเพิ่งได้ชมไป
  • 0:45 - 0:48
    ที่ผมพยายามจะทำในฐานะนักถ่ายภาพ
  • 0:48 - 0:50
    ในฐานะศิลปิน คือการนำโลก
  • 0:50 - 0:54
    แห่งศาสตร์และศิลป์มาพบกัน
  • 0:54 - 0:56
    ไม่ว่ามันจะเป็นภาพของฟองสบู่
  • 0:56 - 0:59
    ที่ถ่ายไว้ ณ วินาทีที่มันกำลังแตก
  • 0:59 - 1:01
    ขณะที่คุณกำลังจ้องมองภาพนี้
  • 1:01 - 1:04
    ไม่ว่ามันจะเป็นเอกภพที่สร้างสรรค์ด้วยหยดเล็กๆ
  • 1:04 - 1:07
    ของสีน้ำมัน
  • 1:07 - 1:11
    ของเหลวประหลาดที่มีทำตัวแสนพิลึก
  • 1:11 - 1:15
    หรือภาพเขียนที่วาดโดยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์
  • 1:15 - 1:19
    ผมพยายามเสมอที่จะ
    เชื่อมโยงสองสาขาวิชานั้นเข้าด้วยกัน
  • 1:19 - 1:21
    ที่ผมพบว่ามันทรงสเน่ห์เหลือกันสำหรับสองสิ่งนั้น
  • 1:21 - 1:25
    ก็คือ พวกมันทั้งสองนั้นมองไปยังสิ่งเดียวกัน
  • 1:25 - 1:28
    พวกมันคือการตอบสนองต่อสิ่งที่อยู่รอบๆ
  • 1:28 - 1:31
    แต่กระนั้น พวกมันตอบสนองด้วยวิถีที่ต่างกันมาก
  • 1:31 - 1:34
    ถ้าคุณดูที่วิทยาศาสตร์ที่อยู่ข้างหนึ่ง
  • 1:34 - 1:37
    วิทยาศาสตร์นั้นมีหลักเกณฑ์เหตุผลมาก
  • 1:37 - 1:38
    ในการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมรอบมัน
  • 1:38 - 1:41
    ในขณะที่ศิลปะที่อยู่อีกข้างหนึ่ง
  • 1:41 - 1:45
    มักจะตอบสนองสิ่งแวดล้อมด้วยความรู้สึกและอารมณ์
  • 1:45 - 1:47
    ที่ผมพยายามทำก็คือ ผมพยายามที่จะ
  • 1:47 - 1:49
    นำวิสัยทัศน์ทั้งสองนี้มาผสานรวมเป็นหนึ่ง
  • 1:49 - 1:53
    เพื่อที่ภาพของผมจะถ่ายทอดสื่อสารไปถึงหัวใจของผู้ชม
  • 1:53 - 1:57
    และไปยังสมองของพวกเขาด้วยเช่นกัน
  • 1:57 - 2:01
    อนุญาตให้ผมสาธิตสิ่งนี้บนรากฐานของสามโครงการ
  • 2:01 - 2:06
    โครงการแรกเกี่ยวข้องกับการทำให้เสียงเป็นที่มองเห็นได้
  • 2:06 - 2:07
    อย่างที่คุณทราบ
  • 2:07 - 2:10
    เสียงเดินทางในรูปแบบคลื่น
  • 2:10 - 2:12
    ฉะนั้น ถ้าคุณมีลำโพง
  • 2:12 - 2:14
    อันที่จริง ลำโพงนั้นไม่ได้ทำอะไร
  • 2:14 - 2:16
    นอกเหนือไปจากรับสัญญาณเสียง
  • 2:16 - 2:20
    แล้วเปลี่ยนมันไปเป็นการสั่นสะเทือน
  • 2:20 - 2:23
    ซึ่งจากนั้นมันถูกส่งผ่านมาทางอากาศ
  • 2:23 - 2:24
    แล้วหูคุณก็จะได้ยินเสียงนั้น
  • 2:24 - 2:28
    และเปลี่ยนมันไปอยู่ในรูปสัญญาณเสียงอีกครั้ง
  • 2:28 - 2:30
    ผมก็มาคิดว่า
  • 2:30 - 2:34
    จะทำให้คลื่นเสียงเหล่านี้ถูกมองเห็นได้อย่างไร
  • 2:34 - 2:36
    แล้วผมก็ได้ความคิดที่จะจัดการดังนี้
  • 2:36 - 2:40
    ผมนำลำโพงมา ผมวางแผ่นฟอยล์พลาสติกบางๆ
  • 2:40 - 2:42
    บนลำโพงนั้น
  • 2:42 - 2:45
