Return to Video

ประเทศที่ไม่มีน้ำ

  • 0:01 - 0:04
    ขอความสันติสุขจงเกิดแก่ท่าน
  • 0:04 - 0:05
    ยินดีต้อนรับสู่ โดฮา
  • 0:05 - 0:09
    ผมมีหน้าที่สร้างความมั่นคงด้านอาหารของประเทศนี้
  • 0:09 - 0:11
    งานของผมสองปีข้างหน้า
  • 0:11 - 0:13
    คือวางแผนแม่บททั้งหมด
  • 0:13 - 0:17
    แล้ว 10 ปีต่อมาก็นำไปใช้จริง
  • 0:17 - 0:19
    แน่นอนว่า ผมทำงานนี้ร่วมกับคนอีกมากมาย
  • 0:19 - 0:23
    แต่อันดับแรก ผมต้องเล่าเรื่องหนึ่งให้คุณฟัง
    ซึ่งก็เป็นเรื่องของผมเอง
  • 0:23 - 0:27
    เรื่องเกี่ยวกับประเทศ ที่ทุกๆท่านกำลังนั่งอยู่ที่นี่ในวันนี้
  • 0:27 - 0:31
    แน่นอนว่า พวกคุณส่วนใหญ่ได้ทานอาหารไปสามมื้อแล้วในวันนี้
  • 0:31 - 0:35
    และอาจจะยังทานอีกหลังจากงานนี้
  • 0:35 - 0:40
    เข้าเรื่องดีกว่าครับ กาตาร์ ในปี 1940 เป็นอย่างไร
  • 0:40 - 0:44
    ตอนนั้นมีคนอาศัยอยู่ราว หมื่นหนึ่งพันคนที่นี่
  • 0:44 - 0:51
    ไม่มีน้ำ ไม่มีพลังงาน น้ำมัน รถ ไม่มีอะไรพวกนั้นเลย
  • 0:51 - 0:52
    คนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ที่นี่
  • 0:52 - 0:55
    ไม่ว่าจะอยู่ในหมู่บ้านแถบชายฝั่ง ทำประมง
  • 0:55 - 1:01
    หรือเป็นชนเผ่าเร่ร่อน ที่เร่ร่อนไปทั่วตามสภาพแวดล้อม
    พยายามหาแหล่งน้ำ
  • 1:01 - 1:04
    สิ่งสวยงาม ที่ทุกคนเห็นอยู่ตอนนี้ ยังไม่มี
  • 1:04 - 1:09
    ไม่มีเมืองใหญ่ๆเช่นที่คุณเห็นทุกวันนี้
    อย่าง โดฮา ดูไบ อาบูดาบี คูเวต หรืือ ริยาดห์
  • 1:09 - 1:12
    มันไม่ใช่ว่าพวกเขาพัฒนาเมืองขึ้นมาไม่ได้
  • 1:12 - 1:14
    แต่ไม่มีทรัพยากรที่จะนำมาพัฒนา
  • 1:14 - 1:17
    คุณจะเห็นได้ว่า อายุเฉลี่ยของประชากรก็สั้นด้วย
  • 1:17 - 1:19
    คนส่วนใหญ่เสียชีวิตประมาณอายุ 50
  • 1:19 - 1:23
    เข้าสู่บทที่สองดีกว่านะครับ ยุคน้ำมัน
  • 1:23 - 1:26
    ปี 1939 เป็นปีที่ขุดพบน้ำมัน
  • 1:26 - 1:31
    แต่น่าเสียดาย ไม่ได้ขุดมาใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างเต็มที่
  • 1:31 - 1:33
    จนเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
  • 1:33 - 1:35
    มันทำให้เกิดอะไรขึ้นหรือ
  • 1:35 - 1:38
    มันเปลี่ยนคุณลักษณะของประเทศนี้ไป
    อย่างที่ท่านเห็น และเป็นประจักษ์พยานอยู่ในตอนนี้
  • 1:38 - 1:42
    มันยังทำให้คนที่เดินทางร่อนเร่ไปทั่วทะเลทราย
  • 1:42 - 1:45
    เพื่อหาแหล่งน้ำ หาอาหาร
  • 1:45 - 1:50
    พยายามเลี้ยงดูปศุสัตว์ของพวกเขา กลายมาอยู่ในเมือง
  • 1:50 - 1:52
    คุณอาจเห็นว่านี่เป็นเรื่องแปลก
  • 1:52 - 1:55
    แต่ในครอบครัวของผม เรามีสำเนียงต่างกัน
  • 1:55 - 1:59
    แม่ผมพูดสำเนียงที่ต่างจากพ่อผมมาก
  • 1:59 - 2:04
    เราเป็นประชากรทั้งหมดประมาณสามแสนคน
    ในประเทศเดียวกัน
  • 2:04 - 2:08
    แต่ขณะนี้มีสำเนียงพูดราว ห้าหรือหกสำเนียง
  • 2:08 - 2:12
    บางคนถามว่า ทำไมเป็นอย่างนั้น?