    และจากนั้น ผมวางคริสตัลเล็กๆ ลงไป
  • 2:45 - 2:47
    บนลำโพงนั้น
  • 2:47 - 2:50
    และทีนี้ ถ้าผมเปิดเสียงผ่านลำโพง
  • 2:50 - 2:53
    มันจะทำให้คริสตัลเคลื่อนขึ้นลง
  • 2:53 - 2:56
    ทีนี้ มันเกิดขึ้นเร็วมากๆ
  • 2:56 - 2:58
    ในชั่วพริบตา
  • 2:58 - 3:01
    ด้วยความร่วมมือจาก LG เราจับการเคลื่อนไหว
  • 3:01 - 3:03
    ด้วยกล้องที่สามารถ
  • 3:03 - 3:07
    จับความเคลื่อนไหวได้มากกว่า 3,000 ภาพต่อวินาที
  • 3:07 - 3:10
    ให้ผมได้แสดงให้คุณชมว่ามันเป็นอย่างไร
  • 3:10 - 3:15
    (เสียงดนตรี: เพลง "Teardrop" ร้องโดย Massive Attack)
  • 3:51 - 3:57
    (เสียงปรบมือ)
  • 3:57 - 3:58
    ขอบคุณมากครับ
  • 3:58 - 4:01
    ผมเห็นด้วยว่า มันดูสวยงามน่าทึ่ง
  • 4:01 - 4:04
    แต่ผมต้องบอกคุณถึงเรื่องตลกๆ ซะหน่อย
  • 4:04 - 4:06
    ผมถูกแดดเผาซะเกรียมในร่ม
  • 4:06 - 4:08
    ระหว่างที่ถ่ายทำในลอส แองเจลิส
  • 4:08 - 4:10
    ที่ลอส แองเจลิส คุณถูกแดดเผาแบบจริงจังได้
  • 4:10 - 4:12
    แค่ไปอยู่ที่หาดใดสักหาด
  • 4:12 - 4:14
    แต่ผมถูกแดดเผาในร่ม
  • 4:14 - 4:16
    และที่มันเกิดขึ้นก็คือ
  • 4:16 - 4:19
    ถ้าคุณถ่ายทำด้วยความเร็ว 3,000 ภาพต่อวินาที
  • 4:19 - 4:23
    คุณต้องการแสงที่สว่างเป็นอย่างยิ่ง แสงเยอะมากๆ
  • 4:23 - 4:26
    คุณต้องมีลำโพงนี้จัดเตรียมไว้
  • 4:26 - 4:27
    และเราก็มีกล้องที่หันหน้าไปทางมัน
  • 4:27 - 4:31
    และแสงที่ระดมยิงไปยังลำโพง
  • 4:31 - 4:32
    และผมก็จะจัดวางลำโพง
  • 4:32 - 4:35
    นำคริสตัลเล็กๆวางไว้บนนั้น
  • 4:35 - 4:38
    และเราก็จะทำเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • 4:38 - 4:41
    เมื่อถึงตอนกลางวัน ผมถึงได้รู้ว่า
  • 4:41 - 4:43
    หน้าผมนั้นแดงไปหมด
  • 4:43 - 4:46
    เพราะว่าแสงที่ส่องลงมายังลำโพง
  • 4:46 - 4:48
    ที่มันตลกก็คือ
  • 4:48 - 4:51
    ลำโพงนั้นอยู่ทางด้านขวา
  • 4:51 - 4:55
    ฉะนั้นหน้าผมทางด้านขวาก็เลยแดงไปหมด
  • 4:55 - 4:56
    และผมก็เลยดูเหมือน เดอะ แฟนท่อม ออฟ ดิ โอเปร่า
    (the Phantom of the Opera)
  • 4:56 - 4:59
    ไปทั้งสัปดาห์
  • 4:59 - 5:01
    ตอนนี้ให้ผมจะเปลี่ยนไปพูดถึงอีกงานหนึ่ง
  • 5:01 - 5:05
    ซึ่งเกี่ยวข้องกับสสารที่อันตรายน้อยกว่า
  • 5:08 - 5:11
    มีใครเคยได้ยินเกี่ยวกับ
    แม่เหล็กเหลว (ferrofluid) ไหมครับ
  • 5:11 - 5:14
    อ้า บางคนเคย เยี่ยมเลยครับ
  • 5:14 - 5:16
    งั้นผมข้ามไปเลยดีไหมครับ
  • 5:16 - 5:17
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:17 - 5:21
    แม่เหล็กเหลวมีพฤติกรรมน่าประหลาดมาก
  • 5:21 - 5:23
    มันเป็นของเหลวที่ดำสนิท
  • 5:23 - 5:25
    มีความเหนียวข้นแบบน้ำมัน
  • 5:25 - 5:29
    และมันก็มีอนุภาคของโลหะเล็กๆ อยู่ในนั้น
  • 5:29 - 5:31
    ซึ่งทำให้มันมีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็ก
  • 5:31 - 5:35
    ถ้าตอนนี้ผมเอาของเหลวนี้เข้าไปในสนามแม่เหล็ก
  • 5:35 - 5:37
    มันจะเปลี่ยนรูปร่างไป
  • 5:37 - 5:41
    ทีนี้ ผมมีการสาธิตสดมาครับ
  • 5:41 - 5:44
    เพื่อที่จะแสดงให้คุณดู
  • 5:48 - 5:50
    ผมมีกล้องที่มองลงไปยังถาดนี้
  • 5:50 - 5:54
    และใต้ถาดนั้น มีแม่เหล็กอยู่
  • 5:54 - 5:57
    ทีนี้ ผมกำลังจะใส่แม่เหล็กเหลวนี้ลงไป
  • 5:57 - 6:00
    บนแม่เหล็ก
  • 6:06 - 6:10
    ลองเลื่อนมันไปทางขวาหน่อย
  • 6:13 - 6:18
    และบางทีปรับโฟกัสมันอีกนิด เยี่ยมเลย
  • 6:18 - 6:20
    ครับ ที่คุณเห็นตอนนี้
  • 6:20 - 6:23
    ก็คือแม่เหล็กเหลวที่ก่อตัวเป็นลักษณะหนามๆ
  • 6:23 - 6:26
    นี่เป็นเพราะการเหนี่ยวนำและแรงดัน
  • 6:26 - 6:30
    ของแต่ละอนุภาคในของเหลว
  • 6:30 - 6:32
    นี่มันก็ค่อนข้างน่าสนใจแล้ว
  • 6:32 - 6:36
    แต่ให้ผมลองเติมสีน้ำลงไปสักหน่อย
  • 6:36 - 6:38
    พวกมันเป็นแค่สีน้ำธรรมดา
  • 6:38 - 6:40
    ที่คุณใช้วาดรูปแหละครับ
  • 6:40 - 6:41
    คุณคงจะไม่วาดภาพด้วยเข็มฉีดยาหรอก
  • 6:41 - 6:46
    แต่มันก็ใช้งานได้เหมือนกัน
  • 6:59 - 7:01
    ครับ ตอนนี้
  • 7:01 - 7:04
    เมื่อสีน้ำไหลเข้าไปในโครงสร้าง
  • 7:04 - 7:08
    สีน้ำไม่ผสมรวมตัวกับแม่เหล็กเหลว
  • 7:08 - 7:10
    นั่นเป็นเพราะว่าตัวแม่เหล็กเหลวนั้น
  • 7:10 - 7:12
    เป็นพวกไม่เปียกน้ำ (hydrophobic)
  • 7:12 - 7:14
    นั่นหมายความว่ามันไม่รวมตัวกับน้ำ
  • 7:14 - 7:17
    และในขณะเดียวกัน มันพยายามที่จะรักษาตำแหน่ง
  • 7:17 - 7:19
    เหนือแม่เหล็ก
  • 7:19 - 7:22
    และดังนั้น มันสร้างโครงสร้างที่ดูน่าทึ่ง
  • 7:22 - 7:25
    ของลำคลองและบ่อน้ำเล็กๆ
  • 7:25 - 7:28
    ของสีน้ำหลากสี
  • 7:28 - 7:30
    นั่นเป็นโครงการที่สองครับ
  • 7:30 - 7:32
    ให้ผมพูดถึงโครงการสุดท้ายนะครับ
  • 7:32 - 7:37
    ซึ่งมันเกี่ยวกับ
  • 7:37 - 7:39
    เครื่องดื่มประจำชาติของสกอตแลนด์
  • 7:39 - 7:41
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:41 - 7:45
    ในภาพนี้ และเจ้านี่ด้วย
  • 7:45 - 7:48
    ทำขึ้นมาจากการใช้วิสกี้
  • 7:48 - 7:50
    ตอนนี้ คุณอาจถามตัวเองว่า
  • 7:50 - 7:51
    เขาทำได้ยังไงกันหน่ะ
  • 7:51 - 7:53
    เขาดื่มวิสกี้เข้าไปครึ่งขวด
  • 7:53 - 7:55
    และจากนั้นวาดภาพหลอนที่เขาได้
  • 7:55 - 7:59