  • 2:12 - 2:14
    เพราะเราเคยอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย
  • 2:14 - 2:19
    เราไม่สามารถอยู่แบบรวมกลุ่มกันแน่น
    เพียงเพราะว่า มันไม่มีทรัพยากร
  • 2:19 - 2:22
    แล้วเมื่อเรามีทรัพยากร คือน้ำมัน
  • 2:22 - 2:26
    เราเริ่มสร้างเทคโนโลยีที่หรูหราเหล่านี้
  • 2:26 - 2:29
    และพาคนมารวมกัน เพราะเราต้องให้คนมากระจุกกันอยู่
  • 2:29 - 2:32
    คนเริ่มรู้จักกันและกัน
  • 2:32 - 2:36
    เราพบว่า มีความแตกต่างกันอยู่บ้างในสำเนียงการพูด
  • 2:36 - 2:38
    นี้ก็คือบทที่สอง หรือยุคน้ำมัน
  • 2:38 - 2:41
    ลองมาดูทุกวันนี้กัน
  • 2:41 - 2:45
    นี่น่าจะเป็นเส้นขอบฟ้าของเมืองโดฮา ที่คุณส่วนใหญ่เห็นกัน
  • 2:45 - 2:47
    แล้วจำนวนประชากรทุกวันนี้เป็นเท่าไหร่หรือ
  • 2:47 - 2:49
    หนึ่งจุดเจ็ดล้านคน
  • 2:49 - 2:52
    ในช่วงไม่ถึง 60 ปีที่ผ่านมา
  • 2:52 - 2:58
    การเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยของเราอยู่ที่ประมาณ 15%
    ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
  • 2:58 - 3:00
    อายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 78
  • 3:00 - 3:05
    ปริมาณการใช้น้ำของเราเพิ่มขึ้นเป็น 430 ลิตร
  • 3:05 - 3:09
    และติดกลุ่มเมืองที่ใช้น้ำมากที่สุดในโลก
  • 3:09 - 3:11
    จากการไม่มีน้ำเลย
  • 3:11 - 3:16
    กลายเป็นเมืองที่ใช้น้ำมากที่สุด มากกว่าประเทศอื่นๆ
  • 3:16 - 3:20
    ผมไม่รู้ว่านี่เป็นปฏิกริยาต่อการขาดนํ้าในอดีตหรือเปล่า
  • 3:20 - 3:26
    แต่อะไรเล่า ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องที่ผมเพิ่งเล่าไปเมื่อสักครู่
  • 3:26 - 3:29
    ส่วนที่น่าสนใจก็คือ เรายังคงเติบโตต่อไป
  • 3:29 - 3:36
    15% ทุกปี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยไม่มีน้ำ
  • 3:36 - 3:41
    เป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์
  • 3:41 - 3:45
    ในอดีตเมืองเคยถูกลบหายไปจนหมดสิ้น เพราะว่าขาดน้ำ
  • 3:45 - 3:47
    แต่นี่คือประวัติศาสตร์ที่ได้ถูกสร้างขึ้น ในภูมิภาคนี้
  • 3:47 - 3:49
    เราไม่ได้สร้างแค่ตัวเมืองเท่านั้น
  • 3:49 - 3:54
    แต่เราสร้างเมืองพร้อมกับความฝัน
    และคนที่อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นแพทย์
  • 3:54 - 3:58
    สร้างบ้านสวยๆ นำสถาปนิกมาออกแบบบ้านของผม
  • 3:58 - 4:04
    คนเหล่านี้ยืนกรานว่า นี่เป็นพื้นที่ๆอาศัยอยู่ได้
    ทั้งๆที่มันไม่ใช่
  • 4:04 - 4:06
    แต่แน่ล่ะ เราทำได้ด้วยการใช้เทคโนโลยี
  • 4:06 - 4:12
    บราซิล ที่มีปริมาณน้ำฝน 1782 มิลลิลิตร ต่อปี
  • 4:12 - 4:15
    กาตาร์ มี 74 แต่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงเท่ากัน
  • 4:15 - 4:17
    คำถามคือ อย่างไร
  • 4:17 - 4:20
    เราจะเอาตัวรอดกันได้อย่างไร
  • 4:20 - 4:22
    เราไม่มีน้ำ จะยังไงก็ตาม
  • 4:22 - 4:29
    แค่เพราะว่า เรามีเจ้าเครื่องยนต์ขนาดยักษ์มหึมาที่เรียกว่า
    เครื่องแยกเกลือออกจากน้ำทะเล
  • 4:29 - 4:33
    พลังงาน คือปัจจัยหลักของที่นี่ มันเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง
  • 4:33 - 4:37
    มันคือสิ่งที่เราดูดขึ้นมาจากพื้นดิน เราเผามันเป็นตันๆ
  • 4:37 - 4:40
    ค่อนข้างแน่ว่า ทุกคนที่นี่ก็ใช้มันเพื่อมาถึงโดฮา
  • 4:40 - 4:43
    นั่นคือทะเลสาบของเรา ถ้าเราเห็นมันได้
  • 4:43 - 4:45
    นั่นคือแม่น้ำของเรา
  • 4:45 - 4:51
    นั่นคือสิ่งที่ทำให้ทุกท่านมีน้ำใช้และเพลินกับการใช้นํ้า
  • 4:51 - 4:57
    นี่เป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่ภูมิภาคนี้เคยมี
    การเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืด
  • 4:57 - 4:59
    แล้วความเสี่ยงคืออะไร?
  • 4:59 - 5:01
    ทำไมคุณถึงกังวลนัก?
  • 5:01 - 5:05
    ผมก็จะบอกว่า ลองมาดูข้อเท็จจริงทั้งหลายโดยรวม
  • 5:05 - 5:08
    แน่นอน คุณจะรู้ทันทีว่า ผมต้องกังวล
  • 5:08 - 5:10
    มีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ประชากรที่เพิ่มขึ้น
  • 5:10 - 5:13
    แค่ไม่กี่เดือนมานี้ เรามีประชากรเจ็ดพันล้านคนแล้ว
  • 5:13 - 5:17
    และประชากรเหล่านั้นก็ต้องการอาหารด้วย
  • 5:17 - 5:20
    และยังมีการพยากรณ์ว่า เราจะมีประชากรเก้าพันล้านคน
    ก่อนปี 2050
  • 5:20 - 5:23
    ดังนั้นประเทศที่ไม่มีน้ำ
  • 5:23 - 5:26
    จึงต้องกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นนอกชายแดนของตน
  • 5:26 - 5:29
    ยังมีเรื่องการเปลี่ยนแปลงลักษณะของอาหารที่เราทานด้วย
  • 5:29 - 5:33
    การยกระดับทางเศรษฐกิจและสังคมที่สูงขึ้น
  • 5:33 - 5:35
    ทำให้พวกเขาเปลี่ยนลักษณะการกิน
  • 5:35 - 5:38
    เราเริ่มทานเนื้อมากขึ้น และอื่นๆอีกมาก
  • 5:38 - 5:40
    ในทางตรงกันข้าม เรามีผลผลิตทางการเกษตรน้อยลง
  • 5:40 - 5:43
    เพราะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และปัจจัยอื่นๆ
  • 5:43 - 5:48
    ดังนั้น ใครสักคนต้องตระหนักว่า ภาวะวิกฤติกำลังจะเกิด
  • 5:48 - 5:52
    นี่คือสถานการณ์ในกาตาร์ สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบ
  • 5:52 - 5:55
    เรามีน้ำที่เก็บสำรองไว้พอใช้แค่เพียงสองวัน
  • 5:55 - 5:58
    เรานำเข้าอาหารของเราประมาณ 90%
  • 5:58 - 6:01
    และเราทำการเกษตรน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของที่ดินของเรา
  • 6:01 - 6:04
    เกษตรกรจำนวนจำกัดที่เรามี
  • 6:04 - 6:07
    ยังถูกผลักออกมา จากการทำการเกษตรของเขา
  • 6:07 - 6:13
    เพราะผลจากนโยบายเปิดการค้าเสรี
    ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างมาก และอื่นๆ
  • 6:13 - 6:16
    เราจึงเผชิญกับความเสี่ยงด้วย
  • 6:16 - 6:23
    ความเสี่ยงเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคง
    และความยั่งยืนของประเทศนี้
  • 6:23 - 6:26
    คำถามคือ เรามีทางออกหรือไม่?
  • 6:26 - 6:28
    มีทางออกที่ยั่งยืนหรือไม่?
  • 6:28 - 6:30
    แน่นอนว่ามี
  • 6:30 - 6:34
    สไลด์นี้ สรุปเอกสารด้านเทคนิคหลายพันหน้า
  • 6:34 - 6:37
    ที่เราได้ทำกันในช่วงสองปีที่ผ่านมา
  • 6:37 - 6:38
    เริ่มจากเรื่องน้ำก่อนนะครับ
  • 6:38 - 6:42
    อย่างที่ผมให้คุณดูก่อนหน้านี้
    เราทราบดีว่าเราต้องการพลังงาน
  • 6:42 - 6:45
    ดังนั้น ถ้าเราจะต้องใช้พลังงาน
    จะเป็นพลังงานประเภทไหนเล่า?