    จากอาการเมา ลงบนกระดาษหรือเปล่า
  • 7:59 - 8:01
    ผมบอกคุณได้ว่า ผมมีสติสัมปชัญญะครบสมบูรณ์
  • 8:01 - 8:04
    ระหว่างที่ผมถ่ายภาพเหล่านี้
  • 8:04 - 8:08
    เอาล่ะ วิสกี้มีส่วนประกอบ 40 เปอร์เซ็นต์เป็นแอลกอฮอล์
  • 8:08 - 8:13
    และแอลกอฮอล์มีคุณสมบัติบางอย่างที่น่าสนใจมาก
  • 8:13 - 8:14
    บางทีคุณมีประสบการณ์
  • 8:14 - 8:17
    เกี่ยวกับคุณสมบัติพวกนี้มาก่อนแล้ว
  • 8:17 - 8:19
    แต่ผมกำลังพูดถึงคุณสมบัติทางกายภาพนะครับ
  • 8:19 - 8:22
    ไม่ใช่อีกอันหนึ่ง
  • 8:22 - 8:26
    เมื่อผมเปิดขวด โมเลกุลของแอลกอฮอล์
  • 8:26 - 8:27
    จะแพร่ออกไปในอากาศ
  • 8:27 - 8:31
    และนั่นเป็นเพราะว่าแอลกอฮอล์นั้น
    เป็นสสารที่ระเหยเป็นไอได้อย่างรวดเร็ว
  • 8:31 - 8:36
    และในขณะเดียวกัน แอลกอฮอล์ก็ไวไฟมาก
  • 8:36 - 8:38
    และด้วยคุณสมบัติทั้งสองนี้
  • 8:38 - 8:41
    ทำให้ผมสามารถสร้างสรรค์ภาพ
  • 8:41 - 8:43
    ที่คุณเห็นในขณะนี้
  • 8:43 - 8:46
    ให้ผมสาธิตให้คุณได้ชมตรงนี้
  • 8:53 - 8:56
    และที่ผมมีตรงนี้เป็นขวดเปล่า
  • 8:56 - 8:57
    ที่ไม่มีอะไรข้างในเลย
  • 8:57 - 9:01
    และตอนนี้ ผมกำลังจะเติมออกซิเจน
  • 9:01 - 9:04
    และวิสกี้เข้าไป
  • 9:20 - 9:23
    เติมอีกนิด
  • 9:26 - 9:28
    เอาล่ะ ผมจะรอสักสองสามวินาที
  • 9:28 - 9:31
    เพื่อที่โมเลกุลเหล่านี้จะได้แพร่ไปในขวด
  • 9:31 - 9:34
    และทีนี้ มาจุดไฟกันเลย
  • 9:34 - 9:38
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:52 - 9:53
    ครับ นั่นล่ะครับทั้งหมด
  • 9:53 - 9:56
    มันเกิดขึ้นเร็วมาก และมันไม่ค่อยจะน่าประทับใจเท่าไร
  • 9:56 - 9:59
    ผมทำอีกทีก็ได้ครับ
  • 9:59 - 10:02
    แต่บางท่านคงแย้งว่านี่มันเปลืองวิสกี้จริงๆ
  • 10:02 - 10:06
    และผมน่าจะดื่มมันมากกว่า
  • 10:06 - 10:08
    แต่ให้ผมได้แสดงภาพช้า
  • 10:08 - 10:09
    ในห้องที่มืดสนิท
  • 10:09 - 10:15
    ของสิ่งที่ผมได้เพิ่งแสดงให้คุณดูในการสาธิตสดนี้
  • 10:22 - 10:24
    ที่เกิดขึ้นก็คือ เปลวไฟ
  • 10:24 - 10:28
    เดินทางผ่านขวดแก้วจากบนลงล่าง
  • 10:28 - 10:31
    เผาไหม้ส่วนผสมของโมเลกุลอากาศ
  • 10:31 - 10:33
    และแอลกอฮอล์
  • 10:33 - 10:36
    ดังนั้น ภาพที่คุณเห็นเมื่อตอนต้น
  • 10:36 - 10:40
    ที่จริงแล้ว พวกมันคือภาพเปลวไฟที่หยุด ณ เวลาหนึ่งๆ
  • 10:40 - 10:43
    ขณะที่มันเดินทางไปทั่วขวด
  • 10:43 - 10:44
    และคุณต้องจินตนาการเข้าช่วยด้วย
  • 10:44 - 10:48
    เพราะภาพถูกกลับหัวไป 180 องศา
  • 10:48 - 10:50
    ภาพนั้นโดนสร้างมาด้วยวิธีนี้ล่ะครับ
  • 10:50 - 10:54
    (เสียงปรบมือ)
  • 10:54 - 10:57
    ขอบคุณครับ
  • 10:57 - 11:00
    ถึงตอนนี้ ผมได้แสดงให้คุณดูไปถึงสามโครงการ
  • 11:00 - 11:03
    และคุณอาจถามตัวเองว่า แล้วมันมีประโยชน์อะไรกัน
  • 11:03 - 11:04
    อะไรเป็นแนวคิดสนับสนุนของสิ่งนี้
  • 11:04 - 11:06
    นี่มันแค่เปลืองวิสกี้ใช่ไหม
  • 11:06 - 11:10
    นี่มันแค่วัสดุประหลาดๆ หรือเปล่า
  • 11:10 - 11:13
    โครงการทั้งสามนั้น พวกมันอยู่บนฐาน
  • 11:13 - 11:14
    ของปรากฏการณ์วิทยาศาสตร์ง่ายๆ
  • 11:14 - 11:17
    เช่นปรากฏการณ์แม่เหล็ก คลื่นเสียง
  • 11:17 - 11:21
    และตรงนี้ คุณสมบัติทางกายภาพของสสาร
  • 11:21 - 11:23
    และที่ผมพยายามจะทำ
  • 11:23 - 11:26
    ก็คือ ผมพยายามที่จะใช้ปรากฏการณ์เหล่านี้
  • 11:26 - 11:29
    และแสดงพวกมันในวิถีที่สุนทรีย์และยังไม่มีมาก่อน
  • 11:29 - 11:32
    ซึ่งมันจะเชิญชวนให้ผู้ชม
  • 11:32 - 11:34
    หยุดสักวินาที
  • 11:34 - 11:36
    และคิดถึงความงามทั้งหมด
  • 11:36 - 11:40
    ที่อยู่รอบๆ เราเสมอมา
  • 11:40 - 11:42
    ขอบคุณมากครับ
  • 11:42 - 11:46
    (เสียงปรบมือ)
Title:
วิทยาศาสตร์แห่งศิลปะมนัสปรีดิ์
Speaker:
เฟเบียน เอฟเนอร์ (Fabian Oefner)
Description:

ศิลปินและช่างภาพชาวสวิส ฟาเบียน เอฟเนอร์ อยู่ในภาระกิจการสร้างงานศิลปะชวนมองจากวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในการบรรยายที่ทรงเสน่ห์นี้ เขาอวดผลงานศิลปะมนัสปรีดิ์ล่าสุด รวมไปถึงภาพถ่ายของคริสตัลเมื่อมันมีปฎิสัมพันธ์กับคลื่นเสียง และด้วยการสาธิตสด เขาแสดงว่ามันเกิดอะไรขึ้น เมื่อคุณผสมสีเข้ากับของเหลวแม่เหล็ก หรือ เมื่อคุณจุดวิสกี้ให้ลุกเป็นไฟ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
12:05
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Psychedelic science
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Psychedelic science
PanaEk Warawit accepted Thai subtitles for Psychedelic science
PanaEk Warawit commented on Thai subtitles for Psychedelic science
PanaEk Warawit edited Thai subtitles for Psychedelic science
PanaEk Warawit edited Thai subtitles for Psychedelic science
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Psychedelic science
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Psychedelic science
Show all
  • แปลได้เยี่ยมมากครับ ผมแค่แก้ไขคำผิดสองสามแห่ง เพิ่มวรรคตอนแบ่งบรรทัด และเปลี่ยนคำว่าของเหลวไวไฟให้เป็นคำว่าแม่เหล็กเหลว ซึ่งน่าจะเข้ากับความหมายของ Ferrofluid ได้ดีกว่า

  • Thanks for reviewing, compliment and suggestion ka :D

Thai subtitles

Revisions