  • 6:45 - 6:47
    พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป อย่างน้ำมันน่ะหรือ?
  • 6:47 - 6:50
    หรือเราควรจะใช้อย่างอื่น
  • 6:50 - 6:53
    เรามีข้อได้เปรียบที่เทียบเคียงกันได้
    ที่จะใช้พลังงานประเภทอื่นหรือไม่
  • 6:53 - 6:57
    ผมคิดว่า ถึงตอนนี้ผู้ฟังส่วนใหญ่คงทราบดีว่า
    เรามีแสงแดดอยู่ 300 วัน
  • 6:57 - 7:03
    เราจึงจะใช้พลังงานที่ยั่งยืนนี้เพื่อผลิตนํ้าที่เราต้องการ
  • 7:03 - 7:08
    เราอาจจะติดตั้งพลังงานไฟฟ้า 1,800 เมกะวัตต์ จากแสงแดด
  • 7:08 - 7:11
    ในการผลิตน้ำ 3.5 ล้านคิวบิกเมตร
  • 7:11 - 7:13
    นั่นเป็นปริมาณที่มากมาย
  • 7:13 - 7:15
    น้ำเหล่านั้นจะไปสู่เกษตรกร
  • 7:15 - 7:17
    และเกษตรกรจะสามารถรดน้ำพืชผลของเขาได้
  • 7:17 - 7:21
    แล้วพวกเขาก็จะสามารถผลิตอาหาร
    สนองความต้องการของสังคม
  • 7:21 - 7:23
    แต่เพื่อจะรักษาเส้นแนวนอนให้ยั่งยืน
  • 7:23 - 7:27
    เพราะว่าโครงการพวกนี้ หรือระบบที่เราจะนำเสนอ
  • 7:27 - 7:29
    เรายังจำเป็นต้องมีการพัฒนาในแนวตั้งด้วย
  • 7:29 - 7:35
    ได้แก่ การดูแลรักษาระบบ การศึกษาระดับสูง
    การค้นคว้าวิจัยและพัฒนา
  • 7:35 - 7:40
    อุตสาหกรรม เทคโนโลยี เพื่อนำมาผลิตเทคโนโลยี
    ที่จะนำมาใช้ และสุดท้ายคือการตลาด
  • 7:40 - 7:46
    แต่สิ่งที่เชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน ให้มันเป็นไปได้
    ก็คือ นโยบาย และกฏข้อบังคับ
  • 7:46 - 7:48
    ถ้าปราศจากมัน เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้
  • 7:48 - 7:50
    นั่นคือสิ่งที่เราวางแผนที่จะทำ
  • 7:50 - 7:53
    ภายในสองปีนี้ หวังว่าเราควรจะวางแผนเสร็จ
  • 7:53 - 7:55
    และนำแผนไปใช้
  • 7:55 - 8:02
    เป้าหมายของเราคือ เป็นเมืองหนึ่งที่มีอายุพันปี
    เช่นเดียวกับเมืองต่างๆรอบๆ
  • 8:02 - 8:09
    เช่น อิสตันบูล โรม ลอนดอน ปารีส ดามัสกัส ไคโร
  • 8:09 - 8:13
    เราอายุเพียง 60 ปี แต่เราอยากจะให้มันคงอยู่ตลอดไป
  • 8:13 - 8:18
    ในฐานะเมือง เพื่ออาศัยอยู่อย่างสันติ
  • 8:18 - 8:20
    ขอบคุณมากครับ
  • 8:20 - 8:24
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ประเทศที่ไม่มีน้ำ
Speaker:
ฟาฮาด อัล อัตติยา (Fahad Al-Attiya)
Description:

ลองนึกภาพประเทศที่มีอำนาจต่อรองมากมายเหลือเกิน ได้แก่ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ แสงแดด พลังลม (และเงิน) แต่ขาดทรัพยากรหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต คือ น้ำ

วิศวกรโครงสร้างพื้นฐาน ฟาฮาด อัล-อัตติยา พูดถึงวิธีเหลือเชื่อที่ประเทศเล็กๆในตะวันออกกลางอย่าง กาตาร์ สร้างน้ำขึ้นมาใช้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:46
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A country with no water
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for A country with no water
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for A country with no water
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for A country with no water
yamela areesamarn accepted Thai subtitles for A country with no water
yamela areesamarn edited Thai subtitles for A country with no water
yamela areesamarn edited Thai subtitles for A country with no water
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for A country with no water
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions